วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

รายงานการเมือง เมื่อ ๒๒ มี.ค.๕๖



รายงานการเมือง
       ยังคาราคาซังไม่สะเด็ดน้ำเสียทีสำหรับการรับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. 
        ที่ "คุณชายหมู" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ว่าที่ผู้ว่าฯกทม.จากพรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้งมาแบบสนุกสุดมัน ได้คะแนนล้านสอง ชนะคู่แข่งสำคัญอย่าง "จูดี้" พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยที่ได้คะแนนมาเกินล้านเหมือนกัน
       ทางฟากตัวผู้แพ้ก็ยอมรับผล พร้อมทั้งแถลงยอมรับความพ่ายแพ้ไปตั้งนานแล้ว "พงศพัศ" ไม่ติดใจร้องแรกแหกกระเชอ พยายามมุดหัวกลับเข้าไปขอรับราชการตามเดิมที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งก็เปิดทางปูพรมแดงไว้แล้ว พรรคเพื่อไทยแค่ขอตัวมาชั่วคราว หากชนะก็เป็นผู้ว่าฯกทม. หากแพ้ก็กลับเข้ารับราชการตามเดิม พร้อมแต่งตัวรอเป็นผบ.ตร.ในอนาคตและหลังจากนั้นก็เป็นรมต.ตามสเต็ป!!
       แต่ที่แอบลุ้นกันอยู่ก็คือ ฟากฝั่งพรรคเพื่อไทย แกนนำสั่งการลิ่วล้อ ตลอดจนเครือข่ายส.ส.กทม. ส.ก. และ ส.ข. ให้เตรียมพร้อมทันที หากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชักใบเหลือง หรือใบแดง ก็ต้องมาลุยกันใหม่ หลายคนภาวนาอย่าเลือกใหม่เลยให้ตายเถอะทั้งเหนื่อยทั้งขี้เกียจ!!
       ถึงชั่วโมงนี้กกต.ยังไม่ประกาศรับรองให้ "คุณชายหมู" เป็นผู้ว่าฯกทม. ท่ามกลางการลุ้นระทึกของพลพรรคประชาธิปัตย์ สดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองบอกว่ากกต.ใหญ่ยังไม่พิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และก็ยังไม่ได้นำเรื่องบรรจุเข้าวาระการประชุมกกต.กลางในวันที่ 20 มี.ค. เบื้องต้นคำร้องคัดค้านที่ กกต.กทม.เสนอมาอยู่ที่ฝ่ายสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยของกกต.กลาง จะสามารถบรรจุเข้าวาระที่ประชุมกกต.ได้ในสัปดาห์หน้า
       "หากกกต.ยังพิจารณาเรื่องร้องคัดค้านไม่แล้วเสร็จในระยะเวลา 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ก็ต้องประกาศรับรองไปก่อน หากตรวจสอบพบว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งกระทำการเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้งเลือกตั้ง กกต.ก็จะมีมติเสนอใบเหลืองใบแดงไปยังศาลอุทธรณ์ให้พิจารณาวินิจฉัยต่อไป"
       สำหรับกรอบเวลา 30 วัน ที่กกต.บอกนั้น ดีดนิ้วดูจะครบวันที่ 2 เม.ย. แว่วข่าวจากวงในกกต.ต้องประกาศรับรองให้ "ชายหมู" เป็นผู้ว่าฯกทม.ไปก่อน แล้วค่อยไปตามสอยทีหลัง เรื่องร้องเรียนที่เหลือกกต.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน1 ปี นับแต่วันประกาศผลเลือกตั้ง แต่คนที่จะวินิจฉัยชี้ขาดคือ ศาลอุทธรณ์
       คำร้องคัดค้านที่กกต.กลางรับเรื่องมาจาก กกต. กทม. หลักๆ มี 2 เรื่อง คือ เรื่องที่นายศิริโชค โสภา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ภาพตัดต่อจากเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองเมื่อวันช่วงพฤษภา 53 อีกเรื่องคือกรณีที่เสรีวงษ์มณฑานักวิชาการโพสต์ข้อความชี้นำบอกให้เลือกเบอร์16
       กระนั้นก็ตาม ฟากพรรคประชาธิปัตย์ยังมีความมั่นใจว่า "ชายหมู" จะไม่โดนสอยง่ายๆ แน่นอน องอาจ คล้ามไพบูลย์ โวแหลกประชาธิปัตย์ไม่หวั่นไหวใดๆ มั่นใจว่า "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" จะได้รับการรับรองเป็นผู้ว่าฯกทม.แน่ โดยดูจากท่าทีของกกต. กทม. ที่ไม่เรียก "ชายหมู" เข้าไปชี้แจงแต่อย่างใด นั่นหมายความว่าข้อมูล หลักฐาน น่าจะไม่ชัดเจนถึงขั้นต้องเรียกเจ้าตัวไปแก้ต่าง นำไปสู่การชัก ใบเหลือง - ใบแดงพร้อมออกโรงจวกพวกปล่อยข่าวว่าจะมีการแจกใบเหลืองใบแดงว่าเป็นพวกลวงโลกเหลวไหล
       แต่อาการยักท่าของกกต. ไม่รับรองกันทันทีทันใดแบบนี้ มันก็ทำเอาใจหวิวเหมือนกัน เรื่องที่ "เสรี วงษ์มณฑา" บอกให้เลือกเบอร์ 16 ก็มีการถกเถียงอย่างกว้างขวางว่ามันเกี่ยวอะไรกับพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเจ้าตัวก็ไม่ได้เกี่ยวข้องเกี่ยวพันกับพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง แค่เป็นพวกสนับสนุน เพียงแต่มีหน้ามีตาในสังคมก็เท่านั้น
       เจ้าตัวก็ออกมาปรี๊ดแตกเช่นกัน ถ้ากกต.ตัดสินว่ากรณีของตัวเองไปเกี่ยวพันจนเป็นเหตุให้ "ชายหมู" ต้องได้ใบแดงใบเหลืองก็เป็นตลกร้ายสิ้นดี!!
