วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์การเมือง ๑ -๒๕ มี.ค.๕๖



วิเคราะห์การเมือง ๑๗ มี.ค.๕๖
สันติภาพปลายด้ามขวาน เกมการเมืองวิน-วิน จับตา แม้วปั้นเป็นผลงาน 'ขออภัยโทษ'
ท่าทีรัฐบาลไทยต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นับวันดูเหมือนจะถูกยกระดับความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เคยเย้ยหยันกลุ่มผู้ก่อเหตุ เป็นพวกโจรกระจอกบ้าง เป็นพวกค้าอาวุธ ขบวนการยาเสพติด เลยปรับเปลี่ยน ปรับปรุงวิธีการทำงาน ไปยุบ ศอ.บต. ตัดความร่วมมือทางทหาร ส่งตำรววจ สายเหยี่ยว ที่มียุทธวิธีปราบปรามแบบพิเศษลงไปแทน หาทางออกอย่างสันติ ด้วยความเชื่อจากสายข่าวที่ได้รับมาว่า พวกแกนนำพวกผู้ก่อเหตุมีไม่กี่คน หากลงไปใช้วิธีรุนแรง จะทำให้พวกแนวร่วมกลัว และปัญหาจะจบลงไปเอง หาเป็นเช่นนั้นไม่ นอกจากแกนนำและระดับผู้ปฏิบัติการจะไม่เกรงกลัว ยังเพิ่มอย่างรวดเร็ว มาพร้อมกับอุดมการณ์แรงกล้า ก้าวพ้นความตาย ความกลัว บนความเกลียดชังต่อเจ้าหน้าที่รัฐเลยตอบโต้แบบรุนแรงตามมาด้วย
    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ คำบอกเล่าของคนในครอบครัว นายมะรอโซ จันทราวดี ที่ถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญเสียชีวิต กับพวกร่วมก่อเหตุบุกโจมตีฐานปฏิบัติการฐานนาวิกโยธิน ฉก.บธ.32 ที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส จากเหตุการณ์ตากใบเมื่อออกมาทำให้เขาเป็นคนละคน
    น่าสนใจในยุคที่รัฐบาลทั้งตัวทักษิณและนอมินีเรืองอำนาจ สมัยไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน มายุคเพื่อไทย แนวทางการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เหมือนจะถูกปล่อยทิ้ง ราวกับว่าทหาร ตำรวจ ชาวบ้าน อาสาสมัคร ในพื้นที่ถูกฆ่าตายรายวันเป็นเรื่องปกติ จนกระทั่งมีการปรับเปลี่ยนแนวทาง เมื่อ 28 ก.พ. เป็นข่าวโด่งดัง ฝ่ายไทยและกลุ่มบีอาร์เอ็นลงนามแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ฝ่ายไทยนำโดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. พล.อ.นิพัทธ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เสนาเรือง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล (ผบช.ส.) ขณะที่ฝั่งบีอาร์เอ็น นำโดย นายฮาซัน ตอลิบ หัวหน้าฝ่ายประสานงานต่างประเทศ นายอาวัง ยาบะ ฝ่ายประสานงานขบวนการบีอาร์เอ็น โดยมีสักขีพยานจากฝั่งมาเลเซีย ดาโต๊ะ โมฮัมมัด ตาจุดดิน บินอับดุลวาฮับเลขาฯสมช.มาเลเซีย
    แม้ทางการไทยจะอวดอ้างว่าเป็นผลงานชิ้นโบแดง มั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมจะนำไปสู่สันติภาพในอนาคต ทว่าคล้อยหลังไม่กี่อึดใจ ยังคงเกิดเหตุระเบิดบางพื้นที่ จนกระทั่งไม่นานมานี้ก็ต้องมาเสียนายตำรวจฝีมือดี พ.ต.ท.จักรกฤษณ์ วงศ์พรหมเมศร์ รอง ผกก. (ป.) สภ.รือเสาะ หรือ ท่านชุมแพที่ชาวบ้านให้สมญานามสมัยที่ท่านไปดำรงตำแหน่งสารวัตรปราบปราม สภ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส เมื่อปี 2550 ด้วยการทำงานที่มุ่งมั่นและเสียสละ
