วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

สรุปวิเคราห์ข่าวประจำวันที่ ๑๑ ม.ค.๕๖



อดีตทนายพระวิหารแนะ อย่ารับผลตัดสินศาลโลก
เมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มี น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี เป็นประธาน ได้พิจารณาศึกษาเรื่องร้องเรียนกรณีปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ในฐานะอดีตทนายความผู้ประสานงานคดีปราสาทพระวิหาร กล่าวว่า กรณีการจะปฏิเสธอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกนั้น ไทยสามารถทำได้ เนื่องจากคดีข้อพิพาทปราสาทพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา ถือเป็นคดีเก่ามากว่า 50 ปีมาแล้ว ซึ่งศาลโลกไม่มีอำนาจที่จะมาทบทวนแล้วตีความใหม่อย่างสิ้นเชิง เว้นแต่เป็นคดีใหม่ จึงอยากเสนอว่า ประเทศไทยควรดำเนินการยกเลิกเอ็มโอยู 2543 เสียก่อน เพราะที่ผ่านมาเรามีเอ็มโอยู ก็ไม่เห็นว่าจะประท้วงชนะแต่อย่างใด หากไม่มีเอ็มโอยู 2543 ไทยก็ไม่เสียหายอะไร
ศ.ดร.สมปอง กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามผลตัดสินของศาลโลกออกมา ประเทศไทยสามารถที่จะไม่ยอมรับคำตัดสินนั้นได้ และจะไม่มีผลอะไรต่อประเทศไทยด้วย เช่น สหรัฐอเมริกาเอง ก็ยังเคยไม่ยอมรับคำตัดสินจากศาลโลกเช่นกัน และยังคิดปฏิบัติตรงข้ามอย่างทันที ก็ไม่เห็นว่าจะมีประเทศใดขัดแย้งเลย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เรายืนยันว่าจะปฏิเสธคำตัดสินศาล แต่ก็ไม่ควรแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า อยากให้สงวนท่าทีไว้จะดีกว่า นอกจากนี้ เมื่อถึงกำหนดการแถลงปิดด้วยวาจาช่วงเดือน เม.ย. นั้น อยากให้คณะทำงานต่อสู้คดีของไทยได้พิจารณาคณะผู้พิพากษา ถ้าคิดว่าจะทำให้ไทยมีส่วนเสียเปรียบก็ควรประท้วงตามสิทธิ์เพื่อรักษาผลประโยชน์
ขณะที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะกมธ. กล่าวว่า ดูเหมือนสัญญาณจากรัฐบาลพยายามต้องการให้ประเทศไทย ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่าการทำงานของคณะทำงานต่อสู้คดีฝ่ายไทยยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร และคิดว่าถ้ามีการยอมรับอำนาจศาลโลกจริงอาจจะไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ด้าน น.ส.สุมล เสนอว่า เราควรได้เข้าพบ พบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สักครั้ง เพื่อนำข้อมูลจากการหารือของทางกมธ.ที่ตกผลึกแล้วไปมอบให้แก่นายกฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคณะทำงานต่อสู้คดีของไทย โดยอยากเสนอ ศ.ดร.สมปอง เข้าไปอยู่ในคณะทำงานด้วย เพราะถือเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่าประเทศและทราบข้อมูลคดีปราสาทพระวิหารเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นพ้องรับทราบผลการประชุม และข้อเสนอในการเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือร่วมกันในเร็ววันนี้.

