วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น้ำท่วมกรุงเทพ เกาะติด ข่าวน้ำท่วมกรุงเทพ 2554

อัพเดต เตือน น้ำท่วมกรุงเทพ
วันที่ 12 ตุลาคม 2554
 18.20 น. ผู้ว่าฯปทุม วอน รัฐประกาศภาวะฉุกเฉิน สามโคก ลาดหลุมแก้ว (คลิกอ่านรายละเอียด)
18.15 น. บขส.เดินรถปกติ – รถไฟงดเส้นทางสายเหนือ 18 ขบวน (คลิกอ่านรายละเอียด)
17.23 น. รถไฟฟ้าใต้ดิน ประกาศปิดทางเข้า-ออกบางจุดของแต่ละสถานี ชั่วคราว ได้แก่
1. สถานีบางซื่อ ทางเข้า – ออก หมายเลข 1
2. สถานีหัวลำโพง ทางเข้า – ออก หมายเลข 4
3. สถานีคลองเตย ทางเข้า – ออก หมายเลข 2
4. สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทางเข้า – ออก หมายเลข 4
5. สถานีพระราม 9 ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 และ 3
6. สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทางเข้า – ออก หมายเลข 3
7. สถานีห้วยขวาง ทางเข้า – ออก หมายเลข 4
8. สถานีสุทธิสาร ทางเข้า – ออก หมายเลข 2 (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
9. สถานีรัชดา ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
10. สถานีลาดพร้าว ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
11. สถานีพหลโยธิน ทางเข้า – ออก หมายเลข 2 (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
12. สถานีสวนจตุจักร ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 และ 3 เฉพาะฝั่งบันไดธรรมดา (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
13. สถานีกำแพงเพชร ทางเข้า – ออก หมายเลข 3 (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
14. สถานีสามย่าน ปิดประตูกั้นน้ำ (Flood Gate) ภายในสถานีสาม ย่านบริเวณทางเชื่อมระดับใต้ดิน ซึ่งเชื่อมต่อกับอาคารจัตุรัสจามจุรี (เริ่มปิด     วันที่ 14 ตุลาคม 2554)
15. สถานีสีลม ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 (เริ่มปิดวันที่ 14 ตุลาคม 2554)
16. สถานีลุมพินี ทางเข้า – ออก หมายเลข 3 (เริ่มปิดวันที่ 14 ตุลาคม 2554)
17. สถานีสุขุมวิท ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 (เริ่มปิดวันที่ 14 ตุลาคม 2554)
18. สถานีเพชรบุรี ทางเข้า – ออก หมายเลข 2 (เริ่มปิดวันที่ 14 ตุลาคม 2554)
แต่ทั้งนี้รถไฟฟ้า MRT ยังให้บริการตามปกติทุกสถานี จะปิดเฉพาะทางเข้า – ออกบางจุดเท่านั้น จึงเรียนมาเพื่อกรุณาทราบและขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้
16.10 น. เรือคลองแสนแสบขอหยุดให้บริการทุกเส้นทาง
นายเชาวลิต เมธยะประภาส ผู้ให้บริการเรือคลองแสนแสบ ได้ขอหยุดให้บริการเรือคลองแสนแสบทุกเส้นทาง เพื่อเปิดทางให้กทม.สูบน้ำในคลองออก เตรียมไว้รองรับน้ำเหนือที่กำลังจะทะลักไหลเข้ากรุงใน 1-2 วันนี้  ส่วนจะเปิดให้บริการเมื่อไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนดำเนินการของกรุงเทพฯ
15.00 น. การไฟฟ้านครหลวง ประกาศตัดไฟชั่วคราวบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ใน
วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2554 กรุงเทพมหานคร 
เวลา 08.00-15.30 น.
- ซอยเย็นอากาศ 2
- ซอยประคู่ 1 แยก 42 และ 44
เวลา 08.30-15.00
- ถนนประดิษฐ์มนธรรม บริเวณใกล้ทางตัดซอยนวลจันทร์ (หมู่บ้านมณียา)
และ วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2554
เวลา 08.00-15.30 น.
