คู่มือแผนการเสด็จ
คู่มือปฏิบัติ - พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) โชว์คู่มือการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการปฏิบัติในการถวายความสะดวกด้านการจราจรในการเสด็จพระราชดำเนิน (เป็นการส่วนพระองค์) ที่จะแจกจ่ายให้ข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม |
หมายเหตุ - พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. มีคำสั่งให้กองสารนิเทศ ตร. จัดพิมพ์หนังสือคู่มือ การปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการถวายความสะดวกด้านการจราจรในการเสด็จพระราชดำเนิน (เป็นการส่วนพระองค์) ของคณะกรรมการอำนวยการจราจรในการเสด็จพระราชดำเนิน ที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 20 ม.ค.2553 แจกจ่ายข้าราชการตำรวจที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ จำนวน 25,000 เล่ม มีรายละเอียดดังนี้) 1.นโยบายในการปฏิบัติ 1.1 ถวายความสะดวกการจราจรและถวายความปลอดภัย 1.2 อย่าให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน หรือหากจะต้องมีก็ให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด 1.3 สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านงบประมาณ จำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น ตลอดจนสวัสดิการและสิทธิกำลังพลในด้านต่างๆ 2.แนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการถวายความปลอดภัยในการเสด็จพระราชดำเนิน (เป็นการส่วนพระองค์) 2.1 การจัดการจราจรที่เป็นเส้นทางเสด็จฯ พื้นราบให้ปฏิบัติ ดังนี้ 2.1.1 ขบวนเสด็จฯ ผ่านถนนที่มีช่องทางคู่ขนานให้รถวิ่งในช่องทางคู่ขนานได้ตามปกติ 2.1.2 ถนนที่ไม่มีช่องทางคู่ขนาน จะมีเกาะกลางถนนหรือไม่มีเกาะกลางถนนก็ตาม และมีช่องทางเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป ให้เปิดการจราจรให้รถวิ่งสวนกับขบวนเสด็จฯ ได้ตามปกติ แต่ไม่อนุญาตให้รถที่วิ่งสวนใช้สัญญาณไฟวับวาบ ยกเว้นรถพยาบาลที่มีผู้ป่วยฉุกเฉิน 2.1.3 ถนนที่ไม่มีเกาะกลางถนน แต่ละฝั่งมีช่องทางเดินรถสวนกันได้เพียงช่องเดียว ฝั่งตรงข้ามไม่ต้องปิดการจราจร แต่ให้จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจถวายความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกการจราจรในช่องทางรถสวน เช่น ระวังการกลับรถ ระวังรถเลี้ยวเข้าซอยหรือเข้าบ้านพัก เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและสภาพการจราจรในขณะนั้น 2.1.4 เส้นทางเสด็จฯ มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าขบวนเสด็จฯ ในระยะใกล้ให้หยุดรถชิดช่องทางด้านซ้าย และเมื่อขบวนเสด็จฯ ผ่านไปแล้ว ให้อนุญาตให้รถเดินทางต่อไปได้โดยเร็ว 2.1.5 สถานีตำรวจนครบาลเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เมื่อมีขบวนเสด็จฯ ในเส้นทางให้พิจารณาจัดรถยนต์ "ปิดท้ายกันแซง" เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและระวังมิให้รถสวนแซงขบวนรับ-ส่ง สุดเขตต่อเขตพื้นที่รับผิดชอบ 2.1.6 เมื่อมีรถตกค้างบนถนนในขณะที่ขบวนเสด็จฯ ในต่างจังหวัด ห้ามเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรไล่รถเข้าปั๊มน้ำมันหรือเข้าซอยโดยเด็ดขาด แต่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสั่งให้ผู้ขับขี่นำรถจอดชิดขอบทางด้านซ้ายและดับเครื่องยนต์ และเมื่อขบวนเสด็จฯ ผ่านไปแล้ว ให้อนุญาตให้รถสามารถเดินทางต่อไปได้โดยเร็ว 2.1.7 เส้นทางเสด็จฯ พื้นราบมีสะพานลอยรถข้ามหรือมีทางรถข้ามพาดให้เปิดการจราจรให้รถวิ่งได้ตามปกติ 2.1.8 สะพานลอยคนเดินข้าม เปิดให้ประชาชนเดินข้ามได้ตามปกติและพิจารณาถึงความปลอดภัยเมื่อขบวนเสด็จฯ ผ่าน 2.1.9 หากมีการก่อสร้างบริเวณริมถนนที่จะเสด็จฯ ผ่านให้เครื่องจักรกลที่หมุนส่ายอันตรายหยุดการทำงานชั่วคราวเพื่อถวายความปลอดภัย