วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พบแมลงหน้าผี-อีกตัวผีเสื้อหน้าคน (ชมคลิป)วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 15:29 น. ข่าวสดออนไลน์



วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 15:29 น.  ข่าวสดออนไลน์ 


พบแมลงหน้าผี-อีกตัวผีเสื้อหน้าคน (ชมคลิป)



พบแมลงประหลาด มีใบหน้าคนโผล่ที่ปราจีนบุรี  ในขณะที่หลายคนบอกตั้งแต่เกิดมาเพิ่งจะเคยเห็นเป็นครั้งแรก ขณะที่เจ้าของที่จับได้บอกถ้าแมลงตายก็จะนำไปสตาร์ฟเอาไว้ดูเล่น

เมื่อ 10มิ.ย. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี  แตกตื่นพบแมลงประหลาดที่ปีกหลังมีรูปร่างเหมือนคล้ายใบหน้าคน มีทั้งตา ปาก จมูก รวมทั้งผมดูแล้วมีความละม้ายคล้ายคลึงกับใบหน้าคนมากที่สุดจนมีการขนานนามกันว่า แมลงหน้าคน  ตามที่เคยตกเป็นข่าวในที่แห่งอื่น

โดยที่แมลงดังกล่าว พบครั้งแรกที่ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี ต่อมาที่ จ.ลำปาง และบางจังหวัดในแถบภาคอีสาน รวมทั้งภาคตะวันออก  จนเป็นที่ฮือฮาของผู้ที่ได้พบเห็น ล่าสุด แมลงหน้าคนถูกพบและขยายพันธุ์มาที่จังหวัดปราจีนบุรี จากที่สังเกตุ ที่บริเวณปีกที่เป็นสีส้มตัดกับที่ปลายปีกนั้นมองคล้ายผมทรงพั๊ง กลางปีกทั้งคู่มีจุดสีดำคล้ายดวงตา มีสันจมูก บริเวณที่เป็นปากสีออกหนาใหญ่

ผู้พบเห็นคือนายวิโรจน์  สีเหลือง อายุ45 ปี ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี พบและจับได้ขณะขับรถไปที่ บ้านคลองรั้ง ต.กรอกสมบูรณ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี และนำแมลงหน้าคนตัวดังกล่าวมาให้คนในหมู่บ้านดูเพื่อสอบถาม แต่ก็ไม่มีใครรู้จัก บางคนบอกว่าเพิ่งเคยพบเห็นเป็นครั้งแรกของชีวิต ซึ่งตัวนายวิโรจน์ บอกว่า ชอบที่แมลงตัวดังกล่าวมีรูปใบหน้าละม้ายคล้ายใบหน้าคน หรือ หน้ากาก สำหรับแมลงตัวนี้ นายวิโรจน์ บอกว่า จะเก็บเอาไว้ดูเล่น แต่ถ้าหากว่าแมลงตายก็จะสตาร์ปเอาไว้ดูเพราะเห็นว่าเป็นแมลงที่แปลกประหลาดมีลักษณะเป็นใบหน้าคน

จากการค้นข้อมูลแมลงหน้าคน  ไม่ใช่ของประหลาด มีกระจายอยู่ทั่วไป ในจังหวัดทางภาคอีสาน ภาคตะวันออก แมลงตัวนี้น่าทึ่งก็คือเผ่าพันธุ์ของมันแจกแจงออกมาได้ถึง 30 ล้านชนิด และสืบสานต่อชีวิตกันมาบนโลกใบนี้นานถึง 400 ล้านปี เป็นศัตรูพืชด้วยการเข้าไปดูด น้ำเลี้ยง เช่น ต้นใบขันทอง หนามดอง แต่ไม่มีรายงานว่ามีการระบาดแต่อย่างใด มันมีคุณลักษณะพิเศษคือเปลี่ยนรูปร่างให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือทำให้เกิดความ น่ากลัว เพื่อป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากศัตรู มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คาทาแคนทัส อินคานาทัส (Catacanthus Incar natus Drury) อยู่ในวงศ์ เพนตาโตมิดี้ (Pentatomidae) อันดับเฮมิพเตรา (Hemiptera) จากการตรวจสอบใน พิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร มีมวนชนิดนี้อยู่ 23 ตัว    ตัวแรกจับได้ในกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2475

ส่วนอีกตัวที่ผู้สื่อข่าวพบเองล่าสุดนี้ ที่สำนักงานชมรมผู้สื่อข่าว ม.10 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี โดยแมลงตัวดังกล่าวเท่าที่สังเกตุน่าจะอยู่ในสายพันเดียวกับจำพวกผีเสื้อ ที่เห็นตัวเป็นสีดำมีลายออกสีทองมองดูน่ากลัว และสังเกตุพบคือบริเวณโหนกด้านหลัง จะมีลวดลายเหมือนใบหน้าคน หรือคล้ายใบหน้าผี แต่ลวดลายปีกแตกต่างกัน ผีเสื้อมีความยาว 4 เซนติเมตร ซึ่งผู้สื่อข่าวเห็นปล่อยไว้อย่างเป็นธรรมชาติ ถือว่าเป็นเรื่องแปลก หากมีการขยายพันธุ์ต่อไปจะได้มีไว้ให้ลูกหลานได้ดู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น