- ศูนย์การค้าคลองเตย ถนนพระราม 4
- ตลาดคลองเตย ด้านโรงรับจำนำ ถนนสุนทร โกษา
เวลา 08.00-16.30 น.
- ถนนประชาอุทิศทั้งสองฝั่งจากแยก กม.9 ถึงทางด่วน และริมถนนสุขสวัสดิ์และในซอยฝั่งซอยเลขคู่จากซอยสุขสวัสดิ์ 44 (ซอยสารอด) ถึงด่านเก็บเงินขึ้นทางด่วนสุขสวัสดิ์
เวลา 08.00-17.30 น.
- จากสะพานเจริญพาส ถึงหมู่บ้านศิวาลัย
เวลา 08.30-15.00 น.
- ปาดซอยหมู่บ้านสินทร ถนนแฮปปี้แลนด์
เวลา 08.30-15.30 น.
- จากถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ ฝั่งขาออกหลังสถานีสินค้าขนส่ง ICD คลองสี่ถึงถนนฉลองกรุง(บริษัท มนต์ทรานสปอร์ต)
12.20 น. ตลาดบางบัวทอง น้ำท่วมประมาณ 1ม. ด้านสะพานพระราม4 น้ำเริ่มท่วมถ.ราชพฤกษ์ จราจรติดขัด
12.00 น. ลาดกระบัง น้ำเอ่อล้นท่วมตลิ่ง สูงประมาณ 10 ซม.เจ้าหน้าที่นำกระสอบทรายมาทำเป็นแนวกั้นตลอดแนวท่าน้ำ ทั้งนี้ พื้นที่ของเขตลาดกระบังขณะนี้มีจุดที่มีน้ำท่วมขังแล้ว 30 จุด
09.31 น. กรมชลมั่นใจ  ถ้าคันกั้นน้ำไม่พัง กรุงเทพไม่จมบาดาล
นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงมาตรการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพ ว่า ตอนนี้มีการทำคันกั้นน้ำฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตปทุมธานีและนนทบุรีแล้ว ถ้าคันกั้นน้ำไม่แตกหรือพังลงก็จะสามารถป้องกันน้ำทะลักเข้าท่วมได้
ส่วนด้านตะวันออกได้เร่งเสริมคันกั้นน้ำเพิ่มเติมอีก ซึ่งตรงนี้จะมีผลกระทบกับประชาชนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ แต่รัฐบาลจะเข้าไปดูแลช่วยเหลืออย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องดูปริมาณน้ำฝน หากฝนตกหนักอาจจะทำให้กรุงเทพมีน้ำท่วมขังได้ ขอเตือนประชาชนอย่าตื่นตระหนกกับเรื่องน้ำมาก แต่ขอให้เตรียมการจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
09:13 เรือคลองแสนแสบงดบริการ หลัง กทม.พร่องน้ำออกจากคลอง
เรือในคลองแสนแสบ ประกาศงดเดินเรือ วันนี้ (12 ต.ค.) เมื่อเวลา 08.00 น.ที่ผ่านมา หลัง กทม.ทำการพร่องน้ำออกจากคลองแสนแสบ ทำให้ระดับน้ำในคลองมีปริมาณน้อย
นายเชาวลิต เมธยะประภาส นายกสมาคมเรือไทยและเจ้าของบริษัทครอบครัวขนส่ง ซึ่งให้บริการเรือในคลองแสนแสบ ประกาศงดเดินเรือ ในวันนี้ (12 ต.ค.) เมื่อเวลา 08.00 น.ที่ผ่านมา เนื่องจาก กทม.ทำการพร่องน้ำออกจากคลองแสนแสบ เพื่อป้องกันน้ำท่วม ทำให้ระดับน้ำในคลองมีปริมาณน้อย โดยบริษัทจะแจ้งให้ประชาชน ทราบอีกครั้งหากจะเปิดบริการเดินเรือ
…………………………………………………………………………………………………
วันที่ 11 ตุลาคม 2554
20.00 น. ตรวจสถานการณ์น้ำท่วม จังหวัดเขตปริมณฑล จ่อเข้ากรุงเทพ (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
18.00 น. กทม. ย้ำรับมือ 15 พื้นที่จุดอ่อนได้ วอนประชาชนอย่าวิตก
