วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครม.อนุมัติ 6 กลุ่มบริษัทผ่านเข้ายื่นซองประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำ เมื่อ ๕ ก.พ.๕๖


(เพิ่มเติม) ครม.อนุมัติ 6 กลุ่มบริษัทผ่านเข้ายื่นซองประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำ


          สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05 ก.พ. 56)--นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ 6 กลุ่มบริษัท ผ่านการคัดเลือกในการเสนอกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศ ประกอบด้วย 1.บริษัท โคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(K-Water) 2.ITD POWER CHINA JV 3.กิจการร่วมค้า ซัมมิท เอสยูที 4.กิจการร่วมค้าทีมไทยแลนด์ 5.กิจการร่วมค้าญี่ปุ่น-ไทย 6.กลุ่มบริษัทค้าร่วม ล็อกซเลย์
          "จาก 6 กลุ่มบริษัทประกอบด้วยทั้งหมด 31 บริษัท เป็นบริษัทคนไทยคิดเป็น 65% ผลการพิจารณาครั้งนี้ บริษัทที่จะได้เดินหน้าต่อไปคือคนไทย ไม่ใช่ชาวต่างชาติ" นายปลอดประสพ กล่าว
          โดยบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกในทั้ง 10 โมดูล เป็นดังนี้
          1.Module A1: การสร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ยม น่าน สะแกกรัง และป่าสัก
          ประกอบด้วย 1.บริษัทโคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(เค วอเตอร์)
                           2.กิจการร่วมค้า ญี่ปุ่น-ไทย
                           3.ITD-POWERCHINA JV
          2.Module A2: การจัดทำผังการใช้ที่ดิน/การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งการจัดทำพื้นที่ปิดล้อมพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจหลัก ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
          ประกอบด้วย 1.บริษัทโคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(เค วอเตอร์)
                           2.กิจการร่วมค้า ญี่ปุ่น-ไทย
                           3.ITD-POWERCHINA JV
          3.Module A3: การปรับปรุงพื้นที่เกษตรชลประทานในพื้นที่โครงการชลประทานเหนือจังหวัดนครสวรรค์และเหนือจังหวัดอยุธยาเพื่อเก็บกักน้ำหลากชั่วคราว
          ประกอบด้วย 1.บริษัทโคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(เค วอเตอร์)
                           2.กิจการร่วมค้า ทีมไทยแลนด์
                           3.ITD-POWERCHINA JV
          4.Module A4: การปรับปรุงสภาพลำน้ำสายหลัก และคันริมแม่น้ำของแม่น้ำสายหลัก คือ ปิง วัง ยม น่าน เจ้าพระยา สะแกกรัง ป่าสัก ท่าจีน ฯลฯ
          ประกอบด้วย 1.บริษัทโคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(เค วอเตอร์)
                           2.กิจการร่วมค้า ญี่ปุ่น-ไทย
                           3.ITD-POWERCHINA JV
          5.Module A5: การจัดทำทางน้ำหลาก(Floodway) และ/หรือทางผันน้ำ (Flood diversion channel) ขนาดไม่น้อยกว่า 1,500 ลบ.ม/วินาที รวมทั้งจัดทำทางหลวง(ระดับประเทศ)ไปพร้อมๆ กัน
          ประกอบด้วย 1.บริษัทโคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(เค วอเตอร์)
                           2.กิจการร่วมค้า ญี่ปุ่น-ไทย
                           3.ITD-POWERCHINA JV
          6.Module A6: การปรับปรุงระบบคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์และเตือนภัยรวมทั้งการบริหารจัดการน้ำกรณีต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา
          ประกอบด้วย 1.บริษัทโคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(เค วอเตอร์)
                           2.กลุ่มบริษัทค้าร่วม ล็อกซเลย์
                           3.ITD-POWERCHINA JV
          7.Module B1: การสร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำ 17 ลุ่มน้ำ
          ประกอบด้วย 1.บริษัทโคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(เค วอเตอร์)
                           2.กิจการร่วมค้า ญี่ปุ่น-ไทย
                           3.ITD-POWERCHINA JV
          8.Module B2: การจัดทำผังการใช้ที่ดิน/การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งการจัดทำพื้นที่ปิดล้อมพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจหลัก ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 17 ลุ่มน้ำ
          ประกอบด้วย 1.บริษัทโคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(เค วอเตอร์)
                           2.กิจการร่วมค้า ซัมมิท เอสยูที
                           3.ITD-POWERCHINA JV
          9.Module B3: การปรับปรุงสภาพลำน้ำสายหลัก และคันริมแม่น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ 17 ลุ่มน้ำ
          ประกอบด้วย 1.บริษัทโคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(เค วอเตอร์)
                           2.กิจการร่วมค้า ญี่ปุ่น-ไทย
                           3.ITD-POWERCHINA JV
         10.Module B4: การปรับปรุงระบบคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์และเตือนภัยรวมทั้งการบริหารจัดกาน้ำกรณีต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 17 ลุ่มน้ำ
          ประกอบด้วย 1.บริษัทโคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(เค วอเตอร์)
                           2.กิจการร่วมค้า ทีมไทยแลนด์
                           3.ITD-POWERCHINA JV
          นายปลอดประสพ ระบุว่า ขั้นตอนต่อจากนี้จะถือว่าเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอย่างแท้จริง ในขณะที่ที่ผ่านมาเป็นกระบวนการคัดสรร ซึ่งนับจากนี้เป็นต้นไปฝ่ายการเมืองจะไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่จะมีคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อประมูลแข่งขันโครงการนี้ทั้ง 10 โมดูล โดยประธานคณะกรรมการคือ นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
          โดยทั้ง 6 กลุ่มบริษัทมีเวลา 3 เดือนในการออกแบบและนำเสนอ 3 ซอง คือ 1.ซองเทคนิค 2.ซองกำหนดเวลา และ 3.ซองราคา
          สำหรับเหตุผลที่อีก 2 กลุ่มบริษัทจากจีนและเกาหลีที่ไม่ผ่านการคัดเลือกนั้น นายปลอดประสพ ชี้แจงว่า เป็นเพราะกลุ่มบริษัทของจีนไม่ได้รับการรับรองจากสถานทูตจีนประจำประเทศไทย ในขณะที่เกาหลีนั้น ได้มีบางบริษัทในกลุ่มลาออก ซึ่งถือเป็นการขัดกับสารัตถะที่สำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฮั้ว
          "6 บริษัทที่ได้คัดเลือกมาแล้วในวันหน้าจะมีคนออกไม่ได้เด็ดขาด หรือจะมีอะไรที่แสดงให้เห็นถึงการฮั้ว การสมยอมกันก็ไม่ได้เด็ดขาด" นายปลอดประสพ กล่าว
          พร้อมยืนยันว่า จากโครงการนี้รัฐบาลยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติประชาชนเป็นหลัก รวมทั้งยึดความปลอดภัยของประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลัก
--อินโฟเควสท์ โดย สุวิมล ภูมิคำ/กษมาพร/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น