พิทยา ว่องกุล
กว่าพรรคประชาธิปัตย์จะรู้ว่า จุดอ่อนสุดทางยุทธศาสตร์การเมืองของระบอบทักษิณอยู่ที่ "นารีปูปวกเปียกทางการเมือง" ผู้ขาดสมรรถภาพในการเป็นผู้นำ หรือความเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเธอดูเหมือนจะชมชอบฐานะ "นางแบบการเมือง" ตามพี่ชายกำหนด ชอบทำงานกรีดกรายโชว์โฉมไปต่างประเทศแต่ละวัน โดยไม่แยแสสนใจว่า สิ่งที่กระทำนั้นบางครั้งทำให้ประเทศขายหน้า
แต่ในมุมมองที่กลับกัน เราอาจคิดได้ว่า บทบาทในฐานะนางแบบการเมืองหรือหุ่นที่ไม่รู้ฐานะบทบาทความเป็นผู้นำจริงๆ ของยิ่งลักษณ์นั้น เป็นกลอุบายทางยุทธศาสตร์ที่จะปกปิดจุดอ่อนทางการเมืองของระบอบทักษิณเอาไว้ แล้วล่อให้ปรปักษ์หรือพรรคฝ่ายค้านไปฟัดกับ "สุนัขรับใช้ทางการเมือง" แทน ทำให้ปรปักษ์หลงคอยระวังเสียงที่คอยเห่าโฮ้งๆ หรือคำรามขู่ จนลือลั่นสั่นสะเทือนสภา สร้างสีสันความไม่น่าเชื่อถือของรัฐสภาไทยให้ประชาชนเบื่อหน่ายมานับปี
อย่างไรก็ตาม สิ่งจะเห็นชัดเจนคือ ฝ่ายระบอบทักษิณประสานความร่วมมือกัน ด้วยจุดมุ่งหมายทางการเมือง (Political Object) ที่จุดสำคัญอันดับแรกๆ ของปรปักษ์ ด้วยหลักที่ว่าจะทำลายฝ่ายปรปักษ์ได้นั้น จักต้องทำลายความเชื่อถือต่อ “ผู้นำ” และหัวหน้ารองลงมา หรือถ้าจะปราบปรามโจรร้ายก็ต้องจับ “หัวหน้าเสือ” ให้ได้ เหตุนี้เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของระบอบทักษิณจึงระดมลิ่วล้อจ่อทวนไปที่ “คอหอยอภิสิทธิ์” หรือสุเทพ เทือกสุบรรณ อยู่ตลอดเวลา จนสุเทพต้องลดบทบาททางการเมืองลง แล้วหัวหน้าพรรคอภิสิทธิ์ก็ตกเป็นศูนย์รวมการโจมตีอย่างโดดเด่น และตลอดเวลาเท่าที่เงื่อนไขเปิดช่อง หรือลากเข้ามาพัวพันได้
ข้อที่น่าสังเกตและเป็นสิ่งที่รู้กันว่า สมุนคนเด่นดังของระบอบทักษิณนั้น มีพฤติกรรมที่สังคมรังเกียจ ชอบก่อกวนทำให้สภาอลวน และประชาชนสับสนในคำพูดเป็นเท็จหรือจริง หรือปั้นน้ำเป็นตัว ไม่เชื่อถือ ทำให้ภาพลักษณ์ทางการเมืองเขาติดลบเสมอ แต่บรรดาสมุนเหล่านี้ กลับช่ำชองในการใช้จุดมุ่'หมายทางการเมืองที่เลวร้าย ป้ายสีให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตกต่ำลงเช่นตน ในทางยุทธศาสตร์การเมืองจะพบว่า ภาพลักษณ์ด้านคุณธรรมหรือสุภาพบุรุษของอภิสิทธิ์ ถูกข้อหาใส่ไคล้ให้โหดเหี้ยมมือเปื้อนเลือด เมื่ออดีตนายกฯ อภิสิทธิ์พยายามใช้กฎหมายและกฎระเบียบมารักษาวินัยทางสังคม ก็ถูกโจมตีด้วยข้อหา “สองมาตรฐาน” และลามปามไปถึงสถาบันศาล หวังทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย หรือเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้รัฐบาลหรือสำนักตำรวจแห่งชาติถอดยศนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ออกจาก พ.ต.ท. หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ก็ถูกรุกฆาตด้วยการคำสั่งถอดยศ ร.ต. ของอภิสิทธิ์อย่างรวดเร็วทันที โดยกระทรวงกลาโหมที่มี พล.อ.อ.สุกำพล เป็นรัฐมนตรีว่าการ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในการวิเคราะห์จำเป็นต้องทำความเข้าใจปัญหาเงื่อนไขการเมืองเป็นองค์ประกอบ เพราะเงื่อนไขการเมืองในตัวมันเองจะบ่งบอกถึงเป้าหมายทางการเมืองในขณะนั้น โดยเฉพาะ พล.อ.อ.สุกำพลไม่ใช่เป็นลิ่วล้อใครง่ายๆ มีศักดิ์ศรีความเป็นเพื่อนกับนักโทษชายทักษิณ ดังนั้น การเซ็นคำสั่งถอดยศ ร.ต.อภิสิทธิ์ โดยไม่คำนึงถึงขั้นตอนศาลที่ยังค้างคาอยู่ จึงบ่งบอกถึงจุดมุ่งหมายทางการเมืองซ่อนเร้น และเป็นส่วนเร่งเร้าให้จำเป็นต้องมีคำสั่งถอดยศอภิสิทธิ์หรือไม่