       แต่เรื่องของ "วอลเปเปอร์" ศิริโชค โสภา ดูแล้วน่าจะมีน้ำหนักมากกว่า เพราะเกี่ยวข้องเกี่ยวพันโดยตรง
       ล่าสุดยังมีคำร้องคัดค้านของลูกอีช่างร้อง "เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" อดีตส.ว.สรรหา ได้เข้าให้ถ้อยคำเพิ่มเติมต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนสอบสวนของ กกต.กทม. กรณีที่ก่อนหน้านี้ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)ว่า การที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ได้รับเลือกตั้ง และพรรคประชาธิปัตย์ออกนโยบายหาเสียง ว่า หากได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม.จะตั้งที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญรวม 31 คน เข้าข่ายผิดมาตรา 57(1) (5) ของพ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น เพราะข้อเท็จจริงพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 กำหนดให้แต่งตั้งได้ไม่เกิน9คน
       ประเด็นนี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ห่วง เพราะบอกชัดว่าเป็นการแต่งตั้งที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญกิตติมศักดิ์ ไม่มีการรับเงินเดือนตั้งแบบนี้ความจริงตั้งได้เป็นร้อย!!
       ดังนั้นถึงที่สุดแล้วพรรคประชาธิปัตย์มั่นใจว่าคำร้องคัดค้านทั้งหลายทั้งปวงน่าจะผ่านพ้นไปแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้นกกต.รับรองช้าก็แค่ทำให้เสียวเล่น
       แว่วเสียงนินทาว่ามันอาจเป็นความพยายามเคาะกะลา เรียกปัจจัยแลกเปลี่ยนใบแดง เหลือง เป็นใบขาว แต่ก็ไม่รู้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ไม่กล้าฟันธง จะใช้วิธีการเหมือนกกต.ชุดเก่าๆ หรือเปล่า อันนี้ไม่รู้!!
       กระนั้นก็ตามถ้าหากจับพลัดจับผลูต้องเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.กันใหม่ ก็ไม่รู้ว่าจะโกลาหลอลหม่านแค่ไหน คนกรุงเทพฯจะบ่นด้วยความเซ็งกันอย่างไร แล้วจะแสดงพลังในเรื่องนี้อย่างไร ทางหนึ่งก็อาจจะเบื่อไม่ออกไปใช้สิทธิซ้ำซากหรืออีกทางหนึ่งอาจออกไปใช้สิทธิ์หนักกว่าเก่าด้วยความคั่งแค้น!!