กทม. แจ้ง 15 พื้นที่จุดอ่อนอย่าวิตก เชื่อรับมือได้ เดินหน้าพร่องน้ำในคลองหลักทุกสาย พร้อมเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่จุดอ่อนภายใน 2 ชั่วโมง หากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง
( 11 ต.ค. 54) นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร โฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ตามข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาที่แจ้งว่า ในช่วงนี้จะมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยจากการสำรวจพบว่ากรุงเทพมหานครชั้นในมีพื้นที่จุดอ่อน 15 พื้นที่ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมหากมีปริมาณฝนตกเกินกว่า 60 มม./ชั่วโมง
อย่างไรก็ดีขอแจ้งให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมิใช่พื้นที่เสี่ยงต่อผลกระทบของประมาณน้ำเหนือไหลบ่า หรือน้ำทะเลหนุน เป็นเพียงพื้นที่จุดอ่อนที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมในกรณีที่มีฝนตกหนักต่อเนื่องเท่านั้น โดยสำนักการระบายน้ำ กทม. ได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ พร้อมเจ้าหน้าปฏิบัติงาน ซึ่งจะสามารถสูบน้ำออกจากพื้นที่ได้ภายใน 2 ชั่วโมง พร้อมกันนี้ ยังได้ดำเนินการพร่องน้ำในคลองสายหลักให้มีปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยในการระบายน้ำด้วย
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำได้ที่ ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม กองสารสนเทศระบายน้ำ โทรศัพท์ 0 2248 5115 โทรสาร 0 2248 8012 หรือทางสายด่วน กทม. โทร . 1555
17.20 น. : นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการระดมหน่วยงานทั้งกองทัพ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย และกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขุดลอกคูคลองสำคัญ 5 แห่ง ได้แก่ คือ 1.คลองพระองค์เจ้าไชยยานุชิต 2.คลองจระเข้ใหญ่ 3.คลองบางโฉลง 4.คลองลาดกระบัง และ 5.คลองหนองงูเห่า เพื่อรองรับน้ำจากจ.พระนครศรีอยุะยา และเร่งระบายลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด โดยการปฏิบัติการดังกล่าวต้องแล้วเสร็จก่อนวันที่ 15 ต.ค.นี้
15.55 น. : แอร์พอร์ตลิงค์ เปิดลานจอดรถชั้น1 สถานีมักกะสัน ให้จอดฟรี
รมช.คมนาคม ได้สั่งการให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ เปิดพื้นที่ลานจอดรถชั้น 1สถานีมักกะสัน ให้ประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม นำรถมาจอดฟรี โดยให้เริ่มตั้งแต่วันนี้ (11ต.ค.) เป็นต้นไป อย่างไรก็ดีสำหรับประชาชนที่ประสงค์จะนำรถมาจอด ต้องนำสำเนาทะเบียนรถและสำเนาบัตประจำตัวประชาชน มาติดต่อเจ้าหน้าที่บริเวณชั้น 3 ของสถานีมักกะสันชั้น 3 หรือโทรศัพท์หมายเลข 02-308-5600 ต่อ 2906 หรือ 2907 ตั้งแต่เวลา 07.00-23.00 น.
