วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

"การนิรโทษ"กับการหมกเม็ด เมื่อ 15 มี.ค.56




"การนิรโทษ"กับการหมกเม็ด
ประเด็นการนิรโทษกรรมซึ่งยังมีข้อเท็จจริงอีกหลายประการที่สังคมยังไม่ได้รับทราบ และที่สำคัญดูเหมือนว่าพรรคเพื่อไทยและแกนนำนปช.กำลังปกปิดข้อมูลบางประการเอาไว้
แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. นำโดยนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ ยังคงยืนยันที่จะการดำเนินการนิรโทษกรรม ด้ยการอ้างถึงคำว่าประชาชน โดยเชื่อมั่นในแนวทางของนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เพราะปัจจุบันยังมีความขัดแย้งอย่างมากในสังคมไทย ดังนั้น การหารือจากทุกฝ่ายเพื่อหาแนวทางร่วมกันจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้  
ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมถึงเสื้อหลากสี ปฏิเสธเข้าร่วมหารือ มองว่าเป็นการขัดขวางการปรองดองและการเกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อีกทั้งกลับซ้ำเติมความขัดแย้งด้วยการกล่าวโจมตีพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงว่า เผาบ้านเมือง เพื่อสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชน
การผูกติดคำว่านิรโทษกรรมกับประโยชน์ของประชาชน เป็นเงื่อนไขแรกที่ฝ่ายสนับสนุนนิรโทษกรรมจะนำมาเป็นข้ออ้าง แต่ทว่าเมื่อพิจารณาข้อมูลรายชื่อของผู้ที่ยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำกลับพบว่ามีอยู่ในจำนวนไม่กี่สิบคนเท่านั้น
ในเอกสารที่ นปช.11/10/2555 เรื่องขอความอนุเคราะห์ดำเนินการทุเลาปัญหานักโทษคดีการเมือง ปรากฎรายชื่อของนักโทษที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ เพียง 30 ดังนี้
กรณีที่ 1 ขอเร่งรัดเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษ คดีมาตรา 112 นายเสถียร รัตนวงศ์ นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล  นายวันชัย แซ่ตัน และนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์
กรณีที่ 2 การขอย้ายเรือนจำคดีก่อการร้าย นายทองสุข หลาสพ นายสุรชัย เทวรัตน์ นายพศิน แสนจิตต์ จ.ส.อ.ณัฐสิทธิ์ สุวรรณราช นายชวการ โตสวัสดิ์ นายประสิทธิ์ พลอยทับทิม นายพิทยา แน่นอุดร นายวรกฤติ นันทะมงคลชัย
และกรณีที่ 3 การขอเร่งรัดจัดชั้นนักโทษชั้นเยี่ยม นายอเนก สิงขุนทด
อนึ่งยังมีผู้ถูกคุมขังที่ยังไม่ได้รับการประกันตัวอีก 30 คน
ไม่แค่เพียงรายชื่อที่มีอยู่แค่เพียงหลักสิบ แต่เป็นหลักสิบที่เมื่อลงในรายละเอียดก็จะทำให้สังคมเกิดอาการฉุกคิดขึ้นมาว่า ควรที่จะนิรโทษกรรมคนเหล่านี้จริงๆหรือ
ผู้ต้องขังชาย (ข.ช.)เอนก  สิงขุนทด คดี ร่วมกันทำอาวุธระเบิด,พรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 35 ปี  ข.ช.สิบตำรวจตรีบัณทิตหรือนายบัณทิต สิทธิทุม คดี กระทำผิดฐานก่อการร้ายฯ ร่วมกันมีอาวุธฯ กำหนดโทษ 38 ปี ข.ช.เอกชัย มูลเกษ คดี ก่อให้เกิดระเบิด  พรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 8 ปี ข.ช.เพชร แสงมณีหรือเฮ่นมณีเพชร คดี ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายฯ พรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 6 ปี 6 เดือน ข.ช.สายชล  แพบัว คดีวางเพลิงเผาทรัพย์ฯ พรก.ฉุกเฉินฯ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ข.ช.ประสงค์  มณีอินทร์  คดี ฝ่าฝืนประกาศข้อกำหนดมิให้มีการชุมนุมฯ กำหนดโทษ 11 ปี 8 เดือน ข.ช.พินิจ จันทร์ณรงค์ คดีวางเพลิงเผาทรัพย์ฯ พรก.ฉุกเฉินฯ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ข.ช.คำหล้า  ชมชื่น คดีร่วมกันปล้นทรัพย์ฯ พรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 10 ปี ข.ช.เดชา  คมขำ คดีความผิดต่อเจ้าพนักงานฯ พรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 20 ปี 6 เดือน ข.ช.บัวเรียน  แพงสา คดีความผิดต่อเจ้าพนักงานฯ พรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 20 ปี 6 เดือน ข.ช.