วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พล.อ.สมเจตน์ เผยรัฐบาลใช้ส.ว.เป็นเครื่องมือหลอกประชาชน หวังตัดเกณฑ์การเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม แค่หยุดชั่วคราวมิใช่จะยุติ พอเผลอก็นำกฎหมายล้างผิด "คนโกง" กลับเข้ามาอีก วันนี้ ( 6 พฤศจิกายน 56




พล.อ.สมเจตน์ เผยรัฐบาลใช้ส.ว.เป็นเครื่องมือหลอกประชาชน หวังตัดเกณฑ์การเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม แค่หยุดชั่วคราวมิใช่จะยุติ พอเผลอก็นำกฎหมายล้างผิด "คนโกง" กลับเข้ามาอีก
วันนี้ ( 6 พฤศจิกายน )  พล.อ.สมเจตน์  บุญถนอม  ส.ว.สรรหา กล่าวกับสำนักข่าวทีนิวส์ ถึงกรณีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จะมีมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ว่าในส่วนของวิปรัฐบาลที่มุ่งหารือเรื่องพ.ร.บ.ปรองดอง  ซึ่งมองว่าเป็นมุมมองที่รัฐบาลต้องการตัดเกณฑ์การเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองมันรุนแรงขึ้น แต่การตัดเกณฑ์ตรงนี้ไป  มันเป็นเพียงการหยุดเพียงชั่วคราวเท่านั้น  มิใช่จะยุติไป  เมื่อวุฒิสภาไม่รับหลักการ  ก็ส่งกลับคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร  ( ส.ส. )  ส.ส. ก็เว้นวรรคไป 180 วัน  แล้วก็นำขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง  แต่จะเห็นได้ว่า  พ.ร.บ.นี้ไม่ได้ตกไปในทันที  เพียงแต่ให้ระยะเวลามันลดกระแสการคัดค้านออกไป  แล้วเมื่อประชาชนเผลอเมื่อไหร่ก็เอาเข้ามาอีก


       
สำราญ  :  วันนี้มีประชุมอะไรกันครับ
พล.อ.สมเจตน์  :  ประชุมวิปวุฒิสภา  แต่ผมไม่ได้เป็นกรรมาธิการในวิปวุฒิฯ 
สำราญ  :  ซึ่งทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่ประธานกรรมาธิการ 
พล.อ.สมเจตน์  :  ประธานกรรมาธิการหรือผู้แทนของคณะนั้น  บางท่านก็ไม่เป็นเอง  บางท่านก็ให้สมาชิกวุฒิสภาท่านอื่นเซ็น  ก็แล้วแต่กรรมาธิการ  แต่ก็เป็นตัวแทนมาจากกรรมาธิการทั้งหมดทุกคณะ
สำราญ  :  ถามก่อนกลัวจะลืม  มันมีกระแสข่าวว่า  เผลอๆ วิปวุฒิฯ จะลงมติ  เอาเลยวันศุกร์นี้  คว่ำพ.ร.บ.สุดซอย  ท่านได้ยินข่าวนี้บ้างไหม