       พรรคประชาธิปัตย์มั่นใจเหลือเกินว่าคะแนนที่ได้มา 1.2 ล้าน ไม่น่าจะตกหล่นหายไปไหน ซ้ำร้ายอาจสวิงกลับมาเข้ากระเป๋าจากคะแนนสงสารจึงยักไหล่ไม่ยี่หระด้วยประการทั้งปวง
       ผิดแผกแตกต่างจากพรรคเพื่อไทยที่ต่างคนต่างบอก ไม่เอาแล้ว!! ไม่ไหวแล้ว!! บรรดารัฐมนตรี ส.ส. ไม่เป็นอันทำการทำงาน ต้องหันหน้ามาทุ่มเทศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ตามใบสั่งแบบเสียไม่ได้ อีกทั้งยังประเมินแล้วว่าเลือกใหม่ก็คงแพ้อีก ดีไม่ดีอาจหลุดลุ่ย แพ้ขาดขายขี้หน้ากว่าเดิม ฉะนั้นอย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยนดีกว่า
       ถ้าถึงเวลาจริงๆ ถามตัวผู้สมัครหรือยังว่าจะเอาอีกหรือเปล่า ชั่วโมงนี้ "พงศพัศ" หายเข้ากลีบเมฆไปแล้ว ไม่มีความกระสันจะออกมาตะลอนหาเสียงอีก ถือว่าทำงานปิดจ๊อบไปแล้ว รอเพียงผลตอบแทนในอนาคตก็พอ
 

สรุปข่าวประจำเดือน ตั้งแต่ ๑ -๒๓ มีนาคม ๕๖

สำหรับการรับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร  ว่าที่ผู้ว่าฯกทม.จากพรรค ปชป.ชนะการเลือกตั้ง ซึ่ง กกต.มีมติไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.หลังพบมีเรื่องร้องคัดค้าน ซึ่ง กกต.กทม. มีมติเอกฉันท์รับ ๒ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ๒ พรรคการเมืองใหญ่ คือ เรื่องที่นายสุริยะใส กตะศิลา ร้องนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจหน้าที่มิชอบช่วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครหมายเลข ๙ หาเสียงที่กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่มาให้การต้อนรับและเรื่องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ร้องเรียนกรณีแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ หาเสียงช่วย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้สมัครหมายเลข ๑๖ หาเสียง ฝ่าฝืน มาตรา ๕๗() พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่ง กกต.กทม. จะเร่งสืบสวนสอบสวนก่อนส่งให้ กกต.กลาง พิจารณา หาก กกต.ยังพิจารณาเรื่องร้องคัดค้านไม่แล้วเสร็จในระยะเวลา ๓๐ วันนับแต่วันเลือกตั้งก็ต้องประกาศรับรองไปก่อนหากตรวจสอบพบว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งกระทำการเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง กกต.ก็จะมีมติเสนอใบเหลืองใบแดงไปยังศาลอุทธรณ์ให้พิจารณาวินิจฉัยต่อไป
              สำหรับระยะเวลาที่กำหนดใน ๓๐ วัน ที่ กกต.บอกนั้น จะครบในวันที่  เม.ย.๕๖ โดยมีข่าวว่า กกต.จะต้องประกาศรับรองให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม.ไปก่อน แล้วจึงไปดำเนินการสอบสวนภายหลัง ส่วนเรื่องร้องเรียนที่เหลือ กกต.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันประกาศผลเลือกตั้ง

แนวโน้มสถานการณ์
ถ้าหากต้องมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.กันใหม่คนกรุงเทพฯ คงจะแสดงพลังในเรื่องนี้อย่างไร ทางหนึ่งก็อาจจะเบื่อไม่ออกไปใช้สิทธิ์หรืออีกทางหนึ่งอาจออกไปใช้สิทธิ์หนักกว่าเก่าด้วยความคับแค้นโดยพรรค ปชป.มั่นใจว่าคะแนนที่ได้มา ๑.๒ ล้าน ไม่น่าจะตกหล่นหายไปไหน และอาจจะมีคะแนนสงสารเพิ่มขึ้น ส่วนพรรคเพื่อไทยมีการประเมินแล้วว่าถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ก็คงแพ้อีกดีไม่ดีอาจแพ้คะแนนมากกว่าเดิมอีก    

ข่าว เมื่อ ๒๕ มี.ค.๕๖
1.  สถานการณ์ด้านการเมือง
ในห้วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมากลุ่มพลังมวลชนทางด้านการเมืองในพื้นที่กรุงเทพ และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ปรากฎความเคลื่อนไหว แต่อย่างใด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทางด้านการเมืองในภาพรวม ที่กระแสการเมืองส่วนใหญ่ต่างมุ่งไปที่ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.โดยที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร จากพรรค ปชป.ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง ในการเลือกตั้ง เมื่อ ๓ มี.ค.๕๖ แต่ กตต.มีมติ ๓ ต่อ ๑ เสียง เห็นควรยังไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าต้องสืบสวนสอบสวน กรณี ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ฯ ถูกร้องคัดค้านให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันหากไม่แล้วเสร็จ กตต.สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งไปก่อนได้ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลา ใน ๒ เม.ย.๕๖ แล้วค่อยไปจัดการที่หลัง ส่วนเรื่องร้องเรียนที่เหลือ กตต.จะนำไปพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันประกาศผลเลือกตั้ง ส่วนสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราของรัฐบาลได้มีการบรรจุเพื่อพิจารณาทั้ง ๓ ร่าง โดยจะเข้าสู่วาระการประชุมสภาใน ๑-๒ เม.ย.๕๖ นี้