.....เดลินิวส์ออนไลน์
กรุงเทพฯ * กระทรวงต่างประเทศกัมพูชาออกแถลงการณ์ปล่อยตัว "ราตรี" 1 ก.พ. ช่วงงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสม เด็จพระนโรดม สีหนุ ส่วน "สมคิด" ได้ลดโทษ 6 เดือน รออภัยโทษครั้งต่อไป "ยิ่งลักษณ์" เลิกกรรเชียง กระโดดงับฝีมือหนูเอง "ไชยวัฒน์" ชี้น้ำเน่า หวังยุติม็อบต้านเขาพระวิหาร "ผบ.ทบ." กินรังแตน ด่าสื่อ"ไอ้" รักชาติคนเดียว "สมปอง" แนะปฏิเสธคำตัดสินศาล แต่อย่าแสดงชัดว่าไม่ยอมรับ
          สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมาว่า กระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาได้ออกแถลงการณ์ว่า สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ขอให้ อัง วง วัฒนา รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม พิจารณาถึงการออกคำสั่งอภัยโทษนักเคลื่อนไหวด้านดินแดนของไทย1 คน ส่วนอีก 1 คนให้ลดระยะเวลาจำคุกลงมา
          นักเคลื่อนไหว2 คนที่ว่าคือนายวีระ สมความคิด  เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอรัปชั่น (คปต.) นักเคลื่อนไหวกลุ่มผู้รักชาติและ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ เลขาฯ ของนายวีระ โดยศาลกัมพูชาได้ตัดสินให้นายวีระและ น.ส.ราตรี จำคุก 8 ปี และ 6 ปี ตามลำดับ เมื่อวันที่1 กุมภาพันธ์ 2554 ในข้อหาข้ามแดนเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย เข้าสู่เขตทหารอย่างผิดกฎหมาย และจารกรรมข้อมูล โดยทั้งคู่ถูกคุมขังในเรือนจำเปรย์ซอร์ ชานกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา
          ในแถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาระบุด้วยว่า ก่อนหน้านี้ ระหว่างการประชุมอาเซียนซัมมิตในกรุงพนมเปญเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ร้องขอมายังสมเด็จฮุน เซน ให้พิจารณาปล่อยตัวนักโทษชาวไทยทั้ง 2 คน  สมเด็จฮุน เซน จึงได้แนะนำไปยังรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมให้พิจารณาให้ น.ส.ราตรี ได้รับการอภัยโทษ เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระมหากษัตริย์ของกัมพูชา ที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้ ส่วนนายวีระนั้น นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้ขอให้พิจารณาลดโทษลง เพื่อที่จะได้รับการปล่อยตัวในเวลาอันใกล้ขึ้น
          "ขณะนี้รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมกำลังศึกษาความเป็นไปได้ และจะตัดสินใจในเร็วๆ นี้" แถลงการณ์ระบุ
          ทั้งนี้ นายวีระและ น.ส.ราตรี ถูกจับกุมโดยทหารกัมพูชา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553 พร้อมด้วยคณะอีก 5 คน รวมถึงนายพนิช วิกิต เศรษฐ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้น ระหว่างการสำรวจพื้นที่ที่เป็นข้อพิพาทชายแดนระหว่าง 2 ประเทศ ตามคำร้องเรียนของประชาชนชาวไทยในพื้นที่ ปรากฏว่าศาลกัมพูชามีคำสั่งเมื่อเดือนมกราคม2554 ให้จำคุกคณะสำรวจ 5 คน เป็นเวลา 9 เดือน โดยโทษให้รอลงอาญา ส่วนนายวีระและ น.ส.ราตรี ต้องใช้ชีวิตในคุกเขมรมาแล้วร่วม 2 ปี
          น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์ว่า ทุกครั้งที่ได้มีการหารือกับฝ่ายกัมพูชา เราได้มีการหารือกับทางกัมพูชาเรื่องนี้อยู่แล้วทุกครั้งที่มีโอกาสในการที่จะขออภัยโทษเป็นกรณีพิเศษทางรัฐบาลกัมพูชาที่ยินดีที่จะทำให้ และเราได้รับแจ้งจากกัมพูชาแล้ว นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ ได้แถลงข่าวของฝ่ายไทยไปแล้ว เราคงรอการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการของกัมพูชาอีกครั้ง แต่เบื้องต้นได้รับแจ้งแล้วว่า น.ส.ราตรีจะได้รับการปล่อยตัว และนายวีระจะได้รับการลดโทษประมาณ 6 เดือน
          'ยิ่งลักษณ์' ดูแลทุกคน?
          ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลจะอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชาจะเจรจาขอตัวนายวีระหลังจากที่ได้ลดโทษหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบว่า เรายังคงขออยู่ สิ่งที่ทางกัมพูชาช่วยได้ คือ ทุกครั้งในโอกาสที่เป็นวาระพิเศษจะทำให้ ซึ่งวันนี้ทำให้ทั้งสองคน แต่บังเอิญนายวีระคงจะเป็นลักษณะการลดโทษก่อน แต่คงจะดู ถ้ามีโอกาสคงจะทำให้ เพราะเราเองขอในเรื่องความสัมพันธ์จะได้ดูแลคนไทยได้
          "เป็นหน้าที่ที่เราอยากดูแลคนไทยทุกคนไม่ว่าเป็นผู้ใดก็ตาม เราถือว่าเป็นหน้าที่ที่รัฐอยากดูแล และสิ่งที่ได้คือความสัมพันธ์ที่ดีที่ทางกัมพูชาเล็งเห็นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย-กัมพูชาได้ช่วยกัน และทำตรงนี้ให้เรา ก็ถือโอกาสนี้ในนามรัฐบาลไทย คงต้องขอขอบคุณรัฐบาลกัมพูชาที่ได้ช่วยในการที่จะดูแล และลดโทษ อภัยโทษให้กับคนไทยด้วย"
          ด้านนายสุรพ งษ์เปิดเผยระหว่างปฏิบัติภารกิจที่กรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน คาดว่า น.ส.ราตรีจะได้รับการปล่อยตัวในช่วงงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ ส่วนนายวีระได้รับพระราชทานอภัยโทษลดหย่อนโทษให้เป็นเวลา 6 เดือน
          นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สะท้อนว่ารัฐบาลนี้ประสงค์ที่จะช่วยเหลือประชาชนคนไทยทุกคนที่ตกทุกข์ได้ยาก  ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย-กัมพูชาในปัจจุบัน ส่งผลให้ความสัมพันธ์เป็นไปอย่างราบรื่นทำให้การเจรจาในแต่ละเรื่องประสบความสำเร็จ ซึ่งเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่มุ่งเน้นการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไป
          นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำแนวร่วมคนไทยหัวใจรักชาติ รักษาแผ่นดิน กล่าวว่า การปล่อยตัวทั้ง 2 คนถือเป็นเรื่องดีที่เราได้พี่น้องชาวไทยกลับบ้าน แต่เรื่องดินแดน
          เราก็ต้องต่อสู้ต่อไป และเราจะทำอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นด้วยเรายังเคลื่อนไหวอยู่เพราะเราต่อสู้เรื่องดินแดน และเราก็เชื่อว่าการปล่อยตัวครั้งนี้เป็นวิชามารและเกมการเมืองน้ำเน่า เพราะทั้งคู่ถูกคุมขังมาตั้งนาน รัฐบาลบริหารประเทศมาตั้งแต่เดือน ส.ค.54 หากคิดจะช่วยทำไมปล่อยเวลาล่วงเลยมาปีกว่า
          พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พร้อม พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รอง ผบ.ทบ., พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ผู้ช่วย ผบ.ทบ. พร้อมคณะนายทหารระดับสูงร่วมเดินทางลงพื้นที่ชายแดนเขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อตรวจเยี่ยมและพบปะกำลังพลกองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 และเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ที่ปฏิบัติหน้าที่ พร้อม รับฟังบรรยายการสรุปการเตรียมการปฏิบัติการรองรับสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชาจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 2 และรับฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของตำรวจตระเวนชายแดนบริเวณจุดตรวจการณ์ผามออีแดง
          ไอ้หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
          พล.อ.ประยุทธ์กล่าวก่อน ล งพื้นที่กรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศชุมนุมใหญ่ในวันที่ 21 ม.ค.นี้ เพื่อคัดค้านคำพิพากษาของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารว่า พันธมิตรคือใครตนไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ ถ้าเขาทำได้ก็ทำไป ถ้ามีช่องทางทำได้ก็ทำไป ต้องไปดูกฎหมายเขาว่าอย่างไร กติกาโลกว่าอย่างไร ถามว่าเป็นรัฐบาลหรือเปล่า ถ้าเป็นรัฐบาลคงต้องฟัง แต่เมื่อไม่ได้เป็นรัฐบาลก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
          "ไม่มีใครอยากให้ประเทศชาติเสียหาย ดังนั้นมองเจตนาคนให้มันดีหน่อย ไอ้หนังสือพิมพ์ผู้จัดการผมบอกได้เลยว่ามันเขียนห่วย ด่าผมอย่างโน้นอย่างนี้ เอาอะไรมาด่าผม เอาศักดิ์ศรีอะไรมาด่าผม ทำไมรักประเทศชาติอยู่คนเดียวหรืออย่างไร ไปดูพฤติกรรมตัวเองเป็นอย่างไรกันบ้าง ผมทนมานานพอสมควรแล้ว" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
          ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่มี น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี เป็นประธาน โดยมีการพิจารณาศึกษาเรื่องร้องเรียนกรณีปราสาทพระวิหาร
          ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ในฐานะอดีตทนายความผู้ประสานงานคดีปราสาทพระวิหาร กล่าวว่า กรณีการจะปฏิเสธอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกนั้น ประเทศไทยสามารถทำได้ เนื่องจากคดีข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร
          ระหว่างไทย-กัมพูชา ถือเป็นคดีเก่ามากว่า 50 ปีแล้ว ซึ่งศาลโลกไม่มีอำนาจที่จะมาทบทวนแล้วตีความใหม่อย่างสิ้นเชิง และหากศาลจะหยิบยกคดีนี้มาพิจารณาใหม่ จะต้องเป็นคดีใหม่เลย ดังนั้นเรื่องนี้ไม่ใช่คดีใหม่ เพราะประเทศไทยยังไม่ได้มีการลงนามตามข้อตกลง จึงอยากเสนอว่า ในระหว่างที่รอเวลาการประกาศคำตัดสินของศาลโลกนั้น ประเทศไทยควรดำเนินการยกเลิกเอ็มโอยู 2543 เสียก่อน เพราะที่ผ่านมาเรามีเอ็มโอยูในการอ้างก็ไม่เห็นว่าจะประท้วงชนะแต่อย่างใด ดังนั้นหากไม่มีเอ็มโอยู 2543 ไทยก็ไม่เสียหายอะไร เพราะเราเป็นประเทศประชาธิปไตย
          "ถ้าผลคำตัดสินของศาล โลกออกมาไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ประเทศไทยสามารถที่จะไม่ยอมรับคำตัดสินนั้นได้ และจะไม่มีผลอะไรต่อประเทศไทยด้วย ยกตัวอย่างทางการสหรัฐเองก็ยังเคยไม่ยอมรับคำตัดสินจากศาลโลกเช่นกัน และยังคิดตรงข้าม ปฏิบัติตรงข้ามอย่างทันที จนตอนนี้สามารถนั่งเป็นประธานา ธิบดี ซึ่งก็ยังไม่เห็นอีกว่าจะมีประเทศใดขัดแย้งเลย"
          ศ.ดร.สมปองกล่าวว่า ถึงแม้เรายืนยันว่าจะปฏิเสธคำตัดสินศาล แต่ก็ไม่ควรแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยอมรับ อยากให้สงวนท่าทีไว้จะดีกว่า อีกประการที่จะฝากเป็นข้อสังเกต เมื่อถึงกำหนดการแถลงปิดด้วยวาจาช่วงเดือน เม.ย. นั้น อยากให้คณะทำงานต่อสู้คดีของไทยได้พิจารณาด้วยว่า คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยใครบ้าง ถ้าคิดว่าจะทำให้ไทยมีส่วนเสียเปรียบ ก็ควรประท้วงตามสิทธิ์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศนั่นเอง
          ด้าน น.ส.สุมลเสนอว่า เราควรได้เข้าพบพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์สักครั้ง เพื่อนำข้อมูลจากการหารือของทาง กมธ.ที่ตกผลึกแล้วไปมอบให้แก่นายกฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคณะทำงานต่อสู้คดีของไทย โดยอยากเสนอ ศ.ดร.สมปอง เข้าไปอยู่ในคณะทำงานด้วย เพราะถือเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ และทราบข้อมูลคดีปราสาทพระวิหารเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นพ้องรับทราบผลการประชุม และข้อเสนอในการเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือร่วมกันในเร็ววันนี้.--จบ--

.....ไทยโพสต์
พันธมิตรฯเชื่อปล่อย 2 นักโทษเพื่อลดแรงกดดันหากแพ้คดี
เมื่อวันที่ 10 ม.ค. นายปานเทพ พัวพงศ์พันธุ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)เปิดเผยถึงกระแสข่าวการปล่อยตัว น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ และลดโทษนายวีระ สมความคิด กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ เหลือจำคุก 6 เดือน ว่าเป็นเรื่องน่ายินดี ที่ น.ส.ราตรี ได้รับการปล่อยตัวออกมาก่อน โดยน่าชื่นชมทั้งสองคนที่ก่อนหน้านี้ไม่ยื่นถวายฎีกาเพื่อขออภัยโทษเพราะต้องการยืนยันว่าได้ยืนอยู่ในผืนแผ่นดินไทย มองว่าการปล่อยตัว น.ส.ราตรี เพียงคนเดียวเพื่อลดแรงกดดันจากมวลชนในเรื่องคดีปราสาทพระวิหาร ขึ้นสู่ศาลโลกและจะมีการตัดสินในเดือน เม.ย.นี้ และเหตุยังจำคุกนายวีระ ต่อไปอีก 6 เดือนเพื่อรัฐบาลไทยต้องการให้คดีปราสาทพระวิหารผ่านพ้นไปก่อน หากปล่อยมาตอนนี้นายวีระ จะมานำม็อบประท้วงรัฐบาลจนอยู่ไม่ได้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นข้อตกลงและมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชาที่ได้ประเมินสถานการณ์คดีปราสาทพระวิหาร เข้าสู่ศาลโลกครั้งนี้ฝ่ายรัฐบาลไทยรู้ล่วงหน้าแล้วอาจเสียดินแดน ให้กับกัมพูชา ดังนั้นการปล่อยตัวสองคนไทยจึงอาจเป็นข้อแลกเปลี่ยนกับการสูญเสียดินแดนไทยรอบปราสาทพระวิหารในครั้งนี้

นายปานเทพ กล่าวว่าหากรัฐบาลไทยมีความจริงใจและไม่มีข้อแลกเปลี่ยนใดๆกับทางการกัมพูชา ต้องประกาศจุดยืนของทางการไทยว่าไม่รับอำนาจของศาลโลกในทุกกรณี ตามข้อเสนอของนายสมปอง สุจริตกุล อดีตทนายความต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารในศาลโลกเมื่อปี 2505 และของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยนำไปสู่การยกเลิกเอ็มโอยู 2543 และเริ่มเข้าสู่กระบวนการเจรจาแบบทวิภาคีไทย-กัมพูชา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขข้อพิพาททางเขตแดนในช่องระวางดงรักและปักปันเขตแดนกันใหม่ โดยกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ยื่นข้อเรียกร้องไปให้รัฐบาลไทยแล้วขณะนี้รอดูท่าทีว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องมีคำตอบออกมาให้ชัดเจนโดยเร็ว เพราะขณะนี้รัฐบาลต้องทราบแล้วว่าไทยจะเสียดินแดนหรือไม่ อย่ามาพูดปัดความรับผิดชอบให้เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่เท่านั้นเพราะเป็นเรื่องฝ่ายไทยเสียเปรียบทุกประตู กลุ่มพันธมิตรฯจะติดตามท่าทีของรัฐบาลและจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

.....เดลินิวส์ออนไลน์
คอลัมน์: ในประเทศ: วาง 'เกมยื้อ' ศึก 'แก้ รธน.' 'เพื่อไทย' โยนบอลใส่ '3 สถาบัน' ยืดอายุ 'รัฐบาลยิ่งลักษณ์'


