ในวันที่ 3 มิ.ย. 54 ทางกองทัพบกได้มีการจัดงานสาธิตการใช้งานรถเกราะ BTR-3E ซึ่งเป็นเขี้ยวเล็บใหม่ของประเทศไทย ณ พล.ร. 2 รอ. จังหวัดสระแก้วโดยมีรองผู้บัญชาการทหารบกเป็นประธาน กองทัพบกได้ทำการจัดหารถแบบ BTR-3 ไว้จำนวน 226 คัน โดยได้รับมอบมาแล้วจำนวน 12 คัน
ยานเกราะล้อยางแบบ BTR-3E1
BTR-3E1 เป็นยานเกราะล้อยางประเภทสะเทินน้ำสะเทินบก ผลิตจากประเทศยูเครน โดยมีต้นแบบมาจากรถตระกูล BTR ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศรัสเซีย ตัวถังรถ ผลิตด้วยเหล็กกล้าชนิดแข็งมากผสมใยสังเคราะห์ KEVLAR จากด้านในของตัวรถ (VERY HARD STEEL & REINFORCE WITH THE KEVLAR INSIDE) ป้องกันกระสุน ขนาด 7.62 มม. โดยสามารถปรับปรุงให้ป้องกันกระสุน ขนาด 12.7 มม. (.50 นิ้ว) ได้ด้วยการเสริมแผ่นเซรามิค บรรทุกกำลังพลรวม 9 นาย ประกอบด้วย ผบ.รถ, พลขับ, พลยิง และพลประจำรถ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. ปืนกลอัตโนมัติ ขนาด 30 มม. แบบ ZTM-1 ติดตั้งที่ป้อมปืนด้านบนตัวรถ พร้อมกระสุนจำนวน 400 นัด ซึ่งมีอัตราการยิง 330 นัด/นาที โดยมีระยะยิงหวังผลทางภาคพื้น ที่ระยะ 4000 ม. และทางอากาศ ที่ระยะ 2000 ม.
2. ระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง แบบ BARRIER (BARRIER ANTI- TANK MISSILE SYSTEM: BARRIER ATMS) นำวิถีด้วยแสงเลเซอร์ (LASER BEAM) พร้อมลูกจรวด ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ 5500 ม.
3. เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 30 ม. แบบ AG-17 หรือ AGS-17 (30 mm AUTOMATIC GRENADE LAUNCHER) พร้อมลูกระเบิดยิง ซึ่งใช้หวังผล ที่ระยะ 1700 ม.
4. ปืนกลขนาด 7.62 มม. แบบ KT-7.62 (PKT) พร้อมกระสุน จำนวน 2000 นัด ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ 2000 ม.
5. เครื่องยิงลูกระเบิดควัน ขนาด 81 มม. พร้อมลูกระเบิดควัน จำนวน 6 นัด
- ระบบเกียรอัตตโนมัติของ Allison Transmission
- ระบบพยุงตัวรถ แบบอิสระ (INDEPENDENT)
- ยางล้อแบบ RUN FLAT สามารถควบคุมการเติมลมได้ในขณะขับเคลื่อน
- ความเร็วสูงสุด บนถนน 100 กม./ชม.
- ความเร็วในน้ำ 10 กม./ชม. ขับเคลื่อนด้วย water jet แบบหนึ่งใบพัดติดตั้งตรงกลางของช่วงท้ายรถ
- ข้ามเครื่องกีดขวาง ขนาดความสูง 0.5 ม.
- ข้ามคูดักรถถัง ขนาดความกว้าง 2 ม.