    ยังคงสะท้อนให้เห็นว่า การเจรจาที่ตั้งโต๊ะลงนามไปแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 28 มี.ค. ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ความไม่สงบเบาบางลงไปเลย ยิ่งกรณี พ.ต.ท.จักรกฤษณ์ มีกระแสข่าวว่า  กลุ่มคนร้ายที่ลงมือก่อเหตุในครั้งนี้น่าจะเป็นกลุ่มของนายสะแปอิง อุเซ็ง แกนนำ RKK ระดับปฏิบัติการในพื้นที่ ซึ่งเป็นเครือข่ายของนายมะรอโซ จันทราวดี ที่ถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญเสียชีวิต และเคยร่วมก่อเหตุบุกโจมตีฐานปฏิบัติการฐานนาวิกโยธินฉก.บธ.32ที่อ.บาเจาะจ.นราธิวาสพร้อมกับนายมะรอโซจันทราวดี
    แม้กลุ่มบีอาร์เอ็นเป็นเครือข่ายใหญ่ มีสมาชิกจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครรับประกันได้ว่า กลุ่มอื่นๆ ผู้ที่ถูกปลูกฝังทางความคิดมายาวนาน กลุ่มผู้ที่ชิงชังเจ้าหน้าที่รัฐจากบทเรียนความเจ็บปวดในอดีต หรือกลุ่มผู้ไม่หวังดี จ้องสร้างสถานการณ์จะลดท่าทีลงไปด้วย 
    แกนนำบีอาร์เอ็นหลายคน ทางการไทยเคยต้องการตัวมาดำเนินคดี แต่หลังจากการเจรจา ลงนามเมื่อ 28 ก.พ. เท่ากับเรายอมรับในขบวนการบีอาร์เอ็น และเป็นการยกระดับองค์กรให้เขาตามที่กองทัพกังวล จากผู้ต้องหาแปรสภาพมาเป็นผู้ร่วมโต๊ะเจรจาที่ทางการไทยต้องเงี่ยหูฟังพร้อมรับในข้อเสนอ
    ไม่เท่านั้นยังมีความหวั่นวิตกตามมาว่า เราอาจกลายเป็นผู้ถูกหลอกให้เข้าร่วมเวทีสันติภาพ แต่สุดท้ายอาจคว้าน้ำเหลวกลับบ้าน เฉกเช่นคำพังเพยที่ว่า ไม่มีสัจจะในหมู่โจรไม่มีสิ่งใดรับประกันหรือการันตีได้เลยว่า เหตุการณ์จะสงบลง ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ ผู้บริสุทธิ์ไม่ต้องสังเวย กระบวนการสันติภาพ ผ่านการเจรจาจริงหรือไม่
    การเจรจาลงนามเกิดขึ้นมาท่ามกลางกระแสข่าว รัฐปัตตานี อันเป็นปลายทางของขบวนการผู้ก่อความไม่สงบ และยิ่ง เสธ.แมว-พล.ท.ภราดร ออกมารับเป็นนัยๆ ต่อคำถามผู้สื่อข่าว สรุปสุดท้ายการเจรจาจะจบที่การตั้งมหานครปัตตานีใช่หรือไม่ พล.ท.ภราดรกล่าวว่า ใช่ แนวโน้มจะต้องออกมาเป็นแบบนั้น เรื่องดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ของเราว่าทางกลุ่มบีอาร์เอ็นจะยื่นข้อเสนอนี้ เพราะอุดมการณ์ของเขาคือการแบ่งแยกดินแดน แต่เมื่อไม่สามารถแบ่งแยกดินแดน จึงจำเป็นต้องลดโทนลงมา ส่วนจะยื่นข้อเสนอเป็นรูปแบบใด เช่น มหานครรัฐปัตตานี หรือเขตปกครองพิเศษ ตรงนี้เรายังไม่ทราบ เพราะยังไม่ได้มีการหารือกันเลย และเมื่อมีการหารือจริงๆ ก็ไม่ทราบว่าเขาจะเสนอมาในรูปแบบใด คงต้องรอให้มีการพูดคุยกันก่อน แต่ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญเองก็เปิดช่องให้สามารถดำเนินการได้เพื่อให้เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ อย่างในประเทศไทยเองก็มี เช่น เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร หรือนครแม่สอด ที่มีการพูดถึงกันอยู่ ตลอดจนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเอง แต่เรายังไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าเขาจะเสนออย่างไรมา และหากเสนอมาก็ต้องมาพูดคุยกันในหลายฝ่ายให้ตกผลึกก่อน แต่เรายืนยันจะยืนหยัดตามกรอบรัฐธรรมนูญ