          หากนับจากวันที่ "คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" มีคำวินิจฉัย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 ให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่ได้เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
          หากนับจากวันที่ "พรรคร่วมรัฐบาล" มีมติร่วมกันที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ให้ตั้ง "คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลกรณีปัญหาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291"
          โดย "คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล" ใช้เวลาศึกษาปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ด้วยการประชุมทั้งสิ้น 14 ครั้ง นับแต่วันที่ 7 สิงหาคม - 11 ธันวาคม 2555 จนคลอดรายงานผลการศึกษาจำนวนกว่า 50 หน้า
          กระทั่ง "พรรคร่วมรัฐบาล" มีข้อเสนอแนะในท้ายรายงานฉบับดังกล่าว ไว้ 5 แนวทาง
          โดยมีแนวทางหนึ่ง คือ รัฐสภามีอำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่จะลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่สาม และมีแนวทางหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ได้
          หากนับจากวันที่ "คณะรัฐมนตรี" (ครม.) มีมติตั้งคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายและวิธีการออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 โดยมีคณะกรรมการซึ่งเป็นรัฐมนตรีและเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งหมด 5 คน เพื่อหาแนวทางการออกเสียงประชามติ
          กระทั่ง "พรรคเพื่อไทย" สรุปแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ออกมา 3 แนวทาง ในการประชุม ส.ส. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555
          1.เดินหน้าลงมติในวาระที่สาม 2.ลงประชามติก่อนลงมติในวาระที่สาม และ 3.แก้ไขเป็นรายมาตรา
          เมื่อนับจากวันที่ "ศาลรัฐธรรมนูญ" เบรกกระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ในวาระที่สาม จนถึงการประชุม ส.ส.เพื่อไทยครั้งสุดท้ายของปี 2555 จึงเป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้วที่ไม่สามารถหาทางออกกับการพิจารณาในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ได้
          ทำให้ "พรรคเพื่อไทย" จัดสัมมนา ส.ส. เพื่อเปิดให้ระดมความเห็นในหัวข้อ "รัฐธรรมนูญปี 50 : ปัญหาของประเทศภาระของคนไทย" เมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่โรงแรมเดอะ กรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
          ในการสัมมนาครั้งนี้ เกิดข้อเสนออีก 1 ไอเดียใหม่ที่ออกจาก "ภูมิธรรม เวชยชัย" เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ต่อหน้าพลพรรค ส.ส.เพื่อไทย
          เป็นการโยนไอเดียใหม่ของ "มือทำงานพรรคเพื่อไทย" ด้วยการให้ผู้รู้จากคณะรัฐศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์จากสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ไม่น้อยกว่า 3 แห่ง
          ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้จาก "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้จาก "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้จาก "มหาวิทยาลัยรามคำแหง" หรือไม่ว่าจะเป็นผู้รู้จาก "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ใช้เวลาศึกษา 45-60 วัน"
          จาก 3 แนวทางของ "พรรคเพื่อไทย" เพิ่มมาอีก 1 แนวทางหลักของ "ภูมิธรรม"
          เป็นการมองของ "ภูมิธรรม" โดยให้ 3 สถาบันการศึกษาชั้นนำช่วยหาคำตอบให้ "พรรคเพื่อไทย" ภายใต้รัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยที่ไม่ชัดเจน
          เนื่องด้วย "ศาลรัฐธรรมนูญ" มีคำวินิจฉัยที่ยังไม่ชัดเจนในการลงประชามติว่าจะต้องทำก่อนในวาระที่สามหรือไม่
          เพราะหากเป็นเพียง "ข้อแนะนำ" ก็แสดงให้เห็นว่า "ประชามติ" จะทำหรือไม่ทำก็ได้
          แม้ในวงสัมมนา ส.ส.เพื่อไทยที่ "เขาใหญ่" หัวขบวนถือธงนำ "เดินหน้าโหวตวาระที่สาม" อย่าง "จตุพร พรหมพันธุ์" แกนนำ นปช. จะชงแนวทางตัดบททุกแนวทางให้ถามคำถามไปยัง "ศาลรัฐธรรมนูญ" 2 ข้อ คือ 1.ลงมติในวาระที่สามได้หรือไม่ และ 2.ต้องลงประชามติก่อนลงมติในวาระที่สามหรือไม่
          แต่ข้อสรุปทุกแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกกลบด้วยข้อเสนอใหม่ของ "ภูมิธรรม" ในฐานะ "มันสมองเพื่อไทย" ด้วยการโยนข้อเสนอทุกแนวทางส่งมอบให้ "คณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายและวิธีการออกเสียงประชามติ" ที่มี "พงศ์เทพ เทพกาญจนา" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ร่วมหาทางออกอีกครั้ง
          ปฏิเสธไม่ได้ว่า "องคาพยพ" แห่งการ "แก้ไขรัฐธรรมนูญ" ของ "รัฐบาลพรรคเพื่อไทย" ซึ่งใช้เวลายาวนานยืดเยื้อศึกษากลวิธีการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มีการตั้ง "สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ" จำนวน 99 คนมายกร่างร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
          เป็นไปอย่างมี "อุปสรรค" ขัดขวาง และ "ทุลักทุเล" มาโดยตลอด
          แม้ "คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล" จะเสนอให้เดินหน้าลงมติในวาระที่สามได้
          แต่ "คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล" ทั้ง 11 คนกลับยอม "หลีกทาง" ให้กับ "เกมการทำประชามติ" ก่อนลงมติในวาระที่สามของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"
          ด้วยการเปิดทางให้ตั้ง "คณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายและวิธีการออกเสียงประชามติ" มาอีก 1 คณะ เพื่อหาทางลงให้กับ "เกมประชามติ"
          เพราะ "เกมประชามติ" ซึ่งเป็นไอเดียของ "ครม.ยิ่งลักษณ์" และไอเดียของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ยังเกิดอุปสรรคจากความหวั่นเกรงว่าจะมีผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
          การหาทางออกจากการ "ติดหล่ม" ประชามติของ "เพื่อไทย" จึงต้องขาย "ไอเดียใหม่" ออกมาด้วยการ "โยนบอลร้อน" ใส่เท้า "3 สถาบัน"
          เสมือนเป็นการ "โยนเผือกร้อน" หรือเป็น "ลิงแก้แห" ออกจากอก "เพื่อไทย" ชั่วคราว ให้ผู้รู้จาก 3 สถาบันผ่าทางตันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลาอีก 2 เดือน
          ยิ่งหาก "คณะทำงาน" ของ "พงศ์เทพ" ที่ "ครม." ตั้งขึ้น มีแนวทางโยนผลการศึกษาให้กับ "3 สถาบันการศึกษา" ตามที่ "ยิ่งลักษณ์" ออกมาขานรับ
          ก็จะทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพียงมาตราเดียวในวาระที่สามต้องเพิ่มเวลาจากเดิม 5 เดือนไปอีก 2 เดือนเป็นทั้งหมด 7 เดือน
          การโยนข้อเสนอให้ผู้รู้มาศึกษาซ้ำซ้อนกับ "คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล" ก่อนหน้านี้ จึงทำให้ถูกมองว่าเป็นการปล่อยให้ผู้รู้ทะเลาะกันอีกครั้ง ซึ่งน่าจะหาทางออกได้ยากยิ่งนัก
          จนถูกมองว่าเป็นการวางเกมให้ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" และ "พรรคเพื่อไทย" หลุดบ่วงจากการโยนหินถามทางให้กับ "สังคม" ในประเด็น "การลงประชามติ"
          ในขณะที่ "พลังการขับเคลื่อน" ของ "มวลชนคนเสื้อแดง" ยังไม่สามารถมีพลังพอในการผลักดันให้ลงมติในวาระที่สามได้
          เพราะบรรดาแกนนำ นปช. ต่างมีตำแหน่งทางการเมืองอยู่ใน "รัฐบาล" และ "รัฐสภา"
          ทุกตำแหน่งของแกนนำคนเสื้อแดงก็มิได้เคลื่อนไหวกดดันให้มีการใช้อำนาจของ "รัฐสภา" ลงมติในวาระที่สามได้อย่างเป็นรูปธรรม
          การโยนข้อเสนอเข้าใส่ "ผู้รู้" ใน 3 สถาบัน จึงเป็นอีก 1 แนวทางของการวาง "เกมยื้อ" ในปมปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น
          เป็นธรรมดาหากเร่งรีบให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 อายุของ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ก็จะต้องเหลือเวลาน้อยลงทุกขณะจากการกดดันให้มีการ "ยุบสภา" เกิดขึ้นได้
          แต่หาก "ทอดเวลา" การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ออกไปนานเท่าใด
          อายุของ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ก็จะ "ยืดเวลา" การบริหารราชแผ่นดินให้อยู่ยาวขึ้นกว่าเดิม!!!--จบ--

.....มติชนสุดสัปดาห์
คอลัมน์: รายงานพิเศษ: เลี้ยงบอล รอบสนาม ขบวนการแก้ 'รัฐธรรมนูญ' ลากยาวไปถึงปี 2558


