คลังความรู้
เรื่อง เทศกิจอาสาจราจร
ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตดินแดง
เรื่องเล่า
กลุ่มพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจร มีเป้าหมายคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของเทศกิจอาสาจราจร การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแก้ไขปัญหาด้านการจราจร ตลอดจนการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจสามารถนำความรู้ไปพัฒนาศักยภาพของตนเองและบุคลากรภายในหน่วยงาน ให้มีระเบียบวินัยด้านการจราจรมากยิ่งขึ้น สาระสำคัญที่นำมาแลกเปลี่ยนมีดังนี้
1. นโยบายด้านการแก้ไขปัญหาการจราจรของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
2. ความหมายของ อาสาจราจร
3. กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
4. ขั้นตอนการดำเนินการเทศกิจอาสาจราจร
5. บทบาทหน้าที่ของเทศกิจอาสาจราจร
วิธีการ
การสร้างชุมชนนักปฏิบัติภายในหน่วยงานของฝ่ายเทศกิจ ภายใต้หัวข้อเรื่อง เทศกิจอาสาจราจร มีแนวทางและขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
1. จัดทำหนังสือและปิดประกาศเชิญชวนข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดสำนักงานเขตดินแดงเข้าร่วมกิจกรรมสร้างชุมชนนักปฏิบัติ โดยให้ผู้สนใจติดต่อกรอกแบบคำขอเข้าร่วม กิจกรรมที่ฝ่ายเทศกิจ
2. จัดทำบัญชีรายชื่อสมาชิกกลุ่ม ตามคำขอที่แจ้งความประสงค์ไว้
3. จัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ ในนามกลุ่มพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจร เรื่อง เทศกิจอาสาจราจร โดยมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 10 คน
4. จัดทำแบบการจดบันทึกกิจกรรมกลุ่มพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจร
5. จัดทำแผนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย โดยกำหนดช่วงเวลาการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะ ๆ
6. จัดทำระเบียบวาระการประชุมและกำหนดวันประชุม แจ้งให้สมาชิกในกลุ่มทราบ
7. จัดประชุมสมาชิกในกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย การแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และการเปิดโอกาสให้ซักถามได้อย่างกว้างขวาง
8. จัดทำสรุปมติที่ประชุมการสร้างชุมชน
นักปฏิบัติในการประชุมแต่ละครั้ง
รายละเอียดเรื่องเล่า
1. นโยบายด้านการจราจรและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
1.1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 89 ให้
กรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.2 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 มาตรา 18 ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในการป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย
1.3 แผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2548-2551 เป็นกรอบชี้นำการดำเนินงานของทุก
หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาออกเป็น 9 ด้าน เพื่อให้
สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม สร้างความสำเร็จ
และประโยชน์สุขอย่างยั่งยืนให้กับประชาชน และยุทธศาสตร์ 1 ใน 9 ด้าน คือ การเสริมสร้าง
ความปลอดภัยและบรรเทาสาธารณภัย
1.4 วิสัยทัศน์กรุงเทพมหานคร ของอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) ซึ่ง
วิสัยทัศน์ 1 ใน 5 ข้อ คือ เมืองไม่ติดขัด ลดปัญหาจราจร
2. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ความรู้ในเรื่องเครื่องแบบ คำจำกัดความ เช่น ทางการจราจร ขอบทางไหล่ทาง ทางแยก วงเวียน รถยนต์ เจ้าของรถ ใบอนุญาตขับขี่ เครื่องหมายจราจร การใช้รถ การใช้ไฟสัญญาณหรือเสียงสัญญาณของรถ การบรรทุก สัญญาณจราจร การขับขี่ และแซงผ่านขึ้นหน้า การออกรถ เลี้ยวรถและกลับรถ การหยุดและการจอดรถ การใช้ทางเดินรถที่จัดเป็นช่องทางเดินรถประจำทาง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วรถ การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกหรือวงเวียน อุบัติเหตุคนเดินเท้า สัตว์หรือสิ่งของในทาง เป็นต้น
2.1 อำนาจหน้าที่ของอาสาจราจร ตามมาตรา 4 (39) แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้คำจำกัดความอาสาจราจร หมายความว่า ผู้ซึ่งผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรอาสาจราจรและได้รับการแต่งตั้งจากอธิบดีให้ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
