ขี้ข้าเหิมถอดศาล ข่มขืนรธน.ได้ยัดข้อหาม.112ป.ป.ช.รวมสำนวนโจรจ่อฟัน
312 "ขี้ข้า-ทาส” ยังดิ้นไม่เลิก ซีก ส.ว.นัดหารือท่าที 25 พ.ย. ส่วน “เพื่อแม้ว” ออกแถลงการณ์ซัด พิลึกอ้าง รธน.40 มีอำนาจชำเรา อัดศาลก้าวล่วง ตีความเกินอำนาจเหมือนรัฐประหาร เตรียมนัดพรรคร่วมก่อนถอดถอน 5 ตุลาการ พ่วงคดีอาญามาตรา 157 ไม่น่าเชื่อ “อภิวันท์โรมานอฟ” เล็งยัดข้อหา 112 ด้วย รมต.เรียงหน้าป้องปู “ปชป.” เตรียมจัดหนักสัปดาห์หน้า 40 ส.ว.ร้อง ป.ป.ช.แล้ว “ประสาท” แจงรวม 5 สำนวนเป็นหนึ่ง ส่ง “วิชา-ใจเด็ด-ภักดี” คุมคดี “วสันต์” แนะยิ่งลักษณ์ขอพระราชทานคืนร่าง ชี้ช่อง ป.ป.ช.ฟันไม่ยาก
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 พ.ย. ยังคงมีความต่อเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในการแก้ไขร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวว่า ต้องหารือกันอีกที โดยเรียกประชุมฝ่ายกฎหมายเพื่อทำการชี้แจง และพร้อมถูกยื่นถอดถอน ไม่กังวล เพราะเราทำดีที่สุดแล้ว และขอยืนยันว่าได้ทำทุกอย่างโดยถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ ส่วนกรณีที่ร่างแก้ไขไม่ตรงกับต้นฉบับตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เป็นเรื่องของฝ่ายธุรการที่ทำการปรับปรุง
"ยังรู้สึกมึนอยู่ว่าจะปฏิบัติอย่างไร เพราะแม้คำวินิจฉัยผูกพันทุกองค์กร แต่ถ้าไม่ถูกต้องก็ต้องให้ความเป็นธรรมด้วย เรื่องนี้ต้องฟังนักกฎหมายทั่วประเทศว่าเห็นอย่างไรบ้าง" นายสมศักดิ์ยังกล่าวถึงการแสดงความรับผิดชอบ
นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง เลขาฯ วิปวุฒิสภา กล่าวว่า ในวันที่ 25 พ.ย. จะนัด ส.ว.ที่ร่วมลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาหารือถึงประเด็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดมาพิจารณาร่วมกัน แต่อาจไม่ได้ลงลึกถึงขั้นหารือเพื่อปฏิเสธอำนาจคำวินิจฉัย
ขณะที่ นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม กล่าวว่า ส.ว.ผู้ใหญ่จะคุยกันถึงคำวินิจฉัยของศาล เนื่องจากยังงงกันอยู่ และไม่แน่ใจว่าต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป แต่เชื่อว่าศาลมีธงคำตัดสินอยู่ในใจก่อนแล้ว เพราะ ส.ว.ที่ถูกยื่นคำร้องไม่ได้ทำคำชี้แจงใดๆ ไปเลย และส่วนตัวมองว่าคำตัดสินของศาลที่มองวุฒิสภาเป็นสภาทาส สภาผัวเมีย เป็นการใช้จินตนาการมากกว่าการพิจารณาจากข้อเท็จจริง
“ที่ผ่านมาแม้ในรัฐสภามีเครือญาติทางการเมือง แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่า พฤติกรรมเครือญาติทำให้ประเทศชาติเสียหายหรือเสียประโยชน์หรือไม่ แต่ศาลกลับมีคำวินิจฉัยให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้โมฆะไปแล้ว”
“ที่ผ่านมาแม้ในรัฐสภามีเครือญาติทางการเมือง แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่า พฤติกรรมเครือญาติทำให้ประเทศชาติเสียหายหรือเสียประโยชน์หรือไม่ แต่ศาลกลับมีคำวินิจฉัยให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้โมฆะไปแล้ว”
ส่วนความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย (พท.) นั้น ในช่วงเย็น นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้มีการแถลงการณ์ถึงท่าทีพรรคหลังใช้เวลาหารือกันพอสมควร โดยระบุว่า 1.สมาชิกรัฐสภา 312 คนที่ร่วมเสนอญัตติแก้ไข รธน.สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งถือเป็นฉบับประชาชน 2.การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา และศาลเองก็เคยวินิจฉัยว่าแก้ไขเป็นรายมาตราได้ 3.การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเรื่องดังกล่าว โดยอาศัยมาตรา 68 เป็นการกระทำที่ถือได้ว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 4.ศาลอ้างหลักนิติธรรมในคำวินิจฉัยในลักษณะที่ต้องการตีความขยายความเพิ่มอำนาจให้ตนเองมากกว่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ตีความขยายอำนาจตนเอง ไม่ยอมผูกพันตามตัวอักษรและเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
