วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พงศ์เทพแจงสถานศึกษา ยันไม่เอานิรโทษม.ศรีปทุมจี้ทำสัตยาบรร8 พ.ย.56 เมื่อเวลา 13.30 น.

พงศ์เทพแจงสถานศึกษา ยันไม่เอานิรโทษม.ศรีปทุมจี้ทำสัตยาบรร


8 พ.ย.56 เมื่อเวลา 13.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีการเรียกประชุมด่วนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนทั่วประเทศ พร้อมด้วยมหาวิทยาลันราชภัฎและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อหารือถึงสถานการณ์บ้านเมือง โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายวราเทพ รัตนนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสามารถ แก้วมีชัย ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าร่วมประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครั้งนี้? มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 113 แห่ง จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 153 แห่ง โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัฐเพียง 4 แห่งเท่านั้นที่เดินทางเข้าร่วมหารือด้วยตัวเอง อาทิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว.) มหาวิทยาลัยนเรศวร(มน.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(มวล.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทุมวัน ขณะที่กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ มีอธิการบดีเข้าร่วมจำนวน 12 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เข้าร่วม 13 แห่ง ส่วนที่เหลือส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม
โดยนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวในการเริ่มการประชุมโดยยืนยันว่า นายกรัฐมนตรี ไม่ได้สั่งให้เชิญอธิการบดีมาประชุมในวันนี้? แต่เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเห็นว่ากระทรวงศึกษาฯ ควรมีการประชุมพูดคุยทำความเข้าใจกับมหาวิทยาลัย เนื่องจากที่ผ่านมามีการนำเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ไปบิดเบือนและโจมตี จึงอยากให้อาจารย์มหาวิทยาลัยเข้าใจ ชี้แจง และทำความเข้าใจกับประชาคมในมหาวิทยาลัย รวมถึงประชาชนทั่วไป และให้ช่วยเสนอทางออกให้กับบ้านเมือง
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ กล่าวยืนยันในที่ประชุม ว่า รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยพร้อมรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายที่ออกมาคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ถ้ายึดตามรัฐธรรมนูญแล้ว เป็นที่ชัดเจนว่า ร่างกฏหมายนี้พ้นจากอำนาจของ ส.ส.ไปแล้ว รวมทั้งรัฐบาลเองก็ไม่สามารถยกเลิกได้ในขณะนี้ ดังนั้น ขบวนการที่เหลือจึงต้องรอให้ที่ประชุมวุฒิสภาโหวตไม่รับหลักการ ซึ่งเราก็หวังว่า วุฒิสภาจะทำอย่างนั้น ถ้าวุฒิสภาไม่รับหลักการก็จะเป็นการยับยั้งร่างกฎหมายนี้ไว้ 180 วัน ซึ่งจะไม่มีใครทำอะไรกฎหมายนี้ได้ภายในช่วงเวลาดังกล่าว และเมื่อพ้น 180 วันแล้ว นายกฯและพรรคเพื่อไทยก็แสดงทีท่าชัดเจนว่า จะไม่หยิบยกกฎหมายนี้มายืนยันใหม่อีก ทั้งนี้ ยืนยันว่า รัฐธรรมนูญไม่เปิดช่องให้สภาผู้แทนฯถอนร่างกฎหมายดังกล่าวในขณะนี้? ถ้ารัฐธรรมนูญเปิดช่องไว้จริง สภาผู้แทนฯจะเรียกประชุมทันที่ในวันถัดไปหลังวุฒิสภาคว่ำกฎหมายดังกล่าว เพื่อลงมติให้ร่างกฎหมายนี้ตกไป
