วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตอกหน้า "ธิดา" ศรชัย เชื่อมโยง นปช.-พรรคเพื่อไทย????เมื่อ 7 มิ.ย.56



ตอกหน้า "ธิดา" ศรชัย เชื่อมโยง นปช.-พรรคเพื่อไทย????
ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายแต่ประการใดกับการแถลงข่าวของกลุ่มนปช.ในวันนี้ ที่นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช.ได้ออกมาชี้แจงว่า นายจตุพร และนายณัฐวุฒิ รวมไปถึงแกนนำนปช.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนายศรชัย ศรีดี ผู้ต้องหาฆ่ากำนันแดง และเป็นหนึ่งในกองกำลังติดอาวุธชุดดำในการชุมนุมเมื่อปี2553
ถึงแม้ว่าจะมีภาพหลักฐานที่นายจตุพรและนายณัฐวุฒินำตัวนายศรชัยและพวกไปมอบตัวกับตำรวจในคดีทำร้ายร่างการเจ้าหน้าที่เมื่อปี 2552 ที่แสดงให้เห็นว่าคนกลุ่มดังกล่าวมีความรู้จักมักคุ้น แต่ทว่าในวันนี้นางธิดาก็สามารถแก้ตัวไปน้ำขุ่นๆ
การที่นางธิดาอ้างว่านายณัฐวุฒิกับนายจตุพรพานายศรชัยไปมอบตัวเท่านั้นแต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ถึงขั้นต้องไปประกันตัวให้จะสามารถเชื่อถือได้หรือไม่ แล้วเป็นการอธิบายความที่เพียงพอในการปฏิเสธรู้เห็นเรื่องชายชุดดำหรือไม่ ก็ต้องไปพิสูจน์จากหลักฐานที่สำนักข่าวทีนิวส์รวบรวมมาดังนี้
ปี2552 7 มี.ค.ที่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) นายจตุพร และนายณัฐวุฒิ นำตัวน.ส.นฤมล หรือจ๋า วรุณรุ่งโรจน์ นายกิตติศักดิ์ จีนขจร อายุ 33 ปี นายประจวบ บุญสันเทียะ อายุ 31ปี และนายศรชัย ศรีดี อายุ 29 ปี ผู้ต้องหาร่วมกันทำร้ายร่างกาย ส.อ.อำนวย ทองรินทร์ ทหารประจำกองพันทหารราบมณฑลทหารบกที่ 11 ซึ่งตำรวจได้ขออนุมัติศาลอาญาออกหมายจับเมื่อวันที่ 5มี.ค.ที่ผ่านมา เดินทางเข้ามอบตัวกับ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น. พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 ในขณะนั้น โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 50 คน มารอให้กำลังใจ         
ไม่แค่เพียงการพามามอบตัวเท่านั้น แต่นายณัฐวุฒิยังออกตัวแทนผู้ต้องหาอีกว่า ตนได้พาผู้ต้องหาทั้ง 4 คนที่ถูกตำรวจออกหมายจับมาแสดงตัวต่อตำรวจเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา และแสดงความบริสุทธิ์ใจ
ส่วนเรื่องการประกันตัวที่นางธิดาอ้างนั้น ในวันดังกล่าว   ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังที่ได้มีการสอบปากคำผู้ต้องหาทั้ง 4 คนเสร็จสิ้น ทั้งหมดขอให้การในชั้นศาล พร้อมยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัว โดยพนักงานสอบสวนได้พิจารณาให้ประกันตัวไปในวงเงินประกันคนละ 1หมื่นบาท
จากวันนั้นจนถึงวันนี้คดีไม่ได้เงียบหายไปแต่ได้มีการตัดสินแล้วจากศาล โดยนับตั้งแต่วันที่นายณัฐวุฒิและนายจตุพร นำผู้ต้องหาทั้ง 4 คนไปมอบตัว แล้วได้ประกันออกมา นายศรชัยก็ไม่ปรากฏตัวอีกเลย ก่อนจะมาปรากฏตัวในปี 2553 อีกครั้ง และมาตกเป็นผู้ต้องหายิงกำนันแดง
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ศาลอาญารัชดา ได้มีคำพิพากษา น.ส.นฤมล วรุณรุ่งโรจน์ และ นายกิตติศักดิ์ จีนขจร ผู้ต้องหาในกรณีการเข้าจับกุมตัวและทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ทหารที่เข้ามาสังเกตการณ์ในเหตุการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลาหลังเที่ยงคืน  
โดยศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษา น.ส. นฤมล วรุณรุ่งโรจน์ ให้มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ให้จำคุก 1 ปี สำหรับ นายกิตติศักดิ์ จีนขจร ศาลได้สั่งให้จำคุก 3 ปี ด้วยความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 309(2)        
สำหรับผู้ถูกแจ้งข้อหาในคดีดังกล่าวมีทั้งสิ้น 4 คน ได้แก่ นายศรชัย ศรีดี นายประจวบ บุญสันเทียะ  น.ส.นฤมล วรุณรุ่งโรจน์ และ นาย กิตติศักดิ์ จีนขจร สำหรับจำเลยที่ 1 และ 2 ได้หลบหนี ซึ่งหมายถึงนายศรชัย ที่ในวันนี้ต้องถูกนำตัวมาพิพากษาคดีดังกล่าวร่วมกับจำเลยคนอื่น ซึ่งหากเทียบเคียงคำพิพากษาเขาก็อาจถูกตัดสินจำคุก 1-3 ปี
ย้ำอีกครั้งถ้าหากคนเหล่านี้ไม่มีความรู้จักมักคุ้นกับแกนนำก็อาจจะมองว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือระหว่างแกนนำกับมวลชนเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจซึ่งกันและกัน แต่ทว่าผ่านพ้นไปอีกหนึ่งปี ในการชุมนุมคนเสื้อแดง 2553 คนเหล่านี้ก็กลับมาอีกครั้ง และตกเป็นผู้ต้องหาคนสำคัญในการยิงเฮลิคอปเตอร์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553
เหตุการณ์ยิงฮ.ทหารเกิดขึ้นเมื่อช่วงเย็นของวันที่10 เมษายน 2553 ในช่วงที่มีการผลักดันระหว่างทหารกับคนเสื้อแดง บริเวณพื้นที่ชุมนุม สะพานผ่านฟ้าลีลาส ซึ่งการยิงฮ.ที่ว่านี้ ถือเป็นการใช้กระสุนนัดแรกของวันที่10เมษายน ออกมาจากฝ่ายกลุ่มผู้ชุมนุม
โดยจังหวะที่ชุลมุน เฮลิคอปเตอร์ได้บินวนเหนือถนนราชดำเนิน โปรยใบผลิวให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม จนทำให้คนร้ายที่แฝงอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมกระหน่ำยิงใส่เฮลิคอปเตอร์จนต้องบินหนีไปทางด้านเวทีผ่านฟ้าและมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ
และที่ไม่ธรรมดายิ่งกว่านั้นก็คือหากสังเกตดีๆก็จะพบรายชื่อของน.ส.นฤมล หรือจ๋า วรุณรุ่งโรจน์ ที่นายณัฐวุฒิและนายจตุพร นำมามอบตัวกับตำรวจร่วมกับนายศรชัย พอมาปี2553 คนเหล่านี้ก็ตกเป็นผู้ต้องหาคดียิงฮ.ร่วมกัน แสดงให้เห็นถึงความเป็นกลุ่มขบวนการ ที่ยึดโยงกันมาตั้งแต่ปี 2552แล้ว เพราะฉะนั้นคงไม่ใช่การรู้จักกันแบบแกนนำและมวลชนทั่วๆไปแน่ๆ
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2554 ศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องในคดีหมายเลขดำ อ.2702/2553 ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นางนฤมล หรือจ๋า วรุณรุ่งโรจน์, นายสุรชัย หรือปลา นิลโสภา และนายชาตรี หรือหมู ศรีจินดา ทั้งหมดเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐานกระทำผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด พ.ศ.2490 มาตรา 7,55,72,78 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91,265,268 โดยจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม
ตามโจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2553 เวลากลางวัน ขณะที่เกิดการปะทะกันระหว่างแนวร่วมนปช. กับเจ้าหน้าที่รัฐ จำเลยทั้ง 3 ร่วมกันครอบครองอาวุธปืนอาก้า 5 กระบอก, อาวุธปืนเอ็ม 16 จำนวน 1 กระบอก, อาวุธปืนคาร์ไบน์ 1 กระบอก, ซองกระสุนปืน 17 อัน, ลูกระเบิดขว้างชนิดสังหาร 8 ลูก, ลูกระเบิดเอ็ม 79 จำนวน 4 นัด, ระเบิดแก๊สน้ำตา 3 ลูก, เครื่องกระสุนปืนขนาดต่างๆ 860 นัด, ระเบิดแสวงเครื่องประกอบเอง 10 ลูก, และขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมันเบนซิน ประกอบเป็นระเบิดเพลิง 102 ขวด นอกจากนี้ ในวันที่ 10 เม.ย.2553 จำเลยที่ 2 ปลอมและใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม เจ้าหน้าที่จับกุมจำเลยทั้ง 3 ได้พร้อมของกลางที่บ้านเลขที่ 231 ซอยอ่อนนุช 17 แยก 3 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กทม. จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า มีประเด็นต้องวินิจฉัยประการแรกว่า จำเลยทั้ง 3 กระทำผิดฐานครอบครองอาวุธปืนตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า   แม้เจ้าพนักงานชุดจับกุม จะปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ พบของกลางในบ้านที่เกิดเหตุก็ตาม แต่กลับไม่ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงเรื่องการจับกุมดังกล่าว รายงานกลับไปยังศูนย์อำนวยการแก้ไขสถาน การณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) อีกทั้งหมายคำสั่งค้นก็ไม่ได้ระบุรายละเอียดว่ายึดสิ่งของใด
คำพิพากษายกฟ้องดังกล่าวเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถแสดงให้ศาลเห็นว่าจำเลยทั้ง 3 คนมีความเชื่อมโยงกับอาวุธสงครามที่ตรวจพบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้ง 3 คนยิงหรือไม่ยิงฮ.และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาวุธเหล่านี้แต่ที่น่าสนใจเพิ่มเติมก็คือเป็นส.ส.พรรคเพื่อไทย ผ่านการดำเนินการของทนายนปช.ที่เข้ามาช่วยประกันตัวให้กับคนเหล่านี้ ระหว่างที่คดีอยู่ในชั้นอุทธรณ์
เพราฉะนั้นน้ำหนักเรื่องการประกันตัวในคดีทำร้ายเจ้าหนักงานเมื่อปี 2552 จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาพิจารณา เพราะการใช้ตำแหน่งส.ส.พรรคเพื่อไทย ผ่านการช่วยเหลือของทนายนปช. ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคนเหล่านี้มีความสัมพันธุ์กันอย่างลึกซึ้งเป็นระยะเวลานานอีกด้วย
26 ส.ค.54 ด้านนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ยื่นคำร้องขอประกันตัวนางนฤมล วรุณรุ่งโรจน์, นายสุรชัย นิลโสภา และนายชาตรี ศรีจินดา ผู้ต้องหาคดียิง ฮ. ที่ศาลสั่งยกฟ้องแต่ยังให้ขังไว้ระหว่างอุทธรณ์ว่า ใช้ตำแหน่งส.ส. พรรคเพื่อไทย 4 คน คือ นางสาว จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อ, น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายจรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร ส.ส.นครราชสีมา และนายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ ส.ส.