วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

งานเมื่อ 1- 15 มี.ค.56




สรุปข่าววันที่ ๑ - ๑๔ มี.ค.๕๖

                     ยาเสพติดในกรุงเทพเดือน มี.ค.๕๖
ตำรวจจับขบวนการค้ายาเสพติดในกทม.-ยึดยาบ้า 800,000 เม็ด   
ตำรวจปราบปรามยาเสพติด จับขบวนการค้ายาเสพติดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ของกลางยาบ้า 800,000 เม็ดและยาไอซ์ 16 กิโลกรัม พร้อมผู้ต้องหา 6 คน
เมื่อ ๒ มี.ค.๕๖ ตำรวจปราบปรามยาเสพติด ยึดของกลาง ยาไอซ์ 16 กิโลกรัม ยาบ้า 800,000 เม็ด จากขบวนการค้าเสพติดในพื้นที่กทม. และปริมณฑล โดยมี น.ส.แนน มูน ซัน สัญชาติพม่า เป็นเอเย่นต์ ที่รับยาเสพติดมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ครั้งละประมาณ 200,000 เม็ด และนำมาขายต่อให้กับผู้ค้ารายย่อยในพื้นที่ และมีนายศราวุฒิ มั่นคง และน.ส.ดวงหทัย แก้วเพ็ชร เป็นผู้จัดส่งยาเสพติด ให้กับผู้ค้าในกทม.และปริมณฑลอีกต่อ
นอกจากนี้ ตำรวจเปิดเผยว่า จากการติดตามนายศราวุฒิมากว่า 2 เดือน พบว่าจะรับส่งยาเสพติดกันในรถ
โดยนายศราวุฒิ และนางสาวดวงหทัยเป็นเครือข่ายที่ใช้ชื่อ"แม่เบ๊น" ซึ่งติดต่อมาจากเรือนจำ ขณะนี้อยู่ระหว่างขยายผลเพิ่มเติม ส่วนยาเสพติดจำนวนนี้ มีแหล่งผลิตมาจากกลุ่มว้า ควบคุมการลำลำเลียงเข้ามาในไทยโดยกลุ่มของพันโทยี่เซ
ตร.จับ 2 ผู้ต้องหาขโมยข้าวสารกว่า 3,000 กระสอบ ระหว่างขนถ่ายสินค้า
ตำรวจสอบสวนกลางจับผู้ต้องหาร่วมขบวนการโจรกรรมข้าวสารได้ 2 คน หลังก่อเหตุระหว่างการขนถ่ายสินค้ากลางแม่น้ำ
เมื่อ ๑๒ มี.ค.๕๖  ตำรวจสอบสวนกลางควบคุมตัวนายจรัล พลิคามิน และนายสมศักดิ์ ช่วยส่ง ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีร่วมกันลักทรัพย์ ในเวลากลางคืน โดยใช้ยานพาหนะเพื่อความสะดวกแก่การกระทำผิด ทั้งนี้ ผู้ต้องหาทั้ง 2 คนกับพวกที่อยู่ระหว่างหลบหนี 1 คน ร่วมก่อเหตุลักข้าวสาร ของบริษัทส่งออกข้าวสารแห่งหนึ่ง จำนวน 3,900 กระสอบ คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 6 ล้านบาท
พล.ต.ต.นรบุญ แน่นหนา รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เปิดเผยว่า นายสมศักดิ์ มีหน้าที่เฝ้าเรือ รู้เห็นกับนายจรัล ผู้ตรวจสอบสินค้า ซึ่งระหว่างรอขนถ่ายข้าวสารเพื่อขึ้นเรือใหญ่ของบริษัทฯ ได้มีผู้ร่วมขบวนการอีกกลุ่มหนึ่ง นำเรืออีกลำมาลักลอบแบ่งถ่ายข้าวสารออกไปกระทั่งเมื่อมีการตรวจสอบจำนวนสินค้าก็จะพบว่าสินค้าหายไป จึงนำสู่การจับกุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและอยู่ระหว่างขยายผลถึงผู้บงการ
สรุปข่าวการเมือง เมื่อ ๑ - ๑๕ มี.ค.๕๖  
"กกต.กทม." เร่งพิจารณา "ร้องคัดค้านผู้ว่าฯกทม." คาดรับรองผลได้ใน 7 วัน 
กกต. พอใจการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งทำลายสถิติทั้งคะแนน และจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิของการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา ขณะเดียวกันเตรียมรวบรวมปัญหาปรับปรุงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งต่อไป
เมื่อ ๔ มี.ค.๕๖ กรรมการการเลือกตั้งด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง แถลงสรุปภาพรวมการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ว่า เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และพอใจกับการออกมาใช้สิทธิของประชาชน สูงถึงร้อยละ 63.98 มีผู้มาใช้สิทธิ์จำนวน 2,715,640 คน ทำลายสถิติการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ทุกครั้งที่ผ่านมา
ขณะที่พบบัตรเสียร้อยละ 1.37 บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน ร้อยละ 1.75 โดยผู้ได้รับเลือกตั้ง คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนมากถึง 1,256,349 คะแนน ทำลายสถิติคะแนนที่นายสมัคร สุนทรเวช เคยได้รับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อปี 2543
สำหรับเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ มีทั้งหมด 14 เรื่อง โดย 4 เรื่องอยู่ระหว่างดำเนินการสืบสวนสอบสวน ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะรับคำร้องหรือไม่ ซึ่งนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือก กล่าวว่า กกต.กทม. จะพิจารณารายงานผลการนับคะแนน รวมถึงเรื่องคัดค้าน เพื่อส่งให้ กกต.กลางพิจารณา หากไม่มีการร้องคัดค้านเพิ่มเติม จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งภายใน 7 วัน
ทั้งนี้ กกต.จะสรุปปัญหาและข้อบกพร่องเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในครั้งนี้ เช่น สถานที่จัดการเลือกตั้ง, รายชื่อตกหล่น เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงการเลือกตั้งครั้งต่อไป รวมถึงพิจารณาการเปิดให้ใช้สิทธิ์ล่วงหน้าการเลือกตั้งท้องถิ่นแต่ต้องพิจารณาเป็นรายจังหวัด ส่วนประชาชนที่ไม่ได้ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งนั้น ต้องแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์ที่สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านภายใน 7 วัน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ทางการเมือง
"ทวีศักดิ์" เตรียมส่ง 2 คำร้องผิดกฏหมายเลือกตั้งให้กกต.กลางพิจารณา ก่อนรับรอง"สุขุมพันธุ์"
กกต.กทม.มีมติส่งเรื่องให้ กกต.กลางพิจารณาว่า จะรับรอง ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม.หรือไม่ หลังติดคำร้องกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง 2 เรื่อง
เมื่อ ๔ มี.ค.๕๖ พล.ต.ท. ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธาน กกต.กทม.เปิดเผยว่า ทั้ง 2 เรื่อง ซึ่งเข้าข่ายการหลอกลวง, ชี้นำ และใส่ร้ายป้ายสีผู้สมัครคนอื่น กกต.กทม.จึงมีมติแนบคำร้อง พร้อมส่งเรื่องให้ กกต.กลางในวันนี้ (4มี.ค.56) เพื่อพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งต่อไป โดยคาดว่าภายในวันศุกร์ (8มี.ค.56) สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งได้
นอกจากนี้ กกต.ยังขอความร่วมมือผู้สมัครผู้ว่า กทม.ทั้ง 25 คน ส่งรายงานบัญชีค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเลือกตั้งให้ กกต.รับทราบภายใน 90 วัน ทั้งนี้ หากพบผู้สมัครคนใดใช้จ่ายงบประมาณหาเสียงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้คือ 49 ล้านบาท หรือไม่ส่งรายงานบัญชี ก็จะถูกพิจารณาเพิกถอนการเลือกตั้งได้
กกต.คาดรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ 8 มี.ค
กกต.กทม.มีมติส่งเรื่องให้ กกต.กลางพิจารณาว่า จะรับรอง ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม.หรือไม่ หลังติดคำร้องกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง 2 เรื่อง
เมื่อ ๕ มี.ค.๕๖ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธาน กกต.กทม. เปิดเผยว่า ทั้ง 2 เรื่อง ซึ่งเข้าข่ายการหลอกลวง, ชี้นำ และใส่ร้ายป้ายสีผู้สมัครคนอื่น กกต.กทม.จึงมีมติแนบคำร้อง พร้อมส่งเรื่องให้ กกต.กลางในวันนี้  (5 มี.ค.) เพื่อพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งต่อไป โดยคาดว่าภายในวันศุกร์ (8 มี.ค.) สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งได้
นอกจากนี้ กกต.ยังขอความร่วมมือผู้สมัครผู้ว่า กทม.ทั้ง 25 คน ส่งรายงานบัญชีค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเลือกตั้งให้ กกต.รับทราบภายใน 90 วัน หากพบ ผู้สมัครคนใดใช้จ่ายงบประมาณหาเสียงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้คือ 49 ล้านบาท หรือ ไม่ส่งรายงานบัญชี ก็จะถูกพิจารณาเพิกถอนการเลือกตั้งได้
พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย เตรียมหารือนายกรัฐมนตรี หลังเสร็จสิ้นภารกิจในต่างประเทศ เกี่ยวกับอนาคตของตัวเอง โดยตั้งใจว่าจะขอทำงานที่เกิดประโยชน์มากที่สุด หากกลับไปเป็นตำรวจ ก็เชื่อว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาจราจร , ยาเสพติด และอาชญากรรม ได้มาก เพราะเป็นงานโดยตรงของตำรวจ ส่วนจะกลับมาทำงานการเมืองหรือไม่ เป็นเรื่องอนาคต
ขณะที่ พล.ต.ต. ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามกฎหมาย ข้าราชการประจำทุกระดับใช้สิทธิ์ลาออกเพื่อไปสมัครรับเลือกตั้งได้ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยจะสงวนตำแหน่งไว้ หาก พล.ต.อ.พงศพัศ ประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมคือ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และหาก ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อนุมัติ ก็จะนำเรื่องเข้าที่ประชุม ก.ตร. เพื่อขอมติเห็นชอบ
กกต. คาดรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไม่เกิน 8 มี.ค.
ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร ส่งรายงานประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียนและความเห็นของกกต.กทม.กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้องคัดค้าน เสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกลาง พิจารณาเพิ่มเติม โดยคาดว่าน่าจะพิจารณารับรองผลการเลือกตั้งไม่เกินวันที่ 8 มี.ค.นี้
เมื่อ ๕ มี.ค.๕๖ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธานกกต.กทม. กล่าวถึงกรณีตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานครมหานคร หรือ กกต.กทม. ได้ส่งรายงานผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ให้กกต.กลางพิจารณาก่อนหน้านี้ ว่า ในวันนี้่ (5 มี.ค.) จะส่งรายงานประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียน และความเห็นเพิ่มเติมจากกกต.กทม. ในกรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้องคัดค้าน การกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ว่าที่ผู้ว่าฯกทม.ว่า อาจเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งมาตรา 57 (5) โดยมีการปราศรัยที่เข้าข่ายหลอกลวง ชี้นำ และใส่ร้ายป้ายสีผู้สมัครคนอื่น โดยวันนี้จะจัดส่ง 2 เรื่องนี้ให้กกต.กลาง พิจารณาเพื่อรับรองผลการเลือกตั้ง และคาดว่า กกต.กลาง น่าจะพิจารณารับรองผลการเลือกตั้งไม่เกินวันศุกร์ที่ 8 มี.ค.นี้
พท.-ปชป.ประเมินผลเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.
เมื่อ ๕ มี.ค.๕๖ พรรคเพื่อไทยเชื่อยุทธศาสตร์โค้งสุดท้ายของฝ่ายตรงข้าม เป็นเหตุให้คะแนนนิยมของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ลดลง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์กำชับสมาชิกอย่าประมาท แต่ต้องพร้อมเดินหน้าปูทางเลือกตั้งครั้งต่อไป
หลังการประชุม ส.ส.,ส.ก. และ ส.ข.ของพรรคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เชื่อมั่นว่า ต้นสัปดาห์หน้า ทีมรองผู้ว่าฯกทม.ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะสามารถเปิดตัวได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีทั้งคนใน และคนนอกพรรคเข้าร่วมทีม
ส่วนผลการประชุมพรรคมีข้อกำชับให้เร่งรัดแก้ปัญหาเร่งด่วนให้กับคนกรุงเทพฯ พร้อมย้ำให้สมาชิกทุกคนอย่าประมาทกับคะแนนที่ได้รับครั้งนี้ แต่ต้องเร่งสร้างผลงาน เพื่อปูทางการเลือกตั้งครั้งต่อไป
สำหรับผลประชุม ส.ส.,ส.ก.และ ส.ข. พรรคเพื่อไทย เบื้องต้นประเมินว่าการพ่ายแพ้เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.น่าจะเกิดจากความชะล่าใจ และยุทธศาสตร์โค้งสุดท้ายของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชูการคานอำนาจรัฐ
ทั้งนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ชี้ว่าการรับ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯกทม เป็นข้าราชการตำรวจต้องเป็นไปตามขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร.

"นินนาท" สั่งทุกหน่วยงานขานรับนโยบาย "สุขุมพันธุ์"
"ปลัดกรุงเทพมหานคร" กำชับทุกหน่วยงานเร่งพิจารณากรอบการดำเนิน 10 นโยบายเร่งด่วน และ 6 นโยบายสร้างกรุงเทพฯ ก่อนเสนอ "ผู้ว่าฯคนใหม่" ทำได้ได้ทัน ขณะหวังให้ครบถ้วนภายใน 4 ปี
เมื่อ ๖ มี.ค.๕๖ นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมเตรียมการต้อนรับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งหารือแนวทางปฏิบัติงานตามนโยบายของผู้ว่าราชกากรุงเทพมหานคร 10 มาตราการเร่งด่วน ซึ่งประกอบด้วย 1.ติดตั้งกล้อง CCTV เพิ่ม, 2. จัดตั้งอาสาสมัครชุมชน  เพื่อเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด 3. ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS อ่อนนุช-แบริ่ง, สะพานตากสิน-บางหว้า  เหลือ 10 บาทและรถ BRT เหลือ 5 บาท, 4. โรงรับจำนำ กทม.  รับจำนำดอกเบี้ย 1 สลึง 5,000 บาทแรก 5. เพิ่มทักษะอาชีพ พร้อมสอนภาษาอังกฤษ จีน มาลายู ฟรี เพื่อเพิ่มรายได้ 200,000 คน 6. ปรับอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กทม. เป็นลูกจ้างชั่วคราว และเพิ่มเงินเดือน ป.ตรี เป็น 15,000 บาท ปวส. 10,000 บาท  ปวช. 8,600 บาท 7. เพิ่มจุดบริการพิเศษงานทะเบียนราษฎร์ในห้างสรรพสินค้า และขยายเวลาให้บริการถึง 22.00 น. 8. ฟรี Hi-speed Wi-Fi  4 MB 5000 จุด 9. เพิ่มบริการเก็บขยะ ไม่ให้ตกค้างในชุมชน ตรอก ซอย 10. เพิ่มแท็กซี่ เพื่อคนพิการ และผู้สูงอายุ 100 คัน
ขณะที่ 6 นโยบายร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1. มหานครแห่งความปลอดภัย 2.  มหานครแห่งความสุข 3. มหานครสีเขียว 4. มหานครแห่งการเรียนรู้ 5. มหานครแห่งโอกาสของทุกคน และ 6. มหานครแห่งอาเซียน
ทั้งนี้ ปลัดกรุงเทพมหานครได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบใน 10 มาตราการเร่งด่วน และ 6 นโยบายร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร พิจารณาระยะเวลาในการดำเนินการในแต่ละนโยบาย เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสามารถปฎิบัติตามนโยบายได้ทันที และครบถ้วนภายใน 4 ปี โดยใช้เนื้องานเป็นตัวตั้ง หากงบประมาณที่จัดสรรไว้แล้วไม่สอดคล้องสามารถที่จะปรับงบประมาณในปีต่อๆไปได้ 
"เจริญ" ยันเดินหน้าหารือกฏหมาย "นิรโทษกรรม" แม้ปชป.ปัดเข้าร่วม
เมื่อ ๖ มี.ค.๕๖ แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะแถลงไม่เข้าร่วมหารือ 4 ฝ่าย เพื่อออกกฎหมายนิรโทษกรรม นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันที่จะเปิดหารือต่อไป โดยย้ำหลักการยกเว้นความผิดในคดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.ความมั่นคงเท่านั้น ขณะที่โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ ปฏิเสธการออกกฏหมายยกเว้นความผิดในคดีอาญาและทุจริตในทุกกรณี
ก่อนเข้าร่วมหารือ 4 ฝ่าย เพื่อพิจารณาแนวทางการออกร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในวันจันทร์ที่ 11 มีนาคมนั้น นายปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์ ในฐานะโฆษกพันธมิตรฯ เดินทางเข้าพบนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อแจ้งหลักการและเหตุผลของกลุ่มพันธมิตรฯ
นายปานเทพ ปฏิเสธที่จะออกกฎหมายยกเว้นความผิดในคดีอาญาและการทุจริตในทุกกรณี แต่กล่าวยอมรับในการร่วมผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งจะยกเว้นความผิดให้กับคดีลหุโทษ หรือการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.ความมั่นคง พร้อมเสนอให้เปิดกว้างสำหรับบุคคลและองค์กรที่จะร่วมหารือในครั้งนี้ ขณะเดียวกันก็เสนอให้พิจารณาถอดร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองที่ค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรและยุติการเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมทุกฉบับ เพื่อลดความหวาดระแวงและความขัดแย้งที่จะตามมา
ขณะที่นายเจริญได้ตอบรับข้อเสนอของกลุ่มพันธมิตรฯ และเตรียมทำหนังสือเชิญไปยังทุกฝ่ายภายในวันพรุ่งนี้ (7มี.ค.56) พร้อมระบุที่จะเพิ่มตัวแทนจากกองทัพ ซึ่งถือเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายเข้าร่วมหารือด้วย โดยเบื้องต้นยืนยันในหลักการ และเหตุผลในการตรากฎหมายนิรโทษกรรม ที่จะยกเว้นความผิดกรณีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและพ.ร.บ.ความมั่นคงเท่านั้น ซึ่งหากในวันจันทร์ที่ 11 มีนาคมนี้ ทุกฝ่ายได้ข้อยุติร่วมกัน ก็จะสามารถเดินหน้าตรากฎหมายได้ทันการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยประชุมนิติบัญญัติที่จะสิ้นสุดในวันที่ 20 เมษายนนี้
ขณะที่นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. เปิดเผยถึงการยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร รวม 2 ฉบับด้วยกัน คือ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผู้มาร่วมชุมนุมข้อหาไม่ร้ายแรง และร่าง พ.ร.บ.บรรเทาความเดือดร้อนผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ก่อนยื่นร่างกฎหมายทั้งหมดให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรในบ่ายวันนี้
เช่นเดียวกับแกนนำกลุ่มนปช. ทั้งนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธาน นปช.และนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำเตรียมแถลงแนวทางการผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งในรายละเอียดได้รวบรวมรายชื่อประชาชนผู้สนับสนุนร่างกฎหมายที่จะแนบท้าย ก่อนยื่นให้สภาผู้แทนราษฎรบรรจุเข้าสู่วาระการพิจารณาแล้ว
"พล.ต.อ.พงศพัศ" เตรียมหารือนายกฯขอกลับรับราชการ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ยอมรับว่าได้ปฏิเสธตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หลังได้รับการทาบทามจากผู้ใหญ่ภายในพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เตรียมหารือนายกรัฐมนตรี เพื่อขอกลับมารับราชการอีกครั้ง
เมื่อ ๖ มี.ค.๕๖  พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า หลังนายกรัฐมนตรีเสร็จสิ้นภารกิจในต่างประเทศ ก็จะเข้าพบเพื่อขอกลับเข้ารับราชการตำรวจอีกครั้ง ทั้งนี้ ไม่หวังว่าต้องได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แม้จะเหลืออายุราชการอีก 3 ปีที่ เพราะตลอดการเป็นตำรวจมา 37 ปี และช่วงการหาเสียงซึ่งได้ลงพื้นที่เป็นเวลา 1 เดือนเศษ ได้พบปัญหามากมาย
พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวอีกว่า หากอีก 4 ปีข้างหน้ากรุงเทพฯ ยังไม่มีความเปลี่ยนแปลง ก็จะขอลงสมัครผู้ว่ากทม.อีกครั้ง
ขณะที่นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของพรรคฯ กล่าวว่า พรรคฯยังไม่ได้ระบุ ใครจะมาดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมยอมรับว่าได้รับการทาบทามจากผู้ใหญ่ในพรรค แต่ได้ปฏิเสธ เพราะยังต้องการทำหน้าที่เป็น ส.ส.ต่อไป
21 ส.ส.พรรคเพื่อไทย เตรียมยื่นปธ.สภา เสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมพรุ่งนี้
กลุ่มพันธมิตรฯยืนยันหลักการและเหตุผล ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ต้องไม่มีคดีอาญาและคดีทุจริต ขณะที่ 21 ส.ส.พรรคเพื่อไทย เตรียมเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร วันพรุ่งนี้ (7มี.ค.56)
เมื่อ ๖ มี.ค.๕๖ นายวรชัย เหมะ พร้อม ส.ส.พรรคเพื่อไทยรวม 20 คน เตรียมยื่นร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรวันพรุ่งนี้ โดยมีสาระสำคัญคือ ให้ยกเว้นความผิดในการกระทำ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ถึง วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 โดยให้สิทธิเพียงแค่ประชาชนผู้ถูกกระทำ ไม่รวมแกนนำและผู้มีอำนาจออกคำสั่ง ขณะที่นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. ตำหนิพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่สนับสนุนแนวทางการสร้างความปรองดองของประเทศ ด้วยการผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม
ก่อนหน้านี้นายปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์ โฆษกพันธมิตรฯ เข้าพบนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อชี้แจงจุดยืนของกลุ่ม ด้วยการปฏิเสธสนับสนุน หากยกเว้นความผิดในคดีอาญาและทุจริตในทุกกรณี
ซึ่งนายเจริญตอบรับและเตรียมส่งหนังสือเชิญองค์กรต่าง ๆ ที่สนใจได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นด้วย พร้อมย้ำหลักการ และเหตุผลของร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ควรยกเว้นความผิดในคดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินและพ.ร.บ.ความมั่นคงเท่านั้น

กกต.มีมติ 3-1 ยังไม่รับรอง "สุขุมพันธุ์" เป็นผู้ว่าฯกทม.
คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. มีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 1 ยังไม่ประกาศรับรอง ให้ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อ ๖ มี.ค.๕๖ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. ระบุสาเหตุว่า เนื่องจากมีเรื่องร้องคัดค้านว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 57(5)จำนวน 3 เรื่อง 2 เรื่องแรกเป็นเรื่องที่ กกต.กทม.รับร้องเรียนไว้แล้ว และกำลังดำเนินการสืบสวนสอบสวน อีก 1 เรื่อง อยู่ที่ฝ่ายสืบสวนสอบสวนของ กกต.กลาง
ซึ่งคำร้องทั้ง 3 เรื่อง เข้าข่ายการใส่ร้ายป้ายสี จูงใจให้เข้าใจผิดในผู้สมัครคนอื่น จึงต้องใช้เวลาสืบสวนสอบสวนคำร้องทั้งหมดภายใน 30 วัน หรือในวันที่ 2 เมษายน จึงจะสามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งได้ แต่ถ้ากกต.ยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จ ก็จำเป็นต้องประกาศรับรองผลการเลือกตั้งไปก่อน
ส.ส.เพื่อไทยเตรียมเสนอ "ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม" ต่อประธานสภาวันนี้
ส.ส.พรรคเพื่อไทย ร่วมลงชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พร้อมเตรียมเสนอต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในวันนี้(7 มี.ค.) เพื่อบรรจุเป็นวาระการพิจารณา คาดแล้วเสร็จ ก่อนสิ้นสุดการประชุมสภา สมัยนิติบัญญัติ 20 เมษายน
 เมื่อ ๗ มี.ค.๕๖ ส.ส.พรรคเพื่อไทย รวม 21 คน นำโดย นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ ร่วมลงชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แก่ผู้กระทำความผิด เนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองและการแสดงออกทางการเมือง พร้อมเตรียมเสนอต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในวันนี้(7 มี.ค.) เพื่อบรรจุเป็นวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จ ก่อนสิ้นสุดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติ ในวันที่ 20 เมษายน
รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในมาตรา 3 กำหนดให้ผู้กระทำการ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมือง แม้ไม่เข้าร่วมการชุมนุม แต่มีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง ด้วยวาจา หรือ โฆษณา เพื่อเรียกร้องให้มีการต่อต้านรัฐ, การป้องกันตน, การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของรัฐ ที่กระทบต่อชีวิตทรัพย์สินของบุคคลอื่น นับตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ถึง วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 นั้น ไม่เป็นความผิดและไม่ต้องรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง แต่ไม่รวมถึงการกระทำของบรรดาผู้มีอำนาจตัดสินใจ หรือ สั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในเวลาเดียวกัน
นายวรชัย ยืนยันว่า ร่างกฎหมายที่นำเสนอไม่เอื้อประโยชน์กับแกนนำและความผิดในคดีอาญา ซึ่งแม้มาตรา 3 จะเขียนเปิดกว้างไว้ แต่ในรายละเอียดนั้น เชื่อว่า ในกรรมาธิการจะกำหนดให้ชัดเจนได้ พร้อมยอมรับไม่ต้องการรอข้อสรุปจากการหารือ โดยนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง เนื่องจากการพิจารณาร่างกฎหมายขึ้นอยู่กับที่ประชุมสภาฯ
ขณะที่นายเจริญ ตอบรับข้อเสนอของนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ที่จะเชิญผู้เข้าร่วมหารือ จาก 4 ฝ่ายเป็น 8 กลุ่ม ประกอบไปด้วย รัฐบาลพรรคเพื่อไทย,พรรคประชาธิปัตย์, ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรฯ, ตัวแทนกลุ่ม นปช., ตัวแทนกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม, นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ตัวแทนครอบครัวเจ้าหน้าที่รัฐผู้สูญเสีย, ตัวแทนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม
นายปานเทพ กล่าวยืนยันที่จะสนับสนุนการออกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ตามผลสรุปของ 8 กลุ่ม แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็พร้อมจะจัดชุมนุมคัดค้านอย่างถึงที่สุด
"พงศพัศ"ประกาศไม่รับตำแหน่งทางการเมือง กกต.ยังไม่ประกาศรับรองคุณชายสุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม.
เนื่องจากต้องรอผลการสอบสวนจากกรณีที่มีผู้ร้องคัดค้าน ขณะที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.พรรคเพื่อไทย ยืนยันไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่จะขอกลับเข้าไปรับราชการตำรวจ
เมื่อ ๗ มี.ค.๕๖ กกต.มีมติเสียงข้างมาก 3-1 ยังไม่รับรอง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เนื่องจากถูกร้องเรียน 3 เรื่อง ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของ กกต.กทม. 2 เรื่อง และฝ่ายสืบสวนสอบสวนของกกต.กลาง 1 เรื่อง ทั้งหมดเป็นคำร้อง ที่กล่าวหาม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กระทำผิดฐานปราศรัยใส่ร้าย หลอกลวง จูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยม ตามมาตรา 57 (5) ของพ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น โดยกกต.กทม. ขอเวลาสืบสวน 15 วัน
มีรายงานว่า โดยเสียงข้างน้อย 1เสียงที่เห็นว่าควรประกาศรับรองผลคือนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้งที่มองว่า พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 48 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
แต่เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น และประกาศ คปค. ที่กำหนดให้กกต.สืบสวนสอบสวนกรณีมีเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า พ.ร.บ.องค์กรปกครองท้องถิ่นอื่น ๆ ประกอบกับกกต.กทม.ก็ยืนยันว่าจะใช้เวลาในการสอบสวนตามคำร้องให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวปลัดกรุงเทพมหานครก็ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรักษาการผู้ว่าฯกทม.ได้
ขณะที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. กล่าวยืนยันว่า จะไม่ขอรับตำแหน่งใด ๆ ทางการเมือง แต่จะขอจะขอกลับเข้ารับราชการตำรวจ และการกลับไปไม่คาดหวังว่าจะต้องได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แม้จะเหลือเวลาอีก 3 ปี ที่จะเกษียณอายุราชการก็ตาม
พล.ต.อ.พงศพัศ ยังกล่าวอีกว่า จะไม่แปรเปลี่ยน 1 ล้านคะแนนเสียงของคนกรุงเทพ เพื่อเข้ามา รับตำแหน่งทางการเมือง หรือนำมาใช้หาประโยชน์ใส่ตัวใด ๆ ทั้งสิ้น vย่างไรก็ตามหากในอีก 4 ปีข้างหน้า กทม. ยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงก็จะขออาสาสมัครอีกครั้ง
"ส.ส.เพื่อไทย" ยื่นร่าง "พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" ต่อประธานสภาฯแล้ว
พรรคประชาธิปัตย์ประกาศไม่เข้าร่วมการพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม ที่ได้เปิดกว้างจากการหารือ 4 ฝ่ายเป็น 8 ฝ่ายก็ตาม ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อไทย ยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
เมื่อ ๗ มี.ค.๕๖ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย คือเว้นโทษความผิดให้กับผู้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปี 2554 พร้อมย้ำการนิรโทษกรรมจะไม่รวมแกนนำมวลชนและผู้สั่งการ เพื่อป้องกันการครหาเลือกทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง
นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ นำรายชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทย รวม 42 คน ยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง และการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบรรจุเป็นวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยมีสาระสำคัญเว้นโทษความผิดให้ผู้ชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน ปี 2549 ถึง วันที่ 10 พฤษภาคม ปี 2554
โดยนายวรชัย ระบุว่าการนิรโทษกรรมจะไม่รวมแกนนำมวลชนและผู้สั่งการ เพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อครหาว่าทำเพื่อพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง
ด้านนายสมศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องและไม่มีปัญหา คาดว่าจะสามารถบรรจุเข้าวาระการประชุมได้ในสัปดาห์หน้า แต่จะเป็นวาระด่วนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับที่ประชุมจะพิจารณา พร้อมย้ำว่า ส่วนตัวสนับสนุนแนวทางการปรองดอง แต่ทุกฝ่ายต้องหันหน้าพูดคุยกันโดยไม่มีวาระซ่อนเร้น และให้ยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
ก่อนหน้านี้นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เตรียมเปิดเจราจาประเด็นการนิรโทษกรรม 4 ฝ่าย และได้เปลี่ยนแปลงเป็น 8 ฝ่าย แต่ พรรคประชาธิปัตย์ มีมติไม่เข้าร่วมพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม และแม้จะมีข้อเสนอจากกลุ่มพันธมิตรฯ ให้การหารือเปิดกว้างขึ้น จาก 4 ฝ่ายเป็น 8 ฝ่าย พรรคก็ยังคงท่าทีเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ขณะที่กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ตอบรับที่จะเข้าร่วมหารือแล้ว
อภิสิทธิ์ยืนยันคัดค้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรม
พรรคประชาธิปัตย์ ระบุไม่เหนือความคาดหมาย ที่ ส.ส.เพื่อไทยเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว พร้อมยืนยันไม่เข้าร่วมหารือกฎหมายนิรโทษกรรม ที่ได้เปิดกว้างจากการหารือ 4 ฝ่าย เป็น 8 ฝ่าย ขณะที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร คาดว่าจะสามารถบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมได้ในสัปดาห์หน้า
เมื่อ ๘ มี.ค.๕๖ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า หลังจากผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องและไม่มีปัญหา คาดว่าจะสามารถบรรจุเข้าวาระการประชุมได้ในสัปดาห์หน้า แต่จะเป็นวาระด่วนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับที่ประชุมจะพิจารณา พร้อมย้ำว่า ส่วนตัวสนับสนุนแนวทางการปรองดอง แต่ทุกฝ่ายต้องหันหน้าพูดคุยกันโดยไม่มีวาระซ่อนเร้น และให้ยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