2.2 คุณสมบัติของอาสาจราจร ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีดังนี้
- มีสัญชาติไทย
- มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
- มีความรู้ไม่ตำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า เว้นแต่ข้าราชการ ลูกจ้างของส่วน
ราชการหรือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ จะมีความรู้ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ก็ได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการช่วยจัดการจราจร และได้ผ่านการคัดเลือกจาก
ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยงานที่ผู้นั้นสังกัดอยู่
- มีความประพฤติดี มีคุณธรรม ไม่เคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุก รอการลงโทษ หรือรอการ
กำหนดโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมายให้จำคุกในคดีอาญา เว้น
แต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษซึ่งมิใช่ความผิด
เกี่ยวกับอุบัติเหตุจราจร
- ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการจราจรได้
- ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อที่น่ารังเกียจ และไม่มีโรคประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่า
อาจเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติหน้าที่จราจรได้
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
- ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ
- มีความรู้ในเรื่องการจราจรเป็นอย่างดี
3. บทบาทหน้าที่ของอาสาจราจร มีดังนี้
3.1 ตรวจ ควบคุมการจัดการจราจรบริเวณที่มีการจราจรติดขัดคับคั่ง หรือในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ เว้นแต่กรณีไม่มีพนักงานเจ้าหน้าที่อยู่ในที่นั้น จึงให้ปฏิบัติโดยลำพังได้
3.2 ดูแลการหยุดรถ จอดรถ การข้ามทาง เพื่อให้การจราจรมีความคล่องตัวและปลอดภัยในบริเวณที่มี
การฝ่าฝืนจนการจราจรไม่สะดวก
3.3 ชี้แจง ตักเตือน แนะนำตลอดจนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ทางทราบระเบียบ วิธีการที่
ถูกต้อง และปฏิบัติ
3.4 รายงานการกระทำผิดของผู้ขับรถ การชำรุดเสียหาย ข้อขัดข้องเครื่องหมาย และสัญญาณจราจร ให้
เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
3.5 แจ้งอุบัติเหตุการจราจรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบโดยมิชักช้า
กรุงเทพมหานคร เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาด้านการจราจร จึงมอบหมายให้สำนักการจราจร
และขนส่งจัดอบรมหลักสูตรอาสาจราจรให้แก่เจ้าหน้าที่เทศกิจเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฏจราจร การตรวจควบคุม และจัดการจราจร รวมทั้งการฝึกท่าสัญญาณมือและสัญญาณนกหวีดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถปฏิบัติงานภาคสนามได้ เป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้การจราจรคล่องตัว และเป็นกำลังเสริมในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร นอกจากนี้ยังมีการวางแผนเตรียมความพร้อมการบรรเทาปัญหาการจราจร โดยเฉพาะช่วงเปิดภาคเรียน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยรวม และได้สั่งการให้ทุกสำนักงานเขตจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจอาสาจราจรร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยการจราจรในช่วงเปิดภาคเรียน บริเวณหน้าสถานศึกษา บริเวณย่านชุมนุมชนที่มีปัญหาการจราจรติดขัด ตลอดจนการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ผู้ขับขี่หลีกเลี่ยงเส้นทางบริเวณหน้าสถานศึกษาและย่านชุมนุมชน
สำนักงานเขตดินแดง สนองนโยบายบรรเทาปัญหาด้านการจราจรโดยการจัดกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจ
ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรอาสาจราจร ปฏิบัติหน้าที่อาสาจราจรช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณหน้าสถานศึกษา บริเวณแยก และบริเวณย่านชุมนุมชนที่มีปัญหาในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 11 จุด เจ้าหน้าที่เทศกิจอาสาจราจร จำนวน 18 นาย ดังนี้
1. บริเวณตลาดกลางดินแดง ถนนประชาสงเคราะห์ 2 นาย