นครราชสีมา ยื่นขอประกันตัว โดยให้เหตุ ผลว่าศาลได้พิจารณาและพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้ง 3 แล้ว และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจำเลยทั้ง 3 ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด จึงสมควรได้รับการประกันตัวตามสิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยศาลได้รับคำร้องไว้ และส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไปพิจารณาจากเหตุผลดังกล่าว เพียงคำอ้างของนางธิดา จึงฟังไม่ขึ้นด้วยประการทั้งปวงในการปฏิเสธว่าไม่รู้จักหรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกองกำลังชุดดำ
ด้านพ.ต.อ.โสภณ ศิริมาจันทร์ ผกก.สภ.แก่งหางแมว กล่าวถึงการสอบปากคำนายศรชัย คดีสังหารกำนันแดงว่า นายศรชัย ศรีดี ยังไม่ยอมเปิดปากให้การถึงผู้ว่าจ้าง ส่วนประเด็นการสังหารตำรวจยังมุ่งเรื่องการเมืองท้องถิ่นเป็นหลัก แต่จาการสืบหาข่าวเชิงลึกพบว่า นายศรชัย ศรีดี เป็นการ์ดเสื้อแดงจริง และที่น่าสนใจคือเชื่อมโยงกับแกนนำคนเสื้อแดงอย่างนายณัฐวุฒิ และนายจตุพร ถึงขนาดเคยไปประกันตัวให้ ในคดีทำร้ายทหารที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2552  ???  
ชัดมั้ยว่าข้อมูลของพ.ต.อ.โสภณ เป็นผู้ยืนยันเองว่านายศรชัยได้รับการประกันตัวโดยนายจตุพรและนายณัฐวุฒิ????
ไม่แค่เพียงประกันตัวให้เท่านั้นแต่การชุมนุมปี 2553 ยังช่วยนายอริสมันต์ หลบหนีการจับกุมอีกต่างหาก
นายศรชัย เคยถูกช่างภาพสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นยังถ่ายภาพในลักษณะ แต่งกายเลียนแบบทหาร พกอาวุธปืนอยู่บนสถานีรถไฟฟ้าในช่วงการชุมนุมปี 2553
และยังเป็นคนเดียวกับที่บุกไปช่วยนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำคนเสื้อแดง ที่โรงแรมเอสซี ปาร์ค จึงถูกมองว่าคือหนึ่งกองกำลังติดอาวุธที่แฝงตัวในการชุมนุมของคนเสื้อแดง ซึ่งแกนนำมีส่วนรับรู้ด้วย       
นอกจากนี้ มีรายงานว่านายศรชัยมีหมายจับติดตัว 3 หมาย หนึ่งในนั้นมีคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ข้อหาก่อการร้ายอีด้วย
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้กองบังคับการกองปราบปรามเร่งดำเนินการจับกุมนายศรชัย ศรีดี หรือ จ่ายักษ์ มาสอบสวนเพิ่มเติม เพราะเกรงว่าความปลอดภัยของนายศรชัย จะอยู่ในขั้นอันตราย เนื่องจากนายศรชัย เป็นผู้กุมความลับในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ปี 52-53 โดยเฉพาะเหตุการณ์เสียชีวิต 6 ศพที่วัดปทุมวนาราม      
นอกจากนี้ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ? (ดีเอสไอ) เรียกตัวนายศรชัย มาสอบสวน เพราะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี เพื่อเปิดเผยว่า ประเทศไทยถูกใครทำร้ายในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งจะเป็นการยืนยันว่า การชุมนุมเมื่อปี 52-53 ไม่ได้เป็นไปด้วยความสงบปราศจากอาวุธ โดยผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในวันที่มีการจับกุมคนร้ายที่สังหารนายบุญจริงนั้น ล้วนแต่เคยเป็นการ์ดนปช. ซึ่งจะเห็นได้ว่า หลังจากสลายการชุมนุม การ์ดนปช.เหล่านี้ ก็กลับไปประกอบอาชีพเป็นมือปืน ติดอาวุธ และนี่จะถือเป็นหลักฐานที่เห็นชัดว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดงเป็นอย่างไร???

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น