          พลันที่ที่ประชุมสัมมนาพรรคเพื่อไทยเห็นคล้อยตามไปกับแนวทางของ นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคที่จะนำเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านกระบวนการประชามติ
          โดยให้สถาบันการศึกษาอย่างน้อย 3 แห่งศึกษา
          กรอบของสถาบันการศึกษาไม่จำกัดเพียงสถาบันการศึกษาภายในประเทศเท่านั้น หากแต่ทำท่าว่าอาจจะขยายไปถึงสถาบันการศึกษาต่างประเทศ
          ทุกคนก็ยอมรับในความเฉียบแหลม
          มิใช่เป็นความเฉียบแหลมจากสมองก้อนโตของ นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทยเท่านั้น หากแต่น่าจะเป็นความเฉียบแหลมจากสมองก้อนโตของ นายสมศักด์ เทพสุทิน แกนนำคนสำคัญของกลุ่มมัชฌิมา ธิปไตยอีกด้วย
          อย่าลืมเป็นอันขาดว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน มองว่ากระบวนการแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลและของพรรคเพื่อไทยเสมอเป็นเพียงกลยุทธ์ 1 ในทางการเมือง
          ทำให้ฝ่ายค้านมองข้ามบทบาทการทำงานของรัฐมนตรี มองข้ามกระบวนการของกระทรวง
          ขณะเดียวกัน แนวทางที่ "คณะทำงาน" ดำเนินการศึกษาก็สามารถลากยาวไปเรื่อยๆ เผลอๆ อาจถึงปี 2558
          ลากจากปี 2554 จนถึงปี 2558 ครบ 4 ปีตามวาระ
          มิได้มี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน คนเดียวที่มองและประเมินอย่างนั้น ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ก็มองและประเมินไปในแนวทางเดียวกันนี้
          ขอให้อ่าน
          จังหวะก้าวของพรรคเพื่อไทยได้ตกหลุมตัวเองในการทำประชามติทำให้พรรคเพื่อไทยมีความพยายามหาทางออกจากหลุมประชาธิปไตย จึงโยนข้อเสนอให้สถาบันการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 แห่งมาศึกษาการทำประชามติอีก 2 เดือน
          หมายความว่า ในเวลา 2 เดือนเป็นการตั้งตัวใหม่
          เพราะหลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีส่วนให้มีการทำประชามติจึงกลายเป็นว่าพรรคเพื่อไทยคาดการณ์ไม่ถึงว่าเกมการทำประชามติจะพัวพันจนยากจะถอนตัวได้ เกมประชามติไม่ง่ายอย่างที่คิดเหมือนว่าอาศัยผู้รู้ให้ศึกษาเพื่อซื้อเวลา
          ประชามติไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เป็นเพียงการเตะบอลรอบสนาม ให้ผู้รู้มาศึกษาไม่น้อยกว่า 3-4 เดือนให้ค่อยๆ คิด เดี๋ยวการประชุมรัฐสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติก็ปิดแล้ว
          ดังนั้น การโยนข้อเสนอให้ผู้รู้ศึกษาจึงน่าจะคุยยาวได้ด้วยการปล่อยให้ผู้รู้ทะเลาะกัน เหมือนเป็นการโยนบอลออกจากตัวเอง หรือโยนเผือกร้อนออกจากตัวเองระยะหนึ่ง ข้อเสนอของ นายภูมิธรรม เวชยชัย
          ต้องการให้รัฐบาลหลุดบ่วงออกจากประชามติ
          การประชุมสัมมนาของพรรคเพื่อไทย ระหว่างวันที่ 6-7 มกราคม ณ เขาใหญ่นครราชสีมา จึงเสมอเป็นเพียงการประชุมโดยไม่มีข้อสรุป
          หมายความว่าเป็นการประชุมเพื่อประชุมต่อไป
          แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 แนวทางคือ 1 แก้ไขเป็นรายมาตรา 1 เดินหน้าโหวตวาระ 3 ทันที และ 1 การทำประชามติ
          จึงเสมอเป็นเพียง "ข้อเสนอ" ยังไม่มี "มติ"
          เป็นไปได้ว่า การหารือของ "คณะทำงาน" ในเรื่องของประชามติก็จะยืดเวลาออกไปพร้อมกับการมอบให้นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาอย่างน้อย 3 สถาบันหารือเพื่อหาหนทางออก
          ลากยาวไปเรื่อยจนถึงเดือนกรกฎาคม 2558 ครบวาระ--จบ--

.....มติชนสุดสัปดาห์
ประยุทธ์ลงพื้นที่ชายแดนเขาพระวิหาร
เมื่อวันที่ 10 ม.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พร้อมด้วย พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รอง ผบ.ทบ. พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ผู้ช่วย ผบ.ทบ. พล.ท.จีระศักดิ์ ชมประสพ แม่ทัพภาคที่ 2 และคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพบก ได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์จำนวน 3 ลำ ลงจอดที่สนามฟุตบอล โรงเรียนภูมิซรอลวิทยา ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
จากนั้นได้เดินทางโดยรถยนต์ ขึ้นไปที่หน้าผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ที่อยู่ห่างจากปราสาทพระวิหารเพียง 2 กิโลเมตร โดยมี พล.ต.ชลิต เมฆมุกดา ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี นำคณะนายทหารให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปการเตรียมการ ปฏิบัติการรองรับสถานการณ์ ชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งหลังจบบรรยายสรุป พล.อ.ประยุทธ์ พร้อมคณะได้เดินเท้าไปส่องกล้อง ดูความเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชา และปรึกษาหารือกับนายทหารระดับสูง โดยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนติดตาม
ต่อมาได้ตรวจเยี่ยมพบปะ และกล่าวให้กำลังใจกำลังพล กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 และตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำการอยู่ในพื้นที่พิพาท ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวให้คำเชื่อมั่นกับกำลังพลว่า ทหารไทยพร้อมรบ และมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องปกป้องรักษาอธิปไตยอย่างเต็มที่ ปัจจุบันทุกส่วนต่างก็ทำหน้าที่ มีการประสานกันทั้งรัฐบาลและทหาร อยู่ตลอดเวลา
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สถานการณ์บริเวณรอบเขาพระวิหาร ในเขตอธิปไตยไทยยังเป็นปกติดี ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา ในพื้นที่แนวหน้ายังเป็นไปด้วยดี นายทหารระดับผู้นำหน่วย มีการพบปะพูดคุยกันเป็นประจำอยู่เสมอ และได้กำชับทหารไทยทุกนาย ที่ประจำการบริเวณชายแดนเขาพระวิหาร ขอให้รักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันไว้ หากมีปัญหาในด้านการปฏิบัติ ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อจะได้ทำการแก้ไขสั่งการต่อไป.