5.การอ้างหลักนิติธรรม เป็นการกล่าวอ้างอย่างลอยๆ มิได้ระบุให้ชัดเจนว่าตามหลักสากลเป็นเช่นไร การขัดกันแห่งผลประโยชน์มีความหมายอย่างไร โดยไม่ได้ดูองค์กรตนเองเลยว่า ได้กระทำการขัดต่อหลักที่อ้างหรือไม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ตุลาการ 3 คน เคยเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาก่อน และ 1 ใน 3 คน เคยถูกคัดค้านประเด็นนี้จนต้องถอนตัวในการพิจารณาคดีในคำวินิจฉัยที่ 18-22/2555 มาแล้ว ดังนั้น หากตุลาการทั้ง 3 หรือ 4 คนดังกล่าวต้องถอนตัว ผลของคำวินิจฉัยจะกลับเป็นตรงกันข้าม
6.การที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่าร่างแก้ไขขัดต่อมาตราต่างๆ ในรัฐธรรมนูญนั้น นับว่าเป็นอันตรายที่สุด เพราะเป็นการใช้อำนาจเหนือรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง เป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักนิติธรรมอย่างชัดแจ้งที่สุด 7.การก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยของศาลว่ามีการกระทำที่ผิดข้อบังคับการประชุมรัฐสภาหรือไม่ เป็นการกระทำที่แทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติโดยชัดแจ้ง หากศาลก้าวล่วงเช่นนี้ได้ ก็อาจมีการร้องกันว่าการฝ่าฝืนข้อบังคับทั้งหลายเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ สภาก็คงปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้เลย
อัดศาลก้าวล่วงพระราชอำนาจ
อัดศาลก้าวล่วงพระราชอำนาจ
8.เมื่อรัฐสภาได้ลงมติในวาระที่ 3 และนายกฯ นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ว่าจะทรงเห็นชอบด้วยหรือไม่ จนกว่าจะพ้นเก้าสิบวัน และมิได้พระราชทานคืนมา การที่ศาลรับเรื่องและวินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ย่อมกระทบกระเทือนต่อการใช้พระราชอำนาจ และการกระทำในพระปรมาภิไธย และ 9.การทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ถ้ารัฐธรรมนูญบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบได้ก็ย่อมเป็นไปตามนั้น แต่หากไม่ได้บัญญัติไว้ การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจะดีหรือไม่ ถูกใจและเหมาะสมหรือไม่ ย่อมถูกตัดสินโดยประชาชนในการเลือกตั้ง และนี่เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน ศาลจะก้าวล่วงเข้าไปใช้อำนาจนี้แทนไม่ได้ มิเช่นนั้นก็จะเป็นการยึดอำนาจของประชาชนไปใช้เช่นเดียวกับการรัฐประหาร
เมื่อถามถึงการถอดถอนศาลรัฐธรรมนูญ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส.เห็นว่าการดำเนินการของศาลขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง แนวโน้มก็จะรวบรวมรายชื่อและยื่นต่อประธานวุฒิสภาถอดถอนตุลาการเสียงข้างมาก ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือการแจ้งความดำเนินคดีในเรื่องละเมิดพระราชอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็จะดำเนินการหลังจากที่มีมติ ส.ส.พรรค ซึ่งคาดว่าเป็นต้นสัปดาห์หน้า
เมื่อ พ.อ.อภิวันท์พูดถึงช่วงนี้ ทำให้นายชูศักดิ์ ศิรินิล ทีมกฎหมาย พท. กล่าวแทรกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ก็มีเหตุว่าจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ส่วนเรื่องการดำเนินคดีอาญาก็คือมาตรา 157 ในการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากคำวินิจฉัยคือ ส.ส. ก็มีทั้งพรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว. ซึ่งจะมีการหารือว่ามีมติดำเนินการอย่างไรต่อไป
นายชูศักดิ์กล่าวอีกครั้งหลังแถลงข่าวว่า พรรคเตรียมหารือกับ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.ในฐานะผู้เสียหาย เพื่อเตรียมฟ้องร้องดำเนินคดีต่อ 5 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากที่วินิจฉัยว่าเนื้อหาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.ขัดรัฐธรรมนูญ เบื้องต้นจะฟ้องข้อหาการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และฟ้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีก้าวล่วงการใช้พระราชอำนาจ และการกระทำในพระปรมาภิไธย เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวนายกฯ ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว
พท.ทำมึนอ้างไม่เคยเกิด
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้เรียกร้องให้นายกฯ ขอทูลเกล้าฯ ถวายคืนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว นายชูศักดิ์กล่าวว่า ไม่มีกฎหมายข้อใดรองรับไว้ ขณะนี้ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยในการลงพระปรมาภิไธยต่อร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ส่วนเมื่อพ้น 90 วันไม่ได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะมีมติยืนยันร่างเดิมหรือไม่นั้น มองว่าที่ผ่านมาไม่เคยเกิดเหตุการณ์ที่รัฐสภาลงมติยืนยันแต่อย่างใด แต่ตอนนี้ต้องรอพิจารณาคำวินิจฉัยกลาง และคำวินิจฉัยส่วนตนอย่างละเอียด และรอหารือให้ครบทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ก่อน
ขณะเดียวกัน นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะแกนนำคนเสื้อแดง พร้อม ส.ส.เสื้อแดงส่วนหนึ่งได้ยื่นหนังสือแก่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เพื่อให้ประธานรัฐสภาทำหนังสือคัดค้านคำวินิจฉัยของศาล เพราะเป็นการละเมิดและก้าวล่วงเข้ามายึดอำนาจนิติบัญญัติ
วันเดียวกัน ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระพิจารณากระทู้ถามสด น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งกระทู้ถามสด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงความรับผิดชอบของนายกฯ และผู้เกี่ยวข้องต่อผลคำวินิจฉัยศาลในเรื่องดังกล่าว เพราะ ปชป.เคยท้วงติงมาแล้ว โดยเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์มาตอบด้วยตนเอง แต่สุดท้ายนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ เป็นผู้ตอบแทน
โดยนายพงศ์เทพชี้แจงแทนว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ 3 หลายๆ คน น.ส.ยิ่งลักษณ์ คงไม่สามารถเข้าไปจัดการได้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรก็ถือว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล ในส่วนของพรรคเพื่อไทยก็คงมีระบบจัดการในพรรคอยู่แล้ว ตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นเพียงสมาชิกพรรคคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสาเหตุที่นายกฯ ต้องร่วมลงชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเป็น ส.ส.พรรคที่ต้องปฏิบัติตามมติ ส่วนกรณีนายกฯ นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพราะปฏิบัติตามข้อบังคับของรัฐธรรมนูญ นายกฯ ไม่ได้เร่งรีบ แต่เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติในแนวทางอื่นได้ มิเช่นนั้นถือว่าฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ
โยนเผือกร้อนรัฐสภา
ด้านนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ และ รมช.เกษตรฯ กล่าวถึงกระแสข่าวการทำเรื่องขอพระราชทานนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.กลับหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ เพราะเรื่องนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อน ฝ่ายกฎหมายอาจต้องหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่ยืนยันว่านายกฯ ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ คือนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายใน 20 วัน คงต้องรอคำวินิจฉัยเป็นทางการ จากนั้นประธานรัฐสภาคงดูว่าจะดำเนินการอย่างไร จุดเริ่มต้นอยู่ที่รัฐสภาก็น่าจะกลับไปรัฐสภาก่อน
ส่วน ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวในเรื่องนี้ว่า หลักการเท่าที่ทราบว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวถือว่าเป็นการโมฆะไปเองอยู่แล้ว ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะต้องไปยื่นขอถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจากสำนักพระราชวัง ก็เท่ากับว่ากระบวนการก็เป็นโมฆะไป ก็มีขั้นตอนในการไปขอถอนร่างกฎหมายกลับคืนมา