พล.อ.สมเจตน์  :  มีกระแสข่าวออกมาว่า  ประธานวุฒิสภาจะทำเพื่อเห็นแก่ประเทศชาติ  สรุปง่ายๆ จากพฤติกรรมที่ผ่านมาก็เห็นชัดเจนว่า  ประธานวุฒิฯ เป็นอย่างไร  ซึ่งพฤติกรรมจากประธานวุฒิฯ ที่ผ่านมา  ก็เห็นชัดเจนว่า  ท่านประธานวุฒิเป็นกลางหรือไม่เป็นกลางอย่างไร  ในมุมมมองของผม  ผมคิดว่า  เป็นมุมมองที่มุ่งจะตัดเกณฑ์การเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม  โดยที่จะให้วุฒิสภานั้นมาประชุมในวันที่ 8 หรือวันศุกร์  ทำแบบนี้เท่ากับว่า  ไม่เป็นไปตามวาระของวุฒิสภา  วุฒิสภาเราจะต้องประชุมวันจันทร์หรือวันอังคาร  เมื่อวันก่อนประธานวุฒิฯก็ให้สัมภาษณ์ว่า  จะประชุมในวันที่ 11 ก็เกรงว่า  อีก 3 วันนั้นสถานการณ์จะขยายกว้างออกไป  กลายเป็นว่า  จะหาทางลงให้กับรัฐบาล  ก็ประชุมกันในวันที่ 8  ซึ่งผมก็ยืนยันค่อนข้างชัดเจนว่า  วุฒิสภาคงจะไม่รับหลักการพ.ร.บ.ฉบับนี้  แต่ก็เรียนว่า  การที่ไม่รับนั้น  ส.ว.สรรหาส่วนใหญ่นั้นมีจุดยืนตรงนี้ที่ชัดเจน  และในขั้นต้นส.ว.เลือกตั้งหลายส่วน  ก็มีจุดยืนที่จะรับไป  แล้วก็ไปแก้ไขในภายหลัง  แต่เนื่องจากระแสทางการเมืองมันมีความรุนแรงขึ้น  บางท่านก็คิดว่า  คงไม่อยากให้สถานการณ์ทางการเมืองมันรุนแรงขึ้น  แต่บางท่านก็อาจจะได้รับไฟเขียวจากต่างประเทศ  มาช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์  ก็ตัดเกณฑ์ตรงนี้ไป 
แต่ผมอยากเรียนตรงนี้ว่า  ตัดเกณฑ์ตรงนี้ไป  มันเป็นเพียงการหยุดเพียงชั่วคราวเท่านั้น  มิใช่จะยุติไป  เมื่อวุฒิสภาไม่รับหลักการ  ก็ส่งกลับคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร  ( ส.ส. )  ส.ส. ก็เว้นวรรคไป 180 วัน  แล้วก็นำขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง  แต่จะเห็นได้ว่า  พ.ร.บ.นี้ไม่ได้ตกไปในทันที  เพียงแต่ให้ระยะเวลามันลดกระแสการคัดค้านออกไป  แล้วเมื่อประชาชนเผลอเมื่อไหร่ก็เอาเข้ามาอีก  ผมเรียนต่อไปเลยนะครับว่า  สิ่งที่ผมพูดตรงนี้  มิได้กล่าวหารัฐบาล  แต่รัฐบาลมีพฤติกรรมในการที่จะดำเนินการนิรโทษกรรมให้กับคุณทักษิณมาตลอดระยะเวลาของการเป็นรัฐบาล  อยากลำดับความอย่างนี้นะครับว่า  เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2555  มีข่าวว่ามีการประชุมค.ร.ม.  แล้วก็มีวาระจร  เพราะเราเอากำหนดนี้เข้า  ซึ่งวันนั้นนายกฯ อ้างว่า ติดภารกิจการไปเยี่ยมประชาชนที่จ.สิงห์บุรี  ทำให้กลับมาไม่ได้  แล้วก็ให้ร.ต.อ.เฉลิม  อยู่บำรุง  เป็นประธานในที่ประชุม  ซึ่งตอนนั้นภาคประชาชนโดยเฉพาะสยามสามัคคีได้ทราบข่าวนี้  ถ้าคุณสำราญจำได้  เราได้ออกมาคัดค้าน  แล้วทำให้ประชาชนหลายฝ่ายอกมาคัดค้าน  ช่วงนั้นคุณเฉลิมออกมาบอกว่า  เป็นการเกณฑ์สับขาหลอกประชาชน  นั่นเป็นครั้งที่หนึ่ง  