2. บริเวณหน้าโรงเรียนวิชูทิศ ถนนประชาสงเคราะห์ 2 นาย
3. บริเวณหน้าโรงเรียนวิชากร ถนนมิตรไมตรี 2 2 นาย
4. บริเวณหน้าโรงเรียนพร้อมพรรณวิทยา ถนนประชาสงเคราะห์ 2 นาย
5. บริเวณหน้าโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ถนนดินแดง 1 นาย
6. บริเวณหน้าโรงเรียนแม่พระฟาติมาทั้งสองฝั่ง ถนนอโศก-ดินแดง 2 นาย
7. บริเวณปากซอยมิตรไมตรี 3 ถนนประชาสงเคราะห์ 1 นาย
8. บริเวณหน้าโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ถนนวิภาวดีรังสิต 1 นาย
9. บริเวณปากซอยประชาสงเคราะห์ 28 ถนนประชาสงเคราะห์ 1 นาย
10. บริเวณหน้าตลาดสดห้วยขวาง ถนนประชาสงเคราะห์ 2 นาย
11. บริเวณหน้าโรงเรียนสามเสนนอก ถนนประชาสงเคราะห์ 2 นาย
4. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อช่วยเหลือเจ้าพนักงานจราจรในการจัดการจราจรบริเวณหน้าสถานศึกษา บริเวณแยก และย่าน
ชุมนุมชนที่มีปัญหาการจราจรติดขัด
2. เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ใช้รถใช้ถนน
3. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีระหว่างกรุงเทพมหานครกับประชาชน
4. เพื่อสนองนโยบายผู้บริหารกรุงเทพมหานครในด้านการแก้ไขปัญหาจราจร และเป็นการกวดขันผู้ใช้
รถใช้ถนนให้มีระเบียบวินัยด้านการจราจร
5. ขั้นตอนการดำเนินการ
4.1 จัดทำโครงการเทศกิจอาสาจราจรเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ
4.2 จัดส่งเจ้าหน้าที่เทศกิจเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรอาสาจราจรตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
4.3 กำหนดสถานที่ที่มีความสำคัญ จำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการให้เจ้าหน้าที่เทศกิจ
อาสาจราจรช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
4.4 ประสานสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ ร่วมแก้ไขปัญหาจราจรและความปลอดภัยแก่เด็กนักเรียน
4.5 จัดทำคำสั่งมอบหมายภารกิจและกำหนดตัวบุคคลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเทศกิจอาสาจราจร ปฏิบัติหน้าที่อำนวยการจราจรประจำแต่ละจุดที่กำหนดไว้
4.6 มอบหมายให้หัวหน้างานกิจการพิเศษหรือหัวหน้าชุดสายตรวจ ออกตรวจตราการปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าที่เทศกิจอาสาจราจรในจุดต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
4.7 รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจอาสาจราจรในแต่ละวัน ว่ามีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง
4.8 จัดเจ้าหน้าที่ผู้ผ่านการฝึกอบรมมานานหลายปี เข้ารับการอบรมเพิ่มเติมเพื่อทบทวนและเสริมความรู้ใหม่ ๆ ให้ทันสมัยตลอดเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
6. ปัญหาอุปสรรค การปฏิบัติหน้าที่เทศกิจอาสาจราจรมีปัญหาอุปสรรค ดังนี้
1. เจ้าหน้าที่เทศกิจไม่มีอำนาจตามกฏหมาย ต้องประสานความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง
2. ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ค่อยเชื่อฟังเทศกิจอาสาจราจร เนื่องจากเป็นเพียงผู้ช่วยเจ้าพนักงานตำรวจตาม
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่ใช่ผู้มีอำนาจตามกฏหมาย
7. ประโยชน์ที่จะได้รับ การดำเนินโครงการเทศกิจอาสาจราจรทำให้กรุงเทพมหานครได้รับประโยชน์ ดังนี้
1. บุคลากรของกรุงเทพมหานครมีศักยภาพพอที่จะช่วยเหลือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการ
แก้ไขปัญหาจราจรได้
2. เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนได้รับความสะดวก ปลอดภัยในการเดินทางมากขึ้น
3. ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ยวดยานพาหนะสามารถเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น
4. เป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนมีระเบียบวินัยด้านการจราจร และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
การจราจรมากขึ้น
5. เป็นการสนองนโยบายด้านการแก้ไขปัญหาการจราจรของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
แผนกิจกรรม (Activity Plan)
กิจกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่เทศกิจอาสาจราจร
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม กลุ่มพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจร
ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 จัดทำหนังสือและประกาศเชิญชวนข้าราชการ ลูกจ้างในสังกัดเข้าร่วมกิจกรรมสร้างชุมชนนักปฏิบัติภายในหน่วยงาน หัวข้อเรื่อง เทศกิจอาสาจราจร
ระยะที่ 2 ประชุมสมาชิกในกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายด้านการจราจร
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง บทบาทหน้าที่ของเทศกิจอาสาจราจร และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแก้ไขปัญหาด้านการจราจร
ระยะที่ 3 ประชุมสมาชิกเพื่อเปิดโอกาสให้มีการซักถาม การเสนอความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สาระสำคัญที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม
1. สมาชิกในกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นและเสนอแนะได้อย่างเต็มที่
2. สมาชิกได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายด้านการจราจรของผู้บริหาร
กรุงเทพมหานคร ความหมายของอาสาจราจร กฏหมายที่เกี่ยวข้อง บทบาทหน้าที่ของอาสาจราจร และขั้นตอนการดำเนินการเทศกิจอาสาจราจร
3. สมาชิกนำความรู้ไปพัฒนาศักยภาพของตน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาแก้ไข
ปัญหาด้านการจราจร
4. สมาชิกสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
งบประมาณ ไม่ใช้งบประมาณ
ตัวชี้วัด สมาชิกในกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของเทศกิจอาสาจราจร และมี
ระเบียบวินัยด้านการจราจรมากขึ้น
แผนการจดบันทึกกิจกรรม (COP)
กลุ่มพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจร
ครั้งที่ 1/2554
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2554 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานเขตดินแดง
…………………………………….
เรื่อง เทศกิจอาสาจราจร
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของเทศกิจอาสาจราจร
2 . เพื่อให้สมาชิกมีความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแก้ไข
ปัญหาด้านการจราจร
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงานให้มีระเบียบวินัยด้านการจราจร
วันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2554 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2
สำนักงานเขตดินแดง
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 10 คน ประกอบด้วย
1. นายอมฤต สุวรรณทิพย์ ประธานกลุ่ม/คุณกิจ
2. นายภรเดช วัฒน์ทัน คุณอำนวย/ผู้จัดการ
3. นายสมรรถ พวงอาจ คุณกิจ/สมาชิก
4. นายสมนึก ยอดดวงใจ คุณกิจ/สมาชิก
5. นายพนอม ศรีนวล คุณกิจ/สมาชิก
6. นายประยูร ละเอียดขำ คุณกิจ/สมาชิก
7. นายจำเนียร โลกนิมิต คุณกิจ/สมาชิก
8. นายสมหมาย สันเต๊ะ คุณกิจ/สมาชิก
9. นายประจักษ์ คล้ายยา คุณกิจ/สมาชิก
10. น.ส.อรุณี มุสิกะพันธ์ คุณลิขิต/เลขานุการ
ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นโยบายด้านการจราจรของกรุงเทพมหานคร และบทบาทหน้าที่
ของเทศกิจอาสาจราจร
กิจกรรมที่ 1 นโยบายด้านการจราจรของกรุงเทพมหานคร และกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของเทศกิจอาสาจราจร
ความรู้/ประสบการณ์ที่ได้รับ สมาชิกในกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจนโยบายด้านการจราจรของผู้บริหารกรุงเทพมหานครสมัยที่ผ่านมาและในปัจจุบัน กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการดำเนินการโครงการเทศกิจอาสาจราจร และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของเทศกิจอาสาจราจรมากยิ่งขึ้น
รายงานการประชุมการสร้างชุมชนนักปฏิบัติภายในหน่วยงาน
กลุ่มพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจร
ครั้งที่ 1/2554
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2554 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานเขตดินแดง
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ผู้มาประชุม
1. นายอมฤต สุวรรณทิพย์ ประธานกลุ่ม/คุณกิจ
2. นายภรเดช วัฒน์ทัน คุณอำนวย/ผู้จัดการ
3. นายสมรรถ พวงอาจ คุณกิจ/สมาชิก
4. นายสมนึก ยอดดวงใจ คุณกิจ/สมาชิก
5. นายพนอม ศรีนวล คุณกิจ/สมาชิก
6. นายประยูร ละเอียดขำ คุณกิจ/สมาชิก
7. นายจำเนียร โลกนิมิต คุณกิจ/สมาชิก
8. นายสมหมาย สันเต๊ะ คุณกิจ/สมาชิก
9. นายประจักษ์ คล้ายยา คุณกิจ/สมาชิก
10. น.ส.อรุณี มุสิกะพันธ์ คุณลิขิต/เลขานุการ
เริ่มประชุม เวลา 10.00 น.