13.41 น. : รถไฟใต้ดินเตรียมติดตั้งผนังกั้นน้ำท่วมเพิ่ม 9 สถานี
รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน เตรียมดำเนินการติดตั้งผนังป้องกันน้ำท่วมบริเวณโดยรอบสถานี ยกเว้นประตูทางเข้า-ออกสถานี เพิ่มอีก 9 สถานี ได้แก่ สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีสุขุมวิท สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีคลองเตย สถานีลุมพินี สถานีสีลม สถานีสามย่าน และสถานีหัวลำโพง แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังให้บริการผู้โดยสารตามปกติ
13.41 น. : ผู้ว่ากทม. เปิด10ศูนย์อพยพกทม.ฝั่งตะวันออก ยันมีความพร้อมรับมือได้
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.เป็นประธานเปิดศูนย์เฉพาะกิจแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้านตะวันออก เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย เนื่องจากกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก และรองรับน้ำเหนือจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และจ.ปทุมธานี ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในวันที่ 15 – 18 ต.ค.นี้จะมีฝนตกต่อเนื่องและจะมีปริมาณน้ำเหนือไหลเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ ตะวันออกเเป็นจำนวนมาก โดยศูนย์ดังกล่าวมีปลัดกทม.เป็นผู้อำนวยการศูนย์
ทั้งนี้ภายหลังจากการเปิดศูนย์แล้ว ผู้ว่าฯ กทม.ได้เดินทางไปยังโรงเรียนมีนบุรี ซึ่งใช้เป็นศูนย์พักพิงผู้ประสพภัยน้ำท่วมในเขตมีนบุรีด้วย ซึ่งในเขตนี้จะมีศูนย์พักพิง จำนวน 10 ประกอบด้วย
โรงเรียนบึงขวาง
โรงเรียนวังเด็กวิทยานุสรณ์
โรงเรียนคลองสาม
โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
โรงเรียนศาลาคู้
โรงเรียนเรียนบ้านเกาะ
โรงเรียนบางชัน
โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
และโรงเรียนมีนบุรี
โดยผู้ว่าราชการได้ตรวจความพร้อมโดยเฉพาะอุปกรณ์ ที่เป็นที่หลับนอน เช่น ผ้าห่ม ที่นอน รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ซึ่งยืนยันว่าตอนนี้มีความพร้อมที่จะรับผู้อพยพได้
11.34 น. : สำนักระบายน้ำฯ ยันยังป้องกันน้ำท่วมกทม.ได้
สำนักระบายน้ำกรุงเทพมหานคร สรุปสถานการณ์น้ำประจำวัน ระบุแนวป้องกันน้ำท่วมกทม. ยังสามารถป้องกันได้ เพราะระดับน้ำในคลองต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร อยู่ในสภาวะปกติ โดยระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาวัดที่ปากคลองตลาดวันนี้ (11ต.ค.) อยู่ที่ระดับ +1.92 ม.รทก.(ระดับน้ำทะเลปานกลาง)ต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 88 ซม.
09.51 น. ภาพน้ำท่วม ถนนราษฎร์อุทิศ (คู้ขวา) มีนบุรี (facebook.com user : Suf นิยมราษฎร์)
 ภาพน้ำท่วม ถนนราษฎร์อุทิศ (คู้ขวา) มีนบุรี (facebook.com user : Suf นิยมราษฎร์)

09.33 น.ชุมชนบริเวณชุมชนวัดปุรณาวาส เขตคลองทวีวัฒนา ขณะนี้ระดับน้ำอยู่ที่ 1.80 ม. ชาวบ้าน กว่า 200 ครัวเรือเดือดร้อนหนัก ขณะนี้ เร่งประสานเจ้าหน้าที่เพิ่มกระสอบทราย
……………………………………………………………………………………………..