    จุดหมายปลายทางของขบวนการคือรัฐปัตตานีแต่ความประสงค์เหมือนการแบ่งแยกดินแดน เลยลดโทนเป็นเพียงมหานครปัตตานีฝ่ายการเมือง ผู้ที่เคยขับเคลื่อนนโยบายแก้ปัญหาความรุนแรง โดยให้ปัตตานีเป็นโมเดลในรูปของ เขตปกครองพิเศษป้ายหาเสียงสมัยไทยรักไทย กลุ่มวาดะห์หลายสิบคนในชุดหาเสียงของพรรคครั้งหนึ่งเคยขึ้นป้ายหราพรรคไทยรักไทยสนับสนุนมหานครปัตตานี
    พล.อ.ชวลิตขณะเป็นรองนายกรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ก็ไม่ลืมหลักการ เคยไปจับเข่าพูดคุยบรรยายกับพี่น้อง ผู้นำศาสนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดอกไม้หลากสี จัดตั้ง มหานครปัตตานีบนความเชื่อที่ว่า ความสงบ เหตุการณ์รุนแรงต่างๆ จะเบาบางลงจนแทบจะหมดไป เมื่ออีกฝ่ายได้ในสิ่งที่ต้องการ
    มาถึงยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็เข้ามาสานต่อ ไม่รู้ว่าเป็นการไถ่บาปให้ผู้เป็นพี่ หรือผู้เป็นพี่ต้องการไถ่บาปเองจากความผิดพลาดเชิงนโยบายหลายๆเรื่องสมัยเป็นนายกรัฐมนตรีเลยเน้นการเจรจามากขึ้น
    การเจรจานำไปสู่สันติภาพอย่างถาวร หากเกิดบนพื้นฐานแห่งความจริงใจ เพื่อชาติบ้านเมืองจริงๆ คงไม่มีใครคัดค้านแต่ไม่ควรเกิดขึ้นบนการแลกเปลี่ยนซ่อนเงื่อนในผลประโยชน์ตัวเอง 
    นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาแฉว่า ความเป็นมาเกิดจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณมอบหมายให้ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร, พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ไปประสานล่วงหน้ากับทางการมาเลเซีย จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณจึงได้ประสานงานมายัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้เปิดไฟเขียวในเรื่องนี้ ซึ่งนายกฯ ก็ตอบตกลงทำตามคำสั่งพี่ชาย โดยการเดินทางไปมาเลเซียเพื่อพบปะผู้นำ ขณะที่หน่วยงานราชการไทยอย่างน้อย 2 หน่วยงานได้คัดค้านอย่างเต็มที่ ที่ทราบคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้คัดค้านอย่างแข็งขัน แต่ไม่สำเร็จ โดยระบุเหตุผลชัดเจนว่าเป็นการยกระดับ และเป็นการเปิดช่องให้มีการแทรกแซงรัฐไทย
    สิ่งที่ชัดเจนยิ่งขึ้นคือ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 พล.ท.ภราดรได้ตอบคำถามสื่อชัดแล้วว่า ที่สุดแล้วต้องมาคุยถึงเขตปกครองพิเศษ และในการพูดคุยในครั้งหน้าจะมีการพูดคุยเรื่องทรัพยากรในพื้นที่ คือก๊าซและน้ำมันที่มีมาก ซึ่งมีอีกหลายหลุมที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย ดังนั้น การที่ พ.ต.ท.