วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

ระนองงัดแผน "พิทักษ์อันดามัน" สกัดโรฮิงญาขึ้นฝั่ง เมื่อ 10 มี.ค.56




ระนองงัดแผน "พิทักษ์อันดามัน" สกัดโรฮิงญาขึ้นฝั่ง


ระนองผนึก 17 หน่วยงานดแผน "พิทักษ์อันดามัน"สกัดกั้นโรฮิงญาทะลัก หลังได้กลิ่นชายฉกรรจ์ชาวอาระกันยังจ่อทะลักเข้าไทยอีกจำนวนมาก ว่าที่ ร.ต.เชิดศักดิ์ จำปาเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดระนอง เปิดเผย "ผู้สื่อข่าว" ว่าทางจังหวัดระนอง ,กอรมน.ภาค 4 สย.1 และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงชุมชนในจังหวัดระองรวม 17 หน่วยงาน ได้ร่วมวางมาตรการการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทางทะเล หรือกลุ่มชาวโรฮิงญา ที่ยังมีแนวโน้มทะลักเข้ามายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ จนถึง เม.ย. 2556
ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทางทะเลในประเทศไทย เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันมานานนับสิบปี โดยมีการหลบหนีเข้าเมืองด้านจ.ระนอง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2541 จำนวน 104 คน หลังจากนั้นก็มีการหลบหนีเข้าเมืองเพิ่มขึ้นทุกปี ในห้วงมรสุมสงบประมาณเดือน พ.ย.-เม.ย. โดยจะใช้เรือประมงเก่า เป็นพาหนะ เดินทางจากรัฐยะไข่ซึ่งอยู่ตอนเหนือของพม่า หรือตอนใต้ของบังกลาเทศถึงประเทศไทยระยะทางประมาณ 780 ไมล์ ใช้เวลาประมาณ 15 -20 วัน
ในปีนี้คาดว่าจะยังมีชาวโรฮิงญาอีกจำนวนมาก ที่ยังคงพยายามหาช่องทางที่จะเดินทางมายังประเทศไทย โดยเฉพาะการเข้ามาทางด้านจังหวัดระนองและใกล้เคียง เนื่องจากไม่สามารถทนต่อความอดอยาก และทุกยากในถิ่นที่อยู่เดิมได้อันเป็นผลมาจากการไม่ยอมรับการเป็นพลเมืองของประเทศต้นทาง โดยรูปแบบการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยทราบว่าขณะนี้ทางกลุ่มโรฮิงญาได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่นั่งเรือเข้ามาเป็นกลุ่มใหญ่ เป็นการอพยพขึ้นฝั่งก่อนที่จะถึงประเทศไทย จากนั้นจะพยายามหาช่องทางเล็ดลอดเข้ามาแบบกองทัพมดเพื่อหาทางขึ้นฝั่งไทย โดยมีนายหน้าขบวนการค้ามนุษย์ฝั่งไทยคอยให้การช่วยเหลือ ดังนั้นรูปแบบการสกัดกั้นจะต้องสกัดกั้นทั้งสองทางคือทั้งทางทะเล และบนบก
สำหรับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทางทะเล โดยเฉพาะกลุ่มโรฮิงญา ทาง สมช.ได้มอบหมายให้ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีบูรณาการและประสานการปฏิบัติ โดยแนวทางและมาตรการรับมือการทะลักเข้ามาของชาวโรฮิงญาในปีนี้ได้กำหนดเป็น 2 ขั้นตอนคือขั้นตอนการเตรียมการประกอบด้วย จัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการและประสานแผนการปฏิบัติ โดยยึดหลักปฏิบัติตามแผนพิทักษ์อันดามัน1 และแนวทางปฏิบัติต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองทางทะเล เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ และประยุกต์ใช้ให้มีผลในทางปฏิบัติจริง
ฝึกจัดตั้งและทบทวนกำลังประชาชน เพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือในการรายงานข่าวสาร และเสริมสร้างอุดมการณ์ความรักชาติ โดยขณะนี้มีกำลังประชาชนที่ได้รับการฝึกแล้วรวม 400 คน กระจายตามพื้นที่ชายฝั่งทะเลของ จ.ระนอง และเกาะแก่งต่างๆ ,จัดตั้งแหล่งข่าวประมงน้ำลึก ซึ่งทำการประมงในน่านน้ำสากล ทำให้สามารถรับรู้ข่าวสารการเดินทางของผู้หลบหนีเข้าเมืองทางทะเล หรือชาวโรฮิงญาได้ตั้งแต่เริ่มออกเดินทาง,ติดตั้งวิทยุสื่อสารประจำเกาะต่างๆ ให้กำลังประชาชนสามารถรายงานข่าวสารการหลบหนีเข้าเมืองได้อย่างรวดเร็ว,จัดหาเรือเร็ว 2 ลำ เพื่อลาดตระเวนน่านน้ำ 
สำหรับขั้นการปฏิบัติ เริ่มจากการสกัดกั้นและปฏิเสธการเข้าเมืองทันที โดยได้กำหนดแนวสกัดกั้นตามเส้นทางการหลบหนีเข้าเมืองทางทะเล ตั้งแต่แนวเกาะตาครุฑ,เกาะสินไห,เกาะช้าง,เกาะพยาม,เกาะค้างคาว ซึ่งเป็นเส้นทางหลบหนีเข้าเมืองทางทะเล โดยพยายามใช้วิธีชักจูง โน้มน้าวมิให้ขึ้นฝั่ง และสนับสนุนเสบียง อาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้เดินทางต่อไปยังประเทศที่สาม,การควบคุมตรวจสอบ เพื่อสืบหาและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อขบวนการนำพา,การปฏิเสธการเข้าเมือง ด้วยการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง จัดหาเสบียง อาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค เชื้อเพลิง และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เท่าที่จำเป็น เพื่อให้ผู้หลบหนีเข้าเมืองเดินทางต่อไปได้อย่างน้อย 15-20 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น