วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ ที่ 17 ธันวาคม 2555 แถลงการณ์พรรคร่วมรัฐบาลไม่ยอมรับผลการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ



วันจันทร์ ที่ 17 ธันวาคม 2555


ประเ็ด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญกลับมาร้อนแรงอีกครั้งเมื่อใกล้เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฏร เนื่องจากไม่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรกับร่าง พรบ.แก้ไขรัฐธรรมนูญที่ค้างการพิจารณาวาระ 3 อยู่ในสภา หลาย ๆ ท่านกังวลใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นชนวนนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงของคนในชาติอีกครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย
               หากแต่กระแสความไม่แน่นอนการคิดการถกเถึยงไปต่าง ๆ นานา เริ่มเห็นแนวทางดำเนินการที่ชัดเจนมากขึ้นเมื่อนายกรัฐมนตรียอมรับว่าได้มีการหารือกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นการขอประชามติจากประชาชน โดยยังไม่ดึงดันที่จะลงมติ วาระที่ 3 ในสภาผู้แทนราษฏร อย่างไรก็ตามปัญหาข้อถกเถียงยังมีต่อไปอีกว่า รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญส่วนของการทำประชามติหรือไม่เนื่องจาก เกรงว่าจำนวนเสียงของการทำประชามติที่ระบุว่าจะต้องมีผู้มาออกเสียงประชามติกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ และจำนวนผู้ออกเสียงเห็นด้วยกับประชามติจะต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู่้มาใช้สิทธิ ซึ่งคาดการณ์กันว่าจะต้องมากว่ากว่า 11.5 ล้านเสียง
               ในขณะที่บรรดานักวิขาการ และนักการเมืองมืออาชีพต่างก็สนใจในประเด็นการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันนั้น พรรคร่วมรัฐบาลก็ได้ออกแถลงการณ์มาเมื่อ 14 ธันวาคม 2555 มีสาระสำคัญดังนี้ 
                     1. แม้ว่าการลงมติในวาระที่ 3 จะเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงขององค์กรรัฐสภาเท่านั้น  แต่หากสมาชิกรัฐสภา หรือประชาชน 50,000 คนที่เสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 ประสงค์จะให้มีการทำประชามติว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่  ก็ไม่มีช่องทางจะทำได้  คงมีเพียงคณะรัฐมนตรีเท่านั้นที่สามารถดำเนินการได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 
                  2. เพื่อให้ข้อเสนอแนะของคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งมีความมุ่งหมายให้เกิดข้อยุติ ลดความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าว  คณะรัฐมนตรีจึงควรจัดให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ว่าสมควรจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ให้มีความชอบธรรม เป็นประชาธิปไตย และเป็นธรรมขึ้นหรือไม่ โดยการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  โดยจะไม่มีการแก้ไขในเรื่องรูปของรัฐ รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ 
                  3. รัฐบาลควรสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับทุกพรรคการเมือง สถาบันการศึกษา องค์กรประชาธิปไตย และองค์กรประชาชนในทุกภาคส่วน  เพื่อให้มีส่วนร่วมในการรณณรงค์ ชี้แจงต่อประชาชนให้เข้าใจถึงเหตุผลในการจัดทำประชามติและการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญให้มีความชอบธรรม เป็นประชาธิปไตย และเป็นธรรมยิ่งขึ้น 
                  4. การทำประชามติในครั้งนี้ มีความชัดเจนว่า เป็นไปเพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อโต้แย้งคัดค้านทั้งปวง และเป็นความปรารถนาดี เพื่อให้สังคมไทยมีทางออกอย่างละมุนละม่อม  ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งต่อไป  ดังนั้น ไม่ว่าผลของประชามติออกมาอย่างไร ทุกฝ่ายต้องถือเป็นข้อยุติ และไม่มีกรณีที่จะอ้างประโยชน์ หรือกล่าวหาอีกฝ่ายหนึ่งให้ต้องรับผิดชอบในผลแห่งประชามตินั้น 
                  5.  ไม่ว่าผลแห่งประชามติจะออกมาในทางใด ทุกฝ่ายต้องยอมรับว่ารัฐสภาทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญที่ไม่เหมาะสม  ไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่สอดคล้องต่อหลักนิติธรรมได้ตลอดไป  
               ที่น่าสนใจก็คือแถลงการณ์ข้อ 5 ซึ่งถ้าอ่านแล้วจะได้ใจความว่า ไม่ว่าผลการทำประชามติจะออกมาอย่างไร ต้องยอมรับว่ารัฐสภามีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ได้ หัวข้อนี้ไม่ต้องบอกก็ได้เพราะมันเป็นกฎหมาย แต่การออกแถลงการณ์มานี้เหมือนกับบอกเป็นนัย ๆ ว่า จะทำประชามติก็ทำไป ถึงอย่างไรก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ ก็ในเมื่อพรรคร่วมรัฐบาลคิดอย่างนี้แล้วจะเอาเงินภาษีของชาวบ้านไปละลายแม่น้ำทำประชามติหาพระแสงอันใด  กล้าคิดก็กล้าทำ ผลักดันลงมติวาระสามไปเสียให้รู้แล้วรู้รอดไปมิดีกว่าหรือ 
               และที่สำคัญกว่านั้นในเมื่อพรรคร่วมแสดงให้เห็นว่าผลการทำประชามติไม่มีความสำคัญเสียแล้ว จะชักจูงให้ประชาชนมาร่วมออกเสียงประชามติได้อย่างไร ไม่เข้าใจพรรคร่วมนี้จริง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น