ผมขอเสนอว่าต้องจัดเอาภัยแผ่นดินไหว เป็นวาระสำคัญที่ผู้บริหารประเทศ ตลอดจนผู้บริหารเมือง – ท้องถิ่นและประชาชนทุกคนต้องให้ความสำคัญ ไม่น้อยกว่าภัยธรรมชาติอื่น ๆ
เพราะสัญญาณที่ส่งออกมาในเรื่องความถี่มีสูงขึ้น เมืองใหญ่ ๆ หัวเมืองที่มีตึกสูงมาก ๆ ต้องให้ความสนใจ ใส่ใจมากเป็นพิเศษ ถึงแม้ว่าในข้อมูลทางวิชาการประเทศไทยจะไม่มีแนวการไหวสะเทือนพาดผ่านเหมือนกับประเทศอินโดนีเซียและพม่า ซึ่งมีแนวเลื่อนขนาดใหญ่พาดผ่านตามแนวขอบเพลต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นได้ เนื่องจากมีรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง (Active fault) ที่ยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา
ตลอดจนเราไม่สามารถประเมินความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดจากประเทศเพื่อนบ้านแล้วส่งผลกระทบมายังประเทศไทย อย่างไรก็ตามผมขอนำข้อมูลประวัติศาสตร์การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมาให้ท่านผู้อ่านทราบเพื่อจะได้เป็นสถิติเปรียบเทียบ และเป็นฐานข้อมูลดูเพราะว่าเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อไร ขนาดความรุนแรงเท่าใด ณ จุดไหนได้ แต่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อป้องกันและเตรียมการสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่ทำได้ครับ
สมัยก่อนสุโขทัย (ก่อน พ.ศ.1781)
- เมืองแถน (เมืองเดียนเบียนฟูในเวียดนามเหนือ)
- หริภุญไชย (ลำพูน) พ.ศ.500 พระมหาปราสาทโอนไปเป็นหลายที
- โยนกนคร พ.ศ.480, 481, 510, 515, 1003, 1077
พ.ศ.1003
“....สุริยะอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียงเหมือนดั่งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหว ประดุจดังว่าเวียงโยนกนครหลวงที่นี้จักเกลื่อนจักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครึ่งหนึ่ง ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ซ้ำดังมาเป็นคำรบสองแล้วก็หายนั้นแล ถึงบัวฉิมยาม ก็ซ้ำดังมาเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้งทุกคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลงเกิดเป็นหนองอันใหญ่”
สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781-1893)
“.......เมียพญาลิไทตั้งจิตอธิษฐานออกผนวชมีจารึกว่า อธิษฐานดังนี้แล้ว จึงรับสรณาคมต่อพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นแผ่นดินไหวทั่วทุกทิศเมืองสุโขทัย ครั้นทรงผนวชแล้ว เสด็จลงมาจากพระมหาสุวรรณเหมปราสาท ทรงไม้เท้าจรดจรดลด้วยพระบาทสมเด็จพระราชดำเนินไปป่ามะม่วง ขณะประดิษฐานฝ่าพระบาทลงยังพื้นธรณี ปฐพีก็หวั่นไหวทั่วทุกทิศหินสาธาเข้าพรรษาวันนั้นจึงเสด็จออกเสวยพระโชรศ ขณะนั้นไม่ควรเลยสรรพ ไม่เสบยเสพยนานาอากาศดาษ สุริยะเมฆาจันทร์ปรายต์กับดาราฤกษ์ทั้งปวงยิ่งกว่าทุกวันด้วยฉะนั้น จึงเสด็จบรรพชาเป็นภิกษุในระหว่างพัทธสีมานั้น ขณะนั้นนาคราชตนหนึ่งอยู่โดยบุรพทิศเมืองสุโขทัยนั้น ยกพังพานขึ้นสูงพันคน แปรตาไปเฉพาะป่ามะม่วงนั้น เห็นรอยผลุดพลุ่งกลางอากาศลงต่อแผ่นดิน อนึ่งเวลานั้นได้ยินเสียงระฆังดนตรีดุริยางค์ ไพเราะใกล้โสตสของชนเป็นอันมาก จะพรรณานับมิได้ แต่บรรดามหาชนที่มาสโมสรสันนิบาตในสถานที่นั้น ย่อมเห็นการอัศจรรย์ประจักษ์ทุกคน เหตุด้วยเสด็จออกทรงบำเพ็ญพระบารมี เมื่อทำอัษฎางติกศีล เมื่อฤดูคิมหันต์ไม่มีฝน ด้วยอำนาจศีลและความอธิษฐานพระบารมีด้วย ปถวีก็ประวัติกัมปนาทหวาดหวั่นไหว เพทธาราวิรุณหกก็ตกลงมาในฤดูแล้ง แสดงอัศจรรย์สรรเสริญในการสร้างพระบารมี.......”