ในที่นี้ ผมขอนำเอาหลักว่าด้วยจุดมุ่งหมายทางการเมือง(Political Object) ของคาร์ล วอน เคลาซ์วิทซ์ จากหนังสือ On War มาอธิบายรวมๆ ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะนำไปสู่สงครามหรือไม่ เบื้องต้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองของคู่ปรปักษ์ ซึ่งมีความต้องการอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่งเป็นใจกลางหรือเป้าหมายสูงสุด แต่ ในสภาพความเป็นจริง เป้าหมายสูงสุดทางยุทธศาสตร์นั้นใช่จะเกิดเป็นจริงได้ง่ายๆ ดังเช่นที่คิดกัน หรือตามเจตนารมณ์ของแต่ละฝ่าย เคลาซ์วิทซ์ให้แยกแต่ละฝ่ายออกเป็นองค์ประกอบย่อยทางการเมืองที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันและขัดแย้งกัน ซึ่งแต่ละองค์ประกอบย่อยจะมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในตัวมันเอง ซึ่งสร้างผลทางการเมืองที่เป็นพลังอำนาจของฝ่ายตนและกระทบต่อฝ่ายตรงกันข้าม ดังนั้น การต่อสู้ทางการเมืองที่เป็นองค์ประกอบย่อย ขณะที่ยังไม่ผนึกรวมเป็นเอกภาพส่งผลให้ การแตกหักเป็นสงครามจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ เหตุนี้ความขัดแย้งในองค์ประกอบส่วนต่างๆ ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับระบอบทักษิณ จึงไม่อาจจะนำไปสู่สงคราม หากยังคงอยู่ในขอบเหตุยุทธศาสตร์ยุทธวิธีการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งการเคลื่อนไหวในแต่ละเหตุการณ์ทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย ล้วนสะท้อนจุดมุ่งหมายแต่ละเรื่องออกมา ว่าจะกระทบต่อความรู้สึกประชาชนอย่างไร? แล้วส่งผลเป็นการต่อเนื่องไปสู่การกระทำที่ตามมาต่ออีกฝ่ายหนึ่งอะไรบ้าง ดังนั้น การจำกัดขอบเขตความขัดแย้งทางการเมืองว่ามีจุดมุ่งหมายอะไร จึงช่วยให้มองเห็นเกมการเมืองในเงื่อนไขนั้นๆ ได้อย่างสมจริงสมจังและมีเหตุผลรองรับ
เคลาซ์วิทซ์มิได้เป็นนักทฤษฎีประเภทเหมารวม หรือสุดขั้ว หากเน้นให้วิเคราะห์สงครามตามเหตุแห่งปัจจัยที่เกิดขึ้น ในช่วงที่เป็นความขัดแย้งทางการเมืองนั้น มิอาจเอาเจตนาของใครเป็นตัวกำหนด ผู้นำที่เอาเจตนาของตนกำหนดสงครามมักจะพ่ายแพ้ แต่เคลาซ์วิทซ์จะวิเคราะห์ลงลึกว่า “จุดมุ่งหมายทางการเมืองเป็นแรงจูงใจเริ่มต้นที่ต้องมีเหตุปัจจัยที่ดำรงอยู่จริงเป็นกระบวนการรองรับ ดังนั้น กระบวนการทางการเมืองที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บริหารบ้านเมืองมา จนเกิดความเสียหายมากมายจากนโยบายประชานิยมที่อาจนำไปสู่หนี้สิน หรือวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่ ที่กำลังจะนำความยับเยินสู่ประเทศอีกครั้งหนึ่ง ความไร้ประสิทธิภาพในฐานะผู้นำประเทศ และการบริหารแบบนายกฯ หุ่นของยิ่งลักษณ์ที่ไม่เป็น ไม่รู้ ปัญหาคอรัปชั่นที่แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง การสร้างระบอบ 2 มาตรฐานระหว่างคนเสื้อแดงกับประชาชนทั่วไป และการสร้างรัฐตำรวจและการสนับสนุนให้เกิดรัฐคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดิน จนเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนออกมาต่อต้าน และพรรคฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ด้วยจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่จะล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยเจาะจงตัวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นหลัก ตามด้วย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ พล.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีกลาโหม พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย รวมถึงวุฒิสมาชิกขอเปิดอภิปรายการทำงานของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คนเดียวโดดๆ จึงมองเห็นจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่ชัดเจนดังนี้
1.กฎหลักในระบอบประชาธิปไตยตัวแทน ไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะเป็นโคลนนิงหรือหุ่นเชิดก็ตาม จุดมุ่งหมายทางการเมืองที่ฝ่ายค้านสามารถโค่นล้มลงไปได้ เท่ากับล้มอำนาจผู้เชิดอยู่เบื้องหลัง หรือสร้างผลสะเทือนทางการเมืองได้
2.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นจุดอ่อนที่สุดของพรรคเพื่อไทย วุฒิภาวะความรู้ทางการเมือง สติปัญญาหรือประสบการณ์น้อย เป็นเหตุให้ปฏิภาณในการตอบโต้ต่ำ ระบบความคิดสับสนจำไม่ได้แม่นยำ แต่ถูกเชิดขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง ในภาวะที่บกพร่องในบทบาท ฐานะ และความสามารถในด้านการเมือง ดังนั้น โอกาสที่รัฐบาลจะพลาดพลั้ง และเสียท่าฝ่ายค้าน หรือยิ่งลักษณ์ฆ่าตัวเองกลางสภาจึงสูงมาก นี่เป็นจุดมุ่งหมายทางการเมืองของฝ่ายค้านเปิดอภิปรายเจาะจงตัว ทั้งๆ ที่รู้ว่าเสียงข้างมากจะลากไปจนชนะในที่สุด
จุดมุ่งหมายทางการเมืองนี้ คาดว่า ทักษิณ ชินวัตรและกรรมการพรรคเพื่อไทยรู้ดี ดังนั้น จึงมีการวางแผนและเตรียมการปกป้องอาไว้อย่างถึงที่สุด เกมการเมืองในการอภิปรายครั้งนี้ ฝ่ายรัฐบาลคงจะวางจุดมุ่งหมายพิทักษ์นารีปูนิ่มเป็นหลัก ประชาชนได้เห็นจะจะว่ารัฐสภาเละเทะหรือวุ่นวายสักเพียงใด ดังนั้นศึกรัฐสภาครั้งนี้จึงน่าจะปั่นป่วนเหมือนมรสุมคลุ้มคลั่งภาพลักษณ์การเมืองไทย เพราะทักษิณไม่อาจได้ชื่อว่าเป็นต้นตอหรือคนนำน้องสาวมา “ฆ่า” กลางสภา เพื่อตอบสนองตัณหาการเมืองของตน
3.ในกระบวนการทางการเมือง คงจะเชื่อมไปถึงจุดมุ่งหมายทางการเมืองของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมถอดยศ ร.ต.ของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีผลหยุดยั้งทางการเมืองของอภิสิทธิ์ ปัญหาคุณสมบัติในการเป็น ส.ส. และยับยั้งญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจลงทันที เมื่อฝ่ายพรรคเพื่อไทยเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
