ปกป้องฝั่งปฐพี
ปราบไพรีทั่วคงคา ครบรอบ ๔๐ ปี กองเรือลำน้ำ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖
ประวัติความเป็นมา
รัฐบาลไทยได้มอบหมายให้สถาบันวิจัย STANFORD ของสหรัฐ ฯ
ร่วมกับศูนย์วิจัยและ พัฒนาทางทหาร บก.ทหารสูงสุด
ทำการศึกษาวิจัยเพื่อทดสอบระบบเฝ้าตรวจและควบคุมชายแดนตามลำแม่น้ำโขง
การวิจัยได้เสร็จสิ้น เมื่อ ๓๐ มิถุนายน
๒๕๑๑ และได้มอบเรือและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ให้จังหวัดนครพนมตั้งเป็นหน่วยเฝ้าตรวจชายแดนขึ้น โดย ทร. เป็นผู้ใช้เรือและอุปกรณ์ต่าง
ๆ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๒ บก.ทหารสูงสุด
จึงได้สั่งการให้ ทร. รับผิดชอบในการปฏิบัติการตามลำน้ำ
เมื่อ ๒๐ พ.ย.๒๕๑๓ ทร.
ได้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง (นปข.) และเมื่อ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗
ได้เปลี่ยนชื่อเป็น หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) และเพื่อให้การปฏิบัติในลำน้ำของ
ทร. ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งกองเรือลำน้ำ และ กห. ได้มีคำสั่งอนุมัติอัตรา
กลน. เมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๑๖ จึงได้ถือเอาวันดังกล่าวเป็น วันสถาปนาหน่วยตลอดมา
รายนามผู้บัญชากองเรือลำน้ำ (ยศในขณะนั้น)
พล.ร.ต.ดำรง เสขะนันท์
ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๕๑๖ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๒๑
พล.ร.ต.ชาติ ดิษฐบรรจง ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๒๑ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๒๔
พล.ร.ต.ประยงค์ เจริญสุวรรณ ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๒๔ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๒๗
พล.ร.ต.ประสาน ชูจินดา ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๒๗ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๒๙
พล.ร.ต.สมพงษ์ พัฒนชีวิน ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๒๙ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๓๐
พล.ร.ต.สมัคร คงสิทธ์ ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๕๓๐ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๓๓
พล.ร.ต.พรต จันทรัคคะ ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๕๓๓ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๓๔
พล.ร.ต.สิงขร สัตยพานิช ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๓๔ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๓๖
พล.ร.ต.ณรงค์ บัวทรัพย์ ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๓๖ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๓๗
พล.ร.ต.สำราญ อ่ำสำอางค์ ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๓๗ ถึง ๓๐ กงย.๒๕๓๘
พล.ร.ต.สมภพ ภูริเดช ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๓๘ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๓๙
พล.ร.ต.สุนทร คชวัฒน์ ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๓๙ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๔๑
พล.ร.ต.ประจิต พิทยภัทร์ ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๔๑ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๔๒
พล.ร.ต.อภิชาติ เพ็งศรีทอง ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๔๒ ถึง ๑ เม.ย.๒๕๔๕
พล.ร.ต.โกมินทร์
โกมุทานนท์ ตั้งแต่ ๑ เม.ย.๒๕๔๕ ถึง
๓๐ ก.ย.๒๕๔๗
พล.ร.ต.ชุมนุม อาจวงษ์ ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๕๔๗ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๔๙
พล.ร.ต.วัลลภ หังวนัส ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๕๔๙ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๕๑
พล.ร.ต.วีระวัฒน์ ทิพย์โสภณ ตั้งแต่
๑ ต.ค.๒๕๕๑ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๕๒
พล.ร.ต.ธราธร ขจิตสุวรรณ ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๕๕๒ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๕๓
พล.ร.ต.ธานี
ผุดผาด ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๕๕๓ ถึง ๓๐ ก.ย.๒๕๕๕
พล.ร.ต.พูลศักดิ์
อุบลเทพชัย ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๕๕๕ จนถึงปัจจุบัน
ผู้บังคับบัญชา กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ
ภารกิจ
กองเรือลำน้ำ
มีหน้าที่จัดและเตรียมกำลังสำหรับปฏิบัติการตามลำน้ำอาณาเขตและลำน้ำในประเทศ
การจัดหน่วย
กองเรือลำน้ำ
เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อกองเรือยุทธการมีการจัดส่วนราชการ ดังนี้
๑.