ครั้งที่ 2. กรณีพล.อ.สนธิ  บุญยรัตกลิน  ที่เสนอพ.ร.บ.ปรองดองเข้ามา  ครั้งที่ 3. ความลับมาแตกเอาตอนคลิปนายพลถั่งเช่า  ที่จะเสนอเป็นพ.ร.ก.อีกครั้งหนึ่ง  เป็นคลิปเสียงมันแตกออกมาว่า  จะมีการออกพ.ร.ก.เพื่อนิรโทษกรรมให้ทักษิณ  และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4. ผมเรียนว่า  ตลอดระยะเวลา  คุณยิ่งลักษณ์นั้นพยายามที่จะกระทำการเพื่อหาทางลงให้กับคุณทักษิณมาโดยตลอดเวลา  เพราะฉะนั้นในการดำเนินการตรงนี้  ก็เป็นการเว้นวรรคไว้ชั่วคราว  เพื่อลดกระแสความร้อนแรงของประชาชน  และเมื่อประชาชนเผลอเมื่อไหร่  เขาก็จะทำอีก  และประชาชนเขาก็ต้องออกมาทุกครั้ง  ซึ่งเราคงจะเหนื่อยอีกหลายครั้ง  เพราะฉะนั้นโดยความคิดของผม  ผมคิดว่า  คุณยิ่งลักษณ์หมดความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อไป  เพราะสับขาหลอกประชาชนอยู่ตลอดเวลา        
สำราญ  :  สรุปง่ายๆ ก็คือ  นายกฯหมดความชอบธรรมแล้ว  แต่ในเชิงกระบวนการขั้นตอนกฎหมาย  ตกลงว่าวันศุกร์นี้เป็นไปได้ไหม
พล.อ.สมเจตน์  : เป็นไปได้สูง  ผมคิดว่า  การที่มีคนออกมาคัดค้าน  มันไม่ใช่เป็นการประชุมโดยปกติ  และหลายฝ่ายนั้นก็ไม่อยู่  เพราะไปติดภารกิจที่เราได้นัดหมายไว้ล่วงหน้า  เราก็ไม่รู้ว่ามีเกณฑ์หลอกอะไรเราอีกหรือเปล่า  เพราะอยู่ในสภานั้นมันเฉือนคมกรีดกันอยู่ตลอดเวลา  กับฝ่ายที่จ้องจะหาโอกาสเอาเปรียบ  เราก็ไม่แน่ใจนะครับ  ที่เขาบอกว่า  จะไม่รับ  เผลอๆ เขามองว่าฝ่ายเราที่ไม่รับมันมีน้อยกว่า  เขาอาจจะรับก็ได้  ผมก็ไม่แน่ใจว่ามันจะเป็นไปได้ไหม  มันเป็นคำตอบที่ผมก็ระแวง   
สำราญ  :  ก็ต้องจับตาดูวิปวุฒิฯกันนะครับ  วันนี้ก็คงจะมีมติว่าจะประชุมวันศุกร์หรือวันจันทร์เลย
     
พล.อ.สมเจตน์  :  มติในวิปวุฒิฯ เสียงส่วนใหญ่มันก็เป็นเสียงของทางฝ่ายเลือกตั้งเขา  เพราะฉะนั้นทิศทางจะเป็นยังไงจะลงมติเมื่อไหร่  ก็แพ้แน่นอน  ผมคิดว่าโอกาสจะมาประชุมวันที่ 8 กะเกณฑ์ในการชุมนุมมีสูง  แต่ผมคิดว่ากะเกณฑ์ไม่ได้หรอกครับ  ถึงแม้จะประชุมวันที่ 8 ก็ตาม  รัฐบาลก็หมดความชอบธรรมที่จะอยู่ต่อไปแล้วครับ  เพราะประชาชนจะคอยระมัดระวังกับฝ่ายบริหารอยู่ตลอดเวลา   ที่ผ่านมา  แสดงว่าฝ่ายรัฐบาลไม่มีความจริงใจต่อประชาชน  ถ้าลองประชาชนไม่มาชุมนุมขนาดนี้  ผมเชื่อว่าวุฒิสภารับหลักการแน่นอน  เพราะเสียงฝ่ายเลือกตั้งเขาบวกกับสว.สรรหาบางส่วน  มันเกินครึ่งหนึ่งแน่นอน  แล้วก็พร้อมที่จะรับคำสั่งจากใครๆ ก็แล้วแต่  ที่บอกว่าเป็นอิสระจริง  แต่ผมไม่เชื่อว่าเป็นอิสระจริง       