หลังมีข่าวแพร่ออกไป ปรากฏว่ามีผู้ใหญ่ในรัฐบาลสอบถามถึงที่มาเนื้อหาข่าวอย่างมาก เพราะเกรงถูกตีความหมายไปว่ารัฐบาลโดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะประสานไปสำนักพระราชวัง เพื่อถอนร่างตามขั้นตอน ทำให้ ร.ท.หญิงสุณิสาได้พยายามชี้แจงว่าไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะไปขอถอนร่าง เพียงแต่ยกขั้นตอนเท่านั้น
นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้อธิบายถึงขั้นตอนการดำเนินการหลังจากศาลวินิจฉัยว่านายกฯ ต้องไปขอพระราชทานพระราชานุญาตนำร่างกลับคืน หรือทิ้งไว้ และรอให้สำนักราชเลขาฯ ส่งกลับคืน ซึ่งเดาว่าสำนักราชเลขาฯ คงไม่ยอมทิ้งไว้เฉยๆ คงต้องส่งกลับมา และถือว่าขณะนี้ร่างดังกล่าวไปต่อไม่ได้แล้ว และรัฐสภาไม่สามารถดึงดันโดยใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 151 เพราะไม่ใช่กรณีที่พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชวินิจฉัยที่จะไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ในชั้นการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของสำนักราชเลขาฯ เท่านั้น
ชี้ช่องยึดคำวินิจฉัย
“เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยแล้ว การดำเนินการเอาผิดกับผู้ถูกร้องนั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ว่าเป็นหน้าที่ของศาล แต่เป็นของ ป.ป.ช. ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร”
ส่วนความเห็นของพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่ม 40 ส.ว.นั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า วิปฝ่ายค้านจะหารือว่าจะดำเนินการอย่างไรกับสมาชิกรัฐสภา 312 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าผู้ใดต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะการยื่นถอดถอนและการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญาที่ทูลเกล้าฯ ถวายเอกสารเท็จ ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในสัปดาห์หน้า
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษก ปชป. กล่าวว่า พรรคได้มอบหมายให้ทีมกฎหมายศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเตรียมยื่นถอดถอนทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพราะถือว่าการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และจะยื่นเอาผิดทางอาญา ทั้งมาตรา 265 และ 157 รวมถึงความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งพรรคจะเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องทุกกรณี โดยเฉพาะนายกฯ ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง เพราะเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายร่างกฎหมาย
ส่วนนายวันชัย สอนศิริ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ในวันที่ 22 พ.ย. กลุ่ม 40 ส.ว.จะเดินทางไปสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อยื่นเรื่องคำร้องต่อ ป.ป.ช. ให้ถอดถอน ส.ส.-ส.ว. 312 คน และเชื่อว่า ป.ป.ช.จะเร่งวินิจฉัยโดยเร็ว เพราะมีพยานหลักฐานจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญชัดเจน ส่วนการดำเนินคดีทางอาญาจะดำเนินการในฐานะภาคประชาชน โดยเอาผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการใช้เอกสารเท็จ
ขณะเดียวกัน กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดยนายอุทัย ยอดมณี ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ พร้อมคณะ ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช.เพื่อขอให้ไต่สวนข้อเท็จจริง ชี้มูลความผิดและดำเนินคดีอาญากับ น.ส.ยิ่งลักษณ์, นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา, นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมเข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.