ทักษิณไปเจรจาในครั้งนี้ล้วนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและทางการเมืองของ 2 ฝ่าย ในลักษณะทำนองเดียวกับที่เคยเอื้อประโยชน์ให้กับกัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลฝั่งอ่าวไทยกับผู้นำกัมพูชา ครั้งนี้ก็เอื้อประโยชน์ให้นายนาจิบ ราซัก ผู้นำมาเลเซียที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะพื้นที่ภาคเหนือของมาเลเซียนั้น พรรคอัมโนของนายนาจิบไม่ได้รับความนิยม แต่หากมีการเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ก็จะได้รับความนิยม ที่สำคัญก็จะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณเช่นเดียวกัน
    “ผมเป็นห่วงว่า พ.ต.ท.ทักษิณเคยตัดสินใจผิดพลาดโดยใช้นโยบายกำปั้นเหล็กจัดการกับโจรกระจอก ตอนนี้เกือบ 10 ปียังไม่จบ ครั้งนี้ก็จะผิดพลาดซ้ำในการตั้งเขตปกครองพิเศษตามที่พรรคเพื่อไทยเคยเสนอในนโยบายหาเสียงเมื่อปี54ผ่านนักการเมืองในพื้นที่ว่าจะสนับสนุนการตั้งนครรัฐปัตตานีให้ปกครองตัวเอง"
    ในการประชุม ส.ส.เพื่อไทย ล่าสุดเมื่อ 11 มี.ค. ทักษิณยอมรับในบทบาทผู้ประสาน กล่าวกับ ส.ส.ช่วงหนึ่งว่า นายกฯ มาเลเซียให้ความร่วมมือกับเรา เขาไม่อึดอัด เพราะเราเน้นแนวทางเจรจา คนก่อเหตุมี 2 สัญชาติ ถ้าไปขอให้เขาจับตัวมา บางทีเขาก็อึดอัด ในอดีตยุคจีนคอมมิวนิสต์ (จคม.) มีจีนเป็งเป็นหัวหน้า มีฐานที่มั่นอยู่ในประเทศไทย เป็นกลุ่มที่จ้องจะล้มรัฐบาลมาเลเซีย วันหนึ่งรัฐบาลมาเลเซียมาเจรจากับไทย เราก็ให้ความร่วมมือ เลยเป็นที่มาของความสงบ โดยมีประเทศไทยกับรัฐบาลมาเลเซียให้ความร่วมมือในการเจรจา วันนี้ถ้าในประเทศไทยเราจะสงบขึ้น โดยให้มาเลเซียมาช่วยเจรจาบ้างจะเป็นอะไรไป จะเสียหายตรงไหน ทุกอย่างอยู่ที่การเจรจา มั่นใจว่าเราเจรจาถูกคน หรือพวกที่มีหมายจับในสมัยรัฐบาลผม จำหน้าได้หมด แต่พูดไม่ได้อะไรเป็นใคร ยังไง ที่เห็นอยู่เป็นตัวจริงทั้งนั้น ไม่ใช่ตัวปลอม แต่การเจรจามันอาจไม่สงบทีเดียวเพียงชั่วข้ามคืน ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้เวลาและก็น่ายินดีที่รัฐบาลมาเลเซียโดยเฉพาะท่านนาจิบราซัdให้ความร่วมมือ
    เกมการเมือง เบื้องหน้าเบื้องหลัง ก่อนนำมาสู่การลงนาม 28 ก.พ. และที่กำลังจะเจรจาอีกรอบในวันที่ 28 มี.ค. ปฏิเสธไม่ได้ว่าทักษิณมีส่วนร่วมอยู่ไม่น้อย บนเป้าหมายที่มีบางอย่างแอบแฝง ในกระแสข่าวที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเกมการเมือง กลยุทธ์อันแยบยลของทักษิณที่หวังจะให้การเจรจา หากเหตุการณ์ความไม่สงบเบาบางลงอย่างมาก จะถือเป็นความสำเร็จ จะใช้เรื่องนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างในการทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ อันเนื่องจากได้ทำคุณงามความดีให้แผ่นดิน
    โดยงานนี้ วิน-วินทุกฝ่าย หากสำเร็จอย่างที่หวัง รัฐบาลจะได้ทั้งผลงาน คำชม แต่คนที่สมประโยชน์ที่อาจได้ทั้งกล่องพร้อมกับปลดโซ่ตรวนทางความผิด คงหนีไม่พ้นนักธุรกิจการเมืองนาม "ทักษิณ ชินวัตร" นั่นเอง.