ขณะที่นายวรชัย เหมะ พร้อมด้วยเพื่อน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้นำรายชื่อ ส.ส.จำนวน 42 คน ยื่นให้กับ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้เร่งบรรจุร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง และการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ยกเว้นคนสั่งการ เข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็ว โดยมีสาระสำคัญเว้นโทษความผิดให้ผู้ชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน ปี 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม ปี 2554 แต่ไม่รวมแกนนำมวลชนและผู้สั่งการ เพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อครหาว่าทำเพื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า หากจะเสนอร่างกฎหมายใหม่ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์กับประชาชน ก็ควรแสดงความจริงใจ นำร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่ค้างอยู่ทั้ง 4 ฉบับ ออกไปก่อน ไม่เช่นนั้นอาจมีการอ้างว่า มีหลักการเดียวกัน แล้วนำร่างกฎหมายดังกล่าวซึ่งมีเนื้อหาสาระเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาพิจารณาไปพร้อมกัน ซึ่งจะนำมาซึ่งความขัดแย้งในบ้านเมือง โดยพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงยืนยัน จุดยืนเดิมที่คัดค้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมคดีอาญาและคนโกง
ดีเอสไอ" สอบเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์
ดีเอสไอเตรียมเรียกว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับทราบข้อกล่าวหาคดีเงินบริจาคพรรคการเมือง วันที่ 14 มีนาคมนี้
เมื่อ ๘ มี.ค.๕๖ พ.ต.อ.นิรันดร์ อดุลยาศักดิ์ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 1 กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ กล่าวถึงความคืบหน้าคดีการจ่ายเงินค่าบำรุงพรรคการเมืองให้พรรคประชาธิปัตย์ โดยให้สภาผู้แทนราษฎรหักเงินเดือน ส.ส.เข้าบัญชีพรรค ว่า จากการตรวจสอบมี ส.ส.หักบัญชีเงินเดือนเข้าพรรคประชาธิปัตย์ 48 ราย ซึ่งเข้าข่ายขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 มาตรา 57 วรรค 2 ในจำนวนนี้มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมอยู่ด้วย
ทั้งนี้ ได้แจ้งข้อกล่าวหานายอภิสิทธิ์ไปแล้ว ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ให้มารับทราบข้อกล่าวหาวันที่ 14 มีนาคมนี้ จากนั้นจะสรุปความเห็นสั่งฟ้องเสนอต่ออธิบดีดีเอสไอทันที คาดว่าจะสรุปเสร็จภายใน 1 เดือน ส่วน ส.ส.อีก 46 คน ที่หักบัญชีเงินเดือนเข้าพรรค จะรอให้ปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร์ในวันที่ 20 เมษายน จากนั้นเรียกเข้ารับทราบข้อกล่าวหาทั้งหมด
สภาผู้แทนราษฎรเตรียมเชิญ 10 ฝ่ายร่วมหารือร่างกฎหมายนิรโทษกรรมจันทร์นี้
สภาผู้แทนราษฎรเตรียมเปิดหารือ 10 ฝ่าย เพื่อกำหนดแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรมในวันจันทร์ที่ 11 มีนาคมนี้ โดยนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ยืนยันได้ส่งหนังสือเชิญทุกฝ่ายเข้าร่วมหารือแล้ว
เมื่อ ๙ มี.ค.๕๖ ด้วยกำหนดการที่จะเปิดหารือ เพื่อกำหนดแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรมในวันจันทร์ที่ 11 มีนาคมนี้ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ยืนยันเดินหน้าเปิดหารือตามกำหนดเดิม แม้ผู้เข้าร่วมหารือบางฝ่ายที่ได้ทำหนังสือเชิญไปทั้ง 10 ฝ่ายจะไม่เข้าร่วมด้วยก็ตาม เนื่องจากการเปิดหารือถือเป็นหลักการที่จะได้พูดคุยทำความเข้าใจร่วมกันและพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมปฏิเสธเจตนาแอบแฝงเพื่อประโยชน์อื่นใด จึงร้องขอทุกฝ่ายอย่าหวาดระแวงหรือวิตกกังวลกับประเด็นทางการเมือง
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ระบุว่า โดยระบบและสิทธิของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่สามารถยับยั้งหรือยุติการยื่นร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมของส.ส.ได้ หากแต่วอนขอบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอย่าคิดแทนมติของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเอาร่างกฎหมายที่ ส.ส.ยื่น มาพิจารณารวมกับร่างกฎหมายปรองดองที่ค้างอยู่ในวาระ เพราะโดยกระบวนการขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเห็นชอบร่วมกันในอนาคต
สำหรับการเปิดหารือจากเดิม ที่วางกรอบไว้ คือ 4 ฝ่าย และหลังกลุ่มพันธมิตรฯเข้ายื่นข้อเสนอ ก็เพิ่มเป็น 8 ฝ่าย และขณะนี้เป็น 10 ฝ่าย โดยเพิ่มเติมตัวแทนพรรคภูมิใจไทย และตัวแทนจากกองทัพหรือทหาร โดย 8 ฝ่ายเดิมประกอบไปด้วย ตัวแทนพรรคเพื่อไทย,พรรคประชาธิปัตย์,กลุ่ม นปช.,กลุ่มพันธมิตรฯ,องค์การพิทักษ์สยาม,ครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุการณ์การชุมนุม,ผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่ใช่ผู้ชุมนุม,และตัวแทนคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป.
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ และองค์การพิทักษ์สยาม ยังคงแสดงจุดยืนเดิม ไม่เข้าร่วมพิจารณาร่างกฎหมาย และมีรายงานว่า หาก 2 ฝ่ายนี้ไม่เข้าร่วมหารือ ก็มีแนวโน้มสูงที่กลุ่มพันธมิตรฯจะไม่ส่งตัวแทนด้วยเช่นกัน
 "ชวนนท์"ยืนยัน ปชป.ไม่ร่วมหารือออก กม.นิรโทษกรรม
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เชื่อว่าการหารือกฏหมายนิรโทษกรรมในวันจันทร์ที่11 มี.ค.นี้ หากทุกกลุ่มที่เชิญไปมาร่วมหารือ จะทำให้เกิดความปรองดองในชาติขึ้นได้ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันจุดยืนไม่ร่วมหารือกฏหมายนิรโทษกรรมตามที่รองประธานสภาฯ เชิญ
เมื่อ ๙ มี.ค.๕๖ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่าในวันจันทร์ที่ 11 มีนาคม นี้ จะร่วมหารือกับ 11 กลุ่ม ในการออกฏหมายนิรโทษกรรม โดยได้เชิญทั้งฝ่ายทหาร พรรคภูมิใจไทย และ น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี โดยยืนยันว่าการหารือดังกล่าวไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง และไม่เกี่ยวกับพรรคเพื่อไทย โดยจะไม่มีข้อผูกพันใดๆ จึงต้องการให้ทุกฝ่ายเข้ามาพูดคุย ก่อนจะตั้งเงื่อนไข
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์ จะไม่ร่วมหารือกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะทางพรรคมีจุดยืนที่ชัดเจน ว่า จะไม่ยินยอมนิรโทษกรรม ให้แก่บุคคลที่กระทำความผิดทางอาญา, การทุจริต และหมิ่นสถาบัน
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องว่า หากรัฐบาลมีความจริงใจในเรื่องนี้ ต้องการให้พิจารณาข้อเสนอของ คอป.ที่การนิรโทษกรรม ต้องมีความเหมาะสมรวมถึง กำหนดฐานความผิดต่างๆ และเงื่อนไขให้มีความชัดเจน ซึ่งทางพรรคเชื่อว่า เป็นทางออกของสังคมในเรื่องนี้
ขณะที่นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุว่า การประชุมพรรคในวันจันทร์นี้ จะยังไม่มีวาระการหารือหรือออกมติใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า อะไรที่ทำแล้วแก้ปัญหาสังคม และขับเคลื่อนประเทศได้ก็ควรร่วมมือกันทุกฝ่ายเพื่อหาข้อยุติ
"นักวิชาการรัฐศาสตร์" ชี้ กม.นิรโทษกรรมเป็นเกมทางการเมือง
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ วิเคราะห์การหารือแนวทางออกกฎหมายนิรโทษกรรม 10 ฝ่าย ที่จะเริ่มขึ้นวันพรุ่งนี้ เป็นเพียงเกมขับเคลื่อนการเมือง ที่รวบรัดตัดตอน พร้อมเสนอรัฐบาลควรแยกประชาชนผู้บริสุทธิ์ออกจากผู้ที่มีความผิดชัดเจน เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก่อนพิจารณาแนวทางการนิรโทษกรรม
เมื่อ ๑๐ มี.ค.๕๖ กำหนดการหารือแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม ที่จะเริ่มในวันพรุ่งนี้ ( 11 มี.ค.) ตามที่นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ได้ทำหนังสือเชิญตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง รวม 10 ฝ่าย เข้าร่วมด้วย รองศาสตราจารย์ตระกูล มีชัย นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ วิเคราะห์ว่า การให้ความสำคัญกับผู้ที่เชิญแต่ละฝ่ายเข้าร่วมหารือ อาจเป็นบุคคลที่ไม่มีอำนาจ เข้ามาไกล่เกลี่ยแก้ปัญหา ดังนั้นอาจถูกมองถึงเป็นเกมการเมือง ขณะที่ก่อนเกิดกระบวนการนิรโทษกรรม ควรผ่านการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมว่ากันด้วยเรื่องกฎหมาย ส่วนประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องต้องมีกระบวนการแยกแยะความผิดถูก โดยรัฐบาลอาจมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือ แต่ด้วยที่ผ่านมาขาดการปฏิบัติ ดังนั้นการเลือกนิรโทษกรรมในทันทีจึงเป็นการเหมารวมยกเว้นความผิดโดยไม่แยกแยะ
สำหรับการเปิดหารือกำหนดเพิ่มเติมเป็น10 ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการชุมนุมทางการเมือง ประกอบด้วย ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย ตัวแทนจากกองทัพหรือทหาร ตัวแทนพรรคเพื่อไทย,พรรคประชาธิปัตย์,กลุ่ม นปช.,กลุ่มพันธมิตรฯ,องค์การพิทักษ์สยาม,ครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุการณ์การชุมนุม,ผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่ใช่ผู้ชุมนุม,และตัวแทนของคอป. หรือคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ
เบื้องต้นคาดว่าให้การตอบรับที่จะไม่เข้าร่วม คือ พรรคประชาธิปัตย์ และองค์การพิทักษ์สยาม กลุ่มพันธมิตรฯ ขณะที่ คอป.ขอพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากจุดยืนเดิมคือเป็นผู้ทำรายงานสรุปความจริงที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การชุมนุมเท่านั้น
หารือ 10 ฝ่ายออกกฎหมายนิรโทษกรรม วันนี้ (11 มี.ค.)
การหารือแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม 10 ฝ่าย ตามแนวทางของนายเจริญ จรรย์โกมล ที่จะมีขึ้นในวันนี้ (11 มี.ค.) ที่รัฐสภา มีรายงานว่ามีอย่างน้อย 4 ฝ่าย ที่แสดงเจตนารมณ์ไม่เข้าร่วม
เมื่อ ๑๑ มี.ค.๕๖ การหารือแนวทางการผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ตามแนวทางของ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทน ราษฎร คนที่ 1 ที่นัดหมายเจรจา 10 ฝ่าย ในวันนี้ (11 มี.ค.) ประกอบด้วย ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย , ตัวแทนจากกองทัพ ,ตัวแทนพรรคเพื่อไทย ,พรรคประชาธิปัตย์ , กลุ่ม นปช. , กลุ่มพันธมิตรฯ ลองค์การพิทักษ์สยาม , ครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุการณ์การชุมนุม , ผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่ใช่ผู้ชุมนุม และตัวแทนของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป.
แต่เมื่อตรวจสอบผู้ที่จะเข้าร่วมหารือวันนี้ พบว่า 4 ฝ่าย ที่ปฏิเสธร่วมด้วย ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ , องค์การพิทักษ์สยาม , กลุ่มพันธมิตรฯ รวมถึง นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานกลุ่มเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือ กลุ่มเสื้อหลากสี เพราะต่างเห็นว่า การหารืออาจเป็นเพียงเกมการเมือง และอาจลัดขั้นตอนทางกระบวนการยุติธรรม
และมีรายงานในส่วนของฝ่าย คอป.ขอพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากจุดยืนเดิมคือเป็นผู้ทำรายงานสรุปความจริงที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การชุมนุมเท่านั้น และรายงานดังกล่าวได้นำเสนอรัฐบาลแล้ว

กกต.กทม. เตรียมพิจารณาคำร้องเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พรุ่งนี้ (12 มี.ค.)
พรรคเพื่อไทย เตรียมประชุมหาข้อสรุป ในการยื่นเรื่องร้อง กกต. กรณีการหาเสียงของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในวันนี้(11 มี.ค.) ขณะที่ กกต.กทม.เตรียมนำคำร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าหารือในที่ประชุม 12 มี.ค.นี้
เมื่อ ๑๑ มี.ค.๕๖ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร หรือ กกต.กทม. เปิดเผยว่า การประชุม กกต.กทม. ในวันที่ 12 มี.ค.นี้ พิจารณาคำร้องคัดค้านที่เกี่ยวข้องกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ได้รับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ส่วนคำร้องอื่นๆ ที่มีการร้องเข้ามา แต่ที่ประชุมต้องการให้กลับไปตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจะมีการนำมาพิจารณาในที่ประชุมครั้งต่อไป โดยที่ประชุม กกต.กทม. จะพยายามพิจารณา และสรุปผลคำร้องที่เกี่ยวข้องกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ให้เสร็จการประชุมในวันพรุ่งนี้ เพื่อที่จะเสนอให้ที่ประชุม กกต.กลาง ได้พิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ให้กับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ต่อไป
ส่วนกรณีจะมีตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย เดินทางมายื่นคำร้องต่อ กกต.กทม. กรณี 7 แกนนำ พรรคประชาธิปัตย์ ปราศรัยหาเสียงให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ที่อาจเข้าข่ายผิดตามมาตรา 57(5) ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 หากมีการยื่นคำร้องเข้ามาจริงหรือมีคำร้องต่างๆ ยื่นเข้ามาภายหลัง ก็คงจะหยิบยกนำไปพิจารณาในการประชุมครั้งต่อๆ ไป
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีการปราศรัยของพรรคประชาธิปัตย์ และทางทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ได้ถอดเทปการปราศรัย ปรากฎว่า 9 แกนนำ อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรคประชาธิปัตย์ ,นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรค , นายสุเทพ เทือกสุบรรณ , นายกรณ์ จาติกวณิช, นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ,นายศิริโชค โสภา , นายอิสระ สมชัย เข้าข่ายมาตรา 57 (5) ซึ่งเป็นปราศรัยโจมตี กล่าวหาในลักษณะให้เกิดความกลัว และให้เกิดความขัดแย้ง ทางการเมืองมากขึ้น พร้อมยืนยัน มีการหารือทีมกฎหมายและรายละเอียดแล้ว จึงได้รวมคำปราศรัย ไม่มีการตัดต่อ ที่สำคัญ มีทั้งภาพ ทั้งเสียง ซึ่งส่วนใหญ่คำปราศรัยมาจากเวปไซค์และลิ้งค์ของพรรคประชาธิปัตย์ มีหลักฐานชัดเจน
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีเดียวกันนี้ว่า ทุกประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์ปราศรัย คือเรื่องจริง ไม่มีการส่ร้ายป้ายสี แต่หากมีการตัดต่อคลิป คงต้องระวัง เพราะโทษของการกลั่นแกล้งมีสูงมาก เข้าใจว่าเรื่องที่ยื่น น่าจะไปพิจารณาภายหลังที่ กกต.ประกาศรับรองผู้ว่าฯกทม.แล้ว  อย่างไรก็ตาม หาก กกต. รับเรื่องแล้ว คงจะเชิญพรรคประชาธิปัตย์ไปชี้แจง ซึ่งเรามีสิทธิ์ที่จะรับทราบว่า พรรคเพื่อไทยนำข้อมูลใดไปร้องเรียนบ้าง
"เจริญ"เปิดวงหารือแนวทางนิรโทษกรรม-ไร้เงา"ปชป.-พธม."
สภาผู้แทนราษฎรเปิดหารือแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรมแล้ว โดยมีตัวแทนพรรคเพื่อไทย,ตัวแทนกลุ่ม นปช.,ตัวแทนจากกระทรวงกลาโหมและตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการรัฐวิสาหกิจ ย่านราชประสงค์เข้าร่วมเพียง 4 ฝ่ายเท่านั้น จากเดิมที่ทำหนังสือเชิญ รวม 11 ฝ่าย ขณะที่กลุ่มพันธมิตรฯทำหนังสือชี้แจงย้ำเหตุผลที่ไม่เข้าร่วมหารือในวันนี้ (11 มี.ค.)
เมื่อ ๑๑ มี.ค.๕๖ การเปิดหารือ 11 ฝ่าย เพื่อร่วมพิจารณาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม โดยนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เป็นประธานการเชิญและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น เมื่อ 11.00 น.ที่ผ่านมานี้ มีตัวแทนกลุ่มตามหนังสือเชิญเข้าร่วมรวม 4 ฝ่าย
ประกอบไปด้วย ตัวแทนกลุ่ม นปช. คือ นายก่อแก้ว พิกุลทอง,ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย นายอุดมเดช รัตนเสถียร และนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.พรรค,ตัวแทนจากกระทรวงกลาโหม พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.หม่อมหลวง ประสบชัย เกษมสันต์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ขณะที่ พ.ต.อ.เสรี ไขรัศมี เข้าร่วมหารือในนาม ตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการรัฐวิสาหกิจย่านราชประสงค์
ส่วนนายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ที่เดินทางเข้าร่วมหารือและรับฟังการแลกเปลี่ยนความเห็นในวันนี้ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามแล้ว ได้รับคำตอบว่า ไม่ได้เดินทางมาในนามของตัวแทนพรรคภูมิใจไทย แต่ขอเข้าร่วมโดยส่วนตัวเท่านั้น ขณะที่ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์,กลุ่มพันธมิตรฯ,องค์การพิทักษ์สยามฐกลุ่มเสื้อหลากสีและนางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยาพันเอกร่มเกล้า ธุวธรรม ครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ไม่ได้เข้าร่วมการหารือครั้งนี้
ซึ่งการไม่เข้าร่วมหารือ เป็นไปตามคำให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ ว่าไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรม สำหรับตัวแทน คอป. หรือคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ระบุไว้ว่า คอป.ได้จัดทำข้อเสนอทั้งหมดเป็นรายงานสรุปและเผยแพร่ไปก่อนหน้านี้แล้ว
ขณะที่นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ทำหนังสือชี้แจงต่อรองประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยย้ำในท่าทีของพันธมิตรฯที่ไม่เข้าร่วมหารือ ว่าไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำความผิดทางอาญาและคดีทุจริตในทุกคดี พร้อมเผยแพร่ข้อความคำชี้แจงในหนังสือในเว็บไซต์เฟซบุ๊ค "ปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์"
"เพื่อไทย" ยื่นคำร้อง "กกต." สอบปชป.ปราศรัยโจมตีพรรค
ทนายความพรรคเพื่อไทย ยื่นเอกสารประกอบคำร้องต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการปราศรัยโจมตีหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนจะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ บริพัตร ว่าที่ผู้ว่าฯกทม.
เมื่อ ๑๑ มี.ค.๕๖ นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความพรรคเพื่อไทยระบุว่า แกนนำ 4 คนของพรรคประชาธิปัตย์คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ , นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ , นายอิสสระ สมชัย , และนายกรณ์ จาติกวณิช
ซึ่งปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ช่วงโค้งสุดท้ายของพรรคประชาธิปัตย์ ได้เข้าข่ายผิดกฏหมายมาตรา 57(5) ซึ่งเป็นการปราศรัยโจมตี กล่าวหา เพื่อลดความน่าเชื่อถือในตัวผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะวาทกรรมเรื่องเผาบ้านเผาเมือง หรือ กินรวบประเทศ ผูกขาดประเทศ นายวิญญัติกล่าวด้วยว่า การยื่นคำร้องครั้งนี้ ได้นำเอกสารทั้งหมด ซึ่งรวบรวมเฉพาะที่มีความชัดเจนที่สุด จึงมั่นใจว่า จะนำไปสู่การพิจารณาของกกต.กทม.