สมศักดิ์  ประสานทรัพย์ คดีความผิดต่อความมั่งคงฯพรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 33 ปี 12 เดือน ข.ช.สนอง  เกตุสุวรรณ์  คดีความผิดต่อความมั่งคงฯพรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 33 ปี 12 เดือน ข.ช.ธีรวัฒน์  สัจสุวรรณ  คดีความผิดต่อความมั่งคงฯพรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 33 ปี 12 เดือน ผู้ต้องขังหญิง (ข.ญ.)ปัทมา มูลนิล  คดีความผิดต่อความมั่งคงฯพรก.ฉุกเฉินฯ กำหนดโทษ 33 ปี 12 เดือน ข.ช.ชาตรี ศรีจินดา  คดีความผิดต่อชีวิต พรบ.อาวุธปืนฯ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ข.ช.จ่าสิบตำรวจปริญญา มณีโคตม์  คดีเครื่องกระสุนปืนฯ พรบ.อาวุธปืนฯ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
ถึงตรงนี้คุณผู้ชมรู้สึกแปลกใจบ้างหรือไม่ว่าเพราะอะไรแกนนำนปช.ที่ประกาศถึงการต่อสู้ตามหลักสันติอหิงสามาโดยตลอดถึง ยืนอยู่ข้าง นักโทษที่รับสารภาพแล้วว่าใช้อาวุธสงครามในช่วงการชุมนุมเมื่อปี 2553 จนถูกพิพากษาจำคุกหลายสิบปี
เพราะฉะนั้นจึงทำให้สังคมพิจารณาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแกนนำนปช.กับกองกำลังติดอาวุธตามหลักแก้ว 3 ประการ
แม้กระนั้นก็ตามฝ่ายของคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะนิรโทษกรรมแบบครอบจักรวาล โดยเฉพาะหมากที่เลือกเดินผ่านนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการพรรคเพื่อไทย
นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช.กล่าวว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร บรรจุร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมสภาฯ แล้ว ตามที่ยื่นไปตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว และคาดว่า จะบรรจุร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่ระเบียบวาระได้ในสัปดาห์หน้า   
ดังนั้นในสัปดาห์หน้า จะขอใช้เอกสิทธิ์ ส.ส.ขอให้เลื่อน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขึ้นมาพิจารณาก่อนกฎหมายฉบับอื่น โดย ส.ส.เพื่อไทย ที่เข้าชื่อร่วมกันทั้ง 42 คนพร้อมจะร่วมหัวจมท้ายไปด้วยกัน ในการผลักดันกฎหมายฉบับนี้
ไม่มีใครมาล็อบบี้ไม่ให้ตนใช้เอกสิทธิ์ขอเลื่อน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้ เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องช่วยประชาชนที่ติดคุก โดยไม่มีความผิด ให้ได้รับการประกันตัวออกมาต่อสู้คดี ไม่มีเจตนาแอบแฝงช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ทั้งนี้นอกจากร่างพรบ.นิรโทษกรรมแล้ว ที่ต้องไม่ลืมก็คือร่างกฎหมายปรองดองอีกถึง 4 ฉบับที่ค้างอยู่ในวาระการพิจารณาที่ 11-14 ซึ่งอาจจะมีการนำมาพิจารณาประกบกันทุกเมื่อ
วาระ 11. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน กับคณะ เป็นผู้เสนอ  
วาระ 12. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ นายนิยม วรปัญญา กับคณะ เป็นผู้เสนอ  
วาระ 13. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ นายสามารถ แก้วมีชัย กับคณะ เป็นผู้เสนอ   
วาระ 14.  ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ เสนอแนวทางต่อการปรองดองด้วยการนิรโทษกรรม โดย ทุกฝ่ายที่มีความเห็นไม่ตรงกัน ตั้งแต่ประชาชนไปจนถึงนักการเมือง ควรจะต้องทำความเข้าใจด้วยการพูดคุยกัน และให้อภัยซึ่งกันและกัน โดยคำนึงถึงประเทศชาติเป็นหลัก อีกทั้งยอมรับว่าการปรองดองเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ก็ควรจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพราะไม่เช่นนั้นประเทศไทย อาจถึงขั้นสิ้นชาติได้       
นอกจากนี้ พล.อ.สนธิ ยังเสนอให้ประชาชนควรจะต้องทำความเข้าใจต่อสถานการณ์ให้มากขึ้น เพราะมีอีกหลายประการที่ประชาชนยังไม่ทราบถึงเหตุผลของความขัดแย้ง อีกทั้ง สถาบันการศึกษาเอง จะต้องทำความเข้าใจต่อนักศึกษา โดยไม่มีการชี้นำทางความคิด เพื่อไม่ให้มีการปลูกฝังอันนำไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น