กองบัญชาการ
๒.
กองร้อยกองบัญชาการ
๓.
หมวดเรือที่ ๑ – ๒
๔.
หมวดเรือที่ ๓
เขี้ยวเล็บของกองเรือลำน้ำ
กองเรือยุทธการ
๑.
เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ (รตล.) และ เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ (แบบใหม่)
รตล.(แบบเก่า) รตล.(แบบใหม่)
๒.
เรือหุ้มเกราะลำเลียงพล/ เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก
(หกล.)
หกล.
๓. เรือระบายพลขนาดเล็ก
(รพล.)
รพล.
๔. เรือจู่โจมลำน้ำเครื่องยนต์ติดท้าย
(จลต.) เรือจู่โจมลำน้ำเครื่องพ่นน้ำ (จลพ.)
จลต.
จลพ.
๕.
เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง
(ตกช.)
ตกช.
๖ .เรือ
กร.๙๑๑ (เรือผู้ติดตามเสด็จฯ)
กร.๙๑๑
๗.เรือ
กร.๙๑๒ (เรือพระที่นั่ง)
กร.๙๑๒
๘.เรือยางท้องแข็ง
(RIB)
เรือ RIB
๙.เรือ
กลน.๑ / เรือใช้สอย
กลน.๑
๑๐. เรือพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ
(กร.๙๑๓)
กร.๙๑๓
๑๑. เรือช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
( กร.๑๑๓ และ กร.๑๑๔)
กร.๑๑๓ และ กร.๑๑๔
การปฏิบัติงานที่สำคัญ
๑.การฝึกของ กลน.กร.มีดังนี้
๑.๑
การฝึกกำลังพลผลัดเปลี่ยน นรข. เพื่อเตรียมความพร้อม องค์บุคคล ให้มีความรู้ ความสามารถปฏิบัติหน้าที่
นรข.ได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วงเวลาการฝึก เริ่มการฝึกประมาณเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม ของทุกปีโดยแบ่งการฝึกออกเป็น
๒ ช่วง ภาคบนบก/ ยิงอาวุธ และภาคในลำน้ำ รวม ๖๕ วัน
๑.๒ การฝึกยุทธวิธีกองเรือ เพื่อให้องค์บุคคลประจำเรือได้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามยุทธวิธีของ
กลน.กร. รวมทั้งการปฏิบัติการด้วยเรือลำเดียว
หรือการปฏิบัติการร่วมด้วยเรือชนิดเดียวกัน / ต่างชนิดกัน / ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วงการฝึกประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี
๑.๓
การฝึกปฏิบัติการตามลำน้ำกับ ทร. สหรัฐฯ (CARAT 2013) เป็นการฝึกร่วมการปฏิบัติการตามลำน้ำ ระหว่าง ทร. ไทย
- ทร. สหรัฐ ฯ ตามขีดความสามารถขององค์บุคคล และองค์วัตถุ โดยจะเน้นหนักเรื่องการฝึกปฏิบัติงานในสาขาการปฏิบัติการตามลำน้ำ การส่งกลับสายแพทย์
และการปฏิบัติงานของหน่วยเรือปฏิบัติการพิเศษ ช่วงการฝึก ประมาณเดือน กุมภาพันธ์- มีนาคม ระยะเวลาการฝึกประมาณ ๒ สัปดาห์
๑.๔ การฝึกพลขับรถยนต์หัวลากชานต่ำ
เพื่อให้พลขับได้รู้ถึงคุณลักษณะ
อุปกรณ์ และระบบต่างๆ ของรถยนต์ได้อย่างถูกต้อง
โดยได้ดำเนินการฝึกอบรมภาคทฤษฎีในที่ตั้งปกติ และในภาคสนามการฝึกขับรถในเส้นทางจริง
โดยให้ผู้รับการฝึกรู้ถึงการออกรถอย่างนิ่มนวล ไม่กระตุกกระชาก
ไม่เข้าเกียร์ผิดการใช้ครัทช์ การแซงเมื่อเห็นว่าปลอดภัย การใช้เบรกเป็นต้น ช่วงการฝึก
เดือน มกราคม ๒๕๕๖ ระยะเวลาในการฝึก ประมาณ ๘ วัน
๑.๕ การฝึกทบทวนก่อนปฏิบัติราชการถวายความปลอดภัย
จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม
ในการเคลื่อนกำลัง การระวังป้องกันและการถวายความปลอดภัย ตามยุทธวิธี
ในการปฏิบัติการตามลำแม่น้ำ โดยใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ และ
เรือประเภทเดียวกันกับที่ใช้ปฏิบัติภารกิจ โดยใช้พื้นที่ฝึกจำลองในคลองสรรพสามิต
บริเวณวัดคลองพระราม อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่บริเวณใกล้เคียง และ เพื่อให้กำลังพลมีร่างกายแข็งแรงและจิตใจเข้มแข็ง
พร้อมที่จะสามารถปฏิบัติงานถวายความปลอดภัย
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ
แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส
เพื่อปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ช่วงการฝึก ประมาณเดือน มีนาคมของทุกปี ระยะเวลา ๑๗ วัน
การปฏิบัติตามภารกิจพิเศษที่ได้รับมอบหมาย/
สั่งการ
๑.จัดหมู่เรือป้องกันและรักษาความปลอดภัย อจปร.อร.เพื่อสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยทางน้ำในพื้นที่รับผิดชอบของ
อจปร.อร. และพื้นที่บริเวณหลักเทียบเรือเรือของ
กทบ.กร.ที่อยู่ในบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า
รักษากฎหมายตามประกาศของจังหวัดสมุทรปราการ และเนื่องจาก นชภ.๓ ของ ฉก.กร.๔๐๑
ใช้กำลังจาก มรภ.อจปร.อร. ดังนั้น
จึงมีภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำตามภารกิจของ นชภ.๓ ด้วย โดยมีกำลังประกอบด้วยเรือ
ตกช. จำนวน ๑ ลำ ,เรือ จลต. จำนวน ๑ ลำ กำลังพล ๑๑ นาย ตั้งแต่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๒
จนถึงปัจจุบัน
๒. จัดหมู่เรือถวายความปลอดภัยทางน้ำ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ในโอกาส เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม
ณ พระตำหนักสวนปทุม จังหวัดปทุมธานี โดย กร.ให้ กลน.กร.จัดเรือ รตล. จำนวน ๑ ลำ
เรือ จลต. จำนวน ๒ ลำ ,รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก จำนวน ๑ คัน ,กำลังพล กลน.กร. จำนวน ๑๒
นาย ,กำลังพล นสร.กร. จำนวน ๑
ชุดปฎิบัติการ จำนวน ๓ นาย พร้อมอุปกรณ์และเรือยาง จำนวน ๑ ลำ ตั้งแต่ ๒๙ สิงหาคม๒๕๓๔
จนถึงปัจจุบัน
๓.จัดหน่วยเฉพาะกิจ กองเรือยุทธการ ๓๖๑ และใช้ชื่อย่อว่า
ฉก.กร.๓๖๑ ไปปฏิบัติราชการในคลองบุโบย และบริเวณใกล้เคียง อ.ละงู จังหวัดสตูล เพื่อรักษาความปลอดภัยพื้นที่หวงห้ามที่กำหนด
ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายตามขอบเขตที่ให้อำนาจหน้าที่ทหารเรือ
แสดงกำลัง ทร.ในพื้นที่ ปฏิบัติการจิตวิทยาและช่วยเหลือประชาชน
ดูแลและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุน นป.สอ./รฝ.๔๕๒
และหน่วยงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย และ
สนับสนุนและร่วมมือกับหน่วยงานราชการอื่นๆ
ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันประเทศ โดยมีกำลังประกอบด้วยเรือ จลต.