"เข้าใจว่า ยังมีความไม่เชื่อใจรัฐบาลอยู่ อาจจะต้องมีการออกหนังสือยืนยันเพื่อให้ทุกฝ่ายมั่นใจ แต่ข้อเสนอให้ออกพระราชกำหนดหรือพระราชฏีกาให้กฎมายหมายนี้ตกไปนั้น ขอชี้แจ้งว่า ทำไม่ได้ ทำได้ในเฉพาะกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเท่านั้น ส่วนข้อเสนอให้ออกเป็นมติคณะรัฐมนตรีนั้น ถ้าทำจริงก็อาจมีผู้ไม่เชื่อใจว่า รัฐบาลจะทำตามมติครม.จริง ๆ "
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากชี้แจงแล้วก็ได้เปิดโอกาสให้ทางอธิการบดี
โดยศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เสนอความคิดเห็น ว่า ตนมีข้อเสนอว่า ขอให้นายกรัฐมนตรีออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าจะไม่มีการหยิบยกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมาพิจารณา ถ้าหยิบยกขึ้นมาต้องยุบสภาทันที
ขณะที่ นางรัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ตนเสนอให้นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมด มาร่วมลงนามสัตยาบรรณว่าจะไม่มีการหยิบยกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มาพิจารณาอีก ซึ่งก็จะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่ง
ด้านผศ.ดร.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า อธิการบดีไม่สามารถไปสั่งการอาจารย์ บุคลากรของคนในมหาวิทยาลัยให้ออกมาเรียกร้องหรือหยุดต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมครั้งนี้ได้ เพราะถ้าอธิการบดีไปสั่ง อาจโดนคำถามกลับมาว่าอธิการบดีมีความเข้าใจแล้วหรือยัง อธิการบดีมีหน้าที่อย่างเดียว เป็นตัวอย่างเป็นครูเพื่อดำรงไว้ซึ่งหลักธรรมาภิบาลที่ถูกต้อง ดังนั้น เรื่องนี้ต้องแก้ที่ต้นเหตุ รัฐบาลไม่ควรมาอธิบายอีกว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มีหลักการเช่นไร ขณะนี้ชัดเจนแล้วว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่เอา และให้ ส.ส.ทั้ง 310 คน ที่โหวตให้พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวผ่านวาระ 2 และ 3 ควรแสดงความรับผิดชอบ โดยให้ออกมาขอโทษ ซึ่งคนที่ออกมาขอโทษถือว่าเป็นคนมีเกียรติ เพราะการขอโทษทำยากกว่าการดื้อแพ่งและอธิบายเหตุผลของตัวเอง และถ้าเป็นไปได้ให้ใช้โอกาสนี้สร้างบรรทัดฐานทางการเมืองใหม่ ต่อไปคนทำผิดต้องรับผิด? ไม่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาล้างผิดในกรณีการทุจริตคอรัปชั่น ยกเว้นกรณีทางการเมือง แต่ต้องให้นิรโทษกรรมตามเหตุตามผลและยึดตามประชามติ และให้นำวิกฤตสร้างการเมืองแบบมีส่วนร่วม
“ต่อไปการเมืองแบบมีส่วนร่วม ส.ส.และส.ว.ต้องทำตัวเป็นแค่ผู้แทนเท่านั้ นถ้าออกกฎหมายเรื่องใดมาและมีเสียงเห็นต่าง โดยเฉพาะกฎหมายที่มีคนกังวล สภาก็ต้องทำตามความเห็นต่างนั้น ถ้าทำไม่ได้ก็ให้ลาออกไป ให้คนที่ทำได้เข้ามาแทน “ ผศ.ดร.เฉลิมชัย กล่าว
ผศ.สมเดช นิลพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม กล่าวว่า ตั้งแต่มีเหตุการณ์คัดค้านร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เกิดขึ้น ไม่เคยได้ยินคำว่าขอโทษจากรัฐบาล หรือจากส.ส.ในรัฐสภา ซึ่งถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างแรก รัฐบาลต้องเลิกใช้คำว่า ประชาชนไม่เข้าใจ หรือคนไทยยังไม่พร้อม และออกมาขอโทษประชาชน แต่ถ้ารัฐบาลพูดคำว่าขอโทษไม่เป็น ก็ให้อธิการบดีสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น