เจริญจ่อเชิญปชป.-พธม.ร่วมหารือนิรโทษกรรมอีกครั้ง – แนะปล่อยตัวม็อบสู้คดี
ที่ประชุมหารือแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งแม้จะมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเพียง 6 จาก 11 ฝ่าย แต่ทุกฝ่ายก็ต้องการเห็นความปรองดองเกิดขึ้น ขณะเดียวกัน เตรียมออกหนังสือเชิญพรรคประชาธิปัตย์ และพันธมิตรฯ ร่วมหารืออีกครั้ง
เมื่อ ๑๑ มี.ค.๕๖ นายเจริญ จรรโกมลย์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังการหารือแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม 11 ฝ่ายว่า วันนี้มีตัวแทนเพียง 6 ฝ่ายที่เข้าร่วม แต่ก็เห็นพ้องว่า ต้องการเห็นความปรองดองและลดความขัดแย้ง ทั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายนำเงื่อนไขมาเสนอ พร้อมเตรียมเชิญพรรคประชาธิปัตย์ และพันธมิตรฯ เข้าร่วมหารืออีกครั้ง
ขณะเดียวกันจะหารือนอกรอบระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และวิปรัฐบาล ต่อแนวร่างกฎหมาย 4 ฉบับ ที่ค้างการพิจารณาและร่างที่เสนอมาใหม่ ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์คลายความกังวล
นอกจากนี้ยังเห็นว่า หลักการให้อภัยที่ต้องควบคู่กับการสำนึกรับผิดชอบ ส่วนวิธีการและรูปแบบจะเป็นอย่างไร ต้องมาออกแบบร่วมกัน รวมถึงการเสนอปล่อยตัวชั่วคราวประชาชนที่ถูกคุมขัง เพื่อให้ออกมาดำเนินการต่อสู้ทางคดีต่อไป

แกนนำพรรคเพื่อไทยเดินหน้า"นิรโทษกรรม"
แกนนำพรรคเพื่อไทยยืนยันการเดินหน้าตรากฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความปรองดอง พร้อมร้องขอพรรคการเมืองฝ่ายค้านและกลุ่มเคลื่อนไหวฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล อย่าเชื่อมโยงประโยชน์เพียงแค่การช่วยเหลือ พ.ต.ท.โททักษิณ ชินวัตร ขณะที่ผลการหารือ 6 ฝ่ายวันนี้เห็นพ้องในหลักการแล้ว
เมื่อ ๑๒ มี.ค.๕๖ ผลการหารือแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรมซึ่งมีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานวันนี้ ผู้เข้าร่วมเห็นพ้องตรงกัน ว่าจะลดความขัดแย้งและสร้างความปรองดอง และยอมรับในหลักการ ที่จะให้อภัยควบคู่ไปกับการสร้างสำนึกความรับผิดชอบในสังคม
รวมถึงสนับสนุนให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและ พ.ร.บ.ความมั่นคงในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง เพื่อใช้สิทธิ์ในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
ข้อสรุปของการหารือยังให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทำหนังสือเชิญ ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ร่วมนำเสนอความเห็นและเงื่อนไขรวมถึงการหารือนอกรอบกับวิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้าน
เพื่อพิจารณาดำเนินการกับร่าง พ.ร.บ.ปรองดองที่ค้างอยู่ในสภาฯทั้ง 4 ฉบับ เพื่อลดข้อกังวลของพรรคการเมืองฝ่ายค้านและกลุ่มเคลื่อนไหวฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล
สำหรับการหารือวานนี้ (11 มี.ค.) ประกอบไปด้วย ตัวแทนพรรคเพื่อไทย กลุ่ม นปช. กระทรวงกลาโหม และตัวแทนผู้ประกอบการแยกราชประสงค์ที่ได้รับผลกระทบโดยไม่มีพรรคประชาธิปัตย์ องค์การพิทักษ์สยาม กลุ่มพันธมิตรฯ และนางนิชา หิรัญบุรณะ ธุวธรรม ภรรยาพล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เข้าร่วม
นางนิชา เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊คว่า ได้ส่งจดหมายชี้แจงรองประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว โดยกล่าวย้ำในจุดยืนและข้อเสนอ ที่เคยเปิดเผยผ่านบทความก่อนหน้านี้
เช่นเดียวกับ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป.ที่ชี้แจงว่า ได้นำเสนอผ่านรายงานสรุปไปยังรัฐบาลแล้ว เพื่อสนับสนุนการเปิดการหารือครั้งนี้
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวยอมรับในสิทธิทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ และสิทธิการแสดงออกของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่จะไม่เข้าร่วมหารือ
แต่กล่าวย้ำว่า กระบวนการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ต้องเดินหน้าตามเสียงสนับสนุนของคนส่วนใหญ่ต่อไป
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย เห็นว่าหลังจากนี้ ต้องพูดคุยทำความเข้าใจให้ตรงกันทุกฝ่ายและกล่าวเรียกร้องพรรคการเมืองฝ่ายค้านและกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล อย่าเชื่อมโยงประโยชน์ของการออกฎหมายเพียงเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ขณะที่ผลการประชุมพรรคเพื่อไทยวานนี้ (11 มี.ค.) ยังไม่มีมติสนับสนุนร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง โดยสมาชิกส่วนใหญ่เสนอให้เปิดรับฟังความเห็นของกลุ่มอื่น ๆ มาสรุปร่วมกันเพื่อยึดประโยชน์ของประชาชน
"วราเทพ" วอนฝ่ายค้านยุติโยงนิรโทษกรรมช่วย "ทักษิณ"
วราเทพ ระบุไม่อยากให้ฝ่ายค้านมองนิรโทษกรรมเป็นการช่วย "ทักษิณ" วอนร่วมหาทางออกให้ประเทศ
เมื่อ ๑๒ มี.ค.๕๖ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี 42 ส.ส.พรรคเพื่อไทย จะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ นิรโทษกรรม ขึ้นมาก่อน ว่าในส่วนของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยยังไม่ได้พูดคุยกันในเรื่องนี้ ขณะเดียวกันไม่อยากให้ฝ่ายค้าน หรือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลมองเรื่องนี้เป็นการช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอยากให้มองข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ แล้วหันมาหาทางออกให้กับประเทศ
เตรียมเชิญ ปชป.และพันธมิตร หารืออีกครั้ง
นายเจริญ จรรโกมลย์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การหารือแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม 11 ฝ่ายมีตัวแทนเพียง 6 ฝ่าย ที่เข้าร่วม แต่ก็เห็นพ้องกันว่าต้องการเห็นความปรองดองและลดความขัดแย้ง โดยจะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายนำเงื่อนไขต่างๆมาเสนอ พร้อมเตรียมหนังสือเชิญพรรคประชาธิปัตย์ และพันธมิตรฯ เข้าร่วมหารืออีกครั้ง ขณะเดียวกันจะหารือนอกรอบระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ และวิปรัฐบาล ต่อแนวร่างกฎหมาย4 ฉบับ ที่ค้างการพิจารณาและร่างที่เสนอมาใหม่ ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์คลายความกังวล
นอกจากนี้ยังเห็นร่วมกันว่า หลักการให้อภัยที่ต้องควบคู่กับการสำนึกรับผิดชอบ ส่วนวิธีการและรูปแบบจะเป็นอย่างไรจะต้องมาออกแบบร่วมกัน รวมถึงการเสนอปล่อยตัวชั่วคราวประชาชนที่ถูกคุมขัง เพื่อให้ออกมาดำเนินการต่อสู้ทางคดีต่อไป
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า การที่พรรคไม่เข้าร่วม ไม่ได้หมายถึงขัดขวางการปรองดอง หรือไม่ต้องการให้มีความสมานฉันท์ในประเทศ แต่จุดยืนพรรค คือ ต้องทำความจริงให้ปรากฏก่อนว่าใครถูกผิด ตามที่ คอป.เสนอแนะ และเห็นว่าควรจะถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองทั้ง 4 ฉบับออกจากสภา
ยังไม่เลื่อนวาระพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ส่วนนายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาล กล่าวยืนยันว่า ในการประชุมสภาวันที่ 13 และ 14 มีนาคมนี้ ยังไม่มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ ที่ ส.ส. พรรคเพื่อไทย จำนวน 42 คน เสนอ และยังไม่มีมติที่จะต้องเลื่อนร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน โดยสัปดาห์นี้จะเป็นการพิจารณาระเบียบวาระปกติ
"ปชป." ยันหาเสียงผู้ว่าฯกทม.อยู่ใต้กฎหมาย หลังพท.ยื่นหนังสือกกต.สอบสวน
"องอาจ คล้ามไพบูลย์" ผอ.เลือกตั้งกทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวยืนยัน พรรคหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ใต้กรอบกฎหมาย หลังพรรคเพื่อไทยยื่นเอกสารให้กกต.ตรวจสอบข้อเท็จจริง
เมื่อ ๑๒ มี.ค.๕๖ ภายหลังจากที่นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ กกต.กทม. เพื่อขอให้ตรวจสอบการกระทำของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์  4 คน ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ปราศรัยในช่วงโค้งสุดท้ายของหาเสียงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 57(5) ของพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545
วันนี้ (12มี.ค.56) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้อำนวยการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รณรงค์หาเสียงด้วยความระมัดระวัง และอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายตลอดเวลา  โดยพรรคขอยืนยันว่า ไม่ใช่การปราศรัยเพื่อใส่ร้ายป้ายสี แต่เป็นการพูดความจริง และเป็นการเสนอข้อมูลที่อยู่ในพื้นฐานของความเป็นจริงตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม นายองอาจระบุว่า สำหรับข้อกล่าวหาอื่น ๆ ที่พรรคเพื่อไทยหรือบุคคลอื่น ๆ จะยื่นคำร้องเพื่อไม่ให้มีการรับรอง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ขณะนี้ทั้งพรรคและม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังไม่ทราบว่ามีข้อร้องเรียนอย่างไรนอกเหนือจากที่เป็นข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ และหาก กกต.มีหนังสือเรียกไปให้ข้อมูล พรรคและม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ก็ยินดีที่จะไปให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการพิจารณา พร้อมเชื่อมั่นว่าการดำเนินการหาเสียงไม่มีการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือกฎหมายอื่นใด

มติรัฐสภาให้รัฐบาลแถลงนโยบาย 1 ปี ในสมัยประชุมนิติบัญญัติ
รัฐสภามีมติให้รัฐบาลแถลงผลงานในโอกาสครบรอบการทำงาน 1 ปีต่อรัฐสภาภายในสมัยประชุมนิติบัญญัติ โดยมอบหมายให้วิป 3 ฝ่ายร่วมหารือกำหนดวันแถลงต่อไป
เมื่อ ๑๓ มี.ค.๕๖ ที่ประชุมรัฐสภาวานนี้ (12 มี.ค.) ส.ส.และ ส.ว.ลงมติใน 2 ญัตติ โดยเสียงข้างมากเห็นชอบให้รัฐบาลแถลงผลการดำเนินงานในโอกาสครบรอบ 1 ปีต่อรัฐสภาภายในสมัยประชุมนิติบัญญัติได้ ตามข้อยกเว้นของรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 วรรค 4 ให้รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้ง 2 สภา
โดยญัตติแรก ลงมติ 481 ต่อ 16 เสียง อนุญาติให้นำรายงานการแถลงผลการดำเนินงานมาพิจารณาได้ตามที่ ส.ส.เสนอ ขณะที่ญัตติที่ 2 ลงมติ 499 ต่อ 4 เสียง เห็นชอบให้พิจารณาการแถลงผลการดำเนินงาน ตามที่ ส.ว.เสนอ หากแต่จะเปิดแถลงวันใดให้วิปวุฒิสภา วิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาล ได้หารือตกลงกรอบเวลาที่ชัดเจนต่อไป