.....เดลินิวส์ออนไลน์












พัฒนาการ ม็อบจากขบวนการ แช่แข็ง ถึง เขาพระวิหาร

          ไม่เพียงแต่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ จะแสดงความมั่นใจตั้งแต่ก่อนการชุมนุม "แช่แข็ง"เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจะมีชะตากรรมเหมือนกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรคือ 1 ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะเดียวกัน 1 ไม่มีแผ่นดินจะอยู่ ต้องหนีออกนอกประเทศ
          เส้นตายคือก่อนสิ้นปี 2555 หากหลังสุดในการเคลื่อนไหวของแนวร่วมคนไทยรักชาติ รักษาแผ่นดิน ในประเด็นอันเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ซึ่งจะเคลื่อนขบวนนับแต่วันที่ 12 มกราคมเป็นต้นไป
          น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ ก็กล่าวด้วยความมั่นใจ
          "มันสุกงอมเกินพอแล้ว ครบทุกด้านทั้งวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจ สังคมแตกแยกด้านความมั่นคง นักการเมืองบริหารประเทศเหมือนเป็นบริษัทส่วนตัว เมื่อนักการเมืองเป็นต้นเหตุประชาชนทนไม่ไหวก็ต้องออกมาขับไล่"
          เป็นความสุกงอมตั้งแต่การชุมนุมเมื่อวันที่24 พฤศจิกายน 2555 เป็นความสุกงอมเรื่อยมาจนถึงการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่21 มกราคม 2556
          เป็นความสุกงอมของขบวนการ "ไทยสปริง"
          ไม่เพียงแต่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริจะมากด้วยความมั่นใจในความสุกงอมของสถานการณ์ในการขับไล่รัฐบาล
          หาก นายภุมรัตน์ ทักษาดิพงศ์ ก็เห็นไปในทางเดียวกัน
          "ประเทศไทยเวลานี้เหมือนกับเรือไททานิคที่มีรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นกัปตันถือพังงาเรือ
          ประชาชนเป็นผู้โดยสารผู้โดยสารกลุ่มหนึ่งมองเห็นภูเขาน้ำแข็งขวางอยู่ข้างหน้า หากกัปตันยังไม่เปลี่ยนเข็มทิศเบนหัวเรือไปทางอื่น เห็นทีเรือลำนี้คงชนภูเขาน้ำแข็งและอับปางลงเป็นแน่
          พร้อมกับผู้โดยสารเรือทั้งหมดจมน้ำตายผู้โดยสารกลุ่มนี้พยายามบอกกัปตันถึงอันตรายที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าและขอให้เปลี่ยนเส้นทางเดินเรือ
          แต่กัปตันก็ไม่ฟังดังนั้น ผู้โดยสารกลุ่มนี้จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเข้าแย่งพังงาเรือเพื่อเบนหัวเรือไปทางอื่น
          แต่ถ้ากัปตันเรือยังไม่ยอมก็ต้องถีบกัปตันตกน้ำไป
          เพื่อรักษาเรือและผู้โดยสารบนเรือไว้"
          จำเป็นต้องล้างหูน้อมรับฟังอย่างมีโยนิโสจํมนสิการ เหตุเพราะว่าทั้ง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริและ นายภุมรัตน์ ทักษาดิพงศ์ ไม่ธรรมดาน.ต.ประสงค์ สุ่นศิริเคยเป็นเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
          ทั้งเคยเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่ชื่อพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ทั้งเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งเคยเป็นประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีที่ชื่อ นายชวน หลีกภัย
          นายภุมรัตน์ ทักษาดิพงศ์ ก็เคยเป็นผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
          ประสบการณ์และความจัดเจนย่อมอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสบการณ์ด้านการข่าวและความมั่นคง
          กระนั้น ความสุกงอมเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ยืนยันแล้วว่าไม่ใช่ ไม่จริง
          แม้ทุกอย่างจะมาจากสมองก้อนโตระดับพล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ พล.ร.อ.ชัยสุวรรณภาพ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์เป็นต้น
          แต่ตอนจบของวันนั้นยืนยันว่าเป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ที่ผิด เพราะเพียงการชุมนุมในแบบนกกระจอกกินน้ำ ทุกอย่างก็จบสิ้น ติดตามด้วยมวลชนกว่า 100 คน ต้องถูกจับกุมและมีคดีคาราคาซังอยู่ จึงกลายเป็นปริศนาว่าจุดจบของการเคลื่อนไหวในวันที่ 21 มกราคม 2556 จะดำเนินไปอย่างไร
          สุกงอมพอที่จะสอยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตร ให้ร่วงหล่นหรือไม่
          ปรากฏการณ์อันสำแดงผ่านแนวร่วมคนปไทยรักชาติ รักษาแผ่นดิน จึงน่าติดตามอย่างเป็นพิเศษ
          ติดตามว่าการประมวลสถานการณ์ที่ว่าสุกงอมนั้นถูกต้องคมชัดมากน้อยเพียงใดติดตามว่าจะมีมวลชนเรือนแสนเรือนล้านเข้าร่วมอย่างคึกคักเข้มข้นตามความคาดหมายหรือไม่
          ระทึกในดวงหทัยอย่างยิ่ง--จบ--
          --มติชน ฉบับวันที่ 12 ม.ค. 2556 (กรอบบ่าย)--