วันที่ 10 ตุลาคม 2554
17.30 น. น้ำเริ่มท่วม เขตหนองจอก-มีนบุรี แล้ว

น้ำเริ่มท่วมชุมชนในเขตหนองจอก มีนบุรี ขณะที่ชาวบ้านเรียกร้องให้เขตเข้าช่วยเหลือ เรื่องการย้ายคน และทำคันกั้นน้ำเพิ่ม
ชุมชนลำต้นไทรและชุมชนทองสงวน กรุงเทพมหานคร ถูกน้ำที่เอ่อล้นจากคลองลำต้นไทร คลองสาขาของคลองแสนแสบ เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนกว่า 1,500 หลัง ระดับน้ำสูงกว่า 50 เซนติเมตร ขณะที่ชาวชุมชนยังต้องเร่งก่อพนังกั้นน้ำให้สูงขึ้นอีกกว่า 1 เมตร หลัง กทม. แจ้งเตือนว่าจะมีน้ำเหนือไหลลงมาสมทบอีกประมาณ ช่วงวันที่ 15-19 ตุลาคมนี้
ด้านประธานชุมชนเผยว่าตั้งแต่ถูกน้ำท่วมชาวชุมชนต้องช่วยเหลือตัวเอง เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแล ซึ่งชาวบ้านมีความกังวลว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีกจนไม่สามารถอาศัยอยู่ในบ้านได้ โดยเฉพาะลูกบ้านที่เจ็บป่วย และพิการ จึงอยากร้องขอให้ทางเขตเข้ามาช่วยเหลือ เรื่องการย้ายคน และสนับสนุนกระสอบทรายกั้นน้ำเพิ่ม รวมถึงไม้ เพื่อนำมายกของขึ้นที่สูง
(ทีวีไทย)
15.10 น. : ผอ.สำนักการระบายน้ำกทม. ระบุจุดเสี่ยงทั้ง 15แห่งในพื้นที่กทม.ที่คาดว่าจะถูกน้ำท่วม จะมีปริมาณน้ำสูงอยู่ที่10-15ซม.ไม่ใช่ระดับน้ำท่วมสูงรุนแรง

กทม.เตรียมแผนอพยพประชาชน 9 เขต กรุงเทพฝั่งตะวันออกหนีน้ำท่วม
รองปลัด กทม.ประชุมแผนอพยพ เส้นทางและที่พักกับ 9 ผู้อำนวยการเขตฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะ 4 เขตแรกคือ หนองจอก มีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง เสี่ยงเกิดน้ำท่วม  แต่ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพราะ กทม.จะพิจารณาจากน้ำฝนและน้ำเหนือ
นพ.พีระพงษ์ สายเชื้อ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.)เป็นประธานประชุมผู้อำนวยการเขต 9 เขตฝั่งตะวันออกของ กทม.คือ  หนองจอก มีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง  บึงกุ่ม  สะพานสูง บางกะปิ  ประเวศ  คันนายาว  เพื่อจัดทำแผนอพยพผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยให้เขตคลองสามวาเป็นเจ้าภาพ ซึ่งแต่ละเขตได้นำเสนอขั้นตอนของแผนอพยพ เริ่มจากการจัดทำแผนในเขตอ่อนไหวที่จะประสบภัยน้ำท่วม แผนที่ศูนย์พักพิงและศูนย์ประสานงานกลาง แนวเส้นทางการอพยพ พาหนะที่จะใช้ เช่น รถและเรือ เจ้าหน้าที่เทศกิจ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ การดูแลทรัพย์สินของมีค่าของผู้อพยพไปแล้ว ข้อมูลความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งการฟื้นฟูภายหลังน้ำลด