ต่อมา ป.ป.ช.ชุดใหญ่ได้ประชุมและรับฟังรายงานจากเจ้าหน้าที่ในเรื่องดังกล่าว โดยใช้เวลาหารือเกือบ 4 ชั่วโมง จากนั้นนายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ ป.ป.ช. และรองโฆษก ป.ป.ช. พร้อมด้วยนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. ได้ร่วมกันแถลงข่าว
ป.ป.ช.รวมสำนวน
โดยนายประสาทกล่าวว่า ป.ป.ช.ได้พิจารณาคำร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง และคำกล่าวหาที่มีผู้ร้องจำนวน 5 เรื่องแล้ว และมีมติให้นำคำร้องทั้งหมดมารวมพิจารณาเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งให้กรรมการ ป.ป.ช.ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวนข้อเท็จจริง โดยให้นายวิชา มหาคุณ, นายใจเด็ด พรไชยา และนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นกรรมการผู้รับผิดชอบสำนวน ทั้งนี้ 5 คำร้อง แบ่งเป็นเรื่องกล่าวหาร้องเรียนขอให้ดำเนินคดีอาญา 2 เรื่อง คือ 1.ส.ว. 3 คน ได้กล่าวหา ส.ส.และ ส.ว. จำนวน 308 คน ร่วมกันลงชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.ว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ และ 2.ประชาชนกล่าวหาร้องเรียน กรณีมีสมาชิกรัฐสภาใช้บัตรประจำตัวของตนเสียบบัตรเข้าเครื่องลงคะแนนแทนสมาชิกรัฐสภาคนอื่นในการออกเสียงลงคะแนนโดยมิชอบ
นายประสาทกล่าวต่อว่า ส่วนคำร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งมี 3 เรื่อง คือ 1.กรณี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกันลงชื่อเสนอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อขอให้ถอดถอนนายสมศักดิ์ออกจากตำแหน่ง 2.กรณี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกันลงชื่อขอให้ถอดถอนนายนิคม และ 3.กรณี ส.ว.ร่วมกันลงชื่อเสนอเพื่อขอให้ถอดถอนนายนิคม ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาเมื่อวันที่ 20 พ.ย. เมื่อประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ป.ป.ช.จะนำมาเป็นพื้นฐานส่วนหนึ่งในการไต่สวน เพราะถือเป็นเรื่องในทำนองเดียวกัน
นายวิชัยกล่าวถึงกรณีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ป.ป.ช.จะชี้มูลเป็นอย่างอื่นมิได้ว่า เมื่อเรื่องมาถึง ป.ป.ช.แล้วต้องมีกระบวนการไต่สวน คำวินิจฉัยแม้จะผูกพัน แต่ไม่เพียงพอที่ ป.ป.ช.จะวินิจฉัยให้ขัดหรือไม่ขัดต่อตำแหน่งได้ และไม่เพียงพอที่ ป.ป.ช.จะชี้มูลผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดอาญาหรือไม่ เพราะมีองค์ประกอบอื่นๆ อีก เช่น คดีอาญาต้องดูเจตนา หรือการถอดถอนก็ต้องเป็นการจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ แต่ตรงนี้ไม่มีในคำวินิจฉัยของศาล บอกแต่เพียงว่าการดำเนินการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ส่วนผู้ดำเนินการจะมีเจตนาอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งคาดว่าคงต้องใช้เวลาในการไต่สวนพอสมควร ส่วนที่มี ส.ส.และ ส.ว.ไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนั้น ตรงนี้ไม่เป็นปัญหา ต้องว่ากันตามกฎหมาย
นายวราเทพกล่าวถึงกรณีหาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด นายกฯ ต้องหยุดปฏิบัติภารกิจหรือไม่ว่า เป็นความเห็นทางกฎหมาย ยังไม่เกิดขึ้น จึงขอสงวนความเห็นไว้ก่อน เดี๋ยวจะเป็นประเด็นถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์
เมินข้อเสนอตุ๊ดตู่
สำหรับกรณีข้อเสนอของนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง ที่เสนอให้โหวตวาระ 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั้น นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พท. ในฐานะประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ก็เป็นสิทธิเสนอได้ แต่เรื่องนี้วิปรัฐบาลยังไม่ได้หารือกันว่าจะทำอย่างไร และส่วนตัวยังไม่คิดเดินหน้าเรื่องนี้ เพราะต้องประชุมก่อน
นายจารุพงศ์กล่าวเรื่องนี้เพียงว่า เป็นเรื่องที่พิจารณาต่อไป
นายวสันต์กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญปีที่แล้วที่ให้ยกคำร้อง มีผลทำให้คำขอต่างๆ ตกไป ดังนั้น รัฐสภาก็สามารถผลักดันร่างดังกล่าวได้ เพราะคำว่าควรจะทำประชามติ หรือแก้ไขรายมาตรา เป็นเพียงคำแนะนำ แต่ทั้งนี้หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเนื้อหาสาระขัดรัฐธรรมนูญ ก็มีสิทธิที่ถูกร้องศาลรัฐธรรมนูญได้อีก
นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ให้สัมภาษณ์หลังแถลงถึงการดำเนินนโยบายของสำนักงานศาลยุติธรรมในกรณีคำวินิจฉัยศาลที่อ้างถึงหลักนิติธรรมว่า หลักนิติธรรมเป็นเรื่องที่ต้องมีอยู่แล้วนอกเหนือจากกฎหมายที่ต้องพิจารณา เเละรัฐธรรมนูญปี 2550 เองก็มีการเพิ่มบทบัญญัติที่ต้องมีหลักนิติธรรม ซึ่งการพิจารณาศาลยุติธรรมก็ต้องนำมาปฏิบัติตาม เช่น หากเกิดคดีลักทรัพย์ คนหนึ่งลักทรัพย์ไปเพื่อซื้อยาเสพติด กับอีกคนหลักทรัพย์ไปซื้อนมให้ลูก ทั้งสองมีความผิดมาตราเดียวกัน ขณะที่ศาลจะใช้ดุลพินิจตามหลักนิติธรรมที่จะรอลงอาญาคนที่ลักทรัพย์ไปซื้อนมให้ลูก แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อคนกระทำผิดแล้วอ้างว่าทำเพื่อลูกจะไม่มีความผิด ซึ่งการตีความคำว่าหลักนิติธรรมยังหาคำนิยามที่ชัดเจนไม่ได้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ดังนั้นการพิจารณาคดีก็ต้องเน้นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรควบคู่ไปด้วย
รศ.ณรงค์ ใจหาญ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวยอมรับว่า ศาลมีความกล้าพอสมควรในการตัดสินคดีออกมาในรูปนี้ เพราะต้องโดนคำวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายว่าตีความกว้างไปหรือเปล่า มุมมองก็คือกว้างแน่นอน แต่นำไปสู่การปกป้องสิทธิของประชาชนเป็นเหตุผลที่รับได้ ศาลพยายามตัดสินในส่วนเนื้อหาที่ให้เห็นชัดเจนว่าไม่ควรใช้เสียงข้างมากในการตะแบงออกกฎหมายโดยไม่ฟังเสียงประชาชน
"เรื่องนี้หากเราปล่อยไป ให้มีทั้ง ส.ว.-ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ถ้าเอากันแบบนี้ก็เท่ากับว่าเราลงทุนแค่ตอนเลือกตั้งครั้งเดียวจบ ที่เหลือเข้ามาแล้วก็สามารถคุมได้ทั้งหมด ต้องถามว่าประเทศไทยพร้อมกับระบบนี้แล้วหรือยัง ระบบเลือกตั้งแบบนี้ดี แต่ประชาชนต้องซื้อไม่ได้ด้วย ประเทศหนึ่งอาจใช้ได้ดี แต่ประเทศเรา ยังนำมาใช้ไม่ได้ ทุกอย่างต้องดูบริบทของสังคมด้วยว่าเราเป็นแบบต่างประเทศเขาหรือเปล่า" รศ.ณรงค์กล่าว.
ชี้ช่องยึดคำวินิจฉัย
“เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยแล้ว การดำเนินการเอาผิดกับผู้ถูกร้องนั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ว่าเป็นหน้าที่ของศาล แต่เป็นของ ป.ป.ช. ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร”
ส่วนความเห็นของพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่ม 40 ส.ว.นั้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า วิปฝ่ายค้านจะหารือว่าจะดำเนินการอย่างไรกับสมาชิกรัฐสภา 312 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าผู้ใดต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะการยื่นถอดถอนและการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญาที่ทูลเกล้าฯ ถวายเอกสารเท็จ ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในสัปดาห์หน้า
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษก ปชป. กล่าวว่า พรรคได้มอบหมายให้ทีมกฎหมายศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเตรียมยื่นถอดถอนทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพราะถือว่าการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และจะยื่นเอาผิดทางอาญา ทั้งมาตรา 265 และ 157 รวมถึงความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งพรรคจะเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องทุกกรณี โดยเฉพาะนายกฯ ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง เพราะเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายร่างกฎหมาย
ส่วนนายวันชัย สอนศิริ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ในวันที่ 22 พ.ย. กลุ่ม 40 ส.ว.จะเดินทางไปสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อยื่นเรื่องคำร้องต่อ ป.ป.ช. ให้ถอดถอน ส.ส.-ส.ว. 312 คน และเชื่อว่า ป.ป.ช.จะเร่งวินิจฉัยโดยเร็ว เพราะมีพยานหลักฐานจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญชัดเจน ส่วนการดำเนินคดีทางอาญาจะดำเนินการในฐานะภาคประชาชน โดยเอาผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการใช้เอกสารเท็จ
ขณะเดียวกัน กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดยนายอุทัย ยอดมณี ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ พร้อมคณะ ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช.เพื่อขอให้ไต่สวนข้อเท็จจริง ชี้มูลความผิดและดำเนินคดีอาญากับ น.ส.ยิ่งลักษณ์, นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา, นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมเข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.