- ไต่ลาดชัน 30 องสา
- การไต่ลาดเอียง 25 องสา
-ระบบติดตามเป้าหมาย (TRACK SIGHTING SYSTEM) แบบกล้องทีวีทำงานได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน พร้อมกล้องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ (TV DAY & NIGHT WITH INTEGRATED LASER RANGE FINDER)
- ระบบกล้องตรวจการณ์ แบบมองรอบทิศทาง (PANORAMIC OBSERVATION SYSTEM)
- ระบบกรองอากาศ แบบ FULL FLOW FILTER เพื่อป้องกันภัยจาก CBRN (Chemical, Biological, Radio Active and Nuclear) และ ระบบทำความเย็น (AIRCONDITION)
ต้นกำเนิดของแนวความคิดการพัฒนายุทธยานยนต์ประเภทยานเกราะและการจัดกำลังทางทหารของสหภาพ
โซเวียตเกิดขึ้นในช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง ในการต่อสู้เพื่อปกป้องรักษาเมือง Stalingrad ที่ได้รับการจารึกไว้ในแฟ้มประวัติศาสตร์และได้ถูกใช้เป็นกรณีศึกษาทางยุทธวิถี ภายใต้ในชื่อ The Battle of Stalingrad ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี 1942 และปี 1943 โดยในครั้งนั้นกองทัพโซเวียตสามารถปกป้องการเข้ายึดจากกองทัพนาซี ซึ่งประกอบไปด้วยกองทัพรถถัง Panzer ที่มีอำนาจการโจมตีและเกราะป้องกันที่เหนือกว่ารถถังแบบ T-34 ของรัสเซีย ที่อาศัยจำนวนที่มากกว่า จากการผลิตแบบข้ามวันข้ามคืนด้วยแรงงานที่ประกอบไปด้วยคนทุกเพศทุกวัย เพื่อให้ทันออกมาใช้ในการรักษาแผ่นดินแม่ รวมรบไปกับกองกำลังทหารราบอีกไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านคน ภายใต้ปฏิบัติการ URANUS ซึ่งกองทัพโซเวียตได้ใช้กลยุทธในการผนึกกำลังทหารราบและยานเกราะผสมผสานกับยุทธวิถีในการเคลื่อนกำลัง เข้าตีโอบล้อมกองทัพเยอรมัน จนต้องยอมจำนนภายหลังจากที่สูญเสียทหารและยุทโธปกรณ์เป็นจำนวนมากจากการสู้รบ ความภายแพ้ของกองทัพนาซีในสมรภูมิครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความปราชัยของกองทัพนาซี และยังเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งทหารราบยานเกราะของรัสเซียในปัจจุบัน
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง โซเวียตได้เล็งเห็นถึงประสิทธิภาพในการเข้าประชิดข้าศึกด้วยรถถังที่มีอำนาจการโจมตีสูงและทหารราบที่มีความคล่องตัว จึงได้ทำการฝึกฝนและพัฒนาหลักนิยมทหารม้ายานเกราะขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทหารราบสามารถเคลื่อนพลและเข้าตีร่วมไปพร้อมกับรถถังได้ จึงได้ออกแบบและผลิตยุทธยานยนต์ประเภทยานเกราะบรรทุกแบบ BTR-152A ในช่วง 1950 เพื่อใช้บรรทุกทหารราบในการเคลื่อนขบวนไปพร้อมกับรถถัง โดยได้ใช้ยานเกราะประเภท Half-Track แบบ SdKfz-251ของเยอรมันและยานเกราะแบบ M3 ของสหรัฐฯ เป็นต้นแบบ รถ BTR-152A ได้รับติดตั้งด้วยอาวุธปืนขนาด 14.5 มม.เพื่อยิงสนับสนุนให้แก่ทหารราบที่ลงรบบนดิน (Dismounted)
ต่อมาในช่วงยุค 1960 สหภาพโซเวียตได้ประเมินสถานการณ์ถึงการเกิดสงครามนิวเคลีย จึงได้เตรียมพร้อมด้วยการปรับเปลี่ยนหลักนิยมและยุทธวิธีเ โดยคาดการว่าหากมีการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียจากสหรัฐอเมริกาและกลุ่มนาโต้ จะส่งผลให้สภาพแวดล้อมปนเปื้อนไปด้วยสารกัมมันตรังสี เป็นอันตรายต่อทหารราบ จึงได้ออกแบบยานเกราะบรรทุกแบบใหม่ขึ้นมา ที่สามารถบรรทุกทหารที่สามารถเคลื่อนกำลังไปพร้อมกับรถถัง ผ่านพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยสารกัมมันตรังสี ทนทานต่อการถูกโจมตีด้วยปืนกลขนาดเล็ก ในขณะเดียวกันทหารราบภายในยานเกราะสามารถทำการโจมตีข้าศึกจากภายในรถได้ จึงได้มีการออกแบบและผลิตรถเกราะขึ้นมาสองแบบคือแบบขับเคลื่อนด้วยสายพาน BMP-1 และแบบขับเคลื่อนด้วยล้อ BTR-60 ขึ้นมาในปลายของยุค 1950