5.การกระทำของ พล.อ.อ.สุกำพล ยังสร้างปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากเป็นบุคคลหนึ่งที่พรรคฝ่ายค้านกำหนดเป็นเป้าอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนั้น การถอดยศอภิสิทธิ์เร่งด่วน จึงเป็นปัญหาด้านการปกครอง ศาลปกครองอาจถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง และทำให้ พล.อ.อ.สุกำพลถูกสังคมตั้งคำถามว่า ทำไปเพื่อให้ตนรอดพ้นจากการอภิปรายใช่ไหม? ความเสื่อมเสียก็จะเกิดขึ้น พร้อมกับกรรมต่อเนื่องไปสู่ พล.อ.อ.สุกำพลและกลาโหม ในฐานะที่ถ้าอภิสิทธิ์ผิดจริง ทำไมไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะกรรมการคัดเลือกทหารที่ร่วมกระทำทุจริตครั้งนั้นด้วย
นี่เป็นมุมมองจุดมุ่งหมายทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองมากมาย ตามหลักการวิเคราะห์ลึกของเคลาซ์วิทซ์ ในยุคสมัยที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์สร้างปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประชานิยมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะนโยบายจำนำข้าว สินค้าราคาแพงทั่วแผ่นดิน และปัญหาการคอรัปชั่นอย่างกว้างขวาง ทำให้ภาคธุรกิจและภาคประชาชนออกมาคัดค้าน ดังนั้น การหาเหตุยับยั้งอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี จึงทำให้ขอบเขตความขัดแย้งขยายสู่ประชาชนเพิ่มขึ้นว่าเดิม ขณะนี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงถูกติเตียนเรื่องจะหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจจากฝ่ายค้าน และกระแสประชาชนสนใจอยากรู้ข้อมูลเอกสารลับที่พรรคประชาธิปัตย์ปกปิดไว้เพิ่มสูงขึ้น เมื่อถูกยับยั้งโอกาสรับรู้ ประชาชนก็โน้มเอียงไปสู่การนัดชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามมากขึ้น อย่ามองข้ามการรวมพลังในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้เป็นอันขาด
5.กรณีแกนนำคนเสื้อแดง และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร รวมทั้งเพื่อนเตรียมรุ่น 10 ของ น.ช.ทักษิณ ชินวัตร ออกมาเปิดเผยว่าการนัดชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ที่มี พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เป็นประธานนั้น มีเป้าหมายล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สะท้อนเจตนาหวั่นกลัวการรัฐประหาร และสกัดกั้นมิให้ประชาชนเข้าร่วม ทั้งยังส่งภาษาใบ้บอกว่า ฝ่ายระบอบทักษิณก็มีกำลังทหารหนุนอยู่ เหมือนจะขู่กลายๆ แต่ใจจริงกลัวทหารรวมกับประชาชนสร้างจุดมุ่งหมายทางการเมืองใหม่ หากการชุมนุมจุดติดมีคนมาชุมนุมนับแสนๆ ขึ้นไป
ส่วนแกนนำเสื้อแดงที่ประกาศชุมนุมคนเสื้อแดง เพื่อต่อต้านการชุมนุมของประชาชนที่รวมตัวกับองค์การพิทักษ์สยาม สะท้อนความอ่อนหัดของแกนนำเสื้อแดงทางยุทธศาสตร์ และไม่วิเคราะห์จุดมุ่งหมายทางการเมืองทั้ง 2 ฝ่ายอย่างชัดเจนมาถึงขั้นใด เพราะหากแกนนำเสื้อแดงคุมมวลชนไม่อยู่หรือมีการสร้างสถานการณ์เกิดขึ้น รัฐบาลยิ่งลักษณ์หรือจะอยู่ได้
