สถานีเรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
กองทัพเรือ ในแม่น้ำเจ้าพระยา
ความเป็นมา
ตามที่
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ (ศบภ.ทร.) ได้อนุมัติให้กองเรือลำน้ำ
กองเรือยุทธการ จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ (ฉก.บภ.ทางน้ำ) มีหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลือและอพยพผู้ประสบภัยในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองสาขาต่างๆ ที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา นำส่งให้แก่หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบก (ฉก.บภ.ทางบก) ฐท.กท. นำส่งไปยังศูนย์อพยพหรือพื้นที่ปลอดภัยต่อไป ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดปทุมธานีถึงจังหวัดสมุทรปราการ
กองเรือยุทธการ จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ (ฉก.บภ.ทางน้ำ) มีหน้าที่รับผิดชอบช่วยเหลือและอพยพผู้ประสบภัยในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองสาขาต่างๆ ที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา นำส่งให้แก่หน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางบก (ฉก.บภ.ทางบก) ฐท.กท. นำส่งไปยังศูนย์อพยพหรือพื้นที่ปลอดภัยต่อไป ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดปทุมธานีถึงจังหวัดสมุทรปราการ
จากภารกิจดังกล่าวที่ว่าเป็นจุดศูนย์รวมกำลังพลกับยุทโธปกรณ์ช่วยเหลือและอพยพทางน้ำ
กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ จึงได้เสนอแนวความคิดในการจัดตั้งสถานีเรืออพยพลอยน้ำ
กองทัพเรือ ในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่กระแสน้ำได้หลากท่วมพื้นที่โดยรอบปริมณฑลและแผ่กระจายมาตั้งแต่ด้านเหนือของกรุงเทพฯ
มีทิศทางลงใต้ ทำให้พื้นที่อพยพ
บนบกมีขีดจำกัด
บนบกมีขีดจำกัด
วัตถุประสงค์ของสถานีเรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
กองทัพเรือ ในแม่น้ำเจ้าพระยา
เพื่อเป็นจุดศูนย์รวม สั่งการ บัญชาการ
และเป็นสถานที่อพยพประชาชนบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตรับผิดชอบ
ซึ่งบนสถานีเรือที่จะจัดตั้งขึ้นมี ๒ ที่ ที่แรกบริเวณหน้าวัดไทรม้าใต้
สะพานพระนั่งเกล้า อีกที่หนึ่ง ที่บริเวณหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติ สะพานพระราม ๕
ขนาดและยุทโธปกรณ์ประจำสถานีเรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
กองทัพเรือ ในแม่น้ำเจ้าพระยา
สถานีเรือแต่ละพื้นที่
ประกอบด้วย แพลอยน้ำขนาด ๘ X ๑๒.๕ ตารางเมตร (๑๐๐ ตารางเมตร) จำนวน
๒ – ๓ แพ ในแต่ละพื้นที่สามารถรองรับผู้อพยพได้ จำนวนประมาณ ๒๐๐ – ๓๐๐ คน
โดยจะมีเจ้าหน้าที่ประจำแพประมาณ ๑๐ – ๒๐ นาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้อพยพ มีหน่วยแพทย์ เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นกับผู้อพยพ รวมถึงมีเรือพยาบาล สำหรับเป็นหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และสามารถนำผู้ป่วยออกจากพื้นที่ เพื่อส่งต่อยังโรงพยาบาลใกล้เคียงได้
โดยจะมีเจ้าหน้าที่ประจำแพประมาณ ๑๐ – ๒๐ นาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้อพยพ มีหน่วยแพทย์ เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นกับผู้อพยพ รวมถึงมีเรือพยาบาล สำหรับเป็นหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และสามารถนำผู้ป่วยออกจากพื้นที่ เพื่อส่งต่อยังโรงพยาบาลใกล้เคียงได้
นอกจากสถานีเรือจะทำหน้าที่คัดแยกและส่งต่อผู้อพยพไปส่งพื้นที่พักพิงแล้ว
ยังสามารถรองรับผู้อพยพที่ไม่สามารถส่งต่อไปยังที่ปลอดภัย
หรือไม่มีสถานที่หรือญาติพี่น้องที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้จำนวนหนึ่ง
ซึ่งในแต่ละสถานีจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย เช่น เครื่องปั่นไฟเคลื่อนที่
หน่วยแพทย์ ที่พักอาศัย สุขา รวมถึงยังสามารถเป็นที่เทียบเรือ จำนวน ๔ – ๕ ลำ เพื่อเตรียมพร้อมในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่
และอพยพเคลื่อนย้ายตามที่ได้รับการร้องขอ โดยเรือที่จอดประจำแพ ประกอบด้วย
๑. เรือปฏิบัติการพิเศษความเร็วสูง (เรือ พ.)
สามารถสนับสนุนการลำเลียงผู้อพยพได้ครั้งละประมาณ ๔๐ – ๖๐ คน และสามารถลำเลียงถุงยังชีพได้ประมาณ
๑,๐๐๐ ถุง
๒. เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น
(เรือ ท.) สามารถสนับสนุนการลำเลียงผู้อพยพได้ครั้งละประมาณ ๓๐ – ๔๐ คน และสามารถลำเลียงถุงยังชีพได้ประมาณ
๕๐๐ ถุง
๓. เรือยางเครื่องยนต์ติดท้าย
สามารถสนับสนุนการลำเลียงผู้อพยพได้ครั้งละประมาณ
๘ – ๑๐ คน และสามารถลำเลียงถุงยังชีพได้ประมาณ ๘๐ - ๑๐๐ ถุง
๘ – ๑๐ คน และสามารถลำเลียงถุงยังชีพได้ประมาณ ๘๐ - ๑๐๐ ถุง
๔. เรือท้องแบนเครื่องยนต์ติดท้าย
สามารถสนับสนุนการลำเลียงผู้อพยพได้ครั้งละประมาณ ๑๐ – ๑๕ คน และสามารถลำเลียงถุงยังชีพได้ประมาณ
๑๐๐ - ๑๕๐ ถุง
๕. เรือ LCVP (เรืออพยพ) สามารถสนับสนุนการลำเลียงผู้อพยพได้ครั้งละประมาณ
๒๐ – ๓๐ คน และสามารถลำเลียงถุงยังชีพได้ประมาณ
๑๐๐ – ๒๐๐ ถุง
๖. เรือ
SEA LEG สามารถวิ่งได้ทั้งบกและน้ำ
สามารถเข้าให้ความช่วยเหลือได้ทั้งบก และน้ำ
๗. เรือพยาบาล สนับสนุนการลำเลียงทางการแพทย์
ผังสถานีเรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
กองทัพเรือ ในแม่น้ำเจ้าพระยา
|
|
|
|
|
||||||
|
|
--------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น