|
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Smith Sutibut |
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ มีผู้ที่ใช้ชื่อว่า Smith Sutibut ได้แชร์ประสบการณ์ที่ตัวเองเจอไปในเฟซบุ๊กของ กลุ่มคนรักษ์วาฬบรูด้า ว่า
ได้ไปเที่ยวชมโลมาสีชมพู หรือโลมาหลังโนก หรือโลมาเผือก ที่ว่ายน้ำไปมา ระหว่างแหลมประทับ อ่าวขนอม อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช และ ทะเล อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ว่า มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ไม่ยอมล่า หรือหาปลากินด้วยตัวเอง แต่ รอปลาจากนักท่องเที่ยว ที่นั่งเรือมาเที่ยวชมโลมา และมักจะซื้อลูกปลาตายจากบนฝั่ง เอาไปป้อนให้โลมากินกับมือ และไม่แน่ใจว่าลุกปลาที่นักท่องเที่ยวเหล่านั้นซื้อมาป้อนโลมานั้น จะเป็นลูกปลาที่แช่น้ำยาอาบศพ หรือไม่ ซึ่งถือว่าอันตรายมาก
วัน ที่ 20 เมษายน นายสมชาย มั่นอนันต์ทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง จ.สงขลา
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กล่าวว่า ตนทราบเรื่องนี้แล้ว และไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะเป็นห่วงเช่นเดียวกัน เบื้องต้น ได้สอบถามชาวบ้านในพื้นที่ พบว่า ภาพที่มีการโพสในเฟซบุ๊ก ที่มีมือยื่นปลาไปให้โลมาตัวหนึ่งในทะเลกินนั้น เป็น เรือท่องเที่ยว ของโรงแรมแห่งหนึ่ง ที่นำนักท่องเที่ยวไปชมโลมา ที่ทะเลขนอม เป็นการรู้เท่าไม่ถึงการ
"ทช.เคย นับ จำนวนโลมาพื้นที่ดังกล่าว ได้ประมาณ 30 ตัวแต่ละปี จะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมดูโลมาจำนวนมากทั้งนี้ในพื้นที่ก็จะมีกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน ที่ใช้เวลาว่างจากการทำประมง เอาเรือประมงมาดัดแปลงเพื่อนำนักท่องเที่ยวไปชมโลมาอยู่แล้ว กลุ่มนี้จะเข้าใจถึงนิสัยและความเป็นอยู่ของโลมา กลุ่มนี้เป็นอย่างดี ก็มีบ้าง ที่ชาวประมง หาปลามาได้แล้ว ปลาบางตัวเล็กไม่ได้ขนาด ก็จะโยนให้โลมากินบ้าง เป็นการเกื้อกูลต่อกัน "
นาย สมชาย กล่าวว่า แต่ที่น่าห่วงอย่างมาก คือ การที่นักท่องเที่ยวซื้อปลามาจากบนฝั่ง และนำไปป้อนให้โลมากินกับมือ
นอกจากไม่มั่นใจในความปลอดภัยของปลาที่ซื้อมาแล้ว ก็จะเป็นการสร้างความคุ้นเคยแบบผิดๆให้กับโลมาอีกด้วย โดยเแพาะโลมาที่กำลังเลี้ยงลูกตัวเล็กๆ พฤติกรรมการรับอาหารจากนักท่องเที่ยวจะส่งต่อไปยังลูก อาจจะทำให้ลูกเอาอย่างแม่ ต่อไปก็จะไม่ยอมหาปลากินเอง และรอแต่อาหารจากนักท่องเที่ยวเหมือนลิง อันนี้น่าห่วงมาก ตนจะเร่งไปทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ประกอบการณ์ท่องเที่ยวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ให้เร็วที่สุด หากปล่อยเอาไว้ จะส่งผลไม่ดีต่ออนาคตของโลมาฝูงนี้แน่นอน
"การ ให้อาหารโลมา เหมือนกับการที่นักท่องเที่ยวชอบซื้อขนมปังไปโปรยให้ปลาตัวเล็กๆในทะเล ซึ่งทำให้ปลาเหล่านั้นไม่ยอมหากินอีกแล้วเวลานี้ ได้แต่รออาหารจากนักท่องเที่ยว เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของปลา และทำให้ธรรมชาติเสียสมดุลอย่างมาก ในกรณีของโลมานั้น อาจจะดีตรงที่หากไม่มีใครเอาปลามาป้อนมันก็จะกลับไปหาปลากินเองได้เหมือน เดิม พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาได้ แต่ที่เป็นห่วงมากคือ ตัวที่กำลังเลี้ยงลูก ลูกจะเอาอย่าง และไม่ยอมหากินเอง ซึ่งหากเป็นแบบนี้ถือว่าเรื่องใหญ่ ต้องหาทางป้องกันอย่างเร่งด่วน และเบื้องต้นขอให้นักท่องเที่ยวหยุดการป้อนอาหารโลมาในทะเลด้วย"
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น