วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปสาระสําคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑



สรุปสาระสําคัญ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑
(พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙)
๑. ความนํา
ประเทศไทยเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ ทั้งภายนอกและภายในประเทศที่ปรับเปลี่ยน
เร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะข้อผูกพันที่จะเป็น
ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ จึงจําเป็นต้องนําภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้
เข้มแข็งขึ้นมาใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่คน สังคมและระบบเศรษฐกิจของประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) จึงให้ความสําคัญกับการพัฒนาคุณภาพคนและสังคม
๒. วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
๒.๑ วิสัยทัศน์ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกัน
ต่อการการเปลี่ยนแปลง”
๒.๒ พันธกิจ
๑) สร้างสังคมเป็นธรรมและเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคง
๒) พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะ
๓) พัฒนาฐานการผลิตและบูรณาการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้
๔) สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒.๓ วัตถุประสงค์
๑) เพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมสันติสุข
๒) เพื่อพัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางกาย ใจ
๓) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ คุณภาพ และยั่งยืน
๔) เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอ
๒.๔ เป้าหมายหลัก
๑) ความอยู่เยนเป ็ ็นสุขและความสงบสุขของสังคมไทยเพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ําในสังคม
 ลดลง
๒) คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะดีขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรมและสถาบัน
 ทางสังคมมความเข ี ้มแข็งมากขึ้น
๓) เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมตามศักยภาพของประเทศ
๔) คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ กําหนดไว้๖ ยุทธศาสตร์คือ
๓.๑ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ให้ความสําคัญกับ
๑) การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทกคนในสังคมไทย
๒) การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิขั้นพื้นฐาน
๓) การเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วนสามารถเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในสังคม
๔) การสานสร้างความสมพันธะของคนในสังคม
๓.๒ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ให้ความสําคัญกับ
๑) การปรับโครงสร้างและการกระจายตัวประชากรให้เหมาะสม ๒
๒) การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
๓) การส่งเสริมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม
๔) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของ
 คนไทยทุกคน
๕) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม
๓.๓ ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน ให้
 ความสําคัญกับ
๑) การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน
๒) การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร ภาครัฐ
๓) การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต
๔) การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร
๕) การสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือน
 และชุมชน
๖) การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและความ
 เข้มแข็งภาคเกษตร
๗) การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและ
 พลังงาน
๓.๔ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ให้
 ความสําคัญกับ
๑) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน โดยสร้างความ
เข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ
๒) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ให้เป็นพลังขับเคลื่อน
การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
๓) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมและเป็นธรรม
๔) การบริหารจัดการเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีเสถียรภาพ
๓.๕ ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ
 และสังคม ให้ความสําคัญกับ
๑) การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายใต้กรอบความ
ร่วมมือในอนุภูมิภาคต่าง ๆ
๒) การพัฒนาฐานลงทุนโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค
๓) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
๔) การเข้ารวมเป็นภาคความร่วมมือระหว่างประเทศและภูมิภาคภายใตบทบาทท ้ ี่
 สร้างสรรค์
๕) การสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคด้านการพัฒนาทรัพยากร
 มนุษย์ การเคลื่อนย้ายแรงงานและการส่งเสริมแรงงานไทยในตางประเทศ
๖) การมีส่วนร่วมอย่างสําคัญในการสร้างสังคมนานาชาติที่มีคุณภาพชีวิต ป้องกันภัย
 จากการก่อการร้ายและอาชญากรรม ยาเสพติด ภัยพิบัติ และการแพร่ระบาด
 ของโรคภัย
๗) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการสนับสนุนการเจริญเติบโตทาง๓
 เศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรมและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
๘) การเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว
๙) การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการลงทุนและการประกอบธุรกิจในเอเชีย
 ๑๐) การปรับปรุงและเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคการพัฒนาภายในประเทศ
๓.๖ ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ให้ความสําคัญกับ
๑) การอนุรักษ์ฟื้นฟูและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒) การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศเพื่อเตรียมพร้อมไปสู่การเป็น
 เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ําและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
๓) การยกระดับขีดความสามารถในการรองรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ
๔) การเตรียมความพร้อมรองรับกับภัยพิบัติทางธรรมชาติด้วยการจัดทําแผนที่และ
จัดลําดับพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคและจังหวัด
๕) การสร้างภูมคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตจากการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๖) การเพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีประชาคมโลกที่เกี่ยวของกับกรอบความตกลง และ
พันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
๗) การควบคุมและลดมลพิษ มุ่งลดปริมาณมลพิษทางอากาศ
๘) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มี
 ประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมอย่างบูรณาการ

**************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น