 แนวโน้มสถานการณ์
ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม.จะยังไม่ประกาศผลก็ตามแต่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการประกาศผลไม่เกิน ๒ เม.ย.๕๖ แต่ถ้าจะมีการเลือกตั้งใหม่คาดว่า
จะยังคงมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง และองค์กรภาคประชาชน พยายามผลักดันให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองในห้วงที่ผ่านมา แต่คาดว่าฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐ พยายามจะหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินการในประเด็นที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง และส่งผลให้เสถียรภาพ  ของรัฐบาลไม่มั่นคง รวมทั้งต้องการคลี่คลายสถานการณ์และลดกระแสการต่อต้านเพื่อรักษาอำนาจทางการเมืองไว้ให้ได้นานที่สุด

สถานการณ์ภาคใต้ ตั้งแต่ ๑ -๒๕ มี.ค.๕๖
ท่าทีรัฐบาลไทยต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นับวันดูเหมือนจะถูกยกระดับความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อ ๒๘ก.พ.๕๖ฝ่ายไทยและกลุ่มบีอาร์เอ็นลงนามแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ทว่าคล้อยหลังไม่กี่อึดใจ ได้เกิดเหตุระเบิดในบางพื้นที่ จนกระทั่งไม่นานมานี้ก็ต้องมาเสียนายตำรวจฝีมือดี    ยังคงสะท้อนให้เห็นว่า การเจรจาที่ตั้งโต๊ะลงนามไปแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ ๒๘มี.ค.๕๖ ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ความไม่สงบเบาบางลงไปเลย    แกนนำบีอาร์เอ็นหลายคนทางการไทยเคยต้องการตัวมาดำเนินคดี แต่หลังจากการเจรจาลงนามเมื่อ ๒๘ก.พ.๕๖ เท่ากับเรายอมรับในขบวนการบีอาร์เอ็น และเป็นการยกระดับองค์กรให้เขาตามที่กองทัพกังวล จากผู้ต้องหาแปรสภาพมาเป็นผู้ร่วมโต๊ะเจรจาที่ทางการไทยพร้อมรับในข้อเสนอโดยจุดหมายปลายทางของขบวนการคือรัฐปัตตานีแต่ความประสงค์เหมือนการแบ่งแยกดินแดนเลยลดโทนเป็นเพียงมหานครปัตตานี
              สิ่งที่ชัดเจนยิ่งขึ้นคือ เมื่อวันที่ ๑๒ มี.ค.๕๖พล.ท.ภราดรได้ตอบคำถามสื่อชัดแล้วว่า ที่สุดแล้วต้องมาคุยถึงเขตปกครองพิเศษ และในการพูดคุยในครั้งหน้าจะมีการพูดคุยเรื่องทรัพยากรในพื้นที่คือก๊าซและน้ำมันที่มีมากซึ่งมีอีกหลายหลุมที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย ล้วนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและทางการเมืองของ  ๒ ฝ่าย ในลักษณะทำนองเดียวกับที่เคยเอื้อประโยชน์ให้กับกัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลฝั่งอ่าวไทยกับผู้นำกัมพูชา และครั้งนี้ก็เอื้อประโยชน์ให้นายนาจิบ ราซัก ผู้นำมาเลเซียที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะพื้นที่ภาคเหนือของมาเลเซียนั้นพรรคอัมโนของนายนาจิบไม่ได้รับความนิยมแต่หากมีการเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ก็จะได้รับความนิยมที่สำคัญก็จะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนธุรกิจของไทยเช่นเดียวกัน  
แนวโน้มสถานการณ์ ก่อนนำมาสู่การลงนาม ๒๘ก.พ.๕๖ และที่กำลังจะเจรจาอีกรอบในวันที่ ๒๘มี.ค.๕๖ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเป้าหมายที่มีบางอย่างแอบแฝง ในกระแสข่าวที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเกมการเมือง กลยุทธ์อันแยบยลที่หวังจะให้มีการเจรจา หากเหตุการณ์ความไม่สงบเบาบางลงอย่างมาก จะถือเป็นความสำเร็จ โดยงานนี้ จะได้รับผลประโยชน์ทุกฝ่าย หากสำเร็จอย่างที่หวัง รัฐบาลจะได้ทั้งผลงาน และการสนับสนุนจากประชาชนต่อไป
ข่าว เมื่อ ๒๕ มี.ค.๕๖
1.  สถานการณ์ด้านการเมือง