จำนวน ๓ ลำ รถยนต์ทางธุรการ จำนวน ๑ คัน กำลังพล จำนวน ๑๖ นาย โดยให้เริ่มปฏิบัติราชการตั้งแต่ ๑ เมษายน ๒๕๓๖
จนถึงปัจจุบัน
๔.จัดหน่วยเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา
โดยกำหนดชื่อหน่วยว่า “หน่วยเฉพาะกิจกองเรือยุทธการ ๔๐๑ “ (ฉก.กร.๔๐๑)
เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยทางน้ำ และปฏิบัติการจิตวิทยาในแม่น้ำเจ้าพระยา
โดยเน้นบริเวณที่มีการสัญจรทางน้ำหนาแน่นในพื้นที่รับผิดชอบเป็นหลัก
สนับสนุนและร่วมมือกับหน่วยราชการอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ทหารเรือรวมทั้งปฏิบัติงานอื่นๆ
ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นครั้งคราว ตลอดจนประชาสัมพันธ์เผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีของ
ทร.ให้ปรากฏสู่สายตาประชาชน เพื่อให้มีทัศนคติที่ดี มีความเชื่อมั่นและศรัทธาใน
ทร.ประกอบด้วย ๓ หน่วยช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ (นชภ.) วางกำลังไว้ที่ กลน.กร.,กยพ.กร.,กทบ.ตามลำดับ
แต่ละหน่วยให้ผู้ควบคุมเรืออาวุโสเป็นหัวหน้า โดยมี บก.หน่วยเฉพาะกิจตั้งอยู่ที่
บก.กลน. ควบคุมทางยุทธการ กับ ศปก.ทร.โดยมีพื้นที่รับผิดชอบในแม่น้ำเจ้าพระยา
เน้นบริเวณที่มีการสัญจรหนาแน่นใน ๒ พื้นที่ระหว่างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า-
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน- หน้า บก.กองเรือบางนา – พระประแดง
หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ – อจปร.อร.
นอกเหนือจากบริเวณพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น
หน่วยควบคุมจะสั่งการเป็นครั้งคราวเมื่อมีเหตุการณ์ กำลังประกอบด้วย เรือ
ตกช.จำนวน ๑ ลำ ,เรือ รตล.จำนวน ๒ ลำ ,เรือ จลต. จำนวน ๓ ลำ ,เรือพยาบาล จำนวน ๑
ลำ และเรือยางท้องแข็ง จำนวน ๒ ลำ กำลังพล
จำนวน ๓๓ นาย เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๐ จนถึงปัจจุบัน
จัดเรือ
กร.๙๑๓,เรือ ล.๑๓๖ และเรือ ๓๑๒๘ ร่วมฝึกการรับผู้ป่วยจำนวนมากจากแม่น้ำเจ้าพระยา
กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ
ของกองอำนวยการฝึกการบริการทางการแพทย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕ เมื่อ
๗ กันยายน ๒๕๕๕
๕. จัดหมู่เรือรักษาความปลอดภัยทางทะเลในเขตท่าเรือ
ฐท.สส. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในการรักษาความปลอดภัยทางทะเลในเขตท่าเรือบริเวณ
ฐท.สส.โดยแบ่งพื้นที่หวงห้ามทางทะเล ออกเป็น ๓ พื้นที่ ประกอบด้วย
ท่าเรือแหลมเทียน ท่าเรือจุกเสม็ด และท่าเรือทุ่งโปรง
ซึ่งกำลังในหมู่เรือรักษาความปลอดภัยทางทะเลฯ ประกอบด้วย เรือ ตกช.จาก กยฝ. จำนวน
๑ ลำ, เรือ จล. จำนวน ๒ ลำ กำลังพล จำนวน ๑๑ นาย โดยจะทำการลาดตระเวนในบริเวณพื้นที่หวงห้ามทางทะเลดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
เพื่อป้องกันพื้นที่หวงห้ามและรักษาความปลอดภัยทางทะเล ในเขตท่าเรือ กทส.ฐท.สส.
ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ฐท.สส.ตั้งแต่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ จนถึงปัจจุบัน.
๖.จัดเรือและกำลังพลตามแผนการช่วยเหลือประชาชนกรณีเกิดสาธารณภัย
ผบ.ทร.ที่ ๑/๒๕๒๖ โดยจัดเรือ ตกช. จำนวน ๒ ลำ เรือ จลต. จำนวน ๒ ลำ
มอเตอร์สูบน้ำขนาด ๓ นิ้ว จำนวน ๑ เครื่อง และท่อส่งน้ำ ขนาด ๓ นิ้ว ยาว ๑๐ เมตร พร้อมกำลังพลประจำเรือ
และกำลังพลสนับสนุนอีก จำนวน ๒๓ นาย
สนับสนุนศูนย์ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม กทม.และปริมณฑล (ฐท.กท.)
