วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประมวลภาพ"กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) "หรือ P - Move เมื่อ 6 พ.ค.56




 ประมวลภาพ"กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) "หรือ P - Move ที่ประกอบไปด้วย เครือข่ายของเกษตรกรรายย่อยและคนจนที่ได้ รับผลกระทบจากการพัฒนาประเทศที่ผิดพลาดในอดีต ประกอบด้วย เครือข่ายสลัม ๔ ภาค , สหพันธ์เกษตรกรภาค เหนือ (สกน.) , เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน(คปอ.) , สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) , เครือข่ายชุมชนเพื่อ การปฏิรูปสังคมและการเมือง(คปสม.), เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) ,สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ,เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา ,เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ชุมนุมบริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล โดยเมื่อเวลา 10.30 น.ของวันนี้ ทางกลุ่มได้ประกาศแถลงการณ์ ฉบับที่ 19 เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาประชาชน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

   " พวกเราขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ซึ่งเป็นเครือข่ายของเกษตรกรรายย่อยและคนจนที่ได้ รับผลกระทบจากการพัฒนาประเทศที่ผิดพลาดในอดีต ประกอบด้วย เครือข่ายสลัม ๔ ภาค , สหพันธ์เกษตรกรภาค เหนือ
(สกน.) , เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน(คปอ.) , สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) , เครือข่ายชุมชนเพื่อ การปฏิรูปสังคมและการเมือง(คปสม.), เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) ,สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ,เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา ,เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล อันเป็น ปัญหาความเดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ปัญหาที่เกิดจากการสร้างเขื่อน ปัญหาการไร้สิทธิสถานะและชาติ พันธ์ ปัญหาจากเหมืองและโรงไฟฟ้า ปัญหาการทำเกษตรพันธสัญญา รวมทั้งปัญหาความไม่เป็นธรรมจาก กระบวนการยุติธรรม ทั้งจากชนบทและคนจนในเมืองได้ร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง
 
         ในช่วงเวลากว่า ๑ ปีที่ผ่านมา ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการติดตาม และผลักดันให้กลไกการแก้ไขปัญหาทำหน้าที่ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งใน
ท้ายที่สุดจนพวกเราได้พบกับอุปสรรคในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดจากความไม่จริงใจของรัฐบาล ที่ไม่ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหา จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑ และ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ได้เจรจากับนายกรัฐมนตรี และมีข้อสรุปร่วมกันว่า “นายกรัฐมนตรีจะเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการภายในเดือนกลางพฤศจิกายน ๒๕๕๕ แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่การเจรจาอย่างเป็นทางการ ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่มีความคืบหน้าเลย ขณะที่ในพื้นที่ยังมีการคุกคาม จับกุมชาวบ้านอยู่
         ความล่าช้าที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ และไม่จริงใจของรัฐบาล ทำให้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ได้รับการแก้ไข โดยสามารถ ประมวลสรุปได้ ๓ กลุ่ม ดังนี้
         กลุ่มที่ ๑. ปัญหาในระดับนโยบาย ซึ่งรัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาไว้แล้ว ดังนี้
         ๑.๑ นโยบายข้อ ๔. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ข้อ๔.๕. .....นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม ข้อ ย่อยที่ ๔.๕.๒ การให้โอกาสประชาชนที่มีฐานะยากจนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง.....
          ๑.๒ นโยบายข้อ ๕. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อ๕.๑ ......สนับสนุนการจัดการอย่าง มีส่วนร่วมและให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันในลักษณะที่ทำให้คนมีภารกิจดูแลป่าให้มีความยั่งยืน โดยการปรับปรุงกฎหมาย ป่าไม้
5 ฉบับให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ.....
         ๑.๓ นโยบายข้อ ๕.๔ สร้างความเป็นธรรมและลดความเลื่อมลํ้าในการใช้ประโยชน์ที่ดินและ ทรัพยากร..... .....ให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดยใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดิน ให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย......ผลักดันกฎหมายในการรองรับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ที่ดิน นํ้า ป่า ไม้ และทะเล .....ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับนจน......
         ๑.๔ นโยบายข้อที่ ๘. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดิน (ข้อ ๘.๒.๒ ....ส่งเสริมกองทุนยุติธรรมเพื่อ การคุ้มครองช่วยเหลือคนจนและคนด้อยโอกาส....) ซึ่งเป็นผลผูกพันให้รัฐบาลต้องดำเนินการ แต่รัฐบาลไม่ดำเนินการ
         กลุ่มที่ ๒. ปัญหาที่ได้ข้อยุติแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยมีกรณปัญหาที่ได้ข้อยุติแล้ว ดังนี้ (๑) การแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล (๒) การดำเนินการจัดซื้อที่ดินพื้นที่นำร่อง ธนาคารที่ดิน (๓) การออกเลขที่และทะเบียนบ้านให้กับชุมชนเมือง (๔) การคุ้มครองพื้นที่ ที่ผ่านการอนุมัติให้จัดทำโฉนดชุมชน กรณีปญั หาที่ได้มีข้อยุติเป็นมติคณะอนุกรรมการและข้อตกลงในการเจรจาแล้ว ซึ่งรัฐบาลจะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ปฏิบัติการได้ แต่รัฐบาลกลับแช่แข็งข้อตกลงนี้ไว้
         กลุ่มที่ ๓. กลไก (อนุกรรมการ) ไม่ทำหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหา กลไกการแก้ไขปัญหาในรูปของอนุกรรมการฯ ที่ มีการแต่งตั้งแล้ว (ลงนามเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕) แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
         ๓.๑ อนุกรรมการที่ยังไม่มีการประชุมเลย ดังนี้ (๑) อนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่สาธารณะประโยชน์และที่ดิน เอกชนปล่อยทิ้งร้าง (๒) อนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
         ๓.๒อนุกรรมการที่ดำเนินการล่าช้าซื้อเวลาและไมส่ามารถแก้ไขปัญหาได้มีดังนี้(๑)อนุกรรมการแก้ไข ปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล(๒)อนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและสินเชื่อ(๓)อนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจาก
โรงไฟฟ้าชีวมวล ฯ (๔) อนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ฯ
         ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจะเกิดขึ้นได้รัฐบาลต้องเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการขึ้น โดยพวกเราขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) จึงปักหลักชุมนุมอย่างสงบ จนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม
         ทั้งนี้หลังจากที่มีการอ่านแถลงการณ์จากตัวแทนผู้ชุมนุมแล้ว ทางผู้ชุมนุมจะปักหลักรอผู้ชุมนุมกลุ่มอื่นๆที่กำลังทยอยเดินทางมา และรอการประสานจากทางตัวแทนรัฐบาลเพื่อให้มีการเปิดโต๊ะเจรจาแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องต่อไป และทางกลุ่มผู้ชุมุนุมยืนยันที่จะปักหลักพักค้างแม้จะใช้ระยะเวลาหลายวันจนกว่าการแก้ไขปัญหาจะยุติตามข้อเรียกร้อง








































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น