วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การสร้างเว็บไซต์ ด้วย www.Blogger.com

http://www.thaimarketonline.net/2008/02/wwwbloggercom.html

การสร้างเว็บไซต์ ด้วย www.Blogger.com

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.blogger.com แล้วกรอกชื่ออีเมล และรหัสผ่านเดียวกับตอนที่สร้างบัญชีอีเมล ของ Gmail.com จากนั้น คลิก “เข้าสู่ระบบ”

2. พิมพ์ชื่อที่ต้องการแสดงบนหัวเว็บไซต์
3. นำเม้าท์ไป “ติ๊ก” ตรงช่อง ข้าพเจ้ายอมรับข้อตกลงการใช้บริการ แล้วคลิก ปุ่ม “ทำต่อ” ขวามือ
4. ระบบพร้อมที่จะให้ท่านสร้างบล็อกแล้ว

5. กรอกชื่อเว็บบล็อกที่ต้องการ (ควรสื่อถึงความหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด)
6. กรอกที่อยู่ของบล็อก (เป็นโดเมนเสมือน ที่จะมีคำว่า .blogspot.com ต่อท้าย ดังนั้นจึงไม่ควรยาวเกินไป และควรคลิก “ตรวจสอบความพร้อมการใช้งาน” ว่าชื่อโดเมนเนมนั้นมีผู้จดไปหรือยัง) ชื่อเรียกของบล็อกนี้จะเป็นโดเมนเนมในการพิมพ์เพื่อเรียกเว็บไซต์ให้ปรากฏ ดังนั้นจึงควรเป็นชื่อที่จำง่าย และสะกดผิดยาก เมื่อได้ชื่อที่ต้องการแล้วให้คลิกคำว่า “ทำต่อ”
7. เลือกแม่แบบ (Template) ซึ่งมีรูปแบบให้เลือกมากมาย โดยสามารถเลื่อนสกอร์บาร์ดู
8. เมื่อเลือกได้แบบที่ต้องการ ก็นำเม้าส์ไปติ๊กหน้าวงกลม แล้ว คลิกช่องลูกศร “ทำต่อ” ด้านขวามือล่าง

9. ในขั้นตอนนี้ เว็บของท่านก็จะมี (เวอร์ช่วล) โดเมนเน และรูปแบบ (ดีไซน์) จากแม่แบบที่ท่านเลือกแล้ว ยังคงขาดเพียงแต่ข้อมูลที่ท่านจะให้ปรากฏบนเว็บไซต์ ดังนั้น ให้กดคลิกที่รูปลูกศร “เริ่มต้นการส่งบทความ”
10. จะปรากฏหน้าจอดังรูปข้างต้น ซึ่งหากท่านเคยใช้ โปรแกรม word มาก่อน ก็สามารถนำทักษะนั้นมาเพื่อสร้างข้อมูลต่างๆ ได้ทั้งลูกเล่น, ขนาด, และสีสันของตัวอักษร
11. สำหรับท่านที่ต้องการใส่ภาพประกอบนั้น ให้คลิกที่ปุ่มรูปภาพขนาดเล็ก (ตามศรชี้)
12. จะปรากฏ Pop-up box ขึ้นมา ให้ท่านคลิกที่ Browse เพื่อเรียกไฟล์ภาพที่เก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่ต้องการ (ขนาดของภาพไม่ควรใหญ่เกิน 100K ) ท่านสามารถกำหนดตำแหน่งการวางภาพได้ ทั้ง ซ้าย, กึ่งกลาง, ขวา และขนาดรูปภาพที่ต้องการแสดงได้ว่า ต้องการ (ขนาดเล็ก, ปานกลาง หรือใหญ่) โดยใช้เม้าส์คลิกที่หน้าปุ่มที่ต้องการ
13. ภาพที่ต้องการก็จะปรากฏขึ้นมาให้เลือก
14. ในขั้นตอนนี้ให้ท่านจะเห็นชื่อไฟล์ภาพที่ต้องการมาเก็บไว้ใน Browse เรียบร้อยแล้วให้ท่าน ติ๊กที่ กล่องเล็กๆ หน้าข้อความว่า “ข้าพเจ้ายอมรับข้อกำหนดในการให้บริการ” จากนั้น จึงคลิกที่ ปุ่ม อัพโหลดรูปภาพ