ในห้วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมากลุ่มพลังมวลชนทางด้านการเมืองในพื้นที่กรุงเทพ และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ปรากฎความเคลื่อนไหว แต่อย่างใด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทางด้านการเมืองในภาพรวม ที่กระแสการเมืองส่วนใหญ่ต่างมุ่งไปที่ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.โดยที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร จากพรรค ปชป.ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง ในการเลือกตั้ง เมื่อ ๓ มี.ค.๕๖ แต่ กตต.มีมติ ๓ ต่อ ๑ เสียง เห็นควรยังไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ซึ่งมีเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ทั้งหมด ๒๔ คำร้อง ไม่รับคำร้อง ๑๒ คำร้อง ,เสนอให้ กกต.กลางพิจารณาแล้ว ๒ คำร้อง อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาว่าจะรับคำร้องหรือไม่ ๗ คำร้อง ส่วนที่เหลืออีก ๒ คำร้อง ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์รับเป็นคำร้องคัดค้าน โดยเป็นคำร้องของนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ร้องขอให้ตรวจสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบช่วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย หาเสียงที่กองพันทหารราบที่ ๑กรมทหารราบที่๑มหาดเล็กรักษาพระองค์  
          ส่วนอีกคำร้องเป็น กรณี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พร้อมด้วยแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ทำผิด พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ และ ปราศรัยจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าใจผิดในคะแนนนิยมต่อผู้สมัครอื่น  หากตรวจสอบแล้วพบว่า ทั้ง 2 กรณีผิดจริง จะมีโทษตามมาตรา 118 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑-๑๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐-๒๐๐,๐๐๐ บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ๑๐ ปี ดังนั้น หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์มีความผิดและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง จะพ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส.และส่งผลต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ หากผิดจริง จะเข้าข่ายความผิดฐานยุบพรรคและอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ๕ ปี ตามมาตรา 104 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองด้วย  
             
ส่วนสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราของรัฐบาล โดยจะยื่นร่างแก้ไขแยกเป็น ๓ ร่าง ร่างละ ๑ ประเด็น คือ .แก้ไขมาตรา 237 (ให้ยกเลิกการยุบพรรคและการตัดสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ๕ ปี) รวมทั้งจะแก้ไขมาตรา 68 (ประชาชนที่พบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ให้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดได้เพียงหน่วยงานเดียว ไม่สามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป) ๒.แก้ไขมาตรา 190 (สัญญาระหว่างประเทศที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จะแก้ไขให้ผ่อนคลายมากขึ้น) 3.แก้ไขมาตรา 117 เรื่องที่มาของ ส.ว.โดยจะให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ต้องมี ส.ว.สรรหา   โดยจะเข้าสู่วาระการประชุมสภาใน๑-๒เม.ย.๕๖
 แนวโน้มสถานการณ์
ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม.จะยังไม่ประกาศผลก็ตามแต่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการประกาศผลไม่เกิน ๒ เม.ย.๕๖ โดยมีเหตุผลว่าจะต้องสืบสวนสอบสวนเรื่องที่ถูกร้องคัดค้านให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันหากไม่แล้วเสร็จ กตต.สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งไปก่อนได้ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลา ใน ๒ เม.ย.๕๖ แล้วค่อยไปจัดการที่หลัง ส่วนเรื่องร้องเรียนที่เหลือ กตต.จะนำไปพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันประกาศผลเลือกตั้ง
สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เป็นที่น่าสังเกตว่า เริ่มมี ส.ว.บางคนขอถอนชื่อจากการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราแล้ว โดยให้เหตุผลว่า ไม่ทราบมาก่อนว่ามีการเสนอแก้ไขมาตรา 68 ด้วย และคิดว่าการแก้ไขให้ประชาชนยื่นเรื่องที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองต่ออัยการสูงสุดแค่ช่องทางเดียว ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะอัยการสูงสุดมีแค่คนเดียว แต่ศาลรัฐธรรมนูญมี ๙ คน จึงเห็นว่าการยื่นได้ ๒ ทาง ดีอยู่แล้ว  แต่ถ้าหากมีการแก้ไขมาตรา 68 ได้สำเร็จ จะทำให้โอกาสในการพิจารณาการแก้ไขมาตรา 291 ซึ่งอยู่ระหว่างรอโหวตในวาระ3สามารถดำเนินการได้ด้วยความชอบธรรม  คาดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราจะแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.๕๖ นี้ 