ขณะที่แดงตัวพ่อยังมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองถนอมตัว ไม่แตกหัก รอคอยสะสมกำลังให้พร้อม หรือซื้อได้ทั้งหมดเสียก่อน หากถึงวันนั้น อนาคตแดงทั้งแผ่นดินจะเกิดเป็นจริง
แต่ในมุมมองที่กลับกัน เราอาจคิดได้ว่า บทบาทในฐานะนางแบบการเมืองหรือหุ่นที่ไม่รู้ฐานะบทบาทความเป็นผู้นำจริงๆ ของยิ่งลักษณ์นั้น เป็นกลอุบายทางยุทธศาสตร์ที่จะปกปิดจุดอ่อนทางการเมืองของระบอบทักษิณเอาไว้ แล้วล่อให้ปรปักษ์หรือพรรคฝ่ายค้านไปฟัดกับ "สุนัขรับใช้ทางการเมือง" แทน ทำให้ปรปักษ์หลงคอยระวังเสียงที่คอยเห่าโฮ้งๆ หรือคำรามขู่ จนลือลั่นสั่นสะเทือนสภา สร้างสีสันความไม่น่าเชื่อถือของรัฐสภาไทยให้ประชาชนเบื่อหน่ายมานับปี
อย่างไรก็ตาม สิ่งจะเห็นชัดเจนคือ ฝ่ายระบอบทักษิณประสานความร่วมมือกัน ด้วยจุดมุ่งหมายทางการเมือง (Political Object) ที่จุดสำคัญอันดับแรกๆ ของปรปักษ์ ด้วยหลักที่ว่าจะทำลายฝ่ายปรปักษ์ได้นั้น จักต้องทำลายความเชื่อถือต่อ “ผู้นำ” และหัวหน้ารองลงมา หรือถ้าจะปราบปรามโจรร้ายก็ต้องจับ “หัวหน้าเสือ” ให้ได้ เหตุนี้เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของระบอบทักษิณจึงระดมลิ่วล้อจ่อทวนไปที่ “คอหอยอภิสิทธิ์” หรือสุเทพ เทือกสุบรรณ อยู่ตลอดเวลา จนสุเทพต้องลดบทบาททางการเมืองลง แล้วหัวหน้าพรรคอภิสิทธิ์ก็ตกเป็นศูนย์รวมการโจมตีอย่างโดดเด่น และตลอดเวลาเท่าที่เงื่อนไขเปิดช่อง หรือลากเข้ามาพัวพันได้
ข้อที่น่าสังเกตและเป็นสิ่งที่รู้กันว่า สมุนคนเด่นดังของระบอบทักษิณนั้น มีพฤติกรรมที่สังคมรังเกียจ ชอบก่อกวนทำให้สภาอลวน และประชาชนสับสนในคำพูดเป็นเท็จหรือจริง หรือปั้นน้ำเป็นตัว ไม่เชื่อถือ ทำให้ภาพลักษณ์ทางการเมืองเขาติดลบเสมอ แต่บรรดาสมุนเหล่านี้ กลับช่ำชองในการใช้จุดมุ่'หมายทางการเมืองที่เลวร้าย ป้ายสีให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตกต่ำลงเช่นตน ในทางยุทธศาสตร์การเมืองจะพบว่า ภาพลักษณ์ด้านคุณธรรมหรือสุภาพบุรุษของอภิสิทธิ์ ถูกข้อหาใส่ไคล้ให้โหดเหี้ยมมือเปื้อนเลือด เมื่ออดีตนายกฯ อภิสิทธิ์พยายามใช้กฎหมายและกฎระเบียบมารักษาวินัยทางสังคม ก็ถูกโจมตีด้วยข้อหา “สองมาตรฐาน” และลามปามไปถึงสถาบันศาล หวังทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย หรือเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้รัฐบาลหรือสำนักตำรวจแห่งชาติถอดยศนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ออกจาก พ.ต.ท. หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ก็ถูกรุกฆาตด้วยการคำสั่งถอดยศ ร.ต. ของอภิสิทธิ์อย่างรวดเร็วทันที โดยกระทรวงกลาโหมที่มี พล.อ.อ.สุกำพล เป็นรัฐมนตรีว่าการ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในการวิเคราะห์จำเป็นต้องทำความเข้าใจปัญหาเงื่อนไขการเมืองเป็นองค์ประกอบ เพราะเงื่อนไขการเมืองในตัวมันเองจะบ่งบอกถึงเป้าหมายทางการเมืองในขณะนั้น โดยเฉพาะ พล.อ.อ.สุกำพลไม่ใช่เป็นลิ่วล้อใครง่ายๆ มีศักดิ์ศรีความเป็นเพื่อนกับนักโทษชายทักษิณ ดังนั้น การเซ็นคำสั่งถอดยศ ร.ต.อภิสิทธิ์ โดยไม่คำนึงถึงขั้นตอนศาลที่ยังค้างคาอยู่ จึงบ่งบอกถึงจุดมุ่งหมายทางการเมืองซ่อนเร้น และเป็นส่วนเร่งเร้าให้จำเป็นต้องมีคำสั่งถอดยศอภิสิทธิ์หรือไม่