.....มติชน

เกาะกระแส
          00 จนถึงวินาทีนี้คนไทยยังไม่รู้ว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะมีท่าทีอย่างไรกับกรณีที่เขมรยื่นเรื่องให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาเมื่อปี 2505 เพียงแต่ได้ยินจากปากตัวแทนที่แต่งตั้งโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น เจ้าปึ้งสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ กับ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และรมว.ศึกษาฯ ในฐานะหัวหน้าคณะต่างย้ำว่า สู้เต็มที่แต่ถามว่า พวกเอ็งสู้แบบไหนวะความหมายคือจะเข้าไป สู้ในศาลโลกอย่างงั้นใช่หรือเปล่า ตอบมาให้ชัดสิ เพราะเห็นบอกว่ากำลังเดินทางไปลอนดอน อังกฤษไปปรึกษากับทีมทนายความต่างชาติชุดเดิม ถ้าอย่างนั้นก็เตรียมทำใจ รับความพ่ายแพ้หรือเสมอตัว เหมือนอย่างที่เคยพูดก่อนหน้านี้นั่นแหละ
          00 ไม่อยากพูดให้เจ็บช้ำหัวใจ แต่ถ้าไปตามนี้ก็หมายความว่า เรากำลังถลำลึกเข้าสู่เกมที่วางแผนสำหรับการพ่ายแพ้ไว้ล่วงหน้า โดยใช้ศาลโลกมาปิดปากคนไทย โดยบอกว่าเมื่อศาลตัดสินออกมาแล้วก็ต้องยอมรับ จะเสียดินแดนก็ต้องเสีย เราสู้เต็มที่แล้ว ประมาณนั้น เหมือนอย่างที่ พงศ์เทพ กล่าวไว้ก่อนเดินทางไปอังกฤษไม่เชื่อว่าศาลโลกจะล็อบบี้ได้หรือสั่งได้ พูดเหมือนกับจะให้นำไปเปรียบเทียบกับศาลยุติธรรมในประเทศที่หากตัดสินคดีอะไรออกมาแล้วต้องยอมรับ ทั้งที่มันคนละเรื่อง ศาลโลกจะมายุ่งเรื่องอธิปไตยของแต่ละชาติไม่ได้ และหากประเทศคู่กรณีไม่ยอมรับก็เข้ามา เจือกไม่ได้ และที่ผ่านมา แทบทุกประเทศก็ยืนยันแบบนี้ แม้แต่สหรัฐฯก็เถอะ ก็มีประวัติไม่ยอมรับอำนาจศาลโลกมาแล้ว โดยเฉพาะคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ถอนทหาร
          00 ดังนั้นสิ่งที่ต้องเรียกร้องก็คือให้รัฐบาลประกาศท่าทีให้ชัดโดยเร็วว่า เรากำลังต่อสู้อย่างไร เพราะถ้าเข้าไปต่อสู้ในศาลโลกมันก็สุ่มเสี่ยง และไม่มีความจำเป็นต้องให้คนไทยต้องมาลุ้นกับเรื่องแบบนี้ทั้งที่มีทางออกตั้งแต่ตอนนี้โดยการประกาศทันทีว่าเราไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก แต่ถ้าอย่างที่เป็นอยู่รับรองว่ามีแต่ เจ๊ากับเจ๊งตามปากจริงๆ และก็ต้องชี้หน้าประณามไว้ล่วงหน้าว่า รัฐบาลหุ่นเชิดของ ทักษิณ ชินวัตร กำลังใช้ศาลโลกเป็นเครื่องมือในการยกดินแดนให้กับเขมรเพื่อแลกกับอะไรบางอย่าง ซึ่งเชื่อว่า นาทีนี้คนไทยเริ่มจะพอมองออกแล้ว ถึงตอนนั้นแล้วต้องรับผิดชอบ อย่าหาว่าไม่เตือนก็แล้วกัน เพราะมันเหลือทนแล้ว !!
          00 เริ่มเห็นภาพชัดแล้วว่า ตราบใดที่ สามนารีคือ ปู-แดง-อ้อยังคุมพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลก็จะยังไม่มีพื้นที่สำหรับอีก หนึ่งนารีที่ชื่อ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นอันขาด ไม่ว่าจะเป็นสนามท้องถิ่นอย่าง กทม. หรือว่าระดับ รมต.อย่างแน่นอน ภาพที่เห็นกินข้าวเที่ยงอย่างชื่นมื่นเมื่อวันก่อนแค่ ละครเหนือเมฆเท่านั้น แต่ของจริงต้องรอดูภาคต่ออีกหลายภาค รับรองว่าเข้มข้นไม่เบา เพราะว่ากันว่าแรงริษยาของผู้หญิงบางคนมันไม่ธรรมดาจริงๆ วุ้ย !!
          00 พูดถึงสนามกทม. เริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ หลังจาก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ถูกบีบให้ลาออกก่อนกำหนดเพียงแค่ 1 วันโดยต้องไปรับทราบข้อหาจาก ธาริต เพ็งดิษฐ์ ที่ดีเอสไอ มันก็เหมือนชนักปักหลัง แต่อีกมุมหนึ่งมันก็อาจกลายเป็นแรงเหวี่ยงที่ประดังเข้ามาพร้อมกันหลายเรื่องมาที่พรรคเพื่อไทย ในเรื่องอารมณ์โกรธจากการถูกดูหมิ่น จากกรณี เสาไฟฟ้าทั้ง เหนือเมฆและสมยอมเขมรเรื่องยกดินแดน อย่าทำเป็นเล่นไปนะแม้ว คนกรุงนี่มันไม่หมูนะวุ้ย !!--จบ--

.....ASTV ผู้จัดการออนไลน์
คอลัมน์: ทรรศนะแสงสว่าง: การแตกหักทางการเมือง!?