๑.      สถานการณ์ด้านการเมือง
ในห้วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมากลุ่มพลังมวลชนทางด้านการเมืองในพื้นที่กรุงเทพ และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ปรากฎความเคลื่อนไหว แต่อย่างใด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทางด้านการเมืองในภาพรวม ที่กระแสการเมืองส่วนใหญ่ต่างมุ่งไปที่ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.โดยที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร จากพรรค ปชป.ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง ในการเลือกตั้ง เมื่อ ๓ มี.ค.๕๖ แต่ กตต.มีมติ ๓ ต่อ ๑ เสียง เห็นควรยังไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง เนื่องจากมีเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ทั้งหมด ๒๔ คำร้อง แต่ที่ ประชุม กตต.มีมติเอกฉันท์รับเป็นคำร้องคัดค้าน ๒ คำร้อง โดยเป็นคำร้องขอให้ตรวจสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์      ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบช่วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย   หาเสียงที่กองพันทหารราบที่๑กรมทหารราบที่๑มหาดเล็กรักษาพระองค์    
          ส่วนอีกคำร้องเป็น กรณี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พร้อมด้วยแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ทำผิด พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ และ ปราศรัยจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าใจผิดในคะแนนนิยมต่อผู้สมัครอื่น  หากตรวจสอบแล้วพบว่า ทั้ง ๒ กรณีผิดจริง จะทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์มีความผิดและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง จะพ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส.และส่งผลต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ หากผิดจริง จะเข้าข่ายความผิดฐานยุบพรรคและอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง๕ปีตามมาตรา๑๐๔ของพ.ร.บ.พรรคการเมืองด้วย  
             ส่วนสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราของรัฐบาล โดยจะยื่นร่างแก้ไขแยกเป็น ๓ ร่าง ร่างละ ๑ ประเด็น คือ .แก้ไขมาตรา ๒๓๗ เกี่ยวกับการให้ยกเลิกการยุบพรรคและการตัดสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ๕ ปี รวมทั้งจะแก้ไขมาตรา ๖๘ เกี่ยวข้องกับประชาชนที่พบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ให้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดได้เพียงหน่วยงานเดียว ไม่สามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป ๒.แก้ไขมาตรา ๑๙๐ เกี่ยวกับการสัญญาระหว่างประเทศที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จะแก้ไขให้ผ่อนคลายมากขึ้น ๓.แก้ไขมาตรา ๑๑๗ เกี่ยวกับเรื่องที่มาของ ส.ว.โดยจะให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ต้องมี ส.ว.สรรหา  โดยได้มีการบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภาใน ๑-๒ เม.ย.๕๖ นี้
 แนวโน้มสถานการณ์
ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม.จะประกาศผลการเลือกตั้งให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.อีกสมัยหนึ่ง แต่ กตต.ก็จะนำเรื่องร้องเรียนที่เหลือไปพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันประกาศผลเลือกตั้ง แต่ก็ยังมีประเด็นที่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นเงื่อนไข และสิ่งบอกเหตุอีกมาก ที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าความขัดแย้งแตกแยกทางความคิด และการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองยังคงดำรงอยู่ ดังนั้นจึงเชื่อว่าเมื่อมีเงื่อนไข รวมทั้งเวลา และสถานการณ์ที่เหมาะสม สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ ก็จะเกิดขึ้นอีกครั้ง
๒.     สถานการณ์ภาคใต้