- สุโขทัย พ.ศ.1860 สมัยพญาลิไท
- สุโขทัย พ.ศ.1905, 1909
- เชียงใหม่ พ.ศ.2025,พ.ศ. 2088 ยอดเจดีย์หลวงสูง 86 เมตร พังลงมาเหลือ 60 เมตร
- อยุธยา พ.ศ.2048, 2070, 2089, 2127, 2131, 2132, 2228
- น่าน พ.ศ.2103เจดีย์หลวง สูง 17 วา กว้าง 10 วา หักพังลง
- ย่างกุ้ง, พม่า พ.ศ.2111, 2172พระเจดีย์เมืองร่างกุ้งเกิดความเสียหาย
- เชียงใหม่ พ.ศ.2088ยอดเจดีย์หลวงสูง 86 เมตร พังลงมาเหลือ 60 เมตร
สมัยอยุธยา (พ.ศ.1893-2311)
- กำแพงเพชร พ.ศ.2127
- เชียงแสน พ.ศ.2247, 2258, 2260 พ.ศ.2258 พระเจดีย์วิหารหักพังทลาย 4 ตำบล
- หงสาวดี, พม่า พ.ศ.2300 ฉัตรยอดพระเจดีย์มุตางหักลงมา
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2311-2325)
- กรุงเทพฯ พ.ศ.2311, 2312
- เชียงใหม่ พ.ศ.2317
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-ปัจจุบัน)
- สมัยรัชกาลที่1 - หลวงพระบาง พ.ศ.2335 น่าน พ.ศ.2336, 2342, 2344
- สมัยรัชกาลที่2 - มณฑลยูนาน พ.ศ.2367 ประชาชนชาวจีนเสียชีวิต 2,000 คน ,น่าน พ.ศ.2363 ยอดมหาธาตุเจ้าภูเวียงแช่แห้ง ก็หักลงห้อยอยู่
- สมัยรัชกาลที่3 กรุงเทพฯ พ.ศ.2375, 2376, 2378 น้ำในแม่น้ำกระฉอกออกมา, พม่า พ.ศ.2382
- สมัยรัชกาลที่4 กรุงเทพฯ พ.ศ.2417
- สมัยรัชกาลที่5 กรุงเทพฯ พ.ศ.2429, 2430 น่าน พ.ศ.2422
- สมัยรัชกาลที่6 กรุงเทพฯ พ.ศ.2455
- สมัยรัชกาลที่7 กรุงเทพฯ, อยุธยา, จันทบุรี, พิษณุโลก, ราชบุรี, ปราจีนบุรี พ.ศ.2473ศูนย์กลางอยู่ประมาณเมืองพะโค, พม่า
ตำแหน่งเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย
- บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสะโตง ตอนกลางของประเทศพม่า
- บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศพม่า-ลาว-จีน และไทย
- ทะเลอันดามัน หมู่เกาะอันดามัน-นิโคบาร์
- พื้นที่ครอบคลุมภาคทะเลอันดามัน เกาะสุมาตรา แผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับ รอยเลื่อนมีพลัง หรือ Active Fault ในปัจจุบันมีดังนี้ครับ
- รอยเลื่อนเชียงแสน ความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอแม่จัน แล้วตัดข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำน้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ
- รอยเลื่อนแม่จัน ยาวประมาณ 130 กม. ตั้งแต่ปี 2521 ขนาด >3 ริคเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้ 10 ครั้ง / 3 ครั้งมีขนาด >4.5 ริคเตอร์ โดยเฉพาะวันที่ 1 กันยายน 2521 มีขนาด >4.9 ริคเตอร์
- รอยเลื่อนแพร่ เริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่น และจังหวัดแพร่ ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 115 กิโลเมตร รอบ 10 ปีที่ผ่านมา ขนาด 3.4 ริคเตอร์ มากกว่า 20 ครั้ง ล่าสุด ขนาด 3 ริคเตอร์ เมื่อ 10 กันยายน 2533
- รอยเลื่อนแม่ทา เป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วัง และแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร การศึกษาอย่างละเอียดเฉพาะ ในปี 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่หลายครั้ง
- รอยเลื่อนเถิน อยู่ทางทิศตะวันตกของรอยเลื่อนแพร่ ตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชิ้น และอำเภอลอง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 90 กิโลเมตร 23 ธันวาคม 2521 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 ริคเตอร์
- รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี ตั้งต้นจากลำน้ำเมยชายเขตแดนพม่ามาต่อกับห้วยแม่ท้อและลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์ จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมความยาวกว่า 250 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2476 ไม่ทราบขนาด 23 กุมภาพันธ์ 2518 ขนาด 5.6 ริคเตอร์
- รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง (Sakaing Fault) ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนในประเทศไทยกว่า 250 กิโลเมตร ตามลำน้ำแควน้อย และต่อเข้าไปเป็นรอยเลื่อนสะแกง ในประเทศพม่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็ก หลายพันครั้ง
- รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ อยู่ทางด้านตะวันตกของรอยเลื่อนเมย - อุทัยธานีในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวทั้งหมดกว่า 500 กิโลเมตร รอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิดขึ้นหลายร้อยครั้ง ขนาดใหญ่ที่สุด 5.9 ริคเตอร์ เมื่อ 22 เมษายน 2526