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธาน/คุณกิจ 1.1 แนะนำสมาชิกในกลุ่มพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจร โดยกล่าวเปิดประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ฝ่ายเทศกิจได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการสร้างชุมชนนักปฏิบัติภายในหน่วยงาน ในหัวข้อเรื่อง เทศกิจอาสาจราจร ซึ่งเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของเราที่ปฏิบัติเป็นประจำอยู่แล้ว การดำเนินการสร้างชุมชนนักปฏิบัติได้มอบหมายให้หัวหน้างานกิจการพิเศษ (นายภรเดช วัฒน์ทัน) ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการหรือเป็นคุณอำนวยตามระเบียบกำหนดไว้ โดยจัดทำหนังสือและปิดประกาศเชิญชวนข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดสำนักงานเขตดินแดงเข้าร่วมกิจกรรม ผู้สนใจให้ติดต่อประสานรายละเอียดและกรอกแบบคำขอเข้าร่วมกิจกรรมที่ฝ่ายเทศกิจ ปรากฏว่ามีผู้แจ้งความประสงค์และกรอกแบบคำขอร่วมสร้างชุมชนนักปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว จำนวน 10 คน ในโอกาสนี้จะขอแนะนำให้สมาชิกได้รู้จักเพื่อจะได้ร่วมกิจกรรมและดำเนินกิจกรรมต่อไปตามลำดับดังนี้
1. นายอมฤต สุวรรณทิพย์ ประธานกลุ่ม/คุณกิจ
2. นายภรเดช วัฒน์ทัน คุณอำนวย/ผู้จัดการ
3. นายสมรรถ พวงอาจ คุณกิจ/สมาชิก
4. นายสมนึก ยอดดวงใจ คุณกิจ/สมาชิก
5. นายพนอม ศรีนวล คุณกิจ/สมาชิก
6. นายประยูร ละเอียดขำ คุณกิจ/สมาชิก
7. นายจำเนียร โลกนิมิต คุณกิจ/สมาชิก
8. นายสมหมาย สันเต๊ะ คุณกิจ/สมาชิก
9. นายประจักษ์ คล้ายยา คุณกิจ/สมาชิก
10. น.ส.อรุณี มุสิกะพันธ์ คุณลิขิต/เลขานุการ
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ
ประธาน/คุณกิจ 1.2 นโยบายด้านการจราจรของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารกรุงเทพมหานครทุกยุคทุกสมัยมีนโยบายด้านการแก้ไขปัญหาจราจร และมีการประชุมหารือเพื่อหามาตรการบรรเทาปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ในขณะเดียวกันได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักการโยธา สำนักการจราจรและขนส่ง และสำนักงานเขต จัดเตรียมแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อาทิเช่น การตัดถนนทางเชื่อมทางลัด การขยายพื้นผิวจราจร การยกระดับพื้นผิวจราจร การซ่อมแซมผิวการจราจร การจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจอาสาจราจรคอยอำนวยการจราจรบริเวณหน้าสถานศึกษาและย่านชุมนุมชนที่มีปัญหาจราจรติดขัด เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากแผนพัฒนากรุงเทพมหานครแต่ละฉบับที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบชี้นำการดำเนินงานของทุกหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเสริมสร้างความปลอดภัยและบรรเทาสาธารณะภัย เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง ยั่งยืน และเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังมีปรากฏในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 89 ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 18 ให้กรุงเทพมาหนครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ
ประธาน/คุณกิจ 1.3 กฏหมายที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติหน้าที่ของเทศกิจอาสาจราจรถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมาย คำจำกัดความ
เช่น ทางการจราจร ขอบทาง ไหล่ทาง ทางแยก วงเวียน รถยนต์ เจ้าของรถ ใบอนุญาตขับขี่ เครื่องหมายจราจร การใช้รถ การใช้ไฟสัญญาณหรือเสียงสัญญาณของรถ การบรรทุก สัญญาณจราจร การขับรถ การแซงผ่านขึ้นหน้า การออกรถ การเลี้ยวรถและกลับรถ การหยุดและการจอดรถ การใช้ทางเดินรถที่จัดเป็นช่องทางเดินรถประจำทาง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วรถ การขับรถผ่านทางร่วม ทางแยกหรือวงเวียน อุบัติเหตุ คนเดินเท้า สัตว์หรือสิ่งของในทาง เป็นต้น
