วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เมา109 ประวัติ กลน.


๓๙ ปี กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ

        รัฐบาลไทยได้มอบหมายให้สถาบันวิจัย STANFORD ของสหรัฐ ฯ ร่วมกับศูนย์วิจัยและ พัฒนาทางทหาร บก.ทหารสูงสุด ทำการศึกษาวิจัยเพื่อทดสอบระบบเฝ้าตรวจและควบคุมชายแดน ตามลำแม่น้ำโขง การวิจัยได้เสร็จสิ้นเมื่อ ๓๐ มิ.ย.๒๕๑๑ และได้มอบเรือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้จังหวัดนครพนมตั้งเป็นหน่วย เฝ้าตรวจชายแดนขึ้น โดย ทร. เป็นผู้ใช้เรือและอุปกรณ์ต่าง ๆ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๒ บก.ทหารสูงสุด จึงได้สั่งการให้ ทร. รับผิดชอบในการปฏิบัติการตามลำน้ำ
        
ทร. ได้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง (นปข.) ได้เปลี่ยนเป็น หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) แล้ว.และเพื่อให้การปฏิบัติใน ลำน้ำของ ทร. ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ     จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งกองเรือลำน้ำ และ กห. ได้มีคำสั่งอนุมัติอัตรา กลน เมื่อ ๒๗ ก.ค.๒๕๑๖ จึงถือเอาวันดังกล่าว เป็น วันสถาปนากองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ (กลน.กร.)        
ภารกิจของกองเรือลำน้ำ     
กลน. เป็นหน่วยกำลังรบหน่วยหนึ่งของ ทร. ขึ้นการบังคับบัญชาต่อ กร. มีหน้าที่จัดและ เตรียมกำลังสำหรับปฏิบัติการตามลำน้ำอาณาเขตและลำน้ำในประเทศ โดยมี ผบ.กลน.เป็น ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบโดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น๓ส่วนดังนี้
        
๑. องค์บุคคล จัดให้มีการฝึก ศึกษา อบรมให้ความรู้แก่กำลังพลให้มีขีดความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งการเสริมสร้างระเบียบวินัย ขวัญ และกำลังใจ
        
๒. องค์วัตถุ ดำเนินการเตรียมความพร้อมของเรือ อาวุธ ยุทโธปกรณ์ของหน่วยให้มีความ พร้อมอยู่เสมอ เพื่อสามารถสนับสนุนตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
        
๓. องค์ยุทธวิธี ดำเนินการจัดทำและปรับปรุงเอกสารการปฏิบัติทางยุทธวิธี รวมทั้งการนำ ยุทธวิธีที่ได้จากการฝึกร่วมผสม เพื่อมาพัฒนาทางด้านยุทธวิธีให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน       
การฝึกกำลังพลผลัดเปลี่ยน นรข.        
จุดมุ่งหมาย เพื่อเตรียมความพร้อม องค์บุคคล ให้มีความรู้ ความสามารถปฏิบัติหน้าที่ นรข.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        
ช่วงเวลาการฝึก เริ่มการฝึกประมาณเดือน ก.ค. - ส.ค. ของทุกปี โดยแบ่งการฝึกออกเป็น ๒ ช่วง
        
ภาคบนบก/ ยิงอาวุธ และภาคในลำน้ำ รวม ๖๕ วัน
การฝึกยุทธวิธีกองเรือ
        จุดมุ่งหมาย เพื่อให้องค์บุคคลประจำเรือมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามยุทธวิธีของ กลน. ทั้งการปฏิบัติการด้วยเรือลำเดียว หรือการปฏิบัติร่วมด้วยเรือชนิดเดียว / ต่างชนิดกัน / ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ช่วงการฝึกประมาณเดือน ธ.ค. ทุกปี        
การฝึกปฏิบัติการตามลำน้ำกับ ทร. สหรัฐ ฯ (BALANCE TORCH)
        เป็นการฝึกร่วมการปฏิบัติการตามลำน้ำ ระหว่าง ทร. ไทย - ทร. สหรัฐ ฯ ตามขีดความ สามารถขององค์บุคคล และองค์วัตถุ โดยจะเน้นหนักเรื่องการฝึกปฏิบัติงานในสาขาการปฏิบัติ การตามลำน้ำ เพื่อให้การปฏิบัติงานของกำลังที่เข้าร่วมฝึกสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ความมุ่งหมายของการฝึก        
       ๑. เพื่อดำรงและเสริมสร้างทักษะ พัฒนาขีดความสามารถของกำลังพล กลน. ในการปฏิบัติงาน สาขาปฏิบัติการตามลำน้ำ และการปฏิบัติงานของหน่วยเรือปฏิบัติการพิเศษ
        
๒. เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ และความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันระหว่าง ทร. ไทย กับ ทร.สหรัฐ ฯ
        
๓. เพื่อประโยชน์ในด้านการรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากการฝึกในการนำมาพัฒนา การปฏิบัติงานต่อไป
     
   ช่วงการฝึก        ประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค. ระยะเวลาการฝึกประมาณ ๓๐ วัน        
การสนับสนุนหน่วยเฉพาะกิจที่สำคัญ        
การจัดเรือและกำลังพลสนับสนุนหน่วยเฉพาะกิจ
        
๑. นรข.
        
๒. ฉก.กร.๓๖๑  อ.ละงู จ.สตูล
        
๓. ฉก.กร.๔๐๑
        
๔. มป.๑๔  พระตำหนักจักรีบงกช
        
๕. มรภ.อจปร.อร.
        
๖. มรภ.ฐท.สส.        
การปฏิบัติตามภารกิจพิเศษที่ได้รับมอบหมาย/ สั่งการ
        ๑. การถวายความปลอดภัยทางน้ำ แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตามที่ ทร. จะพิจารณาสั่งการ
        
๒. การอารักขา รักษาความปลอดภัยทางน้ำให้กับบุคคลสำคัญของรัฐบาล หรือของกองทัพ และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ตามที่ ทร. จะพิจารณาสั่งการ
        
๓. ปฏิบัติภารกิจพิเศษอื่น ๆ ตามที่หน่วยเหนือสั่งการ
     
ผู้บังคับบัญชา พลเรือตรี ธานี  ผุดผาด        
      นโยบายผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ
        รู้หน้าที่ มีวินัย สามัคคี เน้นคุณธรรม คิดสร้างสรรค์ ห่างไกลยาเสพติด
        นับตั้งแต่กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการได้ก่อตั้งขึ้นในอดีตจนกระทั่งครบรอบ ๓๙ ปี ใน
๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕ นั้น ข้าราชการทุกคนตระหนักถึงภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกองทัพ และจะพัฒนาความรู้ ความสามารถนำไปใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อกองทัพและประเทศชาติต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น