วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เมา2



กองเรือลำน้ำได้รับมอบเรือจู่โจมลำน้ำติดเกราะกันกระสุนจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๕๔


ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการพัฒนาแผ่นเกราะกันกระสุนสำหรับเรือลาดตระเวณของกองทัพเรือ สามารถป้องกันกระสุนความแรงระดับ 3 ได้แก่ ปืนพก, .44 แมคนั่ม ,9 มม. และระดับ 3เอ ได้แก่ ปืนเล็กยาวและปืนไรเฟลตามมาตรฐาน NIJ โครงการวิจัยดังกล่าวพัฒนาต่อยอดจากการวิจัยเสื้อเกราะ ซึ่งเอ็มเทคได้พัฒนาเทคโนโลยีวัสดุร่วมกับกระทรวงกลาโหม เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาแผ่นเกราะทั้งแผ่นเกราะทึบและเกราะใส ที่ใช้งานจริงได้กับรถหุ้มเกราะและเรือจู่โจมหุ้มเกราะ โดยจะต้องมีน้ำหนักเบาและป้องกันกระสุนปืนได้ตามกำหนด
"กองทัพเรือจะติดตั้งแผ่นเกราะบนตัวเรือในจุดที่มีความเสี่ยงเท่านั้น ไม่ใช่การผลิตเรือหุ้มเกราะ โดยแผ่นเกราะดังกล่าวราคาต้นทุนประมาณ 2 ล้านบาท ในอนาคตทีมวิจัยพร้อมที่จะพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพแผ่นเกราะให้ป้องกันกระสุนได้หลายนัด โดยใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงมากขึ้นมาเป็นส่วนประกอบ" โครงการวิจัยดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหน่วยงานกองทัพเรือ ได้แก่ กองเรือลำน้ำ กรมอู่ทหารเรือ กองเรือฟริเกตที่ 2 ภายใต้งบประมาณ 5 ล้านบาท แผ่นเกราะดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบใช้งานจริงที่ท่าเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
พลเรือตรีธานี ผุดผาด ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม กล่าวว่า กองเรือลำน้ำมีภารกิจลาดตระเวณตามลำน้ำแนวชายแดนแม่น้ำโขง ชายฝั่งทะเล ตลอดจนภารกิจรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ความร่วมมือครั้งนี้นอกจากจะช่วยสร้างศักยภาพให้กองทัพเรือไทยแล้ว ยังสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกำลังพลที่ปฏิหน้าที่ด้วย
"ผลจากการทดสอบปฏิบัติภารกิจจริงพบว่า เรือจู่โจมหุ่มเกราะสามารถใช้งานได้ไม่ต่างจากเรือจู่โจมปกติ อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ทั้งในเรื่องความเร็วและวงหันของเรือ แม้ว่าจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 20% ส่วนปัญหาความอัตราเร่งของเรือที่ลดลง 10% ตามน้ำหนักเกราะนั้นสามารถแก้ปัญหาได้โดยเพิ่มกำลังเครื่องยนต์แทน" ทั้งนี้ ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่กองทัพเรือจะติดแผ่นเกราะกันกระสุนให้กับเรือจู่โจมของกองทัพ ตลอดจนร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติม เพื่อรองรับการความต้องการใช้งานสำหรับภารกิจป้องกันประเทศในอนาคต

หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2554 02:50:51 น.
มีรายงานข่าวว่า ในวันศุกร์ ที่ 24 มิถุนายน 2554 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะจัดพิธีส่งมอบเรือติดเกราะป้องกันกระสุน ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันการศึกษาหลายแห่งรวมทั้งกองทัพเรือเวลา ในเวลา 09.00—12.00 น. ณ ห้องประชุมราชนาวิกสภา กองทัพเรือ กรุงเทพฯ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และพลเรือตรีธานี ผุดผาด ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ร่วมเป็นประธานในพิธีส่งมอบฯ ในครั้งนี้


เอ็มเทค พัฒนาเรือติดเกราะกันกระสุนคุณภาพสูงมอบให้แก่กองทัพเรือ



เอ็มเทค ร่วมกับหลายหน่วยงาน พัฒนาเรือติดเกราะกันกระสุนคุณภาพสูงมอบให้แก่กองทัพเรือเพื่อนำไปใช้ในภารกิจลาดตระเวนป้องกันประเทศบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและชายฝั่งทะเล
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงงานวิจัยเรือติดเกราะป้องกันกระสุน ว่า เกิดจากความร่วมมือในการคิดค้นและพัฒนาโดยเอ็มเทค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกองทัพเรือ ใช้เวลาคิดค้น 2 ปี งบประมาณ 5 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเกราะกันกระสุนฝีมือคนไทย สำหรับติดตั้งในเรือจู่โจมลำน้ำเพื่อใช้ในภารกิจลาดตระเวน และเฝ้าระวังตามลำน้ำและชายฝั่งทะเลเพื่อป้องกันประเทศของหน่วยงานด้านความมั่นคงทางน้ำ
สำหรับเกราะกันกระสุนที่ติดตั้งบนเรือลาดตระเวน จะมีลักษณะเป็นแผ่นเกราะทำจากเซรามิคและโพลิเมอร์ มีความทนทานแข็งแรง น้ำหนักเบาไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและเครื่องยนต์ในการบังคับเรือ สามารถรองรับแรงต้านกระสุนได้หลายประเภท นำมาประกอบติดรอบลำเรือในระดับที่ผู้ปฏิบัติการบนลำเรือสามารถใช้เป็นเกราะกำบังจากการโจมตีได้อย่างปลอดภัย ซึ่งทางกองทัพเรือจะนำเรือติดเกราะป้องกันกระสุนดังกล่าวไปใช้ในภารกิจลาดตระเวนเฝ้าระวัง และจู่โจมป้องกันการกระทำผิดกฎหมายบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและชายฝั่งทะเล ตลอดจนพัฒนาต่อยอดเกราะกันกระสุนดังกล่าวไปใช้ในภารกิจด้านความมั่นคงทางทหารอื่นๆ ต่อไปด้วย

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : อนงนาฎ สิทธิคง   Rewriter : ภัทรศรี วนิชาชีวะ
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th



 วันที่ข่าว : 24 มิถุนายน 2554













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น