รถเกราะ BMP-1 เป็นรถเกราะที่ใช้ในการบรรทุกทหารราบและสนับสนุนการยิงจากปืนขนาด 30 มม. เป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยสายพาน มีความคล่องตัวสูง ขับเคลื่อนได้ในทุกสภาพภูมิประเทศ แต่เนื่องจากเป็นรถที่มีต้นทุนในการผลิตและการซ่อมบำรุงสูง จึงทำให้ในยุคนั้นมีการนำรถ BMP เข้าประจำการในระดับกรมทหารม้ารถถังเท่านั้น ในขณะที่รถ BTR เป็นรถเกราะล้อยาง 8*8 ที่มีราคาต่ำกว่า BMP จีงทำให้รถ BTR ได้รับการผลิตออกมาเป็นจำนวนมากและได้ถูกนำเข้าประจำการในระดับกองพลทหารม้ายานเกราะของกองทัพโซเวียต
ในส่วนของการจัดกำลังรบประเภททหารราบยานกราะของโซเวียต ในช่วงของยุคสงครามเย็น 1970 หน่วยข่าวกรองของสหรัฐ หรือ CIA ได้มีการบันทึกถึงการจัดกองกำลังยานเกราะของโซเวียต ภายใต้ Army Corps of Mobile Forces โดยได้ระบุถึงกองพลทหารยานเกราะหรือ Motorized Rifle Division, MRD ซึ่งประกอบไปด้วย 3 กรมทหารราบและ 1 กรมยานเกราะรถถัง บวกกับกองกำลังฝ่ายสนันสนุน ซึ่งจะใช้ในการเจาะแนวกำแพงการตั้งรับของกองกำลังนาโต้ และได้ปรับปรุงอำนาจการโจมตีและประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของยานเกราะ เพื่อให้เคลื่อนกำลังได้อย่างคล่องแคร่ว เข้าใกล้ข้าศึกได้มากที่สุด พร้อมกับสามารถยิงสนับสนุน กดดัน ฐานที่มั่นของข้าศึก
นอกจากนั้นแล้วองค์การ CIA ได้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากการเฝ้าสังเกตุดูการฝึกซ้อมของหน่วยทหารยานเกราะของโซเวียนที่ประจำกรอยู่ในประเทศเยอรมันตะอันออก และได้ข้อมูลว่ากองทัพโซเวียตได้ใช้ยุทธวิธีแบบ Bounding – Overwatch ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการเคลื่อนกำลังไปข้างหน้าพร้อมกับทำการยิงสนับสนุน อันเป็นมาตราฐานของสหรัฐและนาโต้ ซึ่งดีกว่าแบบ Line-a-Breast ของโซเวียต
นอกจากนั้นแล้วยังได้ระบุถึงมีการเสริมสร้างศักยภาพด้านอาวุธในการโจมตีรถถัง ช่วยให้เกิดความอ่อนตัวในการปฏิบัติภารกิจที่หลากหลายครอบคลุมทุกมิติทางการรบ โดยที่ยานเกราะรบและยานเกราะบรรทุก ได้รับการติดตั้งด้วยจรวดนำวิถีต่อต้านรถถัง ที่มีพิสัยทำการอยู่ที่ 3 – 4 กิโลเมตรสำหรับระยะไกล และ 1 – 2 กิโลเมตรสำหรับจรวดระยะใกล้ ปืนกลต่อสู้ยานเกราะและจรวดแบบพื้นสู่อากาศ และยังได้มีการเพิ่มชั้นความแข็งแรงให้กับเกราะป้องกันในบริเวณส่วนหน้าของรถที่ทำมุม 60 องสา ที่สามารถลดอำนาจการเจาะทะลวงจากกระสุนแบบ .50 cal และ 20 มม. ซึ่งมีอยู่ในยุทธยานยนต์ของกลุ่มนาโต้ โดยเฉพาะอาวุธปืนขนาด 25 มม ของรถ Bradley ทาง CIA ยังได้แสดงความกังวลถึงการที่ยานเกราะของสหรัฐและนาโต้ที่ต้องใช้อาวุธต่อต้านรถถังแบบ ATGM ที่มีปริมาณจำกัดเพื่อใช้ในการต่อต้านยานเกราะทั้งแบบ BTR อีกทั้งยังได้ประเมินการณ์ว่าอาวุธโจมตีภาคพื้นดินอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อการยับยั้งรถ BTR อาจต้องอาศัยปืนขนาด 30 มม. จากเครื่องบินต่อสู้รถถังแบบ A-10 ในขณะที่ปืนขนาด 20 มม. จาก ฮ. Cobra จะมีประสิทธิภาพในระยะ 300 เมตร หากยิงโจมตีส่วนหน้าของรถและ 1000 เมตร หากยิงโจมตีบริเวณด้านข้างของรถ
จากรายงานของ CIA คงพอเป็นเครื่องยืนยันให้เห็นว่ารถเกราะตระกูล BTR เป็นรถเกราะที่ประกอบไปด้วยอำนาจการโจมตีที่ครบครันทั้งระยะใกล้และระยะไกล มีแสนยานุภาพในการโจมตีข้าศึกที่หลากหลาย ได้อย่างแม่นยำ มีอัตราการอยู่รอดสูง (Survivability) อีกทั้งยังมีความหยืดหยุ่นในการองรับภารกิจที่หลากหลาย ซึ่งการนำรถยานเกราะ BTR เข้าประจำการในกองทัพไทย ถือว่าเป็นเขี้ยวเล็บใหม่ของประเทศไทยเสริมสร้างแสนยานุภาพในการรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของประเทศชาติ
อ้างอิง
- สำนักงานประสานการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร ( http://ardothailand.com/SHcontentsview.php?Ccont_ID=32 )
- เอกสารแจกจ่ายของกองทัพบก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น