วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ชัดเจน นายกฯ ยิ่งลักษณ์ กดดันศาลรัฐธรรมนูญ วาระนี้ต้องเล่นเองวันอังคาร ที่ 19 พฤศจิกายน 2556

วันอังคาร ที่ 19 พฤศจิกายน 2556

เมื่อเวลา 13.30 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอบคำถามผู้สื่อข่าวจากการถามว่า การที่มีส.ส.-ส.ว.บางส่วนออกมาแถลงไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้ฟังโดยตรง เชื่อว่าเป็นการแสดงออกทางความคิดเห็น เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้การตัดสินบนข้อมูลบนหลัก และก็การตัดสินต่างๆให้รอบคอบ หวังว่าทุกอย่างจะทำให้ประเทศเดินหน้าไปได้ 
               เมื่อถามว่าถ้าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจออกมาอย่างไรทุกฝ่ายทุกองค์กรควรจะยุติและยอมรับคำวินิจฉัยหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า"คงต้องฟังก่อน วันนี้คงยากที่จะพูดอย่างนี้ เพราะว่าคงต้องให้ผู้ที่มีความรู้ทางด้านของข้อกฎหมายต่างๆได้ศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบก่อน เพราะยังไม่รู้ว่าเนื้อหาจะเป็นอย่างไร เราไม่อยากที่จะตีตนไปก่อน"
               จากการตอบคำถามผู้สื่อข่าวมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ 3 ประเด็นคือ
         1.  ก่อนหน้านี้เมื่อมีคำถามเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญ หรือ ร่างพรบ.นิรโทษกรรม นายกฯมักบอกว่าปัญหาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการออก พรบ.นิรโทษกรรม นั้นเป็นเรื่องของรัฐสภา ฝ่ายบริหารมิได้เกี่ยวข้องด้วย เพียงแต่เมื่อผ่านการลงมติจากรัฐสภาตามขั้นตอนแล้ว นายกรัฐมนตรีก็จะนำทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธยตามกำหนดเวลา แต่จากการตอบคำถามนักข่าวคราวนี้ดูเหมือน ท่านนายกฯ จะรับเอาปัญหาเข้ามาเป็นของรัฐบาลเสียอย่างเต็มตัวทีเดียว           
         2. กรณีสส.ไม่รับอำนาจศาล นายกฯ เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้การตัดสินบนข้อมูลบนหลัก และก็การตัดสินต่างๆให้รอบคอบ หวังว่าทุกอย่างจะทำให้ประเทศเดินหน้าไปได้  ความหมายก็คือ หวังว่าศาลจะตัดสินออกมาในทางบวกแก่รัฐบาล เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าคำว่า "ขอให้รัฐบาลได้ทำงานก่อนนะคะ เพื่อทำให้ประเทศเดินหน้าไปได้" นั้นเป็นคำร้องขอของท่านนายกฯ ในทุกๆ กรณีที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลกับ ฝ่ายค้าน หรือภาคประชาชน ดังนั้นคำกล่าวของท่านนายกฯ คล้ายจะไปกดดันศาลรัฐธรรมนูญว่าหากการวินิจฉัยเกิดผลเสียกับรัฐบาลละก็ จะทำให้ประเทศเดินหน้าไปไม่ได้
         3. ต่อคำถามที่ว่าทุำกองค์กรควรยอมรับคำวินิจฉัยหรือไม่นั้น ก็เป็นที่น่าประหลาดใจว่าท่านนายกฯช่างกล้าที่จะตอบคำถามว่า "คงต้องฟังก่อน" นั่นหมายถึงว่ามีความเป็นไปได้ที่นายกฯ เองจะไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาล เนื่องจากหากจะเป็นการพูดที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำฝ่ายบริหารสูงสุด ที่มีต่อสถาบันตุลาการ ควรจะเป็นการยอมรับคำตัดสิน แต่จะต้องปรึกษาผู้รู้กฎหมายเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงจะถูำกต้อง
               ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าภาพที่เห็นขณะนี้ก็คือ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ลงมาแสดงบทบาทของผู้นำรัฐบาลที่มีต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตระหนักว่าการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลต่อการก้าวหน้าของประเทศชาติ รวมทั้งถ้าัตัดสินออกมาเป็นลบในฝ่ายของรัฐบาลก็อาจจะไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลก็เป็นได้ 
               จากการตอบคำุถามนักข่าวครั้งนี้ทำให้คำถามของประชาชนคนไทยหลายสิบล้านคนในประเทศยังคงมืดมนอยู่ว่า ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิฉัยกรณีการแก้รัฐธรรมนูญที่มาของ สว. และผลออกมาเป็นทางลบแก่รัฐบาลแล้ว อะไรจะเกิดขึ้น ความรุนแรงของภาคประชาชนที่มีต่อกันจะบานปลายออกไปมากน้อยแค่ไหนเพียงใด และที่สำคัญ เมื่อรัฐบาลคือฝ่ายบริหาร ประูธานรัฐสภา คือฝ่ายนิติบัญญัติ รวมหัวกันไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลที่เป็นฝ่ายตุลาการ เสียแล้ว อำนาจอธิปไตยทั้งสามจะอยู่คู่ประเทศไทยไปได้กันอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น