จนกว่าขบวนเสด็จฯ จะผ่านไป 2.1.10 เมื่อเห็นว่ามีปริมาณรถติดสะสมมากในเส้นทางเสด็จฯ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งระบายรถติดสะสมทันที เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด 2.1.11 เส้นทางเสด็จฯ ต่างจังหวัด ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนรายทางเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาความปลอดภัย 2.2 การจัดการจราจรที่เป็นเส้นทางเสด็จฯ บนทางด่วนให้ปฏิบัติ ดังนี้ 2.2.1 ขบวนเสด็จฯ จากพื้นราบจะขึ้นทางด่วนแล้วมีรถที่รอจะขึ้นทางด่วนอยู่ด้านหน้าอย่าบังคับให้เปลี่ยนเส้นทาง ให้พิจารณาความปลอดภัยตามสภาพการจราจรและให้รถสามารถขึ้นไปรอบนทางด่วนได้โดยให้หยุดรอไว้ชิดขอบทางด้านซ้ายและดับเครื่องยนต์รอจนกว่าขบวนเสด็จฯ จะผ่านพ้น แล้วอนุญาตให้รถสามารถเดินทางต่อไปได้โดยเร็ว 2.2.2 ให้ใช้รถจักรยานยนต์จากโครงการจราจรตามพระราชดำริช่วยกันรถที่จะขึ้นจากช่องทางอื่นมาบนทางด่วนไว้ก่อน จนกว่าขบวนเสด็จฯ จะผ่านไปและอนุญาตให้รถสามารถเดินทางต่อไปได้โดยเร็ว 2.2.3 การจราจรคับคั่งและติดขัดบนทางด่วนให้เปิดการจราจรไว้ 1 ช่องทางเพื่อให้ขบวนเสด็จฯ สามารถผ่านได้ 2.3 การจัดการจราจรบริเวณศูนย์การค้า ที่สาธารณะและสนามบินให้ปฏิบัติ ดังนี้ 2.3.1 ในกรณีที่เสด็จฯอย่างเป็นทางการ ให้ปิดกั้นพื้นที่เท่าที่จำเป็นเพื่อถวายความปลอดภัยตามลักษณะงานเท่านั้น 2.3.2 ให้มีการเน้นย้ำการปฏิบัติ ณ ที่หมายโดยเฉพาะ เช่น บริเวณทางเข้า-ออก ให้ปิดกั้นในช่วงเวลาก่อนเสด็จฯ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น 2.3.3 ตามที่หมายต่างๆ ภายในอาคารหรือที่สาธารณะ ให้ประสานกับพนักงานรักษาความปลอดภัยสถานที่ มิให้ไล่ประชาชนออกจากบริเวณหรือปิดประตูทางเข้า-ออก บันไดเลื่อน ลิฟต์ ในสถานที่เหล่านั้น ตลอดจนห้ามสั่งให้ประชาชนปิดประตูหน้าต่างของอาคารบ้านและร้านค้าที่ใกล้กับที่จะเสด็จพระราชดำเนิน ปล่อยให้ประชาชนใช้ชีวิตประจำวันไปตามปกติ เพียงแต่ระมัดระวังอย่าให้คนเข้าไปชิดพระองค์เท่านั้น 2.4 ขบวนเสด็จฯ ที่ไม่มีนายตำรวจราชสำนักประจำหรือเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำขบวน ให้แต่ละขบวนส่งรายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติให้สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำทราบ เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติ 2.5 ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในขบวนเสด็จฯ (ราชองครักษ์ประจำ นายตำรวจราชสำนักประจำหน่วยแยกศูนย์รักษาความปลอดภัยหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอื่น) ประสานงานและบริหารจัดการเวลาตามขั้นตอนและตรงตามข้อเท็จจริงอย่างใกล้ชิดกับผู้รับผิดชอบในเส้นทางเสด็จฯ เพื่อมิให้ปิดกั้นการสัญจร และปิดการจราจรก่อนการเสด็จฯ เป็นเวลานาน2.6 ขบวนเสด็จฯ ที่เป็นส่วนพระองค์ ขอให้พิจารณาใช้รถตู้ หรือใช้รถยนต์สำหรับผู้ตามเสด็จฯ เพื่อทำให้ขบวนสั้นลงและให้รถยนต์ที่ตกค้างในเส้นทางเสด็จฯ หยุดรถชิดช่องทางซ้าย โดยไม่ต้องปิดการจราจร และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนตามรายงานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อรักษาความปลอดภัย 3.วิธีการอำนวยการจราจรให้ปฏิบัติ ดังนี้ 3.1 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้รถจักรยานยนต์ตำรวจนำขบวนและสามารถปิดกั้นรถตามทางร่วมทางแยกได้ 3.2 ในเขตต่างจังหวัด ใช้รถยนต์เบิกทางเพื่อประชาสัมพันธ์ให้รถจอดชิดข้างทางด้านซ้ายก่อนขบวนเสด็จฯ ถึง ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที เพื่อไม่ต้องการปิดการจราจรนาน คณะกรรมการอำนวยการจราจรในการเสด็จพระราชดำเนิน 20 มกราคม 2553 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น