กกต.กทม.ส่ง 2 คำร้องค้านผู้ว่าฯ กทม.ให้ กกต.กลาง
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร มีมติส่งเรื่องคำร้องคัดค้านการรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์และนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ โพสต์ข้อความและภาพผ่านทางเฟสบุค 2 เรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกลาง วินิจฉัยในวันที่ 14 มีนาคม โดยระบุว่าหลักฐานที่ได้อาจไม่ถึงกับให้ใบแดงเพราะว่าที่ผู้ว่าฯ กทม.ไม่ได้กระทำความผิดเอง
เมื่อ ๑๓ มี.ค.๕๖ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร เปิดเผยหลังผลการประชุม กกต.กทม. พิจารณาคำร้องคัดค้านการรับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยที่ประชุมมีมติเสียงส่วนใหญ่ เสนอความเห็นคำร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2 เรื่อง คือ
กรณีนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ลงภาพเผาบ้านเผาเมืองผ่านเฟซบุ๊ค และกรณีนายเสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ เขียนข้อความสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกลาง พิจารณาว่าจะรับรอง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่ ภายในวันที่ 14 มีนาคมนี้
นอกจากนี้ ยังได้รับทราบคำร้องกรณีการแต่งตั้งที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. 31 คน และการปราศรัยของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ โดยมอบให้คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนไปสอบสวนข้อเท็จจริง
ประธาน กกต.กทม. ยืนยันว่า ความเห็นที่ กกต.กทม. เสนอไปยัง กกต. กลาง จะไม่นำไปสู่การให้ใบแดงกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เนื่องจากไม่ได้เกิดจากการกระทำจากตัวผู้สมัครเอง และยืนยันไม่หวั่นไหวกับคะแนนเสียงผู้ที่ชนะการเลือกตั้ง และแรงกดดันจากฝ่ายการเมือง เพราะยึดการดำเนินงานตามกฎหมายเป็นหลัก
ปชป.ย้ำไม่คุยนิรโทษกรรม หากไม่ถอนร่างกม.เดิมออกจากสภาฯ
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรช่วงบ่ายวันนี้ (13 มี.ค.) พรรคประชาธิปัตย์ย้ำจะไม่นำประเด็นกฏหมายนิรโทษกรรมหารือ เพราะได้ย้ำจุดยืนไม่เข้าร่วมตั้งแต่ต้น หากกระบวนการทางสภาฯ ยังคงร่างกฎหมายปรองดองบรรจุเป็นวาระ พร้อมเสนอให้ถอนออก และตั้งต้นพูดคุยใหม่โดยยึดข้อเสนอของ คอป. เป็นแนวทางการออกฏหมายนิรโทษกรรม
เมื่อ ๑๓ มี.ค.๕ต แม้จะยังไม่มีความชัดเจนถึงการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ปรองดอง ที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรม จะถูกเสนอเลื่อนให้เป็นวาระด่วนในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงการใช้เวทีสภาฯ ถกเถียงแนวทางการตรากฏหมายนิรโทษกรรม 10 ฝ่าย เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
โดยนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคจะไม่สนับสนุนกระบวนการหารือดังกล่าว หากไม่มีการถอนร่างพ.ร.บ.ปรองดองและร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ออกจากวาระของสภาฯก่อนการเรียกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาพูดคุย ซึ่งพรรคย้ำจุดยืนในแนวทางของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ที่จะต้องให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และเมื่อสิ้นสุดแล้วจึงจะจำแนกว่าใครควรได้รับการนิรโทษกรรมบ้าง เพื่อป้องกันการเอื้อประโยชน์ต่อการเหมารวมยกโทษความผิด
ขณะที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่าการเสนอร่างนิรโทษกรรมเป็น พ.ร.บ.ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะผ่านกระบวนการกลั่นกรอง อย่างรอบคอบจากสภา ขณะเดียวกันมีความกังวลในสาระสำคัญของร่างกฎหมาย ที่ไม่ชัดเจนและเขียนกรอบกว้างเกินไป อาจถูกนำไปเชื่อมโยงเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังนั้นเห็นว่าการเขียนต้องชัดเจน และให้ฝ่ายที่เห็นต่างเข้าร่วมด้วย จึงจะสามารถสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงได้
เมื่อวันจันทร์ที่มาการหารือ 10 ฝ่ายที่มีนายเจริญ จรรโกมลย์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประชุมเพียง 6 ฝ่าย ได้ข้อสรุปที่ต้องการเห็นความปรองดอง และลดความขัดแย้ง โดยให้ทุกฝ่ายเสนอเงื่อนไข และจะเชิญพรรคประชาธิปัตย์ และพันธมิตรฯ ร่วมหารืออีกครั้ง ขณะเดียวกันจะหารือวิปรัฐบาล ต่อแนวร่างกฎหมาย4 ฉบับ ที่ค้างการพิจารณาและร่างที่เสนอมาใหม่ ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์คลายความกังวล
"นิคม" ชี้ "พ.ร.บ.ปรองดอง-นิรโทษกรรม" อาจเอื้อประโยชน์ต่อบุคคล
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ไม่มีการหารือเรื่องร่างพ.ร.บ.ปรองดอง และร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ค้างการพิจารณาอยู่ โดยประธานวิปรัฐบาลชี้ว่า การจะพิจารณาเป็นเรื่องด่วนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเสียงข้างมาก ขณะที่ประธานวุฒิสภา ชี้ร่างกฎหมายอาจเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้
เมื่อ ๑๓ มี.ค.๕ต เนื่องจากในรายละเอียดของร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมและร่างพ.ร.บ.ปรองดองที่อยู่ในวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ขาดความชัดเจนและกำหนดกรอบกว้างเกินไป นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา จึงเชื่อว่า เนื้อหาสาระของร่างกฎหมายอาจมีการเปลี่ยนแปลงและถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้ แต่ยอมรับว่า การตรากฏหมายนิรโทษกรรมเป็น พ.ร.บ.ถือเป็นเรื่องที่ดี
ขณะที่นายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาล ชี้ว่า ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมของ 44 ส.ส.นำโดยนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย จะถูกบรรจุเป็นวาระการพิจารณาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสภาผู้แทนราษฎร และตามหลักหากมีการบรรจุแล้ว นายวรชัย ก็สามารถใช้เอกสิทธิ์ขอให้เลื่อนเป็นวาระด่วนได้
"พท."ร้อง"อภิสิทธิ์"หยุดชี้"ทักษิณ"สั่ง-ปชป.ย้ำนายกฯต้องแสดงจุดยืน"นิรโทษฯ"
ส.ส.พรรคเพื่อไทย แถลงเรียกร้องผู้นำฝ่ายค้าน ยุติการกล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ครอบงำอำนาจและเอกสิทธิ์ของส.ส.เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อล้างความผิด ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ แถลงย้ำว่า นายกรัฐมนตรี ต้องแสดงความชัดเจนในหลักการตรากฎหมายนิรโทษกรรม เพราะเชื่อว่ารัฐบาลและพรรคเพื่อไทยกำลังเดินหน้าผลัดดันโดยสวม 2 บทบาทในคราวเดียวกัน
เมื่อ ๑๓ มี.ค.๕ต นอกจากคำยืนยันในหลักการตรากฎหมายนิรโทษกรรม ที่ควรถอนร่างพ.ร.บ.ปรองดอง รวม 4 ฉบับที่ค้างการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังชี้ว่าหลักการของพรรคต่อการนิรโทษกรรม ควรยกเว้นความผิดให้กับคดีลหุโทษที่เกิดจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งเป็นสิทธิ์ที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญเท่านั้น
นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยการเปิดเว็บไซต์สไกป์เข้ามาร่วมประชุมพรรคเพื่อไทยของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น่าจะเพียงพอต่อข้อสังเกตการอยู่เบื้องหลังผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งในรายละเอียดนั้น นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยควรอธิบายข้อเท็จจริงและหลักการการตรากฎหมายให้ชัดเจน
ขณะที่นายชวนนท์ อิสรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงอ้างอิงว่า การผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นความพยายามที่บุคคลในรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ที่สวม 2 บทบาทเล่นเกมการเมือง ทั้งส่งสัญญาณการเดินหน้าและการเอาใจมวลชนคนเสื้อแดง แต่ผลสุดท้ายคือการตรากฎหมายนิรโทษกรรมที่เอื้อประโยชน์ให้พันตำรวจโททักษิณด้วย ไม่ได้ตราขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเท่านั้น 
นางจารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.พรรคเพื่อไทย แถลงเรีกยร้องผู้นำฝ่ายค้านยุติการกล่าวหาพันตำรวจดททักษิณ ครอบงำและเร่งรัดการตรากฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อล้างความผิด แต่กล่าวย้ำให้แสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในการชุมนุมทางการเมือง 
ส่วนแกนนำ นปช. นำโดยนางธิดา ถาวรเศรษฐและนายจตุพร พรหมพันธุ์ แถลงสนับสนุนการหารือแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม โดยเชื่อว่าการหาแนวทางร่วมกันเป็นทางออกที่ดีที่สุด และชี้ว่าผู้ไม่เข้าร่วมหารือคือผู้ขัดขวางการสร้างความปรองดองและการเกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 
นายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ วิปรัฐบาล เชื่อว่าเป็นเอกสิทธิ์ของ 42 ส.ส.พรรคเพื่อไทย นำโดย นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ ที่จะผลักดันพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมโดยเร่งด่วน แต่สภาผู้แทนราษฎรจะเลื่อนวาระให้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร 
ขณะที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา แสดงความกังวลในมาตรา 3 ว่าด้วยเรื่องการยกเว้นความผิดและมาตรา 4 ที่ว่าการให้อำนาจฝ่ายอัยการและตำรวจ ของร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ตามที่ 42 ส.ส.พรรคเพื่อไทยเสนอ เพราะขาดละเอียดและความชัดเจน จึงเกรงว่าอาจกลายเป็นช่องว่างให้เกิดการฉวยโอกาสหรือแอบแฝงเอื้อประโยชน์ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้
"เพื่อไทย"เรียกร้อง"อภิสิทธิ์"ยุติโยง"ทักษิณ"เร่งรัดออกกฎหมายนิรโทษกรรม
ส.ส.พรรคเพื่อไทย แถลงเรียกร้องผู้นำฝ่ายค้าน ยุติการกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ครอบงำอำนาจและเอกสิทธิ์ของ ส.ส.เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ แถลงย้ำว่า นายกรัฐมนตรี ต้องแสดงความชัดเจนในหลักการตรากฎหมายนิรโทษกรรม เพราะเชื่อว่ารัฐบาลและพรรคเพื่อไทย กำลังเดินหน้าผลักดัน โดยสวม 2 บทบาทในคราวเดียวกัน