- รอยเลื่อนระนอง ตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 270 กิโลเมตร 30 กันยายน 2521 มีขนาด 5.6 ริคเตอร์
- รอยเลื่อนคลองมะลุ่ย รอยเลื่อนคลองมะรุย ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา ตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตรมีรายงานเกิดแผ่นดินไหว 16 พฤษภาคม 2476- 7 เมษายน 2519 - 17 สิงหาคม 2542 -29 สิงหาคม 2542
- ส่วนสถิติแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งตรวจวัดโดย กรมอุตุนิยมวิทยา มีขนาดอยู่ในระดับเล็กถึงปานกลาง (ไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์) หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่พอก็จะส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ส่วนสถิติแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งตรวจวัดโดย กรมอุตุนิยมวิทยา มีขนาดอยู่ในระดับเล็กถึงปานกลาง (ไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์) หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่พอก็จะส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง โดยมีรายละเอียดดังนี้
- แผ่นดินไหวเมื่อ 17 ก.พ. 2518 ขนาด 5.6 ริคเตอร์บริเวณ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
- แผ่นดินไหวเมื่อ 15 เม.ย. 2526 ขนาด 5.5 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
- แผ่นดินไหวเมื่อ 22 เม.ย. 2526 ขนาด 5.9 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
- แผ่นดินไหวเมื่อ 22 เม.ย. 2526 ขนาด 5.2 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
- แผ่นดินไหวเมื่อ 11 ก.ย. 2537 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ บริเวณ อ.พาน จ.เชียงราย
- แผ่นดินไหวเมื่อ 9 ธ.ค. 2538 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ร้องกวาง จ.แพร่
- แผ่นดินไหวเมื่อ 21 ธ.ค. 2538 ขนาด 5.2 ริคเตอร์ บริเวณ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
- แผ่นดินไหวเมื่อ 22 ธ.ค. 2539 ขนาด 5.5 ริคเตอร์ บริเวณพรมแดนไทย-ลาว
- เหตุการณ์แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทย (2542 - สิงหาคม 2543)
- 31 ส.ค. 2542 ใกล้พรมแดนไทย - ลาว ขนาด 4.8 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.น่าน
- 3 เม.ย. 2542 ใกล้พรมแดนไทย - พม่า ขนาด 3.2 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.เชียงแสน จ. เชียงราย
- 29 มิ.ย. 2542 ในประเทศพม่าขนาด 5.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงราย
- 15 ส.ค. 2542 ตอนใต้ของประเทศพม่าขนาด 5.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่
- 17 ส.ค.2542 บริเวณทะเลอันดามันขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.ภูเก็ตและพังงา
- 29 ส.ค. 2542 บริเวณทะเลอันดามันขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.ภูเก็ตและพังงา
- 20 ม.ค. 2543 ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขนาด 5.9 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่
จ.น่าน แพร่ พะเยา เชียงราย มีความเสียหายที่ จ.น่านและแพร่ - 14 เม.ย. 2543 ที่พรมแดนลาว - เวียดนาม ขนาด 4.9 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.สกลนคร
- 29 พ.ค. 2543 บริเวณอ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ขนาด 3.8 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อำเภอเมือง อ.สันกำแพง และ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
- 7 ส.ค. 2543 บริเวณพรมแดนไทย - พม่าขนาด 3.0 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่บริเวณอำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน
สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ
1. เกิดจากธรรมชาติ (NATURAL EARTHQUAKE)2. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (INDUCED SEISMICITY)แผ่นดินไหวที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (INDUCED SEISMICITY)- การเก็บกักน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่- การทดลองระเบิดปรมาณู/ระเบิดนิวเคลียร์- การระเบิดจากการทำเหมืองแร่- การสูบน้ำใต้ดินมาใช้มากเกินไป- การผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ- การเก็บขยะนิวเคลียร์ใต้ดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น