วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะเกิดอะไรขึ้นครับต่อจากนี้วันนี้ 20 พฤศจิกายน 2556 ศาลได้มีการตัดสินแล้ว



จะเกิดอะไรขึ้นครับต่อจากนี้
    จากกรณีที่ ส.ส. ส.ว. ได้นำร่างแก้กฎหมายที่มา ของ ส.ว. โหวตผ่านในสภา และยื่นทูลเกล้าฯ โดยไม่รอฟังคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีคนไปยื่นฟ้องว่า ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา68 ที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่
    วันนี้ 20 พฤศจิกายน 2556 ศาลได้มีการตัดสินแล้ว โดยผมจะสรุปประเด็นหลักๆดังนี้
1. ศาลวินิจฉัยว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการตัดสินคดีนี้
2. ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขมิใช่ร่างเดิมที่นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย และคณะ ยื่น แต่เป็นร่างที่จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ และมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่เป็นหลักการสำคัญในมาตรา 116(2) ที่ให้ ส.ว.ซึ่งสิ้นสุดวาระ สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ทันที การกระทำตังกล่าวถือว่ามีเจตนาที่จะปกปิดข้อเท็จจริง ซึ่งเมื่อได้ข้อยุติว่าร่างที่ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ไม่ใช่ร่างเดิมที่นายอุดมเดชเสนอ จึงเท่ากับว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขัดบทบัญญัติมาตรา 291 (1)
   ข้อนี้สรุปง่ายๆคือ มีการแอบสอดไส้ แก้ไข ใจความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้ ส.ว. ชุดเก่าสามารถสมัคร ส.ว. ใหม่ได้ทันทีหลังจากหมดวาระ(ของเดิมต้องรออย่างน้อย2ปี) ทำให้ผิดกฎหมายโดยชัดเจน
3. ประธานสภา ใช้อำนาจโดยมิชอบ ตัดสิทธิ ผู้อภิปรายในสภา ถึง 51คน ไม่ให้พูดในสภา เป็นการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม เอื้อเสียงข้างมาก
4. การนับวันแปรญัตติที่มีการสรุปให้ย้อนหลังไปถึงวันที่ 4 เม.ย. ส่งผลให้วันแปรญัตติตามข้อยบังคับการประชุมที่กำหนดไว้ 15-20 วันนับแต่วันที่รับหลักการวาระที่ 1 เหลือเพียง 1 วัน ส่งผลให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 125 และขัดต่อหลักนิติธรรม ที่ขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 3
5. มีการกดบัตรแทนกัน ซึ่งในรัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ว่า 1คนมี 1เสียง ดังนั้นการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 และข้อบังคับการประชุม รวมไปถึงขัดต่อความซื่อสัตย์สุจริตของสมาชิกรัฐสภาที่ได้ปฏิญาณตนไว้เมื่อครั้งเข้ารับหน้าที่ ส่งผลให้การลงมติ เป็นไปโดยมิชอบ
6. การกำหนดที่มาของ ส.ว. เพื่อให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลย์ กับสภา ส.ส. แต่ดันไปแก้ให้ คนสนิทใกล้ชิด ครอบครัวญาติมิตร ของ ส.ส. ลงสมัครได้ ทำให้มีการเอื้อกันระหว่าง2สภา เป็นสภาผัวเมีย ทำให้ชาติถอยหลังลงคลอง
7. การกำหนดที่มาของ ส.ว. ให้มีการสรรหาและเลือกตั้งนั้น เพราะต้องการให้ได้คุณสมบัติของ ส.ว. ที่จะมาถ่วงดุลย์ตรวจสอบ ส.ส. ถ้ากำหนดให้เลือกตั้งอย่างเดียว ก็จะได้ ส.ว. และ ส.ส. ที่มาจากคะแนนเสียงเดียวกัน ซึ่งก็จะมาเอื้อประโยชน์ กัน ระหว่างสองสภา (ก็ไม่รู้ว่าจะมี ส.ว. ไปทำไมถ้าเลือกตั้งมาเหมือน ส.ส.)
   ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่าการแก้ไขรับธรรมนูญดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 122, มาตรา 125 วรรค 1 และ 2, มาตรา 126 วรรค 1, มาตรา 291 และมาตรา 3 วรรค 2 และมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 เห็นว่าเนื้อหาการแก้ไขเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 1 แต่ทั้งนี้ยังไม่เข้าเงื่อนไขที่จะยุบพรรค จึงให้ยกคำร้องในส่วนของการยุบพรรคด้วยมติเสียงเดียวกัน


    จากนี้ถึงเวลาถามหาความรับผิดชอบ ลองมาดูดีๆนะครับ
  มาตรา ๖๘ (วรรคหนึ่ง) "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ... มิได้"
   มาตรา ๖๘ (วรรคสอง) "ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทําการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทําดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดําเนินคดีอาญาต่อผูกระทําการดังกล่าว”
   ศาลได้ตัดสินว่า มีการทำผิดกฎหมาย มาตรา 68วรรค1 ซึ่ง เข้าข่ายการล้มล้างการปกครอง
1. ยิ่งลักษณ์ รู้ทั้งรู้ว่า ประชาชนยื่น ศาลรัฐธรรมนูญ ทำไมไม่รอตัดสินก่อน แต่เลือกที่จะ ลงชื่อแล้วยื่นทูลเกล้าฯ ในหลวง
2. ยิ่งลักษณ์ ทูลเกล้าฯ ร่ายกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ คือ ยื่นทูลเกล้าฯ กฎหมายพิษ จะรับผิดชอบอย่างไร นี่คือความผิดสูงสุด
3. ประธานสภา ประธานวุฒิสภา ส.ส. ส.ว. 312 คน ที่ออกมาประกาศไม่รับอำนาจศาล พวกนี้เป็นกบฎรึเปล่า
4. เพื่อไทย และ ยิ่งลักษณ์ ส.ส. ส.ว. ที่ร่วมลงชื่อโหวตกฎหมายฉบับนี้ต้องรับผิดชอบ เพราะทำผิดกฎหมาย เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง และ ยื่นทูลเกล้าฯ ร่ายทีผิดกฎหมาย ให้ในหลวง
     ถ้าเป็นคนปกติ ทั่วไป คงต้องออกมารับผิดชอบทันที ต้องลาออก ยุบสภา แต่เพื่อไทยคงไม่ทำอย่างนั้นแน่ ดังนั้นต่อไปนี้จะเกิดอะไรขึ้นครับ
1. ประชาชนสามารถยื่นต่อ ศาลอาญาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง ให้เอาผิด ส.ส. ส.ว. ยิ่งลักษณ์ ได้ เพราะทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนุญ เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง
2. ผมคิดเล่นๆนะครับ (คิดดังๆไปถึงคุณสุเทพ) ว่าวันที่ 24-25 ถ้ามีการเดินขบวนสักหน่อย ยืดเส้นยืดสาย ไป สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปยื่นแจ้งความ ข้อหากบฏ ให้กับ 312 ส.ส. ส.ว. ประธานสภา ประธานวุฒิสภา และ ยิ่งลักษณ์ คงจะสนุกไม่น้อย เพราะพวกนี้ได้ทำผิดกฎหมายสูงสุดของประเทศ คือกฎหมายรัฐธรรมนูญ แถมยังไม่น้อมยอมรับ อำนาจศาล
    จากนั้น ก็ให้ประชาชน ทนาย ไปฟ้องศาลอาญาทางการเมืองเอาผิดกับพวกนี้
    ยิ่งลักษณ์ อยู่ไม่ได้แล้วครับ ความผิดขนาดนี้ ยังจะอยู่อีกเหรอครับ คุณมีทางเลือกนะ ระหว่าง
1. ยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน
2. สู้สุดซอย ไหนๆก็ประกาศไม่รับอำนาจศาลแล้ว ก็ลุย ใช้อำนาจเสียงข้างมาก ส.ส. โหวต2ใน3 สามารถเอาร่างกฎหมายนี้มาโหวตในสภาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการลงปรมาภิไธย ยิ่งลักษณ์ กล้าไหมครับ คิดดีๆถ้าจะเลือกวิธีนี้ เพราะประชาชนเป็นล้านคน พร้อมที่จะลุยกับกบฏ
   ล่าสุด นักข่าวถามนายกฯ หลังจากที่ ศาลตัดสิน สงสัยยังไม่รู้ตัวครับว่าจะเกิดอะไรขึ้นจากนี้
ประชาชนจะรอดู ความรับผิดชอบของยิ่งลักษณ์ และรัฐบาล กรณียื่นทูลเกล้าฯกฎหมายพิษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น