๗. จัดเรือและกำลังพลถวายความปลอดภัยทางน้ำ แด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ตามที่ ทร.จะพิจารณาสั่งการ โดยให้ปฎิบัติตาม รปจ.ทร.๔
๘.
จัดเรือและกำลังพลในการอารักขา รักษาความปลอดภัยทางน้ำ ให้กับบุคคลสำคัญของรัฐบาล
หรือของกองทัพ และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ตามที่ ทร. จะพิจารณาสั่งการ
๙.จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
เนื่องในวันลอยกระทง เป็นประจำทุกปี สถานที่ในแม่น้ำเจ้าพระยา จ.กรุงเทพและปริมณฑล
โดย ผบ.กลน.กร.เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ขึ้นการบังคับบัญชา กับ ศปก.ทร.
ปฏิบัติภารกิจพิเศษอื่น
ๆ ตามที่หน่วยเหนือสั่งการ
๑. จัดเรือและกำลังพลถวายความปลอดภัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว/ผู้แทนพระองค์
ในโอกาสที่เสด็จฯ พระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม โดยกองเรือลำน้ำ ได้รับมอบหน้าที่ในการอำนวยการ ประสานงาน กำกับการ
ในด้านการรักษาความปลอดภัย และการจราจร ของกระบวนพยุหยาตราชลมารค
ตั้งแต่เตรียมการในการเคลื่อนย้ายเรือพระราชพิธี
เพื่อการฝึกซ้อมฝีพายตลอดจนการฝึกซ้อมกระบวนพยุหยาตราชลมารค ทั้งการซ้อมย่อย การซ้อมใหญ่ และวันพระราชพิธี ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเรือพระราชพิธีได้รับความปลอดภัยสูงสุด
เมื่อ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕
๒. จัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่ ๓ ต.ค.๕๔- ๓๑ ต.ค.๕๔ และ
จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ (ฉก.บภ.ทางน้ำ) ช่วยเหลือและอพยพประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ
และปริมณฑล ตั้งแต่
๒๑ ตุลาคม
๒๕๕๔ – ๗ ธันวาคม ๒๕๕๔
๓.
จัดเรือและกำลังพลจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ
โดยตั้งจุดบริการรถและเรือรับ-ส่ง ประชาชน บริเวณ เส้นทางถนนเพชรเกษม บางแค (โลตัล)
– หมู่บ้านเศรษฐกิจ บางแค กรุงเทพ และร่วมแจกสิ่งของกับช่อง ๓ บริเวณถนนเพชรเกษม
ซอย ๔๑ เมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
๓.จัดเรือสนับสนุนผบ.กร.ในการตรวจเยี่ยมหน่วยเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำและกรุณาแจกถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยบริเวณคลองบางกอกน้อย
และชุมชนสันติสงเคราะห์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เมื่อ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
๔.จัดเรือท้องแบน ยุทโธปกรณ์
และกำลังพลสนับสนุน ทร.จัดกิจกรรมขุดลอกคลองระบายน้ำด้านหน้ากองทัพเรือ
ตั้งแต่ บริเวณคลองบางกอกใหญ่ – ร.พ.ศิริราช
และให้เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก
รับผิดชอบในคลองพื้นที่เขตบางกอกน้อยตั้งแต่คลองมอญถึงแยก ร.พ.ศิริราช เมื่อ ๑๗–๒๑
กันยายน ๒๕๕๕
๕. การจัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เนื่องในโอกาสต่างๆ
เช่นการพัฒนาวัด และการบริจาคโลหิต
๖. ทดสอบสมรรถภาพร่างกายของกำลังพลตามวงรอบ
และดำเนินการทดสอบสมรรถภาพร่างกายของกำลังพลที่ได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน
สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการอารักขาบุคคลสำคัญ ณ บก.กลน.เมื่อ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๖
ภารกิจ
พล.ร.ต.พูลศักดิ์
อุบลเทพชัย
ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ
ในรอบปีงบประมาณ ๒๕๕๖
พิธีรับส่งหน้าที่
ผบ.กลน.กร. ที่ บก.กลน.กร. โดย พล.ร.ต.ธานี ผุดผาด ผบ.กลน.กร. (ท่านเดิม) ได้ส่งมอบหน้าที่อำนาจการบังคับบัญชา ให้แก่ พล.ร.ต.พูลศักดิ์ อุบลเทพชัย ผบ.กลน.กร. (ท่านปัจจุบัน) เมื่อ ๑ ตุลาคม
๒๕๕๕
ให้การต้อนรับ
ผบ.กร.ในการตรวจเยี่ยม ที่ บก.กลน.กร.เมื่อ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