วิเคราะห์การเมือง ๑ -๒๕ มี.ค.๕๖
ท่าทีรัฐบาลไทยต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นับวันดูเหมือนจะถูกยกระดับความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ 28 ก.พ. ฝ่ายไทยและกลุ่มบีอาร์เอ็นลงนามแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ทว่าคล้อยหลังไม่กี่อึดใจ ได้เกิดเหตุระเบิดในบางพื้นที่ จนกระทั่งไม่นานมานี้ก็ต้องมาเสียนายตำรวจฝีมือดี    ยังคงสะท้อนให้เห็นว่า การเจรจาที่ตั้งโต๊ะลงนามไปแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 28 มี.ค. ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ความไม่สงบเบาบางลงไปเลย    แกนนำบีอาร์เอ็นหลายคน ทางการไทยเคยต้องการตัวมาดำเนินคดี แต่หลังจากการเจรจา ลงนามเมื่อ 28 ก.พ. เท่ากับเรายอมรับในขบวนการบีอาร์เอ็น และเป็นการยกระดับองค์กรให้เขาตามที่กองทัพกังวล จากผู้ต้องหาแปรสภาพมาเป็นผู้ร่วมโต๊ะเจรจาที่ทางการไทย
              การเจรจาลงนามเกิดขึ้นมาท่ามกลางกระแสข่าว รัฐปัตตานี อันเป็นปลายทางของขบวนการผู้ก่อความไม่สงบ เพราะอุดมการณ์ของเขาคือการแบ่งแยกดินแดน แต่เมื่อไม่สามารถแบ่งแยกดินแดน จึงจำเป็นต้องลดโทนลงมา ส่วนจะยื่นข้อเสนอเป็นรูปแบบมหานครรัฐปัตตานี หรือเขตปกครองพิเศษ  ยังไม่ได้มีการหารือกันเลย แต่เรายังไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าเขาจะเสนออย่างไรมา และหากเสนอมาก็ต้องมาพูดคุยกันในหลายฝ่ายให้ตกผลึกก่อนแต่เรายืนยันจะยืนหยัดตามกรอบรัฐธรรมนูญแต่จุดหมายปลายทางของขบวนการคือรัฐปัตตานีแต่ความประสงค์เหมือนการแบ่งแยกดินแดนเลยลดโทนเป็นเพียงมหานครปัตตานี
              ส่วนการเจรจาที่จะนำไปสู่สันติภาพอย่างถาวรนั้นหากเกิดบนพื้นฐานแห่งความจริงใจเพื่อชาติบ้านเมืองจริงๆคงไม่มีใครคัดค้านแต่ไม่ควรเกิดขึ้นบนการแลกเปลี่ยนซ่อนเงื่อนในผลประโยชน์ตัวเอง 
              ในการเดินทางไปมาเลเซียเพื่อพบปะผู้นำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้นมีหน่วยงานราชการไทยอย่างน้อย 2 หน่วยงานได้คัดค้านอย่างเต็มที่ ที่ทราบคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้คัดค้านอย่างแข็งขัน แต่ไม่สำเร็จ โดยระบุเหตุผลชัดเจนว่าเป็นการยกระดับและเป็นการเปิดช่องให้มีการแทรกแซงรัฐไทย
               สิ่งที่ชัดเจนยิ่งขึ้นคือ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 พล.ท.ภราดรได้ตอบคำถามสื่อชัดแล้วว่า ที่สุดแล้วต้องมาคุยถึงเขตปกครองพิเศษ และในการพูดคุยในครั้งหน้าจะมีการพูดคุยเรื่องทรัพยากรในพื้นที่ คือก๊าซและน้ำมันที่มีมากในลักษณะทำนองเดียวกับที่เคยเอื้อประโยชน์ให้กับกัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลฝั่งอ่าวไทยกับผู้นำกัมพูชา และครั้งนี้ก็เอื้อประโยชน์ให้นายนาจิบ ราซัก ผู้นำมาเลเซียที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะพื้นที่ภาคเหนือของมาเลเซียนั้น พรรคอัมโนของนายนาจิบไม่ได้รับความนิยม
แนวโน้มสถานการณ์
              ก่อนนำมาสู่การลงนาม 28 ก.พ. และที่กำลังจะเจรจาอีกรอบในวันที่ 28 มี.ค. ปฏิเสธไม่ได้ว่าทักษิณมีส่วนร่วมอยู่ไม่น้อย บนเป้าหมายที่มีบางอย่างแอบแฝง ในกระแสข่าวที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเกมการเมือง กลยุทธ์อันแยบยลของทักษิณที่หวังจะให้การเจรจา หากเหตุการณ์ความไม่สงบเบาบางลงอย่างมาก จะถือเป็นความสำเร็จ จะใช้เรื่องนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างในการทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ อันเนื่องจากได้ทำคุณงามความดีให้แผ่นดิน
               โดยงานนี้ ได้รับผลประโยชน์ทุกฝ่าย หากสำเร็จอย่างที่หวัง รัฐบาลจะได้ทั้งผลงาน คำชม แต่คนที่สมประโยชน์ที่อาจได้ทั้งกล่องพร้อมกับปลดโซ่ตรวนทางความผิด คงหนีไม่พ้นนักธุรกิจการเมืองนาม "ทักษิณ ชินวัตร" นั่นเอง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น