นพ.พีระพงษ์ เปิดเผยว่า สาเหตุที่เพิ่มการตั้งรับภาวะน้ำท่วมเป็น 9 เขตฝั่งตะวันออก เนื่องจากสถานการณ์น้ำขณะนี้ไม่น่าไว้วางใจ ยังมีน้ำเหนือมาเพิ่มปริมาณที่จังหวัดนครสวรรค์และปทุมธานี และเป็นด้านที่เขตคลองสามวาและหนองจอก จะรับน้ำจากคลองต่างๆ ของจังหวัดปทุมธานี แม้กทม.ไม่ต้องการให้ประชาชนแตกตื่นแต่ก็ต้องมีการเตรียมพร้อม ซึ่งเป็นการเตรียมเช่นนี้ทุกปี ซึ่งพื้นที่ของกทม.มีความแตกต่างจากต่างจังหวัด ที่บ้านเรือนกระจายอยู่ไม่เป็นกลุ่มก้อน  การวางแผนอพยพ และเข้าถึงพื้นที่ทำได้ยาก ขณะนี้มีการประเมินการรองรับจำนวนคนที่ศูนย์พักพิง 80 จุดใน 9 เขต รองรับจุดละ 100 คน รับได้ 8,000-10,000 คน และอาจจะขยายเพิ่มได้อีก
“ผู้ที่จะต้องอพยพอันดับแรกคือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย คนพิการและเด็ก  รองลงไปเป็นกลุ่มที่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และคนไร้ที่อยู่  สำหรับใน 4 เขตที่ซีเรียส คือ หนองจอก มีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง  โดยใช้ความน่าจะเป็นและร่นเข้ามาตามลำดับ โดยดูที่ปริมาณน้ำฝน และน้ำเหนือหลังวันที่ 15 ตุลาคม ที่จะมีอิทธิพลมากที่สุดไม่อยากให้ประชาชนแตกตื่น อยากให้ฟังข่าวสารอย่างใกล้ชิด วันจันทร์นี้ผู้บริหาร 4 เขตจะเข้ารายงานแผนอพยพกับที่ประชุมผู้บริหาร” รองปลัด กทม.กล่าว
(MCOT)
เผย 15 จุดเสี่ยง น้ำท่วม กรุงเทพฯ ชั้นใน
สำหรับพื้นที่ชั้นใน กทม.จากการสำรวจพบว่า มี 15 พื้นที่เป็นจุดอ่อนและเสี่ยงต่อน้ำท่วม หากน้ำฝน น้ำเหนือ และน้ำทะเลหนุน ก็เสี่ยงจะเกิดน้ำท่วมได้ เพราะกรุงเทพฯเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ง่ายต่อน้ำท่วมขัง (คลิกอ่านรายละเอียด)
………………………………………………………………………………………………………..
วันที่ 9 ตุลาคม 2554
17.23 น. ศูนย์การค้า พาราไดซ์ พาร์ค เปิดให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมจอดรถฟรี
นางชฎาทิพ จูตระกูล รองประธานกรรมการ บริษัท พาราไดซ์ พาร์ค จำกัด เปิดเผยว่า ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ ได้เปิดพื้นที่อาคารจอดรถตั้งแต่ชั้น 3D ขึ้นไป เพื่อให้บริการรับฝากจอดรถยนต์สำหรับผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม โดยรองรับรถยนต์ได้ถึง 650 คัน พร้อมเตรียมระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้ สามารถนำรถยนต์เข้าจอดได้ตั้งแต่วันนี้ โดยไม่เสียใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-787-2191
……………………………………………………………………………………………..
