วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

นิรโทษกรรม จริงๆหรือ? เมื่อ 21 เม.ย.56


นิรโทษกรรม จริงๆหรือ?

หลังจากที่สภามีมติให้เลื่อนร่างพรบ.นิรโทษกรรมขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระแรก ในการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ ในช่วงเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ เบื้องต้นเราต้องมาดูว่า ถ้าหากจะมีการนิรโทษกรรมให้กับฝ่ายของมวลชนจริงๆ จะเป็นการนิรโทษกรรมให้กับใครบ้าง
ซึ่งจากข้อมูลที่สำนักข่าวทีนิวส์จะได้นำเสนอต่อจากนี้ เชื่อว่าน่าที่จะทำให้ใครหลายๆ คน รู้สึกตกใจขึ้นมาเลยก็ได้ว่า จะต้องนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่กระทำความผิดรุนแรงขนาดนี้เชียวหรือ
ในเอกสารที่ นปช.11/10/2555 เรื่องขอความอนุเคราะห์ดำเนินการทุเลาปัญหานักโทษคดีการเมือง ปรากฎรายชื่อของนักโทษที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ เพียง 30 ดังนี้
กรณีที่ 1 ขอเร่งรัดเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษ คดีมาตรา 112 นายเสถียร รัตนวงศ์ นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล  นายวันชัย แซ่ตัน และนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์
กรณีที่ 2 การขอย้ายเรือนจำคดีก่อการร้าย นายทองสุข หลาสพ นายสุรชัย เทวรัตน์ นายพศิน แสนจิตต์ จ.ส.อ.ณัฐสิทธิ์ สุวรรณราช นายชวการ โตสวัสดิ์ นายประสิทธิ์ พลอยทับทิม นายพิทยา แน่นอุดร นายวรกฤติ นันทะมงคลชัย
และกรณีที่ 3 การขอเร่งรัดจัดชั้นนักโทษชั้นเยี่ยม นายอเนก สิงขุนทด
อนึ่งยังมีผู้ถูกคุมขังที่ยังไม่ได้รับการประกันตัวอีก 30 คน
ไม่แค่เพียงรายชื่อที่มีอยู่แค่เพียงหลักสิบ แต่เป็นหลักสิบที่เมื่อลงในรายละเอียดก็จะทำให้สังคมเกิดอาการฉุกคิดขึ้นมาว่า ควรที่จะนิรโทษกรรมคนเหล่านี้จริงๆหรือ
ผู้ต้องขังชาย (ข.ช.)เอนก  สิงขุนทด
คดี ร่วมกันทำอาวุธระเบิด,พรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 35 ปี
ข.ช.สิบตำรวจตรีบัณทิตหรือนายบัณทิต สิทธิทุม
คดี กระทำผิดฐานก่อการร้ายฯ ร่วมกันมีอาวุธฯ กำหนดโทษ 38 ปี
ข.ช.เอกชัย มูลเกษ 
คดี ก่อให้เกิดระเบิด  พรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 8 ปี
ข.ช.เพชร แสงมณีหรือเฮ่นมณีเพชร
คดี ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายฯ พรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 6 ปี 6 เดือน
ข.ช.สายชล  แพบัว
คดีวางเพลิงเผาทรัพย์ฯ พรก.ฉุกเฉินฯ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
ข.ช.ประสงค์  มณีอินทร์ 
คดี ฝ่าฝืนประกาศข้อกำหนดมิให้มีการชุมนุมฯ  กำหนดโทษ 11 ปี 8 เดือน
ข.ช.พินิจ จันทร์ณรงค์
คดีวางเพลิงเผาทรัพย์ฯ พรก.ฉุกเฉินฯ  คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
ข.ช.คำหล้า  ชมชื่น
คดีร่วมกันปล้นทรัพย์ฯ พรก.ฉุกเฉินฯ  กำหนดโทษ 10 ปี
ข.ช.เดชา  คมขำ  
คดีความผิดต่อเจ้าพนักงานฯ พรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 20 ปี 6 เดือน
ข.ช.บัวเรียน  แพงสา
คดีความผิดต่อเจ้าพนักงานฯ พรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 20 ปี 6 เดือน
ข.ช.สมศักดิ์  ประสานทรัพย์ 
คดีความผิดต่อความมั่งคงฯพรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 33 ปี 12 เดือน
ข.ช.สนอง  เกตุสุวรรณ์  
คดีความผิดต่อความมั่งคงฯพรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 33 ปี 12 เดือน
ข.ช.ธีรวัฒน์  สัจสุวรรณ  
คดีความผิดต่อความมั่งคงฯพรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 33 ปี 12 เดือน
ผู้ต้องขังหญิง (ข.ญ.)ปัทมา มูลนิล   
คดีความผิดต่อความมั่งคงฯพรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 33 ปี 12 เดือน
ข.ช.ชาตรี ศรีจินดา  