ร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคี
ณ วัดศรีรัตนาราม (บางพัง) ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
ตรวจเยี่ยมการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือ
จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๕
ให้การต้อนรับพล.ร.อ.สุวัชชัย
เกษมศุข อดีต ผบ.ทร. ได้มาบรรยายพิเศษให้นายทหารหลักสูตรต้นปืนของ กฝร. ณ
ห้องประชุม ๑ บก.กลน.กร.เมื่อ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
ให้การต้อนรับ
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในการเดินทางจากกองบัญชากองทัพเรือ ไปหอประชุมกองทัพเรือ โดย
เรือ กร. ๙๑๒ ณ ท่าเทียบเรือ กองบัญชาการกองทัพเรือ เมื่อ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
เป็นประธานเปิดการฝึกทบทวนปฏิบัติงานถวายอารักขาจังหวัดนราธิวาสของกำลังพล
กลน.กร. ณ.บก.กลน. เมื่อ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๖
เป็นประธานในพิธีสรงน้ำพระ
เนื่องในประเพณีวันสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๕๖ บก.กลน.กร.เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ เมื่อ
๑๑ เมษายน ๒๕๕๖
พร้อมคณะฯ
นำกำลังพล ศึกษาดูงานการต่อเรือและซ่อมเรือ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด
จ.สมุทรปราการ เมื่อ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖
เป็นประธานประกอบพิธีบวงสรวง สักการะพระอนุสาวรีย์ พร้อมกับอ่านคำกล่าวประกาศเกียรติคุณ
พล.ร.อ. พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
เนื่องในวันอาภากร ประจำปี ๒๕๕๖ เมื่อ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖
พร้อมด้วย
พล.ร.ต.ไพฑูรย์ ประสพสิน ผอ.กองอำนวยการฝึก
CARAT 2013/ผบ.กฟก.๒
กร.เดินทางมาเยี่ยมชมการสาธิตการฝึก สาขาปฏิบัติการลำน้ำ ณ แม่น้ำนครนายก อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อ ๘ มิถุนายน
๒๕๕๖
เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมหลักสูตรผลัดเปลี่ยนกำลังพลหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง
(นรข.) ประจำปี งป.๕๖ ณ กราบพักทหาร ๗ กฝร.กร.อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อ ๑๒ มิถุนายน
๒๕๕๖
เป็นประธานในพิธีประดับเครื่องหมายยศให้แก่นายทหารสัญญาบัตร
ในสังกัด กลน.กร.ที่ได้รับการเลื่อนยศสูงขึ้น ณ บก.กลน.กร.เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพฯ เมื่อ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖
ตลอดระยะเวลา ๔๐ ปี
ที่ผ่านมา นับตั้งแต่การก่อตั้งกองเรือลำน้ำเป็นต้นมา
ในภาพรวมของการปฎิบัติงานในช่วงนั้นส่วนมากจะเป็นการจัดการฝึกกำลังพลผลัดเปลี่ยนกำลังพล
นปข.หรือ นรข.ในปัจจุบัน หรือตามที่ ทร.หรือ กร.จะสั่งการ เนื่องจากกองเรือลำน้ำ
สมัยนั้นยังไม่มีการปฎิบัติงานในด้านที่สำคัญ จนเกิดเหตุการณ์โป๊ะล่มที่พรานนก
ท่าเรือศิริราช เมื่อ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๘ โดยมีผู้เสียชีวิต ๒๙ ราย และในช่วงนั้นยังมีการสัญจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความหนาแน่นโดยเฉพาะในช่วงเช้าเย็นจะมีประชาชนใช้บริการเรือโดยสารจำนวนมาก
ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วจะไม่สามารถดำเนินการช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์ ทร.จึงมีคำสั่งให้มีการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา
โดยกำหนดชื่อหน่วยว่า “หน่วยเฉพาะกิจกองเรือยุทธการ ๔๐๑ “ (ฉก.กร.๔๐๑) ตั้งแต่ ๓๑
มกราคม ๒๕๔๐ เป็นต้นมา จึงทำให้กองเรือลำน้ำ
มีหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาโดยปริยาย
และยังมีภารกิจอีกอย่างที่ทำให้กองเรือลำน้ำมีหน้าที่โดยตรงก็คือ การรักษาความปลอดภัยผู้นำประเทศต่างๆในการจัดการประชุมเอเปค