วันที่ 8 ตุลาคม 2554
20. 53 น. ศภช. เตือน 9 คลอง น้ำจ่อ เตรียมล้นตลิ่ง
1. คลองบางพรม (ถ.กาญจนาภิเษก)
2. คลองฉิมพลี - คลองบางแวก (พุทธมณฑลสาย 1)
3. คลองบางแวก (ถ.รัชดาภิเษก)
4. คลองเปรมประชากร (ดอนเมือง)
5. คลองลาดพร้าว (วัดลาดพร้าว)
6. ปากคลองตลาด - คลองบางซื่อ (ฝั่งขวา ถ.พหลโยธิน)
7. คลองมหาสวัสดิ์ (ทั้งสองฝั่ง ถ.พุทธมณฑลสาย 2)
16.51 น. ศภช. แจ้งเตือนว่า ในระหว่างวันที่ 8 – 16 ต. ค.นี้ สถานการณ์น้ำนอกเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อาจเกิดน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่เขตมีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก และคลองสามวา
16.43 น. ผอ.สำนักระบายน้ำกทม. เผย 15 จุดเสี่ยงน้ำท่วม กรุงเทพชั้นในหากน้ำฝน น้ำเหนือ และน้ำทะเลหนุน (คลิกอ่านรายละเอียด)
ภาพในมหาวิทยาลัยรามคำแหง (@tuajoon_jung)
กรุงเทพฯอ่วม ถนนหลายสายโดนฝนตกหนักทำให้การจราจรติดขัด
- ถนนนวมินทร์ ช่วงหน้า ร.ร.บ้านบางกะปิ น้ำท่วมสูงระดับฟุตบาท
- ถนนพหลโยธิน ช่วงแยกเกษตร น้ำท่วมสูง รถเล็กผ่านไม่ได้ ส่วนถนนพหลโยธิน ช่วงสะพานใหม่ถึงแยกรัชโยธิน น้ำท่วมสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร รถเล็กผ่านได้เฉพาะช่องทางขวาเท่านั้น
- ถนนรัชดาภิเษกตัดถ.ลาดพร้าวต่อเนื่องหน้าศาลอาญาระดับน้ำท่วมสูงเกินกว่าริมฟุตบาท ผู้ว่าฯเร่งช่วยเหลือ ระบายน้ำแล้ว
- ถนนประชาสงเคราะห์ ถ.ประดิษฐ์มนูธรรม ถนนลาดพร้าวทั้งขาเข้าและขาออก ช่วงลาดพร้าว 71 และ 102 น้ำท่วมระดับฟุตบาท
- ถนนรามคำแหง 43/1 มีน้ำท่วมขังถึงริมฟุตบาท รถวิ่งได้เลนขวาเลนเดียว
- ถนนงามวงศ์วาน ช่วงแยกเกษตรไปถึงแยกพงษ์เพชร น้ำท่วมสูงมาก รถเล็กผ่านไม่ได้แล้ว
………………………………………………………………………..
วันที่ 7 ตุลาคม 2554
 มาตรการรับมือ น้ำท่วมกรุงเทพ
ผู้ว่ากรุงเทพ แจงมาตรการรับมือปัญหา น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ผ่านเฟชบุ๊ค ว่า
กทม.ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยใช้ระบบพื้นที่ปิดล้อม คือก่อสร้างคันกั้นน้ำล้อมรอบพื้นที่ เพื่อป้องกันน้ำจากภายนอกมิให้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ ขีดความสามารถของคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถป้องกันระดับน้ำได้ที่ +๒.๕๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) หรืออัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำประมาณ ๓,๐๐๐ – ๓,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ส่วนกรณีมีฝนตกหนักในพื้นที่ก็จะก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำท่วมขังลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ขีดความสามารถของระบบระบายน้ำสามารถรองรับฝนตกไม่เกิน ๖๐ มิลลิเมตรต่อชั่วโมง หากเกินนั้นก็จะมีน้ำท่วมขังในบางจุดแล้วจะค่อยๆ ทยอยระบายลงเมื่อฝนหยุด ส่วนใหญ่ใช้เวลาระบายประมาณ 1-3 ชั่วโมง
การก่อสร้างแนวป้องกัน น้ำท่วม
- ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างตามพระราชดำริ เพื่อป้องกันน้ำไหลบ่าจากพื้นที่ตอนบนของ กรุงเทพ และพื้นที่ทุ่งด้านตะวันออก ความยาว ๗๒ กม.
- บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อป้องกันน้ำเหนือหลากและน้ำทะเลหนุนเข้าท่วมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาวแนวป้องกันทั้งสิ้น ๗๗ กม. ก่อสร้างแล้วเสร็จ ๗๕.๘๐ กม. ส่วนที่เหลือจะแล้วเสร็จในปี ๒๕๕๔ ป้องกันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดที่ระดับ +๒.๕๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จเรียงกระสอบทรายเป็นแนวป้องกันชั่วคราว สูงที่ระดับ +๒.๐๐ เมตร ถึง +๒.๕๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเตรียมกระสอบทรายไว้จำนวน ๔ ล้านใบ
ผู้ว่ากรุงเทพ เผย 4 เขต เสี่ยงน้ำท่วม
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ล่าสุดอยู่ที่ 1.70 เมตร โดยแนวเขื่อนสามารถรับน้ำได้ถึง 2.50 เมตร ซึ่งมั่นใจว่า กรุงเทพมหานครยังรับมือกับสถานการณ์ น้ำท่วม ได้
อย่างไรก็ตาม จะต้องเฝ้าระวังในวันที่ 15-17 ตุลาคม เพราะน้ำทะเลจะหนุนเพิ่ม บวกกับน้ำจากเขื่อนภูมิพลที่จะมาสมทบ
โดยพื้นที่ที่น่าเป็นห่วง คือ เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง คลองสามวา และ มีนบุรี รวมถึง 27 ชุมชน นอกแนวเขื่อนเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งตนได้สั่งการเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานของ กทม. ร่วมกันทำงาน ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถระบายน้ำได้
………………………………………………………………………..
วันที่ 30 กันยายน 2554
09.58 น. น้ำเอ่อท่วมถนนติวานนท์ ในพื้นที่ ต.บางพูน อ.เมือง จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นทางเชื่อมต่อไป อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ยาวกว่า 2 ก.ม.ทำให้การจราจรติดขัด
09.43 น. บางกอกน้อย น้ำเพิ่มสูงกว่า 1 เมตรแล้ว!!
น้ำได้ไหลเข้าท่วม ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ ย่านบางกอกน้อย ระดับน้ำเพิ่มสูงกว่า 1 เมตร คาดช่วงเย็นจะมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอีก
………………………………………………………………………..
วันที่ 29 กันยายน 2554
18.40 น. นายกเทศมนตรีตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ออกแก้ไขปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5 ตำบลหลักหก ถนนเลียบคลองรังสิตทั้งสองฝั่งหรือซอยผู้ใหญ่เลี้ยง
17.00 น. เขตดอนเมือง หวั่นน้ำล้นคลอง สั่งด่วนอุดกระสอบทรายกั้น เผยระดับน้ำวิกฤตสูงกว่าผิวจราจรแล้ว
14.47 น. น้ำจากคลองรังสิต ทะลักเข้าพื้นที่กรุงเทพแล้ว
น้ำเหนือไหล่บ่าจาก คลองรังสิตไหล่บ่าข้ามกระสอบทราย เข้าพื้นที่ริมถนนโลคัลโรดแล้ว ระดมเจ้าหน้าที่จำนวน 40 นาย และทหารจากปตอ.พัน 7 จำนวน60 นาย มาช่วยเหลือในการป้องกันน้ำเข้าท่วมในเขต กรุงเทพมหานคร
………………………………………………………………………………………
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)  : สทอภ. หรือ GISTDA หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เผยภาพจากดาวเทียม แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยที่จะเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฉับพลัน ในช่วง 3-5 วันที่จะถึงนี้ ใน 13 เขตของกรุงเทพมหานคร ได้แก่
- หนองค้างพลู
- ทุ่งสองห้อง
- สายไหม
- คลองถนน
- อนุสาวรีย์
- จระเข้บัว
- ลาดพร้าว
- คลองกุ่ม
- คลองจั่น
- หัวหมาก
- สะพานสูง
- คลองสองต้นนุ่น
- ลาดกระบัง
ส่วนบริเวณปริมณฑล ได้แก่ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม จ.สมุทรปราการ และจ.ฉะเชิงเทรา
จึงเตือนประชาชนเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม และหลีกเลี่ยงเส้นทางจราจรที่มี น้ำท่วม ขัง รวมทั้งติดตามข่าวสถานการณ์น้ำท่วม และระดับน้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน ตลอดจนเตรียมย้ายที่อยู่ชั่วคราว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น