ต่อมา ป.ป.ช.ชุดใหญ่ได้ประชุมและรับฟังรายงานจากเจ้าหน้าที่ในเรื่องดังกล่าว โดยใช้เวลาหารือเกือบ 4 ชั่วโมง จากนั้นนายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ ป.ป.ช. และรองโฆษก ป.ป.ช. พร้อมด้วยนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. ได้ร่วมกันแถลงข่าว
ป.ป.ช.รวมสำนวน
โดยนายประสาทกล่าวว่า ป.ป.ช.ได้พิจารณาคำร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง และคำกล่าวหาที่มีผู้ร้องจำนวน 5 เรื่องแล้ว และมีมติให้นำคำร้องทั้งหมดมารวมพิจารณาเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งให้กรรมการ ป.ป.ช.ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวนข้อเท็จจริง โดยให้นายวิชา มหาคุณ, นายใจเด็ด พรไชยา และนายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นกรรมการผู้รับผิดชอบสำนวน ทั้งนี้ 5 คำร้อง แบ่งเป็นเรื่องกล่าวหาร้องเรียนขอให้ดำเนินคดีอาญา 2 เรื่อง คือ 1.ส.ว. 3 คน ได้กล่าวหา ส.ส.และ ส.ว. จำนวน 308 คน ร่วมกันลงชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.ว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ และ 2.ประชาชนกล่าวหาร้องเรียน กรณีมีสมาชิกรัฐสภาใช้บัตรประจำตัวของตนเสียบบัตรเข้าเครื่องลงคะแนนแทนสมาชิกรัฐสภาคนอื่นในการออกเสียงลงคะแนนโดยมิชอบ
นายประสาทกล่าวต่อว่า ส่วนคำร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งมี 3 เรื่อง คือ 1.กรณี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกันลงชื่อเสนอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อขอให้ถอดถอนนายสมศักดิ์ออกจากตำแหน่ง 2.กรณี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกันลงชื่อขอให้ถอดถอนนายนิคม และ 3.กรณี ส.ว.ร่วมกันลงชื่อเสนอเพื่อขอให้ถอดถอนนายนิคม ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาเมื่อวันที่ 20 พ.ย. เมื่อประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ป.ป.ช.จะนำมาเป็นพื้นฐานส่วนหนึ่งในการไต่สวน เพราะถือเป็นเรื่องในทำนองเดียวกัน
นายวิชัยกล่าวถึงกรณีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ป.ป.ช.จะชี้มูลเป็นอย่างอื่นมิได้ว่า เมื่อเรื่องมาถึง ป.ป.ช.แล้วต้องมีกระบวนการไต่สวน คำวินิจฉัยแม้จะผูกพัน แต่ไม่เพียงพอที่ ป.ป.ช.จะวินิจฉัยให้ขัดหรือไม่ขัดต่อตำแหน่งได้ และไม่เพียงพอที่ ป.ป.ช.จะชี้มูลผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดอาญาหรือไม่ เพราะมีองค์ประกอบอื่นๆ อีก เช่น คดีอาญาต้องดูเจตนา หรือการถอดถอนก็ต้องเป็นการจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ แต่ตรงนี้ไม่มีในคำวินิจฉัยของศาล บอกแต่เพียงว่าการดำเนินการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ส่วนผู้ดำเนินการจะมีเจตนาอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งคาดว่าคงต้องใช้เวลาในการไต่สวนพอสมควร ส่วนที่มี ส.ส.และ ส.ว.ไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนั้น ตรงนี้ไม่เป็นปัญหา ต้องว่ากันตามกฎหมาย
นายวราเทพกล่าวถึงกรณีหาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด นายกฯ ต้องหยุดปฏิบัติภารกิจหรือไม่ว่า เป็นความเห็นทางกฎหมาย ยังไม่เกิดขึ้น จึงขอสงวนความเห็นไว้ก่อน เดี๋ยวจะเป็นประเด็นถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์