เมื่อ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๖ เพราะในการจัดการประชุมฯได้มีการจัดแสดงกระบวนพยุหยาตราชลมารคให้ผู้เข้าร่วมประชุมฯได้รับชม
สำหรับการรักษาความปลอดภัยทางน้ำ นั้น ทร.ได้มอบหมายให้ กองเรือลำน้ำ
มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยทางน้ำให้กับผู้นำประเทศต่างๆ
บริเวณพื้นที่ หอประชุม ทร.และอาคารราชนาวิกสภา เมื่อการจัดงานประชุมเอเปคเสร็จสิ้นการประชุมฯ
แล้ว ทำให้กองเรือลำน้ำ ได้รับความไว้วางใจจากหน่วยใน ทร.และนอก
ทร.ในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญของประเทศ
เมื่อมีบุคคลสำคัญทั้งในประเทศและนอกประเทศมาพำนักบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา
จะมีการขอรับการสนับสนุนเรือและกำลังพลจากกองเรือลำน้ำ
เพื่อรักษาความปลอดภัยดังกล่าว สำหรับภารกิจอีกอย่างที่ทำให้กองเรือลำน้ำ
มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากก็คือภารกิจในการถวายความปลอดภัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ ในการเสด็จมารับการรักษาอาการพระประชวรและปฏิบัติภารกิจต่างๆ
ณ ร.พ.ศิริราช โดยกองเรือลำน้ำ
ได้จัดเรือและกำลังพลถวายความปลอดภัยทางน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีความปลอดภัยสูงสุด
ทำให้กำลังพลของกองเรือลำน้ำมีความภาคภูมิใจที่ได้มีความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
จึงทำให้ผลการปฎิบัติภารกิจของกองเรือลำน้ำ ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาประชาชน
ข้าราชการกองทัพเรือ ตลอดจนผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นแล้วว่ามีประสิทธิภาพ
และมีความสัมฤทธิ์ผลในการปฎิบัติงานเป็นที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจอย่างดีเยี่ยม ซึ่งจากผลการปฎิบัติราชการที่ผ่านมาได้สร้างเสริมให้กำลังพลในสังกัดกองเรือลำน้ำ
ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีความภาคภูมิใจ ทั้งนี้ ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ
ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ตลอดจนผู้บังคับบัญชาทุกท่านได้ให้ความเอาใจใส่ควบคุมดูแลและเสริมสร้างให้กำลังพลของกองเรือลำน้ำทุกนาย
มีขวัญกำลังใจ และความมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและหน่วยอยู่เสมอ
เพื่อให้การปฎิบัติราชการของกองเรือลำน้ำ มีประสิทธิภาพ
สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ของทางราชการและผู้บังคับบัญชา ซึ่งทำให้กองเรือลำน้ำ
กองเรือยุทธการ ได้มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลพร้อมที่จะเป็นกำลังทางเรือที่มีความพร้อมในการปฏิบัติการตามลำน้ำ
อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกำลังรบที่ทันสมัย ภายใต้การบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ สืบไป
ผู้บังคับบัญชา
พลเรือตรี พูลศักดิ์ อุบลเทพชัย
พล.ร.ต.พูลศักดิ์ อุบลเทพชัย
|
ประวัติโดยย่อ
เกิดเมื่อ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๐๑
ประวัติการศึกษา
โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ
โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๗
โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ ๗๔
โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ
รุ่นที่ ๕๒
วิทยาลัยการทัพเรือ
ร่นที่ ๓๕
ประวัติการรับราชการ
ผู้บังคับการเรือหลวงสัตหีบ
ผู้บังคับการกรมต่อสู้อากาศยานที่
๑ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
เสนาธิการกองเรือทุ่นระเบิด
กองเรือยุทธการ
รองเลขานุการกองทัพเรือ
รอง
จก.ขว.ทร.
ตำแหน่งปัจจุบัน
ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ
กองเรือยุทธการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น