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ
ประธาน/คุณกิจ 1.4 อำนาจหน้าที่ของอาสาจราจร พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4(39) ให้คำจำกัดความ อาสาจราจร หมายความว่า ผู้ซึ่งผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรอาสาจราจรและได้รับการแต่งตั้งจากอธิบดีให้ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหน้าที่ดังนี้
1.4.1 ตรวจ ควบคุมการจัดการจราจรบริเวณที่มีการจราจรติดขัดคับคั่งหรือในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ เว้นแต่กรณีไม่มีพนักงานเจ้าหน้าที่อยู่ในที่นั้น จึงให้ปฏิบัติโดยลำพังได้
1.4.2 ชี้แจง ตักเตือน แนะนำ ตลอดจนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ทางทราบระเบียบ วิธีการที่ถูกต้องและปฏิบัติ
1.4.3 ดูแลการหยุดรถ จอดรถ การข้ามทาง เพื่อให้การจราจรมีความคล่องตัวและปลอดภัยในบริเวณที่มีการฝ่าฝืนจนการจราจรไม่สะดวก
1.4.4 รายงานการกระทำผิดของผู้ขับรถ การชำรุดเสียหาย ข้อขัดข้องเครื่องหมายและสัญญาณจราจร ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
1.4.5 แจ้งอุบัติเหตุการจราจรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบโดยมิชักช้า
มติที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องอื่น ๆ
นายภรเดช/คุณอำนวย แจ้งให้สมาชิกในกลุ่มเสนอความคิดเห็นและสอบถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง
เทศกิจอาสาจราจรที่ประธาน/คุณกิจ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบไปแล้ว โดยสมาชิกสามารถเสนอข้อคิดเห็นและเสนอแนะได้อย่างเต็มที่ เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงาน และสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
นายสมรรถ/สมาชิก อยากทราบว่าหากมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นระหว่างผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น รถเกิดเฉี่ยวชนกันหรือ เกิดอุบัติเหตุ ถามว่าอาสาจราจรสามารถบังคับการตามกฏหมายได้หรือไม่
ประธาน/คุณกิจ กรณีนี้เทศกิจอาสาจราจรไม่มีอำนาจเข้าไปดำเนินการ แต่เบื้องต้นให้รายงานเจ้าพนักงานจราจรทราบโดยมิชักช้า เนื่องจากเราไม่เป็นผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยตรง
นายพนอม/สมาชิก ขอเรียนถามว่าประชาชนทั่วไปสามารถทำหน้าที่เป็นอาสาจราจรได้หรือไม่
ประธาน/คุณกิจ ประชาชนทั่วไปไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อาสาจราจรได้ นอกจากจะผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรอาสาจราจรและได้รับการแต่งตั้งจากอธิบดีให้ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฏหมาย
นายสมหมาย/สมาชิก อยากทราบว่าผู้ที่จะเป็นอาสาจราจรกฏหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าต้องมีอายุเท่าไร
ประธาน/คุณกิจ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่อาสาจราจรจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ และจะต้องมีความประพฤติดีมีคุณธรรม ไม่เคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุก รอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมายให้จำคุกในคดีอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับอุบัติเหตุจราจร เป็นต้น นอกจากนี้ยังจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากอธิบดีให้ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการอำนวยการจราจรตามกฏหมายอีกด้วย
นายประยูร/สมาชิก อยากทราบว่าอาสาจราจร นอกจากจะมีหน้าที่ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฏหมายแล้ว เทศกิจอาสาจราจรมีหน้าที่อื่นอีกหรือไม่ อย่างไร
ประธาน/คุณกิจ นอกจากหน้าที่ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฏหมายแล้ว ยังมีหน้าที่อื่น ๆ