เมินข้อเสนอตุ๊ดตู่
สำหรับกรณีข้อเสนอของนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง ที่เสนอให้โหวตวาระ 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั้น นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พท. ในฐานะประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ก็เป็นสิทธิเสนอได้ แต่เรื่องนี้วิปรัฐบาลยังไม่ได้หารือกันว่าจะทำอย่างไร และส่วนตัวยังไม่คิดเดินหน้าเรื่องนี้ เพราะต้องประชุมก่อน
นายจารุพงศ์กล่าวเรื่องนี้เพียงว่า เป็นเรื่องที่พิจารณาต่อไป
นายวสันต์กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญปีที่แล้วที่ให้ยกคำร้อง มีผลทำให้คำขอต่างๆ ตกไป ดังนั้น รัฐสภาก็สามารถผลักดันร่างดังกล่าวได้ เพราะคำว่าควรจะทำประชามติ หรือแก้ไขรายมาตรา เป็นเพียงคำแนะนำ แต่ทั้งนี้หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเนื้อหาสาระขัดรัฐธรรมนูญ ก็มีสิทธิที่ถูกร้องศาลรัฐธรรมนูญได้อีก
นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ให้สัมภาษณ์หลังแถลงถึงการดำเนินนโยบายของสำนักงานศาลยุติธรรมในกรณีคำวินิจฉัยศาลที่อ้างถึงหลักนิติธรรมว่า หลักนิติธรรมเป็นเรื่องที่ต้องมีอยู่แล้วนอกเหนือจากกฎหมายที่ต้องพิจารณา เเละรัฐธรรมนูญปี 2550 เองก็มีการเพิ่มบทบัญญัติที่ต้องมีหลักนิติธรรม ซึ่งการพิจารณาศาลยุติธรรมก็ต้องนำมาปฏิบัติตาม เช่น หากเกิดคดีลักทรัพย์ คนหนึ่งลักทรัพย์ไปเพื่อซื้อยาเสพติด กับอีกคนหลักทรัพย์ไปซื้อนมให้ลูก ทั้งสองมีความผิดมาตราเดียวกัน ขณะที่ศาลจะใช้ดุลพินิจตามหลักนิติธรรมที่จะรอลงอาญาคนที่ลักทรัพย์ไปซื้อนมให้ลูก แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อคนกระทำผิดแล้วอ้างว่าทำเพื่อลูกจะไม่มีความผิด ซึ่งการตีความคำว่าหลักนิติธรรมยังหาคำนิยามที่ชัดเจนไม่ได้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ดังนั้นการพิจารณาคดีก็ต้องเน้นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรควบคู่ไปด้วย
รศ.ณรงค์ ใจหาญ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวยอมรับว่า ศาลมีความกล้าพอสมควรในการตัดสินคดีออกมาในรูปนี้ เพราะต้องโดนคำวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายว่าตีความกว้างไปหรือเปล่า มุมมองก็คือกว้างแน่นอน แต่นำไปสู่การปกป้องสิทธิของประชาชนเป็นเหตุผลที่รับได้ ศาลพยายามตัดสินในส่วนเนื้อหาที่ให้เห็นชัดเจนว่าไม่ควรใช้เสียงข้างมากในการตะแบงออกกฎหมายโดยไม่ฟังเสียงประชาชน
"เรื่องนี้หากเราปล่อยไป ให้มีทั้ง ส.ว.-ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ถ้าเอากันแบบนี้ก็เท่ากับว่าเราลงทุนแค่ตอนเลือกตั้งครั้งเดียวจบ ที่เหลือเข้ามาแล้วก็สามารถคุมได้ทั้งหมด ต้องถามว่าประเทศไทยพร้อมกับระบบนี้แล้วหรือยัง ระบบเลือกตั้งแบบนี้ดี แต่ประชาชนต้องซื้อไม่ได้ด้วย ประเทศหนึ่งอาจใช้ได้ดี แต่ประเทศเรา ยังนำมาใช้ไม่ได้ ทุกอย่างต้องดูบริบทของสังคมด้วยว่าเราเป็นแบบต่างประเทศเขาหรือเปล่า" รศ.ณรงค์กล่าว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น