วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุปข่าวประจำสัปดาห์ 17 – 22 ธ.ค.55




สรุปข่าวประจำสัปดาห์ 17 – 22 ธ.ค.55
 รัฐบาล ชะลอทำประชามติแก้ รธน. อ้าง ตั้งคณะทำงานศึกษาก่อน ด้าน อภิสิทธิ์ชวน ปชช.คว่ำประชามติแก้ รธน.ช่วย ทักษิณ”!
    ตามที่พรรคร่วมรัฐบาลได้มีมติเห็นควรให้มีการทำประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แทนการเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระ 3 โดยอ้างว่า เพื่อลดกระแสความขัดแย้งในสังคมเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมยืนยัน จะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 หรือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2522 เพื่อลดจำนวนเสียงที่จะชี้ขาดในการทำประชามติ ซึ่งต้องมีผู้มาใช้สิทธิลงประชามติมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิลงคะแนนทั่วประเทศ หรือ 48 ล้านคน นั่นหมายถึงต้องมีผู้มาใช้สิทธิ 24 ล้านคน และต้องมีเสียงเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิลงประชามติจึงจะถือว่าได้ข้อยุตินั้น       
       
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.55 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่หวังลบมาตรา 309 เพื่อล้มคดีทั้งหลายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนด้วยการล้มประชามติ
       
นางสดศรี สัตยธรรม ได้กล่าว่าการรณรงค์ไม่ให้ประชาชนไปใช้สิทธิลงประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของนายอภิสิทธิ์ อาจเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ มาตรา 43 ที่ระบุว่า ห้ามก่อความวุ่นวายให้การออกเสียงประชามติไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย หรือหลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง ฯลฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10ปีหรือปรับไม่เกิน2แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ       
       
ส่วนท่าทีของรัฐบาล แม้ที่ประชุมพรรคร่วมรัฐบาลจะได้ข้อสรุปว่าควรทำประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่มีข่าวว่า รัฐบาลได้ลองเช็คเสียง 6 พรรคร่วมรัฐบาลว่า ถ้าทำประชามติเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ปรากฏว่า เมื่อรวมเสียงของทั้ง 6 พรรคร่วมรัฐบาลแล้ว เสียงก็ยังไม่เกินกึ่งหนึ่ง อาจส่งผลให้ประชามติไม่ผ่านได้ ส่งผลให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.55 ยังไม่ยอมเคาะว่าจะทำประชามติหรือไม่ โดยที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาเกี่ยวกับวิธีการออกเสียงประชามติและประชาเสวนาว่าจะดำเนินการอย่างไร ทั้งในแง่ข้อกฎหมายและวิธีปฏิบัติ เมื่อแล้วเสร็จ ให้สรุปวิธีที่เหมาะสม และจัดทำรายละเอียดเสนอครม.พิจารณาต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาศึกษา2-3สัปดาห์       
       
ทั้งนี้ นายวราเทพ แจงเหตุที่ ครม.ชะลอเรื่องประชามติว่า เนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้ทราบถึงเรื่องที่จะให้ไปใช้สิทธิ ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าต้องให้ข้อมูลที่เพียงพอ รวมทั้งต้องให้หน่วยงานที่จะจัดทำประชามติมีความพร้อมด้วย 
       
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในพรรคเพื่อไทยเอง เสียงก็ค่อนข้างแตก โดยมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ โดยคนที่ไม่เห็นด้วย ได้แก่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เตรียมข้อมูล 9 ประเด็นไว้อธิบายให้ที่ประชุมพรรควันที่ 25 ธ.ค.55 ได้ทราบว่า ควรแก้รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา จะสำเร็จง่ายกว่าการทำประชามติ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น