สำราญ  :  ที่นี้ในเชิงของข้อกฎหมาย  ถ้าเกิดในทางซีกฝ่ายค้าน  หรือซีกของประชาชนบางส่วน  อาจจะเสนอว่า  ขอให้ถอนร่างทั้งพ.ร.บ.ปรองดองทั้ง 4 ร่างออกให้หมด  ให้ถอนออกไปเลย  อันนี้พอจะรับได้ไหม
พล.อ.สมเจตน์  :  ก็ต้องออกมาประกาศชัดเจน  เอาเป็นว่ารัฐบาลหรือพลพรรคของพรรคเพื่อไทย  ที่มาทำหน้าที่เป็นส.ส.นั้น  จะไม่เสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้กับทักษิณเข้ามาอีก  รัฐบาลจะต้องให้สัญญาประชาคม  รัฐบาลจะต้องออกมายืนยันอย่างชัดเจน  เพราะมิฉะนั้นเผลอเมื่อไหร่รัฐบาลก็จะทำอีก  อย่างที่ผมได้ยกตัวอย่างไว้แล้ว  จากที่ผมจำได้มี 3-4 ครั้งแล้วพอประชาชนรู้ทัน  ก็ยังมาเยาะเย้ยประชาชนอีกว่า  สับขาหลอก  แค่นี้ก็ทำเป็นตื่นเต้นไป  พอเผลอเมื่อไหร่ก็เอาเข้ามาอีก
สำราญ  :  ดังนั้นถ้าประเมินในสถานการณ์  พล.อ.สมเจตน์ก็คงไปสังเกตการณ์การชุมนุมของประชาชนอยู่บ้าง  ตามเวทีต่างๆ ดูแล้ว  ถ้าวันศุกร์นี้เขาคว่ำร่างโดยวุฒิสภา  คิดว่าสถาการณ์จะจบไหม
พล.อ.สมเจตน์  :  ความคิดของประชาชนในขณะนี้มันก้าวล้ำไปแล้ว  ประชาชนได้สะสมความไม่พึงพอใจรัฐบาลนี้มาตลอดระยะเวลา  แต่จุดนี้มันเป็นจุดที่ประชาชนต้องแสดงออก  เท่าที่ผมไปสังเกตดู  ประชาชนไม่พอใจเรื่องการบริหารงานของคุณยิ่งลักษณ์  ที่มีความพยายามในการทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของพี่น้องเพื่อพวกพ้องตนเอง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็แล้วแต่  เสียงส่วนน้อยมันคัดค้านชี้ให้เห็นว่า  มันจะเกิดภัยร้ายแรง  แต่เขาก็ไม่ฟังเสียง  คุณยิ่งลักษณ์ก็บอกว่า  เป็นเรื่องของสภา  โยนไปเรื่อยบอกว่า  เป็นเรื่องของสภา  แล้วเมื่อไหร่จะเป็นเรื่องของยิ่งลักษณ์  เรื่องอะไรบ้างที่เป็นเรื่องของยิ่งลักษณ์ที่ยิ่งลักษณ์จะต้องรับผิดชอบ  ผมไม่เห็นว่ายิ่งลักษณ์จะรับผิดชอบอะไร  หรือว่าจะต้องรับผิดชอบอย่างเดียว  เตรียมการเดินทางไปทัวร์ต่างประเทศเท่านั้น  ผมยังไม่เคยเห็นเลยว่า  มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณยิ่งลักษณ์จะรับผิดชอบ  ดังนั้นจึงหมดความชอบธรรมที่จะอยู่อีกต่อไป  ดังนั้นคุณยิ่งลักษณ์ก็ต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการเสนอนโยบาย ต่อกฎหมายที่มันเลวร้ายในลักษณะนี้  เพราะคนที่ดำเนินการตรงนี้เป็นคนของพรรคเพื่อไทยทั้งสิ้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น