คดีความผิดต่อชีวิต พรบ.อาวุธปืนฯ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
ข.ช.จ่าสิบตำรวจปริญญา มณีโคตม์
คดีเครื่องกระสุนปืนฯ พรบ.อาวุธปืนฯ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
ในจำนวนนี้ล่าสุดศาลจ.อุดรธานี ได้พิจารณาให้ปล่อยตัวชั่วคราวนักโทษ 4 คน ในคดีเผาศาลากลาง โดยให้ใช้หลักทรัพย์ประกันตัว เป็นเงินสดคนละ 2.5 ล้านบาท
ประกอบด้วย นายอาทิตย์ สายทอง กระทำผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กระทำผิดฐานวางเพลิงเทศบาลนครอุดรธานี และบุกรุกศาลากลางจังหวัดอุดรธานี จำคุก 22 ปี 6 เดือน
นายกิตติพงษ์ ชัยกังผู้เยาว์ กระทำผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กระทำผิดฐานวางเพลิงศาลากลางจังหวัดอุดรธานี และวางเพลิงเทศบาลนครอุดรธานี จำคุก 11 ปี 3 เดือน
ในจำนวนนี้ล่าสุดศาลจ.อุดรธานี ได้พิจารณาให้ปล่อยตัวชั่วคราวนักโทษ 4 คน ในคดีเผาศาลากลาง โดยให้ใช้หลักทรัพย์ประกันตัว เป็นเงินสดคนละ 2.5 ล้านบาท
ประกอบด้วย นายอาทิตย์ สายทอง กระทำผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กระทำผิดฐานวางเพลิงเทศบาลนครอุดรธานี และบุกรุกศาลากลางจังหวัดอุดรธานี จำคุก 22 ปี 6 เดือน
นายกิตติพงษ์ ชัยกังผู้เยาว์ กระทำผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กระทำผิดฐานวางเพลิงศาลากลางจังหวัดอุดรธานี และวางเพลิงเทศบาลนครอุดรธานี จำคุก 11 ปี 3 เดือน
นายเดชา คมขำ และนายบัวเรียน แพงสา กระทำผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน กระทำผิดฐานวางเพลิงเทศบาลนครอุดรธานี จำคุก 20 ปี 6 เดือน ซึ่งทั้ง 4 คนถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษหลักสี่ กรุงเทพฯ
และที่สำคัญการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวครั้งนี้ ทนายความได้นำพยานบุคคลมาเบิกความเพิ่มเติมคือ  พล.ต.ต.บุญลือ กอบางยาง ผบก.ภ.จว.อุดรธานี และพ.ต.อ.โกวิท เจริญวัฒนศักดิ์ ผกก.สภ.เมือง จ.อุดรธานี
คนเหล่านี้ล้วนอยู่ในข่ายที่จะได้รับการนิรโทษกรรมทั้งสิ้น
นี่คือตัวอย่างเท่านั้นสำหรับพฤติการณ์ การวางเพลิงสถานที่ราชการของคนเสื้อแดงบางกลุ่ม ที่แม้จะถูกศาลตัดสินจำคุกไปหลายราย แต่ทว่าในวันนี้พวกเขากำลังจะได้รับการนิรโทษกรรม
สำหรับร่างพรบ.นิรโทษกรรมดังกล่าวมีชื่อเต็มว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน โดยมีสาระสำคัญอยู่ในมาตราที่ 3  - 6 ดังนี้
มาตรา 3 ให้บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่กระทำการนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการชุมนุม การประท้วงหรือการแสดงออกด้วยวิธีการใดๆ อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ไม่เป็นความผิดต่อไปและให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าว
มาตรา 4 เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 วรรคหนึ่งยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวน หรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น
มาตรา 5 การนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะเรียกร้องสิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น
มาตรา 6 การดำเนินการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย
ขณะเดียวกันต่อข้อกล่าวที่เกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ก็อย่างที่ทราบว่าไม่เฉพาะกับตัวมวลชนเท่านั้น แต่บรรดาแกนนำก็ยังมีโทษหนักในคดีการก่อการร้ายติดตัวอยู่ด้วยเช่นกัน
และในประเด็นการก่อการร้ายนี้เอง ภายในสัปดาห์หน้าเราต้องจับตามองว่าศาลจะพิจารณาให้ประกันตัวนายก่อแก้ว พิกุลทอง หลังจากที่มีการปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร์หรือไม่ ขณะเดียวกันทางด้านของบรรดาแกนนำนปช.ก็ได้เดินทางไปยังศาลอาญาเพื่อให้ปากคำในคดีก่อการร้ายอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น