เมื่อ ๑๔ มี.ค.๕ต นอกจากคำยืนยันในหลักการตรากฎหมายนิรโทษกรรม ที่ควรถอนร่างพ.ร.บ.ปรองดอง รวม 4 ฉบับที่ค้างการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรค
ประชาธิปัตย์ ยังชี้ว่าหลักการของพรรคต่อการนิรโทษกรรม ควรยกเว้นความผิดให้กับคดีลหุโทษที่เกิดจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งเป็นสิทธิ์ที่รับรองโดยรัฐธรรมนูญเท่านั้น
นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยการเปิดเว็บไซต์สไกป์เข้ามาร่วมประชุมพรรคเพื่อไทย ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น่าจะเพียงพอต่อข้อสังเกตการอยู่เบื้องหลังผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งในรายละเอียดนั้น นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยควรอธิบายข้อเท็จจริงและหลักการการตรากฎหมายให้ชัดเจน
ขณะที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงอ้างอิงว่า การผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นความพยายามที่บุคคลในรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ที่สวม 2 บทบาทเล่นเกมการเมือง ทั้งส่งสัญญาณการเดินหน้า และการเอาใจมวลชนคนเสื้อแดง แต่ผลสุดท้ายคือการตรากฎหมายนิรโทษกรรมที่เอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย ไม่ได้ตราขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเท่านั้น
นางจารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.พรรคเพื่อไทย แถลงเรียกร้องผู้นำฝ่ายค้าน ยุติการกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ครอบงำและเร่งรัดการตรากฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อล้างความผิด แต่กล่าวย้ำให้แสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในการชุมนุมทางการเมือง
ส่วนแกนนำ นปช. นำโดยนางธิดา ถาวรเศรษฐและนายจตุพร พรหมพันธุ์ แถลงสนับสนุนการหารือแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรม โดยเชื่อว่าการหาแนวทางร่วมกันเป็นทางออกที่ดีที่สุด และชี้ว่าผู้ไม่เข้าร่วมหารือคือผู้ขัดขวางการสร้างความปรองดองและการเกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
นายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ วิปรัฐบาล เชื่อว่าเป็นเอกสิทธิ์ของ 42 ส.ส.พรรคเพื่อไทย นำโดย นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ ที่จะผลักดันพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมโดยเร่งด่วน แต่สภาผู้แทนราษฎรจะเลื่อนวาระให้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ขณะที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา แสดงความกังวลในมาตรา 3 ว่าด้วยเรื่องการยกเว้นความผิดและมาตรา 4 ที่ว่าการให้อำนาจฝ่ายอัยการและตำรวจ ของร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ตามที่ 42 ส.ส.พรรคเพื่อไทยเสนอ เพราะขาดละเอียดและความชัดเจน จึงเกรงว่าอาจกลายเป็นช่องว่างให้เกิดการฉวยโอกาสหรือแอบแฝงเอื้อประโยชน์ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้
ดีเอสไอเรียก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์รับทราบข้อหาบริจาคเงินแก่พรรคผิดขั้นตอน
ประธาน กกต.กทม.ปฏิเสธเสนอ กกต.กลางให้ใบเหลือง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ส่วนการประชุมวันนี้ (14 มี.ค.) จะพิจารณาคำร้องคัดค้านที่ยังค้างอยู่ ก่อนนำข้อมูลเสนอต่อ กกต.กลาง ขณะที่กรมสอบสวนคดีพิเศษออกหมายเรียกว่าที่ผู้ว่าฯกทม.เข้ารับทราบข้อกล่าวหากรณีการบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองผิดขั้นตอน
เมื่อ ๑๔ มี.ค.๕ต นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยถึงการสอบสวนคดีการจ่ายเงินค่าบำรุงพรรคการเมืองให้กับพรรคประชาธิปัตย์ โดยวิธีการให้สภาผู้แทนราษฎรหักเงินเดือนส.ส.เข้าบัญชีพรรค ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ออกหมายเรียกให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้ารับทราบข้อกล่าวหาด้วย ซึ่งได้รับการยืนยันแล้วว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในความผิดตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 มาตรา 57 วรรค 2 ซึ่งระบุว่า การบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป จะต้องบริจาคโดยวิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงิน หรือเช็คขีดคร่อมด้วยตนเองในวันนี้ (14 มี.ค.) เบื้องต้นมีผู้เข้าข่ายถูกแจ้งข้อหาจำนวน 48 คน รวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้รับทราบข้อหาไปแล้ว ส่วนหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์เป็นรายที่ 2 ที่เรียกรับทราบข้อกล่าวหา ส่วนอีก 46 คนที่เหลือ ส่วนใหญ่คือ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด โดยต้องรอให้ปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 20 เมษายนนี้ก่อน
ส่วนกรณีการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน เพื่อรับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธานกกต.กทม. ชี้แจงถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า กกต.กทม.มีมติเสนอ กกต.กลางให้ใบเหลืองว่าที่ผู้ว่าฯกทม. ว่าไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีอำนาจชี้ขาดให้ใบเหลือง หรือใบแดง แต่เป็นอำนาจของ กกต.กลาง ส่วนมติ กกต.กทม.ที่จะเสนอไปยัง กกต.กลางเป็นข้อมูล ข้อเท็จจริง รวมถึงหลักฐานประกอบความคิดเห็นเท่านั้น ซึ่งกกต.กทม.ทั้ง 5 คนต้องพิจารณา และหากเห็นชอบ ก็จะลงนามในระหว่างประชุม กกต.กทม.ในวันนี้ (14 มี.ค.) จึงจะเสนอ กกต.กลางพิจารณา
ด้าน นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า เมื่อรับสำนวนคำร้องจาก กกต.กทม. แล้ว กกต.กลาง จะพิจารณาว่า สมควรมีการสอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ แต่หากพิจารณาสำนวนแล้วเห็นว่า มีการสืบสวนสอบสวนครบถ้วน ก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของกกต.กลางได้ภายในสัปดาห์หน้า ส่วนความเห็นของ กกต.กทม. ที่แนบมาในสำนวน จะเป็นเพียงความเห็นข้างต้น ไม่มีผลผูกมัดการพิจารณาของ กกต.กลาง ซึ่ง กกต.กลางอาจจะมีความเห็นสวนทางกับ กกต.กทม.ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณา ซึ่ง กกต.กทม. ไม่ควรให้รายละเอียด หรือเปิดเผยรายละเอียดในสำนวนก่อนการพิจารณาจะแล้วเสร็จ เพราะถือว่าเป็นความลับ ห้ามนำมาเปิดเผย พร้อมเตือน กกต.กทม.ด้วยว่า การให้สัมภาษณ์ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น เพราะผลที่ออกมาจะทำให้เกิดความกดดันที่ กกต.กลาง
กกต.กทม.ส่งคำร้องคัดค้าน "สุขุมพันธุ์" เพิ่มอีก2 เตรียมแจ้งข่าวใหญ่20มี.ค.
พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร ได้ลงนาม คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่หม่อมราชวงศ์ สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกลาง วินิจฉัยแล้ว
เมื่อ ๑๔ มี.ค.๕๖ ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติลงนามคำร้องคัดค้านจำนวน 2 เรื่อง ส่งไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งกลาง พิจารณาวินิจฉัย แต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียดว่าเป็นกรณีใด พร้อมเปิดเผยว่า วันที่ 20 เดือนนี้ จะเชิญบุคคลมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียน แต่ไม่ได้เปิดเผยว่า จะเชิญหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ บริพัตร มาชี้แจงหรือไม่ พร้อมทั้งบอกว่า จะเป็นข่าวใหญ่อย่างแน่นอน
ประธานกกต.กทม. ยังยืนยันว่า ไม่เคยให้ข่าวทำนองว่า จะให้ใบเหลืองหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ เพราะไม่มีอำนาจในเรื่องนี้ เพียงแต่ทำหน้าที่รวบรวมรับคำร้อง , พยานหลักฐาน และวินิจฉัยเบื้องต้น ส่งให้กกต.กลางลงมติ
กกต.กทม.ระบุ 20 มี.ค.จะเชิญบุคคลมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียน-ยันมีข่าวใหญ่
ประธาน กกต.กทม. ระบุ 20 มี.ค. จะเชิญบุคคลมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียน ยืนยันมีข่าวใหญ่ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์แน่นอน
เมื่อ ๑๕ มี.ค.๕๖ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร หรือ กกต.กทม. เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกต.กทม.มีมติลงนามคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง จำนวน 2 เรื่อง พร้อมส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งกลาง ให้พิจารณาวินิจฉัย โดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดในคำร้องคัดค้านดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า ในวันที่ 20 มีนาคมนี้ จะเชิญบุคคลมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียน แต่ไม่ได้เปิดเผยว่า จะเชิญ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ มาชี้แจงหรือไม่ แต่ยืนยันว่า ในวันนั้นจะมีข่าวใหญ่ให้ได้ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์อย่างแน่นอน
สำหรับขั้นตอนการพิจารณาก่อนมีการลงมติในคำร้องคัดค้าน กกต.กลางจะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งคาดว่า จะมีการนำคำร้องทั้ง 2 เรื่องเข้าสู่ที่ประชุมในสัปดาห์หน้า ส่วนจะมีคำวินิจฉัยไปในทิศทางใดจะต้องอาศัยขั้นตอนและระยะเวลา โดยหากมีการลงมติให้ใบเหลือง หรือใบแดง ก่อนการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง หรือภายใน 30 วัน ต้องใช้เสียงในที่ประชุม 4 ใน 5 เสียง และต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า มีความผิดตามคำร้องจริง
แต่ถ้าหาก กกต. มีคำวินิจฉัยมากกว่าเวลาที่ต้องรับรองผลใน 30 วัน ก็สามารถทำได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งจะมีศาลอุทธรณ์ช่วยกลั่นกรองว่า หลักฐานที่ กกต.เสนอรับฟังได้หรือไม่
ด้านนางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกระแสข่าวการพิจารณาคำร้องคัดค้านผลการเลือกตั้ง จนอาจนำไปสู่การให้ใบเหลือง หรือใบแดง โดยระบุว่า จะทำหน้าที่รักษาการณ์ผู้ว่าฯกทม. ต่อไป โดยทำงานตามนโยบายของ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ จนกว่าจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ
แต่หาก กกต.พิจารณาคำร้องคัดค้าน และมีมติให้ใบเหลืองหรือใบแดง และให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง กทม.ก็พร้อมดำเนินการ เพราะเป็นหน้าที่ของข้าราชการไม่สามารถปฏิเสธงานได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น