วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

มหานครปัตตานี เมื่อ 15 มี.ค.56




มหานครปัตตานี

หลังจากผ่านพ้นการลงนามสันติภาพระหว่างสภาความมั่นคงแห่งชาติกับกลุ่มบีอาร์เอ็น เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา คำถามอันเป็นที่ค้างคาใจหลายฝ่ายก็คือ อะไรเป็นข้อแลกเปลี่ยนที่ทำให้กลุ่มบีอาร์เอ็นตัดสินใจหันหน้ามาใช้วิธีเจรจาเพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จ.ชายแดนใต้ หลังจากต้องสู้รบกันมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี
และแล้วในวันนี้ เลขาสมช. ก็ยอมรับกับผู้สื่อข่าวว่าเงื่อนไขสำคัญหนึ่งในนั้นก็คือข้อตกลง เรื่องมหานครปัตตานี และอาจจะมีการพูดคุยกันในการการหารือครั้งต่อไปในวันที่ 28 มีนาคมนี้
ทั้งนี้เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า สรุปแล้วการหารือจะจบที่การตั้งมหานครปัตตานี ในการสร้างความสงบในพื้นที่ใช่หรือไม่ พล.ท.ภราดร ยอมรับว่า ใช่ แนวโน้มจะต้อง
ออกมาเป็นแบบนั้น
ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการตั้งมหานครปัตตานีนั้น ก็ต้องย้อนกลับไปพิจารณา การลงนามสันติภาพ โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมดก็คือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2556 พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ต.ท.สฤษดิ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ได้ร่วมพิธีลงนาม "general consensus document to launch a dialogue process for peace in the border province of southern Thailand"กับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น ได้แก่ นายฮัสซัน ตอยิบ หรือนายอาแซ เจ๊ะหลง รองเลขาธิการฯ และหัวหน้าสภาการเมืองของกลุ่มบีอาร์เอ็น พร้อมด้วยนายอาแว ยะบะ เลขานุการฝ่ายต่างประเทศ นายอับดุลเลาะห์ มาหะมะ ระดับนำฝ่ายอูลามา และนายอับดุลเลาะห์มาน ยะบะ ระดับนำฝ่ายการเมือง โดยมี พล.อ ตันสรี ดาโต๊ะสรี บิน โมฮัมเหม็ด ซิน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาเลเซีย เป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมเจดับเบิ้ลยู แมริออท กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
สำหรับเนื้อหาของการลงนามสันติภาพ เป็นดังนี้
"รัฐบาลไทยกำหนดให้เลขาธิการทั่วไปแห่งสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ณ ที่นี้หมายถึง พรรค A)เป็นหัวหน้าคณะในการสนับสนุนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยเรายินดีที่จะร่วมสร้างสันติภาพกับประชาชนผู้มีความคิดเห็นและอุดมการณ์ที่แตกต่างระหว่างรัฐ (ณ ที่นี้หมายถึง พรรค B) เพื่อเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนในการแก้ปัญหาในพื้นที่ชายแดนใต้ภายใต้กรอบและรัฐธรรมนูญของไทย ในขณะที่มาเลเซียยินดีที่จะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ ซึ่งทั้งนี้มาตรการรักษาความปลอดภัยต่างๆจะถูกมอบให้กับผู้ร่วมผลักดันกระบวนการสันติภาพ จนกว่ากระบวนการนี้จะเสร็จสิ้น ลงนาม ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ 28 ก.พ. 2013"
เนื้อหาในเอกสารการลงนามที่ระบุว่า เพื่อเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนในการแก้ปัญหาในพื้นที่ชายแดนใต้ภายใต้กรอบและรัฐธรรมนูญของไทย ดูจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่พอทำให้เข้าใจได้ว่าหากจะมีการตั้งมหานครปัตตานีขึ้นมา ก็จะต้องเกิดขึ้นและดำรงอยู่ภายใต้ รัฐธรรมนูญของไทย หรือไม่สามารถแบ่งแยกดินแดนได้ใช่หรือไม่
จากการยอมรับของนายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซีย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังการลงนามสันติภาพ ก็คือพ.ต.ท.ทักษิณ
นายราจิบ นาซัก นายกรัฐมนตรี มาเลเซียแถลงว่า "มาเลเซียยินดีที่จะช่วยในฐานะที่เป็นคนกลาง และพร้อมอำนวยความสะดวกในการสร้างสันติภาพและความเจริญให้กับประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ โดยเราอยากเห็นการเปลี่ยนพื้นที่ที่มีความรุนแรง มาเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาและเติบโต มาเลเซียในฐานะ ผู้อำนวยความสะดวก ก็ยินดีที่จะช่วยเหลือย่างเต็มที่ คาดว่าใน 2 สัปดาห์จากนี้ไปจะตั้งคณะทำงานร่วมของทั้ง 2 ฝ่าย และต้องขอขอบคุณพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีส่วนร่วมใน การประสานให้การเจรจาเกิดขึ้นได้"
สอดคล้องกับคำแถลงของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ก็ระบุไปในทิศทางเดียวกันว่า "ส่วนที่นายกฯมาเลเซียระบุการพูดคุยกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของไทยกับตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็นเกิดขึ้นได้มาจากการสนับสนุนโดยพ.ต.ท.ทักษิณ นั้น ยืนยันว่าพ.ต.ท. ทักษิณก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่อยากเห็นบ้านเกิดเมืองนอนมีความสงบสุข ซึ่งเหมือนกับทุกคน จึงไม่อยากให้มองเจตนารมณ์ผิดเพี้ยนไป เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นวาระของชาติที่ทุกคนต้องช่วยแก้ปัญหา และอย่ามองเป็นเรื่องการเมือง เราพร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกคน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น