ท่าทีรัฐบาลไทยต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นับวันดูเหมือนจะถูกยกระดับความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อ ๒๘ก.พ.๕๖ฝ่ายไทยและกลุ่มบีอาร์เอ็นลงนามแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ทว่าคล้อยหลังไม่กี่อึดใจ ได้เกิดเหตุระเบิดในบางพื้นที่ จนกระทั่งไม่นานมานี้ก็ต้องมาเสียนายตำรวจฝีมือดี    ยังคงสะท้อนให้เห็นว่า การเจรจาที่ตั้งโต๊ะลงนามไปแล้ว และได้มีการลงนามอีกครั้งในวันที่ ๒๘มี.ค.๕๖ ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ความไม่สงบเบาบางลงไปเลย    แกนนำบีอาร์เอ็นหลายคนทางการไทยเคยต้องการตัวมาดำเนินคดี แต่หลังจากการเจรจาลงนามเมื่อ ๒๘ก.พ.๕๖ เท่ากับเรายอมรับในขบวนการบีอาร์เอ็น และเป็นการยกระดับองค์กรให้เขาตามที่กองทัพกังวล จากผู้ต้องหาแปรสภาพมาเป็นผู้ร่วมโต๊ะเจรจาที่ทางการไทยพร้อมรับในข้อเสนอโดยจุดหมายปลายทางของขบวนการคือรัฐปัตตานีแต่ความประสงค์เหมือนการแบ่งแยกดินแดนเลยลดโทนเป็นเพียงมหานครปัตตานี
              สิ่งที่ชัดเจนยิ่งขึ้นคือ เมื่อ ๑๒ มี.ค.๕๖ พล.ท.ภราดร ได้ตอบคำถามสื่อชัดแล้วว่า ที่สุดแล้วต้องมาคุยถึงเขตปกครองพิเศษ และในการพูดคุยในครั้งหน้าจะมีการพูดคุยเรื่องทรัพยากรในพื้นที่คือก๊าซและน้ำมันที่มีมากซึ่งมีอีกหลายหลุมที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซียล้วนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและทางการเมืองของ ๒ ฝ่าย ในลักษณะทำนองเดียวกับที่เคยเอื้อประโยชน์ให้กับกัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลฝั่งอ่าวไทยกับผู้นำกัมพูชา และครั้งนี้ก็เอื้อประโยชน์ให้นายนาจิบ ราซัก ผู้นำมาเลเซียที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะพื้นที่ภาคเหนือของมาเลเซียนั้นพรรคอัมโนของนายนาจิบไม่ได้รับความนิยมแต่หากมีการเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ก็จะได้รับความนิยมที่สำคัญก็จะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนธุรกิจของไทยเช่นเดียวกัน 
แนวโน้มสถานการณ์
ก่อนนำมาสู่การลงนามเมื่อ ๒๘ ก.พ.๕๖ และมีการเจรจาอีกรอบใน ๒๘ มี.ค.๕๖ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเป้าหมายที่มีบางอย่างแอบแฝง ในกระแสข่าวที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเกมการเมือง กลยุทธ์อันแยบยลที่หวังจะให้มีการเจรจา หากเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดความเบาบางลงอย่างมาก จะถือเป็นความสำเร็จ และได้ทำคุณงามความดีให้แผ่นดิน โดยงานนี้ ได้รับผลประโยชน์ทุกฝ่าย หากสำเร็จอย่างที่หวังรัฐบาลจะได้ทั้งผลงานและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากยิ่งขึ้น


สรุปข่าวด้านการเมือง เดือน มีนาคม ๒๕๕๖
๑.      สถานการณ์ด้านการเมือง
ในห้วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมากลุ่มพลังมวลชนทางด้านการเมืองในพื้นที่กรุงเทพ และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ปรากฎความเคลื่อนไหว แต่อย่างใด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทางด้านการเมืองในภาพรวม ที่กระแสการเมืองส่วนใหญ่ต่างมุ่งไปที่ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.โดยที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร จากพรรค ปชป.ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง ในการเลือกตั้ง เมื่อ ๓ มี.ค.๕๖ แต่ กตต.มีมติ ๓ ต่อ ๑ เสียง เห็นควรยังไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าต้องสืบสวนสอบสวน กรณี ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ฯ ถูกร้องคัดค้านให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วันหากไม่แล้วเสร็จ กตต.สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งไปก่อนได้ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลา ใน ๒ เม.ย.๕๖ แล้วค่อยไปจัดการที่หลัง ส่วนเรื่องร้องเรียนที่เหลือ กตต.จะนำไปพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันประกาศผลเลือกตั้ง
ส่วนสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราของรัฐบาล โดยจะยื่นร่างแก้ไขแยกเป็น ๓ ร่าง ร่างละ ๑ ประเด็น คือ .แก้ไขมาตรา ๒๓๗ เกี่ยวกับการให้ยกเลิกการยุบพรรคและการตัดสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ๕ ปี รวมทั้งจะแก้ไขมาตรา ๖๘ เกี่ยวข้องกับประชาชนที่พบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ให้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดได้เพียงหน่วยงานเดียว ไม่สามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป ๒.แก้ไขมาตรา ๑๙๐ เกี่ยวกับการสัญญาระหว่างประเทศที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จะแก้ไขให้ผ่อนคลายมากขึ้น ๓.แก้ไขมาตรา ๑๑๗ เกี่ยวกับเรื่องที่มาของ ส.ว.โดยจะให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ต้องมี ส.ว.สรรหา  โดยได้มีการบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภาใน ๑-๓ เม.ย.๕๖ นี้