ในที่นี้ ผมขอนำเอาหลักว่าด้วยจุดมุ่งหมายทางการเมือง(Political Object) ของคาร์ล วอน เคลาซ์วิทซ์ จากหนังสือ On War มาอธิบายรวมๆ ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะนำไปสู่สงครามหรือไม่ เบื้องต้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองของคู่ปรปักษ์ ซึ่งมีความต้องการอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่งเป็นใจกลางหรือเป้าหมายสูงสุด แต่ ในสภาพความเป็นจริง เป้าหมายสูงสุดทางยุทธศาสตร์นั้นใช่จะเกิดเป็นจริงได้ง่ายๆ ดังเช่นที่คิดกัน หรือตามเจตนารมณ์ของแต่ละฝ่าย เคลาซ์วิทซ์ให้แยกแต่ละฝ่ายออกเป็นองค์ประกอบย่อยทางการเมืองที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันและขัดแย้งกัน ซึ่งแต่ละองค์ประกอบย่อยจะมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในตัวมันเอง ซึ่งสร้างผลทางการเมืองที่เป็นพลังอำนาจของฝ่ายตนและกระทบต่อฝ่ายตรงกันข้าม ดังนั้น การต่อสู้ทางการเมืองที่เป็นองค์ประกอบย่อย ขณะที่ยังไม่ผนึกรวมเป็นเอกภาพส่งผลให้ การแตกหักเป็นสงครามจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ เหตุนี้ความขัดแย้งในองค์ประกอบส่วนต่างๆ ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับระบอบทักษิณ จึงไม่อาจจะนำไปสู่สงคราม หากยังคงอยู่ในขอบเหตุยุทธศาสตร์ยุทธวิธีการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งการเคลื่อนไหวในแต่ละเหตุการณ์ทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย ล้วนสะท้อนจุดมุ่งหมายแต่ละเรื่องออกมา ว่าจะกระทบต่อความรู้สึกประชาชนอย่างไร? แล้วส่งผลเป็นการต่อเนื่องไปสู่การกระทำที่ตามมาต่ออีกฝ่ายหนึ่งอะไรบ้าง ดังนั้น การจำกัดขอบเขตความขัดแย้งทางการเมืองว่ามีจุดมุ่งหมายอะไร จึงช่วยให้มองเห็นเกมการเมืองในเงื่อนไขนั้นๆ ได้อย่างสมจริงสมจังและมีเหตุผลรองรับ
เคลาซ์วิทซ์มิได้เป็นนักทฤษฎีประเภทเหมารวม หรือสุดขั้ว หากเน้นให้วิเคราะห์สงครามตามเหตุแห่งปัจจัยที่เกิดขึ้น ในช่วงที่เป็นความขัดแย้งทางการเมืองนั้น มิอาจเอาเจตนาของใครเป็นตัวกำหนด ผู้นำที่เอาเจตนาของตนกำหนดสงครามมักจะพ่ายแพ้ แต่เคลาซ์วิทซ์จะวิเคราะห์ลงลึกว่า “จุดมุ่งหมายทางการเมืองเป็นแรงจูงใจเริ่มต้นที่ต้องมีเหตุปัจจัยที่ดำรงอยู่จริงเป็นกระบวนการรองรับ ดังนั้น กระบวนการทางการเมืองที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บริหารบ้านเมืองมา จนเกิดความเสียหายมากมายจากนโยบายประชานิยมที่อาจนำไปสู่หนี้สิน หรือวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่ ที่กำลังจะนำความยับเยินสู่ประเทศอีกครั้งหนึ่ง ความไร้ประสิทธิภาพในฐานะผู้นำประเทศ และการบริหารแบบนายกฯ หุ่นของยิ่งลักษณ์ที่ไม่เป็น ไม่รู้ ปัญหาคอรัปชั่นที่แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง การสร้างระบอบ 2 มาตรฐานระหว่างคนเสื้อแดงกับประชาชนทั่วไป และการสร้างรัฐตำรวจและการสนับสนุนให้เกิดรัฐคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดิน จนเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนออกมาต่อต้าน และพรรคฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ด้วยจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่จะล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยเจาะจงตัวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นหลัก ตามด้วย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ พล.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีกลาโหม พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย รวมถึงวุฒิสมาชิกขอเปิดอภิปรายการทำงานของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คนเดียวโดดๆ จึงมองเห็นจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่ชัดเจนดังนี้
1.กฎหลักในระบอบประชาธิปไตยตัวแทน ไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะเป็นโคลนนิงหรือหุ่นเชิดก็ตาม จุดมุ่งหมายทางการเมืองที่ฝ่ายค้านสามารถโค่นล้มลงไปได้ เท่ากับล้มอำนาจผู้เชิดอยู่เบื้องหลัง หรือสร้างผลสะเทือนทางการเมืองได้
2.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นจุดอ่อนที่สุดของพรรคเพื่อไทย วุฒิภาวะความรู้ทางการเมือง สติปัญญาหรือประสบการณ์น้อย เป็นเหตุให้ปฏิภาณในการตอบโต้ต่ำ ระบบความคิดสับสนจำไม่ได้แม่นยำ แต่ถูกเชิดขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง ในภาวะที่บกพร่องในบทบาท ฐานะ และความสามารถในด้านการเมือง ดังนั้น โอกาสที่รัฐบาลจะพลาดพลั้ง และเสียท่าฝ่ายค้าน หรือยิ่งลักษณ์ฆ่าตัวเองกลางสภาจึงสูงมาก นี่เป็นจุดมุ่งหมายทางการเมืองของฝ่ายค้านเปิดอภิปรายเจาะจงตัว ทั้งๆ ที่รู้ว่าเสียงข้างมากจะลากไปจนชนะในที่สุด
จุดมุ่งหมายทางการเมืองนี้ คาดว่า ทักษิณ ชินวัตรและกรรมการพรรคเพื่อไทยรู้ดี ดังนั้น จึงมีการวางแผนและเตรียมการปกป้องอาไว้อย่างถึงที่สุด เกมการเมืองในการอภิปรายครั้งนี้ ฝ่ายรัฐบาลคงจะวางจุดมุ่งหมายพิทักษ์นารีปูนิ่มเป็นหลัก ประชาชนได้เห็นจะจะว่ารัฐสภาเละเทะหรือวุ่นวายสักเพียงใด ดังนั้นศึกรัฐสภาครั้งนี้จึงน่าจะปั่นป่วนเหมือนมรสุมคลุ้มคลั่งภาพลักษณ์การเมืองไทย เพราะทักษิณไม่อาจได้ชื่อว่าเป็นต้นตอหรือคนนำน้องสาวมา “ฆ่า” กลางสภา เพื่อตอบสนองตัณหาการเมืองของตน
3.ในกระบวนการทางการเมือง คงจะเชื่อมไปถึงจุดมุ่งหมายทางการเมืองของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต มีคำสั่งกระทรวงกลาโหมถอดยศ ร.ต.ของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีผลหยุดยั้งทางการเมืองของอภิสิทธิ์ ปัญหาคุณสมบัติในการเป็น ส.ส. และยับยั้งญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจลงทันที เมื่อฝ่ายพรรคเพื่อไทยเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