15. ระบบจะทำการอัพโหลดรูปภาพ


16. เมื่อเรียบร้อยแล้วให้ท่านคลิกที่ปุ่ม เสร็จเรียบร้อย เป็นอันเสร็จขั้นตอนในการเพิ่มรูปภาพเข้าไปในเว็บไซต์ของท่าน
17. เมื่อตรวจสอบตำแหน่งภาพ และข้อความต่างๆ ถูกต้องแล้ว ให้ท่าน เลือกที่จะ คลิก “เผยแพร่บทความ” จะปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ และคนที่เข้ามาเว็บไซต์ของท่านจะพบเห็นข้อมูลเหล่านี้ หรือเลือกที่จะ “บันทึกทันที” ในความหมายนี้ ข้อมูลทั้งหมดจะยังไม่ปรากฏให้บุคคลภายนอกเห็น จนกว่าท่านจะกลับมาคลิกที่ “เผยแพร่บทความ”



18. เมื่อท่านคลิก “เผยแพร่บทความ” แล้ว ในหน้าเว็บจะปรากฏจอข้างต้น หากท่านต้องการดูบล็อก ให้คลิกตรงคำว่า “ดูบล็อก” แต่หากต้องการแก้ไขข้อมูล ให้เลือกคลิก “แก้ไขบทความ” หรือต้องการจะเพิ่มข้อมูลอื่นในเว็บไซต์ ก็ให้คลิกคำว่า “สร้างบทความใหม่”



19. หน้าเว็บไซต์ที่จัดทำจะปรากฏขึ้น นอกจากนั้น เว็บนี้ยังสามารถปรับแต่งรูปแบบต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม เช่น เพิ่มลิงค์, เพิ่มวิดีโอ หรือสไลด์รูปแบบต่างๆ ได้อย่างมากมาย ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและลองทดสอบด้วยตนเอง

เมา2



กองเรือลำน้ำได้รับมอบเรือจู่โจมลำน้ำติดเกราะกันกระสุนจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๕๔


ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการพัฒนาแผ่นเกราะกันกระสุนสำหรับเรือลาดตระเวณของกองทัพเรือ สามารถป้องกันกระสุนความแรงระดับ 3 ได้แก่ ปืนพก, .44 แมคนั่ม ,9 มม. และระดับ 3เอ ได้แก่ ปืนเล็กยาวและปืนไรเฟลตามมาตรฐาน NIJ โครงการวิจัยดังกล่าวพัฒนาต่อยอดจากการวิจัยเสื้อเกราะ ซึ่งเอ็มเทคได้พัฒนาเทคโนโลยีวัสดุร่วมกับกระทรวงกลาโหม เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาแผ่นเกราะทั้งแผ่นเกราะทึบและเกราะใส ที่ใช้งานจริงได้กับรถหุ้มเกราะและเรือจู่โจมหุ้มเกราะ โดยจะต้องมีน้ำหนักเบาและป้องกันกระสุนปืนได้ตามกำหนด
"กองทัพเรือจะติดตั้งแผ่นเกราะบนตัวเรือในจุดที่มีความเสี่ยงเท่านั้น ไม่ใช่การผลิตเรือหุ้มเกราะ โดยแผ่นเกราะดังกล่าวราคาต้นทุนประมาณ 2 ล้านบาท ในอนาคตทีมวิจัยพร้อมที่จะพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพแผ่นเกราะให้ป้องกันกระสุนได้หลายนัด โดยใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงมากขึ้นมาเป็นส่วนประกอบ" โครงการวิจัยดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหน่วยงานกองทัพเรือ ได้แก่ กองเรือลำน้ำ กรมอู่ทหารเรือ กองเรือฟริเกตที่ 2 ภายใต้งบประมาณ 5 ล้านบาท แผ่นเกราะดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบใช้งานจริงที่ท่าเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
พลเรือตรีธานี ผุดผาด ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม กล่าวว่า กองเรือลำน้ำมีภารกิจลาดตระเวณตามลำน้ำแนวชายแดนแม่น้ำโขง ชายฝั่งทะเล ตลอดจนภารกิจรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ความร่วมมือครั้งนี้นอกจากจะช่วยสร้างศักยภาพให้กองทัพเรือไทยแล้ว ยังสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกำลังพลที่ปฏิหน้าที่ด้วย
"ผลจากการทดสอบปฏิบัติภารกิจจริงพบว่า เรือจู่โจมหุ่มเกราะสามารถใช้งานได้ไม่ต่างจากเรือจู่โจมปกติ อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ทั้งในเรื่องความเร็วและวงหันของเรือ แม้ว่าจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 20% ส่วนปัญหาความอัตราเร่งของเรือที่ลดลง 10% ตามน้ำหนักเกราะนั้นสามารถแก้ปัญหาได้โดยเพิ่มกำลังเครื่องยนต์แทน" ทั้งนี้ ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่กองทัพเรือจะติดแผ่นเกราะกันกระสุนให้กับเรือจู่โจมของกองทัพ ตลอดจนร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติม เพื่อรองรับการความต้องการใช้งานสำหรับภารกิจป้องกันประเทศในอนาคต

หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2554 02:50:51 น.
มีรายงานข่าวว่า ในวันศุกร์ ที่ 24 มิถุนายน 2554 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะจัดพิธีส่งมอบเรือติดเกราะป้องกันกระสุน ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันการศึกษาหลายแห่งรวมทั้งกองทัพเรือเวลา ในเวลา 09.00—12.00 น. ณ ห้องประชุมราชนาวิกสภา กองทัพเรือ กรุงเทพฯ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และพลเรือตรีธานี ผุดผาด ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ร่วมเป็นประธานในพิธีส่งมอบฯ ในครั้งนี้


เอ็มเทค พัฒนาเรือติดเกราะกันกระสุนคุณภาพสูงมอบให้แก่กองทัพเรือ



เอ็มเทค ร่วมกับหลายหน่วยงาน พัฒนาเรือติดเกราะกันกระสุนคุณภาพสูงมอบให้แก่กองทัพเรือเพื่อนำไปใช้ในภารกิจลาดตระเวนป้องกันประเทศบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและชายฝั่งทะเล
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงงานวิจัยเรือติดเกราะป้องกันกระสุน ว่า เกิดจากความร่วมมือในการคิดค้นและพัฒนาโดยเอ็มเทค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกองทัพเรือ ใช้เวลาคิดค้น 2 ปี งบประมาณ 5 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเกราะกันกระสุนฝีมือคนไทย สำหรับติดตั้งในเรือจู่โจมลำน้ำเพื่อใช้ในภารกิจลาดตระเวน และเฝ้าระวังตามลำน้ำและชายฝั่งทะเลเพื่อป้องกันประเทศของหน่วยงานด้านความมั่นคงทางน้ำ
สำหรับเกราะกันกระสุนที่ติดตั้งบนเรือลาดตระเวน จะมีลักษณะเป็นแผ่นเกราะทำจากเซรามิคและโพลิเมอร์ มีความทนทานแข็งแรง น้ำหนักเบาไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและเครื่องยนต์ในการบังคับเรือ สามารถรองรับแรงต้านกระสุนได้หลายประเภท นำมาประกอบติดรอบลำเรือในระดับที่ผู้ปฏิบัติการบนลำเรือสามารถใช้เป็นเกราะกำบังจากการโจมตีได้อย่างปลอดภัย ซึ่งทางกองทัพเรือจะนำเรือติดเกราะป้องกันกระสุนดังกล่าวไปใช้ในภารกิจลาดตระเวนเฝ้าระวัง และจู่โจมป้องกันการกระทำผิดกฎหมายบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและชายฝั่งทะเล ตลอดจนพัฒนาต่อยอดเกราะกันกระสุนดังกล่าวไปใช้ในภารกิจด้านความมั่นคงทางทหารอื่นๆ ต่อไปด้วย

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : อนงนาฎ สิทธิคง   Rewriter : ภัทรศรี วนิชาชีวะ
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th



 วันที่ข่าว : 24 มิถุนายน 2554













วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรคต่างๆ

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความหมายตราสัญญาลักษณ์ของกองเรือลำน้ำ

กองเรือลำน้ำ.gif (9958 bytes)


กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ
เป็นรูปเรือลาดตระเวนลำน้ำซ้อนทับแผนที่ประเทศไทย
บรรจุในฟันเฟือง มีปืนใหญ่โบราญและสมอเรือไขว้ทั้งหมดบรรจุ
อยู่ในวงกลมเป็นรูปขดเชือก เบื้องล่างมีแถบปลายสะบัดขึ้น
ทั้งสองข้าง กลางแถบมีคำว่า " กองเรือลำน้ำ "