 แนวโน้มสถานการณ์
ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม.จะประกาศผลการเลือกตั้งให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.อีกสมัยหนึ่ง แต่ก็ยังมีประเด็นที่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นเงื่อนไข และสิ่งบอกเหตุอีกมาก ที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าความขัดแย้งแตกแยกทางความคิด และการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองยังคงดำรงอยู่ ดังนั้นจึงเชื่อว่าเมื่อมีเงื่อนไข รวมทั้งเวลา และสถานการณ์ที่เหมาะสม สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ ก็จะเกิดขึ้นอีกครั้ง
๒.     สถานการณ์ภาคใต้
ท่าทีรัฐบาลไทยต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นับวันดูเหมือนจะถูกยกระดับความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อ ๒๘ ก.พ.๕๖ และ ๒๘ มี.ค.๕๖ ฝ่ายไทย,กลุ่มบีอาร์เอ็นและพูโลได้ลงนามเจรจาเพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ทว่าคล้อยหลังก็เกิดเหตุระเบิดในบางพื้นที่ จนทำให้เจ้าหน้าที่ต้องมาเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ  ยังคงสะท้อนให้เห็นว่า การเจรจาที่ตั้งโต๊ะลงนามไปแล้ว และจะมีการเจรจาอีกรอบ ใน ๒๙ เม.ย.๕๖ นี้ก็ตาม คงจะไม่ได้ทำให้สถานการณ์ความไม่สงบเบาบางลงไปเลย    แต่ก่อนแกนนำบีอาร์เอ็นและพูโล หลายคนทางการไทยเคยต้องการตัวมาดำเนินคดี แต่หลังจากการเจรจาลงนามเมื่อ ๒๘ก.พ.๕๖ เท่ากับเรายอมรับในขบวนการบีอาร์เอ็นและพูโลโดยมีการยกระดับองค์กรให้เขาตามที่กองทัพกังวลจากผู้ต้องหาแปรสภาพมาเป็นผู้ร่วมโต๊ะเจรจาที่ทางการไทยพร้อมรับในข้อเสนอโดยจุดหมายปลายทางของขบวนการคือรัฐปัตตานี
 แนวโน้มสถานการณ์
ก่อนนำมาสู่การลงนาม จำนวน ๒ ครั้ง และจะมีการลงนามอีก ใน ๒๙ เม.ย.๕๖ นี้คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเป้าหมายที่มีบางอย่างแอบแฝง ในกระแสข่าวที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเกมการเมือง กลยุทธ์อันแยบยลที่หวังจะให้มีการเจรจา หากเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดความเบาบางลงอย่างมาก จะถือเป็นความสำเร็จ และได้ทำคุณงามความดีให้แผ่นดิน โดยงานนี้ได้รับผลประโยชน์ทุกฝ่าย หากสำเร็จอย่างที่หวังรัฐบาลจะได้ทั้งผลงานและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากยิ่งขึ้น
๓.      สถานการณ์ยาเสพติด
ในพื้นที่กรุงเทพ  และ  ปริมณฑล ยังคงมีการตรวจพบ และ จับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอย่าง
ต่อเนื่อง โดยในห้วงมีนาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ  ได้จับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน ๑๐ คน มีผู้ต้องหา รวม ๑๐ คน โดยมีเหตุการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดที่น่าสนใจคือ  
เมื่อ ๒๐ มี.ค.๕๖  เวลา ๑๐๓๐ ตำรวจ ปปส. ได้แถลงผลจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดชาวไทยใหญ่ย่านบางแค โดยจับกุมผู้ต้องหาได้ทั้งหมด ๘ คน เป็นชาย ๖ คน  หญิง ๒ คน  ตรวจยึดได้ของกลาง  เป็นยาบ้า ๔๐๐,๐๐๐ เม็ด และยาไอซ์ ๗ กก. รวมมูลค่ากว่า ๑๔๐ ล้านบาท พร้อมรถยนต์ ๒ คัน, รถจักรยานยนต์ ๒ คัน และโทรศัพท์มือถืออีก ๑๐ เครื่อง ซึ่ง จนท.จับกุมผู้ต้องหาทั้งหมดได้ขณะกำลังส่งยาที่ย่านดินแดง กทม.   
เมื่อ ๒๑ มี.ค.๕๖ ตำรวจกองบังคับการสืบสวนสอบสวนนครบาล เข้าจับกุมนายอำนาจ พงษ์กุหลาบ
และนายอิสรพงศ์ ถนอมผล  ตรวจยึดได้ของกลางเป็น ยาบ้า ๒๗๐,๐๐๐ เม็ด ยาไอซ์ ๑ กก. รวมมูลค่ากว่า       ๘๐ ล้านบาท พร้อมกับรถยนต์โตโยต้า ๑ คัน เป็นของกลาง โดยจับได้ที่บริเวณห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งย่านบางบัวทอง นนทบุรี  ทั้งนี้  ผู้ต้องหาได้ให้การรับสารภาพว่ามีนักโทษในเรือนจำบางขวางเป็นผู้สั่งการให้รับยาบ้าจากภาคเหนือและนำไปส่งตามจุดที่ผู้ค้ายาเสพติดมารับของต่อเท่านั้น โดยได้ค่าจ้างส่งยาบ้า มัดละ ๑๐,๐๐๐ บาท  ตำรวจอยู่ในระหว่างการขยายผลเครือข่ายร่วมขบวนการต่อไป
แนวโน้มสถานการณ์
ถึงแม้ว่ากลุ่มขบวนการยาเสพติดจะยังคงมีความพยายามในการลักลอบซื้อขายด้วยการหาวิธีหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่จากการปฎิบัติการเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ทุกหน่วย จึงคาดว่าการลักลอบจำหน่าย และเสพ จะทำให้ยากมากขึ้น และส่งผลให้การแพร่ระบาด น่าจะลดน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น