5.การกระทำของ พล.อ.อ.สุกำพล ยังสร้างปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากเป็นบุคคลหนึ่งที่พรรคฝ่ายค้านกำหนดเป็นเป้าอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดังนั้น การถอดยศอภิสิทธิ์เร่งด่วน จึงเป็นปัญหาด้านการปกครอง ศาลปกครองอาจถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง และทำให้ พล.อ.อ.สุกำพลถูกสังคมตั้งคำถามว่า ทำไปเพื่อให้ตนรอดพ้นจากการอภิปรายใช่ไหม? ความเสื่อมเสียก็จะเกิดขึ้น พร้อมกับกรรมต่อเนื่องไปสู่ พล.อ.อ.สุกำพลและกลาโหม ในฐานะที่ถ้าอภิสิทธิ์ผิดจริง ทำไมไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะกรรมการคัดเลือกทหารที่ร่วมกระทำทุจริตครั้งนั้นด้วย
นี่เป็นมุมมองจุดมุ่งหมายทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองมากมาย ตามหลักการวิเคราะห์ลึกของเคลาซ์วิทซ์ ในยุคสมัยที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์สร้างปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประชานิยมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะนโยบายจำนำข้าว สินค้าราคาแพงทั่วแผ่นดิน และปัญหาการคอรัปชั่นอย่างกว้างขวาง ทำให้ภาคธุรกิจและภาคประชาชนออกมาคัดค้าน ดังนั้น การหาเหตุยับยั้งอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี จึงทำให้ขอบเขตความขัดแย้งขยายสู่ประชาชนเพิ่มขึ้นว่าเดิม ขณะนี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงถูกติเตียนเรื่องจะหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจจากฝ่ายค้าน และกระแสประชาชนสนใจอยากรู้ข้อมูลเอกสารลับที่พรรคประชาธิปัตย์ปกปิดไว้เพิ่มสูงขึ้น เมื่อถูกยับยั้งโอกาสรับรู้ ประชาชนก็โน้มเอียงไปสู่การนัดชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามมากขึ้น อย่ามองข้ามการรวมพลังในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้เป็นอันขาด
5.กรณีแกนนำคนเสื้อแดง และ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร รวมทั้งเพื่อนเตรียมรุ่น 10 ของ น.ช.ทักษิณ ชินวัตร ออกมาเปิดเผยว่าการนัดชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ที่มี พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เป็นประธานนั้น มีเป้าหมายล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สะท้อนเจตนาหวั่นกลัวการรัฐประหาร และสกัดกั้นมิให้ประชาชนเข้าร่วม ทั้งยังส่งภาษาใบ้บอกว่า ฝ่ายระบอบทักษิณก็มีกำลังทหารหนุนอยู่ เหมือนจะขู่กลายๆ แต่ใจจริงกลัวทหารรวมกับประชาชนสร้างจุดมุ่งหมายทางการเมืองใหม่ หากการชุมนุมจุดติดมีคนมาชุมนุมนับแสนๆ ขึ้นไป
ส่วนแกนนำเสื้อแดงที่ประกาศชุมนุมคนเสื้อแดง เพื่อต่อต้านการชุมนุมของประชาชนที่รวมตัวกับองค์การพิทักษ์สยาม สะท้อนความอ่อนหัดของแกนนำเสื้อแดงทางยุทธศาสตร์ และไม่วิเคราะห์จุดมุ่งหมายทางการเมืองทั้ง 2 ฝ่ายอย่างชัดเจนมาถึงขั้นใด เพราะหากแกนนำเสื้อแดงคุมมวลชนไม่อยู่หรือมีการสร้างสถานการณ์เกิดขึ้น รัฐบาลยิ่งลักษณ์หรือจะอยู่ได้
ขณะที่แดงตัวพ่อยังมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองถนอมตัว ไม่แตกหัก รอคอยสะสมกำลังให้พร้อม หรือซื้อได้ทั้งหมดเสียก่อน หากถึงวันนั้น อนาคตแดงทั้งแผ่นดินจะเกิดเป็นจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น