          จรัล ดิษฐาอภิชัย
          ditjaran@gmail.com
          ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เราได้ยินบรรดาสื่อมวลชน นักวิเคราะห์การเมือง และโหรทุกสำนัก พากันคาดคะเน ทำนายสถานการณ์การเมืองในปีใหม่นี้ว่าจะเกิดการแตกหักทางการเมือง ผมจึงขอแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ดังกล่าวว่าเป็นอย่าง ไร และจะเกิดขึ้นหรือไม่?
          ความจริงความคิด ถ้าพูดให้ถึงที่สุด ความต้องการ "แตกหักทางการเมือง" นั้น มีคนคิด พูด เขียน มาตลอดตั้งแต่มีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของพรรคเพื่อไทย คนที่คิดมากและพูดมากที่สุดคือ ฝ่ายค้านรัฐบาลทุกกลุ่ม หลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ๆต่างพูดกันว่ารัฐ บาลยิ่งลักษณ์จะอยู่ไม่ถึง 6 เดือน ครั้นพ้น 6 เดือน ก็พูดใหม่ว่าบาลยิ่งลักษณ์จะอยู่ไม่ถึง 6 เดือน ครั้นพ้น 6 เดือน ก็พูดใหม่ว่าจะถูกไล่ถูกล้มเดือนนั้นเดือนนี้ ซึ่งพวกนี้พูดเป็นเสียงเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อเดือนพฤศจิกา ยนปีที่แล้วก่อนหน้าการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม แถมคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยก็พูดเช่นเดียวกัน
          แต่รัฐบาลก็อยู่ได้อย่างสบายจนเข้าปีใหม่ 2556 ทำให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลผิดหวังไปตามๆกัน ก่อนและหลังขึ้นปีใหม่จนวันนี้พวกคนเหล่านี้ยังเอาคำทำนายของโหรหลายคนมาเผยแพร่ที่ว่า ในปีใหม่บ้านเมืองจะมีเหตุเภทภัยสารพัด เช่น เลือดจะนองแผ่นดิน เกิดจลาจลและการปฏิวัติของประ ชาชนอันนำไปสู่การแตกหักทางการเมือง
          การแตกหักทางการเมือง
          การแตกหักทางการเมืองเป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพทางการเมืองที่ไม่ปรกติตามระบอบการเมืองการปก ครองที่ดำรงอยู่ ทั้งที่เป็นไปและไม่เป็นไปตามวิถีทางหรือกระบวนการทางรัฐธรรมนูญ เช่น การยุบสภา รัฐบาลลาออก ประชาชนชุมนุมเดินขบวน ขับไล่รัฐบาล กองทัพก่อรัฐประ หาร การลุกขึ้นสู้ของประชาชน กลายเป็นสงครามกลางเมืองหรือการปฏิวัติของประชาชน ผู้ นำประเทศรวบอำนาจ ประกาศ กฎอัยการศึก ประกาศภาวะฉุก เฉิน ปราบปรามฝ่ายต่อต้านอย่างขนานใหญ่
          โดยเฉพาะการยุบสภา รัฐบาลลาออก รัฐประหารนั้น เกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทยในช่วง 80 ปีหลังจากการปฏิวัติ 2475 กลายเป็นวงจรอุบาทว์ ช่วง 80 ปีหลังจากการปฏิวัติ 2475 กลายเป็นวงจรอุบาทว์ และมีการปราบปรามประชา ชนอย่างนองเลือดถึง 4 ครั้งคือ กรณี 14 ตุลาคม 2516 กรณี 6 ตุลาคม 2519 กรณีพฤษภา คม 2535 และสุดท้ายกรณี 10 เมษายน-19 พฤษภาคม 2553
          การแตกหักทางการเมืองมักเกิดจากการออกมาขับไล่รัฐบาล และผลต่อเนื่องจากคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ แต่จะเข้าใจปัญหาการแตกหักทางการเมือง นอกจากอาศัยข้อ มูลข้อเท็จจริงของสถานการณ์ทางการเมืองแล้ว ยังต้องเข้าใจทฤษฎีความขัดแย้งว่า ความขัด แย้งไม่ว่าคู่ใดๆจะมีสภาพดังนี้
          ประการแรก ลักษณะของความขัดแย้งเป็นปรปักษ์หรือไม่เป็น ยกตัวอย่างคนรักขัดแย้งกัน จะไปดูหนังไทยหรือหนังฝรั่ง คนเสื้อแดงขัดแย้งขัดแย้งกัน จะไปดูหนังไทยหรือหนังฝรั่ง คนเสื้อแดงขัดแย้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เห็นว่ารัฐสภาควรลงมติร่างรัฐธรรม นูญวาระ 3 ไปเลย แต่พรรคเพื่อไทยเห็นว่าควรจัดทำประ ชามติก่อน เป็นความขัดแย้งที่ไม่เป็นปรปักษ์ แต่ความขัดแย้งระหว่างพรรคประชาธิปไตยและ พวกอำมาตย์กับรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย เสื้อเหลืองกับเสื้อแดงนั้น เป็นความขัดแย้งที่เป็นปรปักษ์ที่มีการต่อสู้ ปะทะ และทำลายกันตลอดเวลา
          ประการที่สอง ความขัดแย้งที่เป็นสภาพหรือสถาน การณ์พื้นฐานจากสรรพสิ่งต่างๆ มิได้เกิดมาจากความขัดแย้งคู่เดียว หากมีหลายคู่ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ เป็นเหตุเป็นผลกันและกัน เช่น ความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบันมีนับสิบคู่ ตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้านในสภา ระหว่างรัฐบาลกับสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา ระหว่างกลุ่มความคิดการเมืองประชาธิปไตยกับกลุ่มจงรักภักดีอนุรักษ์นิยม ไปจนถึงความขัดแย้งภายในของแต่ละฝ่าย เช่น กลุ่มพันธมิตรประ ชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับพรรคประชาธิปัตย์ เสื้อแดงบางกลุ่มกับรัฐบาล จะมีคู่หนึ่งเป็นหลัก คู่อื่นเป็นรอง และในแต่ละคู่จะมีฝ่ายหนึ่งเป็นด้านหลักของความขัดแย้ง อีกฝ่ายเป็นด้านรอง ความขัดแย้งหลักและด้านหลักจะเป็นตัวกำหนดสถานการณ์ทางการเมืองในแต่ละระยะ    แต่ละระยะ
          ประการที่สาม แม้สรรพสิ่งล้วนมีความขัดแย้ง แต่มิได้ทำให้สิ่งนั้นเลวร้าย ปั่นป่วน วุ่นวาย ไร้ระเบียบและแตกแยก บางเงื่อนไขกลับเป็นคุณต่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนา ยกระดับ โดยทั่วไปภาวะความขัดแย้งที่ทำให้สรรพสิ่งดำรงอยู่อย่างยาวนาน ไม่แตกหัก เพราะ 2 ด้านของความขัดแย้งอยู่ในสภาพสมดุล ไม่มีข้างใดเหนือกว่ากันจนทำลายฝ่ายตรงข้ามที่เรียกว่าเอกภาพด้านตรงกันข้าม และที่สำคัญความขัดแย้งภาย ในของแต่ละด้านยังไม่รุนแรง หากรุนแรงและแตกแยกเมื่อใดจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตรงกันข้ามของคู่ขัดแย้งในการทำลายอีกฝ่ายหนึ่ง ความขัดแย้งภาย ในจึงเป็นปัจจัยชี้ขาดของชัย ชนะหรือพ่ายแพ้
          หากใช้ทฤษฎีความขัดแย้งที่สรุปอย่างกว้างๆวิเคราะห์ แนวโน้มของสถานการณ์ทาง การเมืองไทยในปี 2556 แม้ความขัดแย้งระหว่างเสื้อแดงกับเสื้อเหลืองยังเป็นความขัดแย้งหลัก และในภาวะวิสัยที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นฝ่ายเสื้อแดง เป็นด้านหลักของความขัดแย้ง แต่พลังคนเสื้อแดงและรัฐบาลยังไม่มีอำนาจเด็ดขาดและประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ ไม่เฉพาะการดำเนินนโย บายเท่านั้น หากไม่สามารถสร้างสรรค์ประชาธิปไตยและความยุติธรรมอีกด้วย
          ด้านตรงกันข้ามคือ พรรค ประชาธิปัตย์  สมาชิกวุฒิสภาจากการสรรหา บรรดาองค์กรอิสระ พันธมิตรเสื้อเหลือง และรอยัลลิสต์ทุกกลุ่ม รวมทั้งนักวิชาการและสื่อมวลชนส่วนและรอยัลลิสต์ทุกกลุ่ม รวมทั้งนักวิชาการและสื่อมวลชนส่วนใหญ่ แม้เป็นด้านรองของความขัดแย้ง แต่ทุกกลุ่มยังมีเจต จำนงแน่วแน่และพยายามเคลื่อน ไหวทางการเมืองที่จะต่อต้าน ทำลาย และขับไล่รัฐบาลและคนเสื้อแดงทุกวิถีทาง โดยใช้คาถาเก่าๆว่า "ทำเพื่อทักษิณคนเดียว" และ "คอร์รัปชัน" หรือ "ล้มเจ้า" ฯลฯ มาโจมตี
          ปัจจุบันฝ่ายต่อต้านรัฐ บาลก็ยังไม่มีศักยภาพ ไม่มีเงื่อน ไขที่จะแตกหัก พรรคประชาธิปัตย์แม้จะทำทุกอย่างในสภาและนอกสภา เดินสายปราศรัย พบปะสมาชิกและประชาชนหลายสิบครั้งทั่วประเทศ แต่ยังไม่สามารถฟื้นฟูเกียรติภูมิและพลังทางการเมืองได้ ยิ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองหัวหน้าพรรค ถูกดำเนินคดีข้อหาสั่งฆ่าประชา ชนหลายคดี พรรคประชาธิปัตย์ก็ยิ่งเดินไปข้างหน้าได้ค่อนข้างยาก
          เสื้อเหลืองทุกกลุ่มก็ไม่สามารถฟื้นฟูกลุ่มและผนึกกำลังกันได้ สื่อมวลชนและนักวิชาการที่ต่อต้านรัฐบาล ไม่ว่าจะรายงานข่าวอย่างไร วิพากษ์วิจารณ์อย่างไร ก็ยังมิอาจลดความนิยมของประชาชนที่มีต่อนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ และทำลายความอดทนทางการเมืองของสังคมลงได้
          อย่างไรก็ดี ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจะรอให้เกิดความขัดแย้งกับกองทัพ โดยนำประเด็นเรื่องไม่จงรักภักดีต่อสถาบันมาสร้างกระแส หรือเอาสถาน การณ์ความขัดแย้งการแก้ไขมาสร้างกระแส หรือเอาสถาน การณ์ความขัดแย้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คอร์รัปชันฉาว เศรษฐกิจตกต่ำ สินค้าราคาแพง การปิดโรงงานต่างๆเพราะ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การชุมนุมเดินขบวนของประชาชนผู้ประสบความเดือดร้อน หรือแม้แต่คำวินิจฉัยของศาลโลกคดีปราสาทพระวิหาร เพื่อให้มีการขับไล่รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีนั้น ก็เป็นแค่การยุยงและสร้างกระแสให้เกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่ความแตกหักทางการเมืองเท่านั้น
          แต่ฟันธงว่าปี 2556 ไม่เกิดแน่นอน!--จบ--
          --โลกวันนี้วันสุข ฉบับวันที่ 12 - 18 ม.ค. 2556--

.....โลกวันนี้วันสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น